ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ประมงหดตัวต่อเนื่อง ผลจากราคาน้ำมันและอุปกรณ์การทำประมง
ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทรัพยากรทางทะเลมีจำนวนลดลงอย่างมาก และประสบปัญหาการรุกล้ำน่านน้ำ
ส่งผลให้ชาวประมงบางส่วนหยุดทำประมง โดยปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือใน
ภาคใต้ในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.0 และ 30.7 ตามลำดับ
สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลนั้น มีปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคากุ้งลดลง
ตามการชะลอตัวของการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากปัญหาการเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกัน
นำเข้า (Continuous Bond) ขณะที่ตลาดสหภาพยุโรปและตลาดญี่ปุ่นไม่สามารถแข่งขันด้านราคา
กับคู่แข่งได้ ส่งผลให้เกิดการชะลอการซื้อกุ้งจากเกษตรกร
ปศุสัตว์และสัตว์ปีก
จากราคาสุกรที่อยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคเนื้อสัตว์
ชนิดอื่นทดแทน กอปรกับภาครัฐได้แก้ไขปัญหาสุกรราคาแพง โดยกำหนดให้สุกรเป็นสินค้าควบคุม
และเร่งรณรงค์ให้มีการบริโภคเนื้อไก่ทดแทน ประกอบกับสถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศ ขณะนี้
การควบคุมได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างอย่างยิ่ง และไม่มีสัตว์ปีกป่วยเป็นไข้หวัดนกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้
ภาวะการค้าคล่องตัวขึ้น โดยราคาสุกรขนาดน้ำหนักมากกว่า 100 กก. ลดลงร้อยละ 0.5 จากเดือน
เดียวกันปีก่อน ส่วนราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0
ภาคอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้หดตัว ตามปริมาณวัตถุดิบ เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก
สภาพอากาศที่แล้งนานกว่าปกติ และปริมาณฝนที่ตกมากขึ้นในช่วงเดือนนี้ในบางพื้นที่แหล่งผลิต
ประกอบกับการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลให้ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ยางพารา ปาล์ม
น้ำมัน สัตว์น้ำลดลง ขณะที่ราคาวัตถุดิบอยู่ในระดับที่สูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรม
ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก ด้านอุปสงค์ของตลาดโลกยังมีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อุปทานมีจำกัด ส่งผล
ให้ปริมาณการส่งออกสินค้าสำคัญภาคใต้ลดลง ตามการลดลงของการส่งออกยางพารา และสัตว์น้ำ
แช่แข็ง ส่วนการส่งออกอาหารบรรจุกระป๋อง และไม้ยางแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ เพิ่มขึ้น
ไตรมาส 2 ปี 2548 ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมหดตัว เนื่องจากภาวะภัยแล้ง
และในช่วงปลายไตรมาสมีฝนหนัก ประกอบกับการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบ
โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสัตว์น้ำ ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องขาดแคลนวัตถุดิบ
ขณะที่ต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ ด้านอุปสงค์ของตลาดโลกมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะ
ยาง เนื่องจากสต็อกยางของผู้นำเข้าสำคัญ เช่น จีน ญี่ปุ่น ลดลงมาก ขณะที่เศรษฐกิจขยายตัว
ความต้องการใช้ยางจึงยังคงสูง ส่วนสัตว์น้ำ ต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศ
ผู้นำเข้ารายใหญ่ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป และด้วยข้อจำกัดด้านอุปทาน ทำให้ปริมาณการ
ส่งออกลดลง
อุตสาหกรรมยางพารา
อุตสาหกรรมยางพาราต้องประสบกับปัญหาด้านต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นมาก ตามราคา
รับซื้อวัตถุดิบ เนื่องจากปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการโรงงานยางต่างต้องการซื้อยาง
เพื่อป้อนโรงงานและส่งมอบตามกำหนดสัญญา ประกอบกับสต็อกของผู้ใช้ยางลดลงมาก ทั้ง จีน และญี่ปุ่น
รวมทั้งการปรับขึ้นของยางสังเคราะห์ตามราคาน้ำมัน ส่งผลให้ราคายางธรรมชาติปรับสูงขึ้น โดยใน
เดือนมิถุนายน ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.68 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและ
เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 และ 7.2 ตามลำดับ
แนวโน้มคาดว่าราคายางพาราอยู่ในระดับที่สูง ตามราคายางตลาดล่วงหน้าทั้ง สิงคโปร์
และญี่ ปุ่น (www.sicom.com.sg และ www.tocom.or.jp)โดยราคายางพาราจะทยอยปรับลดลงตั้ง
แต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป เนื่องจากปริมาณผลผลิตยางในประเทศที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญออกสู่ตลาดมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบราคาเสนอขายยางแท่งของประเทศผู้ผลิตสำคัญ ไทยยังคงเสนอราคา
สูงสุด รองลงมา คือ มาเลเซีย ขณะที่อินโดนีเซีย ราคาเสนอขายยางแท่งต่ำสุด (ราคาเสนอขาย ณ
วันที่ 14 กรกฎาคม 2548)
ส่วนภาพรวมของตลาดยางพาราในเดือนมิถุนายนความต้องการมีต่อเนื่อง ขณะที่อุปทาน
จำกัดตามปริมาณวัตถุดิบ ส่งผลให้การส่งออกยางพารา ภาคใต้ในเดือนนี้ลดลงมาก โดยมีปริมาณ
ส่งออกยางรวมทั้งสิ้น 178.3 พันเมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 ตามการ
ลดลงของการส่งออกยางแผ่นรมควัน และน้ำยางข้น ขณะที่ยางแท่งส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ยางแผ่นรมควัน การผลิตลดลง ขณะที่ต้นทุนปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ เนื่องจาก
ปริมาณผลผลิตยางมีน้อย จึงต้องแข่งขันรับซื้อเพื่อป้อนโรงงานและจัดส่งให้ทันตามสัญญา ส่งผลให้
ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.68 บาท ด้านการ
ส่งออกลดลง โดยในเดือนมิถุนายนส่งออก 28.1 พันเมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนและ
เดือนก่อน ร้อยละ 30.8 และ 2.9 ตามลำดับ ตามการชะลอการส่งมอบยางของผู้ประกอบการ ส่งผล
ให้สต็อกยางของตลาดญี่ปุ่น(TOCOM) ณ สิ้นเดือนมิถุนายนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 39.7
ยางแท่ง ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางแท่งค่อนข้างดี ตลาดจึงให้การ
ยอมรับผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคาเสนอขายจึงสูงกว่าคู่แข่งสำคัญอย่างประเทศอินโดนีเซีย ทำให้
การผลิตของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายนปริมาณผลผลิตยางแท่งในภาคใต้มี
จำนวนทั้งสิ้น 87.7 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.3 และส่งออกต่าง
ประเทศได้ 83.1 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 ตามความต้องการของ
ต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนที่ซื้อยางแท่งเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์
และรถยนต์
น้ำยางข้น ในเดือนมิถุนายนการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจาก
ราคารับซื้อต่ำกว่ายางแผ่น อย่างไรก็ตามถือว่าราคาน้ำยางยังคงอยู่ในระดับที่สูง ส่งผลให้โรงงานต้อง
รับภาระต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มตามราคาวัตถุดิบ โดยส่งออกได้ 55.4 พันเมตริกตัน ลดลงจาก
เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ส่วนใหญ่ส่งออกไปมาเลเซียที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่
เกี่ยวเนื่องกับน้ำยางมาก
ไตรมาส 2 ปี 2548 ภาวะภัยแล้งที่ยาวนาน และในช่วงปลายไตรมาสที่มีฝนตกหนักใน
บางพื้นที่ ทำให้ปริมาณผลผลิตยางลดลง การแข่งขันเพื่อรับซื้อยางจึงรุนแรง ส่งผลให้ภาระต้นทุนของ
ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบบางรายต้องชะลอการส่งมอบ เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการ
ผลิต ภาวะการค้าจึงชะลอตามปริมาณวัตถุดิบ โดยส่งออกได้ 529.9 พันเมตริกตัน ลดลงจากช่วง
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 ตามการลดลงของการส่งออกยางแผ่นรมควัน และน้ำยางข้น ร้อยละ 26.5
และ 1.9 ตามลำดับ ส่วนยางแท่งส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เนื่องจากผู้นำเข้าปรับเปลี่ยนการผลิต
หันมาใช้วัตถุดิบยางแท่งเพิ่มขึ้นในการผลิตยางรถยนต์ สำหรับตลาดยางแผ่นรมควันที่สำคัญ คือ
สิงคโปร์ และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.9 และ 17.7 ตามลำดับ ตลาดยางแท่ง คือ สิงคโปร์ จีน
และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.2 19.6 และ 12.8 ตามลำดับ ส่วนน้ำยางข้น ตลาดสำคัญ
คือ มาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81.5
ถุงมือยาง จากสถานการณ์ที่ราคายางในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำยางข้นซึ่ง
เป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตถุงมือยางปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาส่งออกถุงมือยางกลับไม่
สามารถปรับให้สูงขึ้นตามภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นได้ เนื่องจากเกรงกลัวว่าจะเสียลูกค้า เพราะมีคู่แข่ง
สำคัญ คือ มาเลเซีย ที่เป็นผู้นำในตลาดถุงมือยาง ทำให้โรงงานเริ่มชะลอการผลิต ส่วนภาวะการค้า
ในเดือนมิถุนายนทรงตัว โดยส่งออกได้จำนวน 10.8 พันเมตริกตัน
ไตรมาส 2 ปี 2548 ปัญหาต้นทุนการผลิตกดดันต่อการผลิตของอุตสาหกรรมถุงมือยาง
เนื่องจากราคาน้ำยางข้นปรับสูงขึ้น ขณะที่ราคาส่งออกถุงมือยางกลับไม่สามารถปรับให้สูงขึ้นตาม
ภาวะต้นทุน ด้านการค้าขยายตัวดี โดยส่งออกได้ 31.4 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 3.1 ตลาดสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.7
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ การผลิตมีต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายนส่งออกไม้
ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์จำนวน 80.3 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงโดยเพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 3.7 ตามการเพิ่มขึ้นของส่วนประกอบและเฟอร์นิเจอร์ ขณะที่ไม้ยาง
แปรรูปส่งออกลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.3
ไตรมาส 2 ปี 2548 การผลิตของอุตสาหกรรมมีต่อเนื่อง โดยส่งออกได้ 218.1 พัน
เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 ตลาดสำคัญของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์
ไม้ คือ จีน มาเลเซีย และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.4 18.6 และ 11.0 ตามลำดับ ส่วนตลาด
ของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ คือ สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย อิตาลี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.3 16.7 และ
5.8 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบของภาคใต้ในเดือนมิถุนายนลดลงจากเดือนก่อนและปีก่อน โดยมี
ปริมาณผลผลิตทั้งสิ้น 68.2 พันเมตริกตัน ลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5
และ 14.9 ตามลำดับ ตามปริมาณผลผลิตปาล์มที่อยู่ในช่วงปลายฤดูการให้ผลผลิต ส่วนราคาน้ำมันปาล์ม
ดิบยังคงปรับเพิ่มขึ้น โดยราคาน้ำมันปาล์มดิบเกรด เอ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.93 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ลดลงร้อยละ 2.6
ส่วนสถานการณ์น้ำมันปาล์มของมาเลเซียใน
เดือนนี้มีปริมาณ 1.21 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 ด้านการค้าในเดือน
นี้ มาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์ม จำนวน 1.17 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
31.2 เนื่องจากการค้าน้ำมันถั่วเหลืองในตลาดโลกมีปริมาณลดลง ส่งผลให้สต็อกน้ำมันปาล์มลดลง
โดยมียอดคงเหลือ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน จำนวน 1.18 ล้านเมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 2.3 (http://www.mpob.gov.my/)
ไตรมาส 2 ปี 2548 ภาวะภัยแล้งส่งผลกระทบต่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน และอัตราการให้
น้ำมันลดลง ประกอบกับปลายไตรมาสเป็นช่วงนอกฤดูการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรม
น้ำมันปาล์มจึงผลิตผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ลดลง โดยมีผลผลิตจำนวน 230.0 พันเมตริกตัน ลดลง
จากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 ส่วนราคาน้ำมันปาล์มดิบในไตรมาสนี้ปรับลดลงร้อยละ 16.6
อุตสาหกรรมสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง
จากปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก และปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำ ทำให้
ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นท่าเทียบเรือในภาคใต้ในเดือนมิถุนายนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
24.3ส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง เนื่องจากมีวัตถุดิบเข้าสู่
โรงงานลดลง ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาสัตว์น้ำที่อยู่ในระดับสูง ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูป
กุ้ง มีวัตถุดิบในการผลิตมากขึ้น ตามผลผลิตกุ้งรุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาด
ด้านการส่งออกลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยในเดือนมิถุนายนปริมาณการส่งออก
สัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็งของภาคใต้มีปริมาณทั้งสิ้น 13.4 พันเมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 14.7 ส่วนการส่งออกกุ้งในเดือนนี้ยังคงลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.7 เนื่อง
จากผู้ส่งออกชะลอการรับซื้อ เป็นผลจากปัญหาการวางหลักทรัพย์การค้ำประกันภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด
กุ้งที่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา และการเลื่อนการพิจารณาให้สิทธิ GSP ของสหภาพยุโรป
ไตรมาส 2 ปี 2548 ปัญหาราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น และปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำ
ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมมาก เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูง
ขึ้นตามราคาวัตถุดิบ ประกอบกับผู้นำเข้าชะลอซื้อเพื่อรอดูท่าทีการพิจารณาสิทธิ GSP ของสหภาพ
ยุโรป และปัญหาการวางหลักทรัพย์การค้ำประกันภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งที่ส่งออกไปยังประเทศ
สหรัฐอเมริกา ทำให้การส่งออกลดลงมาก โดยส่งออกได้ 33.6 พันเมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 31.0 ตลาดสัตว์น้ำแปรรูปที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็น
สัดส่วน ร้อยละ 34.6 15.4 และ 11.5 ตามลำดับ ส่วนตลาดสัตว์น้ำแช่แข็งที่สำคัญ คือ อิตาลี
มาเลเซีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.6 16.1 และ 14.3 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋อง
ในเดือนมิถุนายนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋องขยายตัว โดยมีการนำเข้า
สัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทูน่าเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.5
ขณะที่ส่งออกได้ 9.7 พันเมตริกตัน ทรงตัวเมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ไตรมาส 2 ปี 2548 ภาวะการผลิตของ
อุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋องขยายตัวดีตามการส่งออก ส่งผลให้มีการนำเข้าสัตว์น้ำเพื่อเป็นวัตถุ
ดิบเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.1 และส่งออกได้จำนวน 32.0 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.6 ตลาดนำเข้าสำคัญ 3 อันดับ คือ สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และออสเตรเลีย
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.7 16.8 และ 12.6 ตามลำดับ
ภาคบริการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวของภาคใต้ในเดือนมิถุนายน เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งในส่วนของการ
ท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ตอนล่างโดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านสำนักงาน
ตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ทั้งสิ้น 157,289 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 15.7 อย่างไรก็ตามเมื่อ
เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 18.3 ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ขณะที่นักท่องเดินทางเข้ามาจังหวัดสงขลามีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 13 เดือน
ภาวะการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งตะวันตก แม้ว่าเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิผ่านไปแล้วถึง 6
เดือน และภาครัฐจะพยายามฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดอันดามันที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
ด้วยการจัดกิจกรรมและแคมเปญเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวก็ตาม แต่การท่องเที่ยวยังคง
อยู่ในภาวะซบเซา รายได้และยอดนักท่องเที่ยวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายนจำนวน
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ตเพียง 33,165 คน ลดลง
จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 58.1 ทั้งนี้ เป็นผลจากนักท่องเที่ยวตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชีย
ลดลงแทบทุกตลาด ส่งผลให้อัตราเข้าพักโรงแรมเดือนมิถุนายนมีเพียงร้อยละ 10.0-20.0 เท่านั้น
อันเนื่องมาจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยปัจจัยภายนอกประเทศ ได้แก่
1. ประเทศมาเลเซียจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวหลายรายการ
2. การจัดงานเอ็กซ์โป ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะจบในเดือนกันยายน ทำให้นักท่องเที่ยว
เอเชียเข้าญี่ปุ่นจำนวนมาก และทำให้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางมาไทยน้อยลง
3. ฮ่องกงจะเปิดตัวดิสนีย์แลนด์ เฟสแรกในเดือนกันยายนนี้ ทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยว
เอเชียทุกตลาด
4. ประเทศจีนมีการเปิดประเทศด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้ต่างชาติที่นิยมเข้ามาใน
ไทยเปลี่ยนไปเที่ยวที่จีน นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่เลือกเดินทางไปเที่ยวยุโรปมากขึ้น
ซึ่งมีความแปลกใหม่กว่าไทย
ส่วนปัญหาภายในประเทศที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาท่อง
เที่ยวฝั่งอันดามันลดลง ได้แก่
1. นักท่องเที่ยวไม่อยากมาในที่ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เนื่องจากไม่สบายใจที่จะกลับมา
และหวาดกลัวเรื่องวิญญาณ
2. กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิขึ้นอีก
3. การรายงานข่าวที่รุนแรงของสื่อทั้งภายในและต่างประเทศ ประกอบกับยังคงมีข่าวการ
เกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความไม่มั่นใจในระบบเตือนภัยสึนามิของไทย
4. ปัญหาการก่อการร้าย และปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
5. สถานที่ในแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งยังคงอยู่ในช่วงปรับปรุง ทำให้บรรยากาศท่องเที่ยว
โดยรวมยังไม่พร้อม
6. ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ค่าครองชีพ และการใช้จ่ายด้านการท่อง
เที่ยวของนักท่องเที่ยวสูงขึ้น
7. ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและการเมืองของคนไทยลดลง ทำให้เพิ่มความระมัดระวังใน
การใช้จ่าย จึงชะลอการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวลง
8. นักท่องเที่ยวต่างประเทศย้ายฐานการท่องเที่ยวไปแหล่งท่องเที่ยวอื่น เช่น สมุย พัทยา
หัวหิน และเชียงใหม่ รวมทั้งไปท่องเที่ยวประเทศอื่น ๆ เช่น บาหลี มาเลเซีย และกัมพูชา
9. แคมเปญท่องเที่ยวต่างประเทศมีราคาถูกกว่าท่องเที่ยวภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เห็นว่าช่วง
ปลายเดือนมิถุนายน สถานการณ์การท่องเที่ยวของภูเก็ตเริ่มมีแนวโน้มว่าตลาดจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้
ในเดือนนี้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 12.7 และในส่วนของ
ตลาดคนไทยที่มีการจัดทำแคมเปญราคาประหยัด ได้รับการตอบรับดีพอสมควร ทำให้คนไทยมี
แนวโน้มเดินทางเข้ามามากขึ้น แต่ขณะเดียวกันจะต้องมีการระมัดระวังในเรื่องของข่าวต่าง ๆ
โดยเฉพาะเรื่องของสึนามิที่ถือเป็นจุดอ่อนของการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน
ภาวะการท่องเที่ยวภาคใต้ตอนล่าง ในเดือนนี้บรรยากาศเริ่มดีขึ้น เนื่องจากจังหวัด
สงขลาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม "สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48" ระหว่างวันที่
22-24 มิถุนายน นอกจากนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดสงขลาได้ร่วมมือกันจัด
กิจกรรมส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว อาทิ งานสุดปลายทางที่หาดใหญ่ นิทรรศการผ้าไหมไทย
การเดินแบบแฟชั่นโชว์ ตลอดจนงานไทยแลนด์แกรนด์เซลส์ โดยห้างสรรพสินค้าและร้านค้าใน
หาดใหญ่ร่วมกันลดราคาสินค้ามากกว่า 200 ร้าน ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวได้ประสบความสำเร็จ
สามารถกระตุ้นบรรยากาศการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
สนใจเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก นอกจากเป็นผลจากการเสนอข่าวความรุนแรงลดน้อยลง ทำ
ให้นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นมากขึ้น รวมทั้งฐานตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนมิถุนายนปีก่อน
อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่มัสยิดกรือเซะ โดยมีนักท่อง
เที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสงขลาทั้งสิ้น 94,016 คน เพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.3 ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มสูงสุดในรอบ 13 เดือน
ทางด้าน จ.ยะลา มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ขณะที่ จ.นราธิวาส
นักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 29.3
สำหรับไตรมาส 2 ปี 2548 จากการเกิดเหตุแผ่นดินไหวรอบสองเมื่อปลายเดือนมีนาคม
และเกิดเหตุระเบิดในอำเภอเมือง และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวม 3 จุด เมื่อวันที่ 3 เมษายน
2548 ส่งผลให้ภาวะท่องเที่ยวของภาคใต้ซบเซาลงอีกครั้ง หลังจากกระเตื้องขึ้นในปลายไตรมาสแรก
เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัย จนมีการ
ยกเลิกการจองห้องพักเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ช่วงไตรมาส 2 มีจำนวนเพียง
427,770 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.7 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของนักท่องเที่ยว
ภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่ลดลงในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่าน
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ตเพียง 95,169 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 60.1
ขณะที่ทางภาคใต้ตอนล่างสถานการณ์โดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้นในเดือนมิถุนายน ทำให้นักท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสงขลาในช่วงไตรมาส 2 มีจำนวน
242,516 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 เป็นผลจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวที่สามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวส่วนหนึ่งเป็น
ผลจากฐานตัวเลขในปีที่ ผ่านมาอยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์ความรุนแรงที่
มัสยิดกรือเซะ
ระดับราคา
ในเดือนมิถุนายน 2548 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ทรงตัวเท่ากับเดือน
ก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และหมวดอื่น ๆ
ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2
สินค้าใน หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ
สินค้าแทบทุกหมวด โดยสินค้าหมวดสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 หมวดผักและผลไม้ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.8 และหมวดอาหารสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ขณะที่สินค้าหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์
จากแป้ง และหมวดเครื่องประกอบอาหาร ลดลงร้อยละ 0.3 และ 0.8 ตามลำดับ
สินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 โดยมีการปรับตัว
เพิ่มขึ้นแทบทุกหมวดเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะราคาสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากหมวดค่าโดยสารสาธารณะ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้น
ของสินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 โดยสินค้าที่มีราคาลดลง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation)ยังคงเป็นหมวดค่าที่พักอาศัย ลดลงร้อยละ 0.1
* เนื้อสุกร ผู้บริโภคหันไปบริโภคเนื้อสัตว์อื่นทดแทน เนื่องจากมีราคาสูง ประกอบกับ
ทางราชการได้ ดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาสุกรราคาสูงโดยกำหนดให้สุกรเป็นสินค้าควบคุม
* ไก่สด มีผู้ผลิตรายใหญ่ระบายไก่มีชีวิตออกสู่ตลาด เนื่องจากได้ผลตอบแทนมากกว่าการ
แปรรูปส่งออก ทำให้ผลผลิตในตลาดเพิ่มขึ้น
* ไข่ไก่ ปริมาณผลผลิตยังไม่เพียงพอกับ ความต้องการบริโภค
* ผักสด ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
* ค่ากระแสไฟฟ้า จากการที่คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ
(เอฟที) ได้มีมติเห็นชอบให้เรียกเก็บค่าเอฟทีช่วงเดือนมิถุนายน -- กันยายน 2548 เพิ่มขึ้นอีก 3.55
สตางค์ต่อหน่วย
* ค่าโดยสารสาธารณะ ได้แก่ ค่าโดยสารรถประจำทาง และค่าโดยสารรถเมล์เล็กที่วิ่งภาย
ในเมืองในภูมิภาค ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
* น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นไปตามภาวะราคา
น้ำมันดิบในตลาดโลก และน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ที่สูงขึ้น
ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 4.6 ทั้งนี้เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวม
อาหารและเครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และ 4.3 ตามลำดับ โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น
ได้แก่
* ราคาสินค้าในหมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.5 โดยราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับสูงขึ้นร้อยละ 5.0 เนื่องจากสภาพอากาศร้อน
ทำให้สุกรโตช้า ส่วนราคาปลาและสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ผลจากการปิดอ่าวไทย และการที่
เรือประมงบางส่วนหยุดหาปลา จากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น
* หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม, หมวดผักและผลไม้ และหมวดอาหารสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.0 9.5 และ 5.2 ตามลำดับ
* ราคาหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 จากผลของราคา
น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินและดีเซล ที่ปรับราคาเพิ่มขึ้นตามภาวะน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้น ทำให้
สินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ส่งผลต่อค่าโดยสารสาธารณะ
ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8
* หมวดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้ในเดือนมิถุนายนขยายตัว จาก
รายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น จูงใจให้ประชาชนมีการจับจ่าย
ใช้สอยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากเครื่องชี้ด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม และตัวเลขการจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ยังลดลง จากผลกระทบของสึนามิ และปัญหาความ
ไม่สงบใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(ไม่รวมภาษีศุลกากร) เดือนมิถุนายน จัดเก็บได้ 427.7 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.2 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 จังหวัดที่
จัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ จังหวัดปัตตานี รองลงมา คือ นราธิวาส และพัทลุง
โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.3 37.3 และ 23.7 ตามลำดับ สำหรับจังหวัดที่จัดเก็บได้ลดลงมากที่สุด คือ
จังหวัดกระบี่ รองลงมาคือ จังหวัดพังงา และภูเก็ต ลดลงร้อยละ 24.5 23.8 และ 22.9 ตามลำดับ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในเดือนนี้จังหวัดที่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงมาก เป็นจังหวัดที่ได้รับ
ผลกระทบจากภัยสึนามิ ขณะที่จังหวัดซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี กลับมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้เพิ่มขึ้นยกเว้นจังหวัดยะลาที่จัดเก็บได้
ลดลงในเดือนนี้ ร้อยละ 2.8
ทางด้าน เครื่องชี้ยานพาหนะ ยอดจำหน่ายรถยนต์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก
ข่าวการปรับขึ้นราคารถยนต์ เพราะต้นทุนสูงขึ้นหลังมีการปรับวิธีจัดเก็บภาษีสรรพสามิต จากเดิมที่
คิดจากราคาหน้าโรงงาน เป็นคิดจากต้นทุนที่ร้อยละ 76 ของราคาขาย และการลอยตัวราคาน้ำมัน
ดีเซล โดยที่ผู้ประกอบการยังเน้นรักษาฐานลูกค้าเดิมและหาฐานลูกค้าใหม่เพิ่ม ใช้กลยุทธ์บริหาร
ทีมขายเชิงรุก ทำกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง ทำให้มียอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้น
ขณะที่ตลาดรถจักรยานยนต์ มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง จากปัญหา 3 จังหวัดชายแดน
(ยังมีต่อ)
ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทรัพยากรทางทะเลมีจำนวนลดลงอย่างมาก และประสบปัญหาการรุกล้ำน่านน้ำ
ส่งผลให้ชาวประมงบางส่วนหยุดทำประมง โดยปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือใน
ภาคใต้ในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.0 และ 30.7 ตามลำดับ
สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลนั้น มีปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคากุ้งลดลง
ตามการชะลอตัวของการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากปัญหาการเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกัน
นำเข้า (Continuous Bond) ขณะที่ตลาดสหภาพยุโรปและตลาดญี่ปุ่นไม่สามารถแข่งขันด้านราคา
กับคู่แข่งได้ ส่งผลให้เกิดการชะลอการซื้อกุ้งจากเกษตรกร
ปศุสัตว์และสัตว์ปีก
จากราคาสุกรที่อยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคเนื้อสัตว์
ชนิดอื่นทดแทน กอปรกับภาครัฐได้แก้ไขปัญหาสุกรราคาแพง โดยกำหนดให้สุกรเป็นสินค้าควบคุม
และเร่งรณรงค์ให้มีการบริโภคเนื้อไก่ทดแทน ประกอบกับสถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศ ขณะนี้
การควบคุมได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างอย่างยิ่ง และไม่มีสัตว์ปีกป่วยเป็นไข้หวัดนกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้
ภาวะการค้าคล่องตัวขึ้น โดยราคาสุกรขนาดน้ำหนักมากกว่า 100 กก. ลดลงร้อยละ 0.5 จากเดือน
เดียวกันปีก่อน ส่วนราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0
ภาคอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้หดตัว ตามปริมาณวัตถุดิบ เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก
สภาพอากาศที่แล้งนานกว่าปกติ และปริมาณฝนที่ตกมากขึ้นในช่วงเดือนนี้ในบางพื้นที่แหล่งผลิต
ประกอบกับการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลให้ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ยางพารา ปาล์ม
น้ำมัน สัตว์น้ำลดลง ขณะที่ราคาวัตถุดิบอยู่ในระดับที่สูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรม
ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก ด้านอุปสงค์ของตลาดโลกยังมีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อุปทานมีจำกัด ส่งผล
ให้ปริมาณการส่งออกสินค้าสำคัญภาคใต้ลดลง ตามการลดลงของการส่งออกยางพารา และสัตว์น้ำ
แช่แข็ง ส่วนการส่งออกอาหารบรรจุกระป๋อง และไม้ยางแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ เพิ่มขึ้น
ไตรมาส 2 ปี 2548 ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมหดตัว เนื่องจากภาวะภัยแล้ง
และในช่วงปลายไตรมาสมีฝนหนัก ประกอบกับการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบ
โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสัตว์น้ำ ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องขาดแคลนวัตถุดิบ
ขณะที่ต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ ด้านอุปสงค์ของตลาดโลกมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะ
ยาง เนื่องจากสต็อกยางของผู้นำเข้าสำคัญ เช่น จีน ญี่ปุ่น ลดลงมาก ขณะที่เศรษฐกิจขยายตัว
ความต้องการใช้ยางจึงยังคงสูง ส่วนสัตว์น้ำ ต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศ
ผู้นำเข้ารายใหญ่ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป และด้วยข้อจำกัดด้านอุปทาน ทำให้ปริมาณการ
ส่งออกลดลง
อุตสาหกรรมยางพารา
อุตสาหกรรมยางพาราต้องประสบกับปัญหาด้านต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นมาก ตามราคา
รับซื้อวัตถุดิบ เนื่องจากปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการโรงงานยางต่างต้องการซื้อยาง
เพื่อป้อนโรงงานและส่งมอบตามกำหนดสัญญา ประกอบกับสต็อกของผู้ใช้ยางลดลงมาก ทั้ง จีน และญี่ปุ่น
รวมทั้งการปรับขึ้นของยางสังเคราะห์ตามราคาน้ำมัน ส่งผลให้ราคายางธรรมชาติปรับสูงขึ้น โดยใน
เดือนมิถุนายน ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.68 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและ
เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 และ 7.2 ตามลำดับ
แนวโน้มคาดว่าราคายางพาราอยู่ในระดับที่สูง ตามราคายางตลาดล่วงหน้าทั้ง สิงคโปร์
และญี่ ปุ่น (www.sicom.com.sg และ www.tocom.or.jp)โดยราคายางพาราจะทยอยปรับลดลงตั้ง
แต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป เนื่องจากปริมาณผลผลิตยางในประเทศที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญออกสู่ตลาดมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบราคาเสนอขายยางแท่งของประเทศผู้ผลิตสำคัญ ไทยยังคงเสนอราคา
สูงสุด รองลงมา คือ มาเลเซีย ขณะที่อินโดนีเซีย ราคาเสนอขายยางแท่งต่ำสุด (ราคาเสนอขาย ณ
วันที่ 14 กรกฎาคม 2548)
ส่วนภาพรวมของตลาดยางพาราในเดือนมิถุนายนความต้องการมีต่อเนื่อง ขณะที่อุปทาน
จำกัดตามปริมาณวัตถุดิบ ส่งผลให้การส่งออกยางพารา ภาคใต้ในเดือนนี้ลดลงมาก โดยมีปริมาณ
ส่งออกยางรวมทั้งสิ้น 178.3 พันเมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 ตามการ
ลดลงของการส่งออกยางแผ่นรมควัน และน้ำยางข้น ขณะที่ยางแท่งส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ยางแผ่นรมควัน การผลิตลดลง ขณะที่ต้นทุนปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ เนื่องจาก
ปริมาณผลผลิตยางมีน้อย จึงต้องแข่งขันรับซื้อเพื่อป้อนโรงงานและจัดส่งให้ทันตามสัญญา ส่งผลให้
ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.68 บาท ด้านการ
ส่งออกลดลง โดยในเดือนมิถุนายนส่งออก 28.1 พันเมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนและ
เดือนก่อน ร้อยละ 30.8 และ 2.9 ตามลำดับ ตามการชะลอการส่งมอบยางของผู้ประกอบการ ส่งผล
ให้สต็อกยางของตลาดญี่ปุ่น(TOCOM) ณ สิ้นเดือนมิถุนายนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 39.7
ยางแท่ง ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางแท่งค่อนข้างดี ตลาดจึงให้การ
ยอมรับผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคาเสนอขายจึงสูงกว่าคู่แข่งสำคัญอย่างประเทศอินโดนีเซีย ทำให้
การผลิตของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายนปริมาณผลผลิตยางแท่งในภาคใต้มี
จำนวนทั้งสิ้น 87.7 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.3 และส่งออกต่าง
ประเทศได้ 83.1 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 ตามความต้องการของ
ต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนที่ซื้อยางแท่งเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์
และรถยนต์
น้ำยางข้น ในเดือนมิถุนายนการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจาก
ราคารับซื้อต่ำกว่ายางแผ่น อย่างไรก็ตามถือว่าราคาน้ำยางยังคงอยู่ในระดับที่สูง ส่งผลให้โรงงานต้อง
รับภาระต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มตามราคาวัตถุดิบ โดยส่งออกได้ 55.4 พันเมตริกตัน ลดลงจาก
เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ส่วนใหญ่ส่งออกไปมาเลเซียที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่
เกี่ยวเนื่องกับน้ำยางมาก
ไตรมาส 2 ปี 2548 ภาวะภัยแล้งที่ยาวนาน และในช่วงปลายไตรมาสที่มีฝนตกหนักใน
บางพื้นที่ ทำให้ปริมาณผลผลิตยางลดลง การแข่งขันเพื่อรับซื้อยางจึงรุนแรง ส่งผลให้ภาระต้นทุนของ
ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบบางรายต้องชะลอการส่งมอบ เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการ
ผลิต ภาวะการค้าจึงชะลอตามปริมาณวัตถุดิบ โดยส่งออกได้ 529.9 พันเมตริกตัน ลดลงจากช่วง
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 ตามการลดลงของการส่งออกยางแผ่นรมควัน และน้ำยางข้น ร้อยละ 26.5
และ 1.9 ตามลำดับ ส่วนยางแท่งส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เนื่องจากผู้นำเข้าปรับเปลี่ยนการผลิต
หันมาใช้วัตถุดิบยางแท่งเพิ่มขึ้นในการผลิตยางรถยนต์ สำหรับตลาดยางแผ่นรมควันที่สำคัญ คือ
สิงคโปร์ และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.9 และ 17.7 ตามลำดับ ตลาดยางแท่ง คือ สิงคโปร์ จีน
และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.2 19.6 และ 12.8 ตามลำดับ ส่วนน้ำยางข้น ตลาดสำคัญ
คือ มาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81.5
ถุงมือยาง จากสถานการณ์ที่ราคายางในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำยางข้นซึ่ง
เป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตถุงมือยางปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาส่งออกถุงมือยางกลับไม่
สามารถปรับให้สูงขึ้นตามภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นได้ เนื่องจากเกรงกลัวว่าจะเสียลูกค้า เพราะมีคู่แข่ง
สำคัญ คือ มาเลเซีย ที่เป็นผู้นำในตลาดถุงมือยาง ทำให้โรงงานเริ่มชะลอการผลิต ส่วนภาวะการค้า
ในเดือนมิถุนายนทรงตัว โดยส่งออกได้จำนวน 10.8 พันเมตริกตัน
ไตรมาส 2 ปี 2548 ปัญหาต้นทุนการผลิตกดดันต่อการผลิตของอุตสาหกรรมถุงมือยาง
เนื่องจากราคาน้ำยางข้นปรับสูงขึ้น ขณะที่ราคาส่งออกถุงมือยางกลับไม่สามารถปรับให้สูงขึ้นตาม
ภาวะต้นทุน ด้านการค้าขยายตัวดี โดยส่งออกได้ 31.4 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 3.1 ตลาดสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.7
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ การผลิตมีต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายนส่งออกไม้
ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์จำนวน 80.3 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงโดยเพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 3.7 ตามการเพิ่มขึ้นของส่วนประกอบและเฟอร์นิเจอร์ ขณะที่ไม้ยาง
แปรรูปส่งออกลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.3
ไตรมาส 2 ปี 2548 การผลิตของอุตสาหกรรมมีต่อเนื่อง โดยส่งออกได้ 218.1 พัน
เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 ตลาดสำคัญของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์
ไม้ คือ จีน มาเลเซีย และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.4 18.6 และ 11.0 ตามลำดับ ส่วนตลาด
ของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ คือ สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย อิตาลี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.3 16.7 และ
5.8 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบของภาคใต้ในเดือนมิถุนายนลดลงจากเดือนก่อนและปีก่อน โดยมี
ปริมาณผลผลิตทั้งสิ้น 68.2 พันเมตริกตัน ลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5
และ 14.9 ตามลำดับ ตามปริมาณผลผลิตปาล์มที่อยู่ในช่วงปลายฤดูการให้ผลผลิต ส่วนราคาน้ำมันปาล์ม
ดิบยังคงปรับเพิ่มขึ้น โดยราคาน้ำมันปาล์มดิบเกรด เอ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.93 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ลดลงร้อยละ 2.6
ส่วนสถานการณ์น้ำมันปาล์มของมาเลเซียใน
เดือนนี้มีปริมาณ 1.21 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 ด้านการค้าในเดือน
นี้ มาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์ม จำนวน 1.17 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
31.2 เนื่องจากการค้าน้ำมันถั่วเหลืองในตลาดโลกมีปริมาณลดลง ส่งผลให้สต็อกน้ำมันปาล์มลดลง
โดยมียอดคงเหลือ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน จำนวน 1.18 ล้านเมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 2.3 (http://www.mpob.gov.my/)
ไตรมาส 2 ปี 2548 ภาวะภัยแล้งส่งผลกระทบต่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน และอัตราการให้
น้ำมันลดลง ประกอบกับปลายไตรมาสเป็นช่วงนอกฤดูการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรม
น้ำมันปาล์มจึงผลิตผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ลดลง โดยมีผลผลิตจำนวน 230.0 พันเมตริกตัน ลดลง
จากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 ส่วนราคาน้ำมันปาล์มดิบในไตรมาสนี้ปรับลดลงร้อยละ 16.6
อุตสาหกรรมสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง
จากปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก และปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำ ทำให้
ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นท่าเทียบเรือในภาคใต้ในเดือนมิถุนายนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
24.3ส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง เนื่องจากมีวัตถุดิบเข้าสู่
โรงงานลดลง ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาสัตว์น้ำที่อยู่ในระดับสูง ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูป
กุ้ง มีวัตถุดิบในการผลิตมากขึ้น ตามผลผลิตกุ้งรุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาด
ด้านการส่งออกลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยในเดือนมิถุนายนปริมาณการส่งออก
สัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็งของภาคใต้มีปริมาณทั้งสิ้น 13.4 พันเมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 14.7 ส่วนการส่งออกกุ้งในเดือนนี้ยังคงลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.7 เนื่อง
จากผู้ส่งออกชะลอการรับซื้อ เป็นผลจากปัญหาการวางหลักทรัพย์การค้ำประกันภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด
กุ้งที่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา และการเลื่อนการพิจารณาให้สิทธิ GSP ของสหภาพยุโรป
ไตรมาส 2 ปี 2548 ปัญหาราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น และปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำ
ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมมาก เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูง
ขึ้นตามราคาวัตถุดิบ ประกอบกับผู้นำเข้าชะลอซื้อเพื่อรอดูท่าทีการพิจารณาสิทธิ GSP ของสหภาพ
ยุโรป และปัญหาการวางหลักทรัพย์การค้ำประกันภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งที่ส่งออกไปยังประเทศ
สหรัฐอเมริกา ทำให้การส่งออกลดลงมาก โดยส่งออกได้ 33.6 พันเมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 31.0 ตลาดสัตว์น้ำแปรรูปที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็น
สัดส่วน ร้อยละ 34.6 15.4 และ 11.5 ตามลำดับ ส่วนตลาดสัตว์น้ำแช่แข็งที่สำคัญ คือ อิตาลี
มาเลเซีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.6 16.1 และ 14.3 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋อง
ในเดือนมิถุนายนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋องขยายตัว โดยมีการนำเข้า
สัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทูน่าเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.5
ขณะที่ส่งออกได้ 9.7 พันเมตริกตัน ทรงตัวเมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ไตรมาส 2 ปี 2548 ภาวะการผลิตของ
อุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋องขยายตัวดีตามการส่งออก ส่งผลให้มีการนำเข้าสัตว์น้ำเพื่อเป็นวัตถุ
ดิบเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.1 และส่งออกได้จำนวน 32.0 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.6 ตลาดนำเข้าสำคัญ 3 อันดับ คือ สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และออสเตรเลีย
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.7 16.8 และ 12.6 ตามลำดับ
ภาคบริการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวของภาคใต้ในเดือนมิถุนายน เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากเดือนก่อน ทั้งในส่วนของการ
ท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ตอนล่างโดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านสำนักงาน
ตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ทั้งสิ้น 157,289 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 15.7 อย่างไรก็ตามเมื่อ
เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 18.3 ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ขณะที่นักท่องเดินทางเข้ามาจังหวัดสงขลามีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 13 เดือน
ภาวะการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งตะวันตก แม้ว่าเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิผ่านไปแล้วถึง 6
เดือน และภาครัฐจะพยายามฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดอันดามันที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
ด้วยการจัดกิจกรรมและแคมเปญเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวก็ตาม แต่การท่องเที่ยวยังคง
อยู่ในภาวะซบเซา รายได้และยอดนักท่องเที่ยวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายนจำนวน
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ตเพียง 33,165 คน ลดลง
จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 58.1 ทั้งนี้ เป็นผลจากนักท่องเที่ยวตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชีย
ลดลงแทบทุกตลาด ส่งผลให้อัตราเข้าพักโรงแรมเดือนมิถุนายนมีเพียงร้อยละ 10.0-20.0 เท่านั้น
อันเนื่องมาจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยปัจจัยภายนอกประเทศ ได้แก่
1. ประเทศมาเลเซียจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวหลายรายการ
2. การจัดงานเอ็กซ์โป ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะจบในเดือนกันยายน ทำให้นักท่องเที่ยว
เอเชียเข้าญี่ปุ่นจำนวนมาก และทำให้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางมาไทยน้อยลง
3. ฮ่องกงจะเปิดตัวดิสนีย์แลนด์ เฟสแรกในเดือนกันยายนนี้ ทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยว
เอเชียทุกตลาด
4. ประเทศจีนมีการเปิดประเทศด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้ต่างชาติที่นิยมเข้ามาใน
ไทยเปลี่ยนไปเที่ยวที่จีน นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่เลือกเดินทางไปเที่ยวยุโรปมากขึ้น
ซึ่งมีความแปลกใหม่กว่าไทย
ส่วนปัญหาภายในประเทศที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาท่อง
เที่ยวฝั่งอันดามันลดลง ได้แก่
1. นักท่องเที่ยวไม่อยากมาในที่ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เนื่องจากไม่สบายใจที่จะกลับมา
และหวาดกลัวเรื่องวิญญาณ
2. กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิขึ้นอีก
3. การรายงานข่าวที่รุนแรงของสื่อทั้งภายในและต่างประเทศ ประกอบกับยังคงมีข่าวการ
เกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความไม่มั่นใจในระบบเตือนภัยสึนามิของไทย
4. ปัญหาการก่อการร้าย และปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
5. สถานที่ในแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งยังคงอยู่ในช่วงปรับปรุง ทำให้บรรยากาศท่องเที่ยว
โดยรวมยังไม่พร้อม
6. ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ค่าครองชีพ และการใช้จ่ายด้านการท่อง
เที่ยวของนักท่องเที่ยวสูงขึ้น
7. ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและการเมืองของคนไทยลดลง ทำให้เพิ่มความระมัดระวังใน
การใช้จ่าย จึงชะลอการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวลง
8. นักท่องเที่ยวต่างประเทศย้ายฐานการท่องเที่ยวไปแหล่งท่องเที่ยวอื่น เช่น สมุย พัทยา
หัวหิน และเชียงใหม่ รวมทั้งไปท่องเที่ยวประเทศอื่น ๆ เช่น บาหลี มาเลเซีย และกัมพูชา
9. แคมเปญท่องเที่ยวต่างประเทศมีราคาถูกกว่าท่องเที่ยวภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เห็นว่าช่วง
ปลายเดือนมิถุนายน สถานการณ์การท่องเที่ยวของภูเก็ตเริ่มมีแนวโน้มว่าตลาดจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้
ในเดือนนี้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 12.7 และในส่วนของ
ตลาดคนไทยที่มีการจัดทำแคมเปญราคาประหยัด ได้รับการตอบรับดีพอสมควร ทำให้คนไทยมี
แนวโน้มเดินทางเข้ามามากขึ้น แต่ขณะเดียวกันจะต้องมีการระมัดระวังในเรื่องของข่าวต่าง ๆ
โดยเฉพาะเรื่องของสึนามิที่ถือเป็นจุดอ่อนของการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน
ภาวะการท่องเที่ยวภาคใต้ตอนล่าง ในเดือนนี้บรรยากาศเริ่มดีขึ้น เนื่องจากจังหวัด
สงขลาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม "สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48" ระหว่างวันที่
22-24 มิถุนายน นอกจากนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดสงขลาได้ร่วมมือกันจัด
กิจกรรมส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว อาทิ งานสุดปลายทางที่หาดใหญ่ นิทรรศการผ้าไหมไทย
การเดินแบบแฟชั่นโชว์ ตลอดจนงานไทยแลนด์แกรนด์เซลส์ โดยห้างสรรพสินค้าและร้านค้าใน
หาดใหญ่ร่วมกันลดราคาสินค้ามากกว่า 200 ร้าน ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวได้ประสบความสำเร็จ
สามารถกระตุ้นบรรยากาศการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
สนใจเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก นอกจากเป็นผลจากการเสนอข่าวความรุนแรงลดน้อยลง ทำ
ให้นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นมากขึ้น รวมทั้งฐานตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนมิถุนายนปีก่อน
อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่มัสยิดกรือเซะ โดยมีนักท่อง
เที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสงขลาทั้งสิ้น 94,016 คน เพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.3 ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มสูงสุดในรอบ 13 เดือน
ทางด้าน จ.ยะลา มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ขณะที่ จ.นราธิวาส
นักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 29.3
สำหรับไตรมาส 2 ปี 2548 จากการเกิดเหตุแผ่นดินไหวรอบสองเมื่อปลายเดือนมีนาคม
และเกิดเหตุระเบิดในอำเภอเมือง และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวม 3 จุด เมื่อวันที่ 3 เมษายน
2548 ส่งผลให้ภาวะท่องเที่ยวของภาคใต้ซบเซาลงอีกครั้ง หลังจากกระเตื้องขึ้นในปลายไตรมาสแรก
เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัย จนมีการ
ยกเลิกการจองห้องพักเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ช่วงไตรมาส 2 มีจำนวนเพียง
427,770 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.7 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของนักท่องเที่ยว
ภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่ลดลงในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่าน
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ตเพียง 95,169 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 60.1
ขณะที่ทางภาคใต้ตอนล่างสถานการณ์โดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้นในเดือนมิถุนายน ทำให้นักท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสงขลาในช่วงไตรมาส 2 มีจำนวน
242,516 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 เป็นผลจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวที่สามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวส่วนหนึ่งเป็น
ผลจากฐานตัวเลขในปีที่ ผ่านมาอยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์ความรุนแรงที่
มัสยิดกรือเซะ
ระดับราคา
ในเดือนมิถุนายน 2548 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ทรงตัวเท่ากับเดือน
ก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และหมวดอื่น ๆ
ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2
สินค้าใน หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ
สินค้าแทบทุกหมวด โดยสินค้าหมวดสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 หมวดผักและผลไม้ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.8 และหมวดอาหารสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ขณะที่สินค้าหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์
จากแป้ง และหมวดเครื่องประกอบอาหาร ลดลงร้อยละ 0.3 และ 0.8 ตามลำดับ
สินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 โดยมีการปรับตัว
เพิ่มขึ้นแทบทุกหมวดเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะราคาสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากหมวดค่าโดยสารสาธารณะ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้น
ของสินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 โดยสินค้าที่มีราคาลดลง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation)ยังคงเป็นหมวดค่าที่พักอาศัย ลดลงร้อยละ 0.1
* เนื้อสุกร ผู้บริโภคหันไปบริโภคเนื้อสัตว์อื่นทดแทน เนื่องจากมีราคาสูง ประกอบกับ
ทางราชการได้ ดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาสุกรราคาสูงโดยกำหนดให้สุกรเป็นสินค้าควบคุม
* ไก่สด มีผู้ผลิตรายใหญ่ระบายไก่มีชีวิตออกสู่ตลาด เนื่องจากได้ผลตอบแทนมากกว่าการ
แปรรูปส่งออก ทำให้ผลผลิตในตลาดเพิ่มขึ้น
* ไข่ไก่ ปริมาณผลผลิตยังไม่เพียงพอกับ ความต้องการบริโภค
* ผักสด ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
* ค่ากระแสไฟฟ้า จากการที่คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ
(เอฟที) ได้มีมติเห็นชอบให้เรียกเก็บค่าเอฟทีช่วงเดือนมิถุนายน -- กันยายน 2548 เพิ่มขึ้นอีก 3.55
สตางค์ต่อหน่วย
* ค่าโดยสารสาธารณะ ได้แก่ ค่าโดยสารรถประจำทาง และค่าโดยสารรถเมล์เล็กที่วิ่งภาย
ในเมืองในภูมิภาค ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
* น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นไปตามภาวะราคา
น้ำมันดิบในตลาดโลก และน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ที่สูงขึ้น
ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 4.6 ทั้งนี้เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวม
อาหารและเครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และ 4.3 ตามลำดับ โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น
ได้แก่
* ราคาสินค้าในหมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส
เดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.5 โดยราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับสูงขึ้นร้อยละ 5.0 เนื่องจากสภาพอากาศร้อน
ทำให้สุกรโตช้า ส่วนราคาปลาและสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ผลจากการปิดอ่าวไทย และการที่
เรือประมงบางส่วนหยุดหาปลา จากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น
* หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม, หมวดผักและผลไม้ และหมวดอาหารสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.0 9.5 และ 5.2 ตามลำดับ
* ราคาหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 จากผลของราคา
น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินและดีเซล ที่ปรับราคาเพิ่มขึ้นตามภาวะน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้น ทำให้
สินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ส่งผลต่อค่าโดยสารสาธารณะ
ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8
* หมวดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้ในเดือนมิถุนายนขยายตัว จาก
รายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น จูงใจให้ประชาชนมีการจับจ่าย
ใช้สอยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากเครื่องชี้ด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม และตัวเลขการจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ยังลดลง จากผลกระทบของสึนามิ และปัญหาความ
ไม่สงบใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(ไม่รวมภาษีศุลกากร) เดือนมิถุนายน จัดเก็บได้ 427.7 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.2 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 จังหวัดที่
จัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ จังหวัดปัตตานี รองลงมา คือ นราธิวาส และพัทลุง
โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.3 37.3 และ 23.7 ตามลำดับ สำหรับจังหวัดที่จัดเก็บได้ลดลงมากที่สุด คือ
จังหวัดกระบี่ รองลงมาคือ จังหวัดพังงา และภูเก็ต ลดลงร้อยละ 24.5 23.8 และ 22.9 ตามลำดับ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในเดือนนี้จังหวัดที่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงมาก เป็นจังหวัดที่ได้รับ
ผลกระทบจากภัยสึนามิ ขณะที่จังหวัดซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี กลับมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้เพิ่มขึ้นยกเว้นจังหวัดยะลาที่จัดเก็บได้
ลดลงในเดือนนี้ ร้อยละ 2.8
ทางด้าน เครื่องชี้ยานพาหนะ ยอดจำหน่ายรถยนต์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก
ข่าวการปรับขึ้นราคารถยนต์ เพราะต้นทุนสูงขึ้นหลังมีการปรับวิธีจัดเก็บภาษีสรรพสามิต จากเดิมที่
คิดจากราคาหน้าโรงงาน เป็นคิดจากต้นทุนที่ร้อยละ 76 ของราคาขาย และการลอยตัวราคาน้ำมัน
ดีเซล โดยที่ผู้ประกอบการยังเน้นรักษาฐานลูกค้าเดิมและหาฐานลูกค้าใหม่เพิ่ม ใช้กลยุทธ์บริหาร
ทีมขายเชิงรุก ทำกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง ทำให้มียอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้น
ขณะที่ตลาดรถจักรยานยนต์ มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง จากปัญหา 3 จังหวัดชายแดน
(ยังมีต่อ)