1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิต 4.93 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 10.04 และ12.28 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นทั้งจากผลกระทบของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้การผลิตปรับตัวลดลง
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่าย 1.22 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 46.72 และ 46.49 ตามลำดับ เนื่องจากได้รับผลกระทบทั้งจากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกทั้งผลกระทบการเมือง ทำให้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ซึ่งมีผลทำให้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องเรือนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างปรับตัวลดลงตามไปด้วย
2. การส่งออกและการนำเข้า
2.1 การส่งออก
ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 512.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 0.60 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 เนื่องจากมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดหลักขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฟิลิปปินส์ ไอร์แลนด์ และมาเลเซีย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ซึ่งแบ่งการพิจารณาเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในช่วงไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 275.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 54 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 7.04 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.51 โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุด คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ ตลาดส่งออกสำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ ในไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 81.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 7.25 และ 7.56 ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้
มีมูลค่าการส่งออก 154.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.60 และ 10.53 ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย และไต้หวัน
2.2 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ นำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่างๆ โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกันจำนวน 148.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 11.18 และ 12.69 ตามลำดับ แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทไม้หรือไม้แปรรูป ประเภทต่าง ๆ มีการนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่ และในส่วนผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้ามาจากประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ภาวะการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน ทั้งนี้เป็นเพราะต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมัน นอกจากนี้การลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ทำให้สินค้าไม้และเครื่องเรือน อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้างและการตกแต่งอาคารสถานที่มีการผลิตปรับตัวลดลง
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คาดว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้การลงทุนในการก่อสร้างของภาคเอกชนชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าไม้และเครื่องเรือนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญชะลอตัวตามไปด้วย
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ประเทศในกลุ่มอาเซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ของไทย เช่น จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และตะวันออกกลางก็ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะมีการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งจากจีนและเวียดนาม ซึ่งจีนเริ่มมีการปรับตัวทางด้านการออกแบบ แต่ราคาขายยังต่ำกว่าไทยมาก และมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดสินค้าระดับสูง ในขณะที่เวียดนามซึ่งมีต้นทุนต่ำสามารถครองตลาดสินค้าระดับล่างได้เกือบทั้งหมด และยังได้เปรียบจากการที่ประเทศยุโรปย้ายฐานการผลิตมายังเวียดนาม ทำให้มีการพัฒนาการผลิตเพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนที่สำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการของไทยจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงควบคู่กับการปรับปรุงรูปแบบและประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะเรื่องความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการออกแบบเพื่อยกระดับตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิต 4.93 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 10.04 และ12.28 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นทั้งจากผลกระทบของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้การผลิตปรับตัวลดลง
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่าย 1.22 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 46.72 และ 46.49 ตามลำดับ เนื่องจากได้รับผลกระทบทั้งจากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกทั้งผลกระทบการเมือง ทำให้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ซึ่งมีผลทำให้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องเรือนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างปรับตัวลดลงตามไปด้วย
2. การส่งออกและการนำเข้า
2.1 การส่งออก
ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 512.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 0.60 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 เนื่องจากมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดหลักขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฟิลิปปินส์ ไอร์แลนด์ และมาเลเซีย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ซึ่งแบ่งการพิจารณาเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในช่วงไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 275.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 54 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 7.04 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.51 โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุด คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ ตลาดส่งออกสำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ ในไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 81.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 7.25 และ 7.56 ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้
มีมูลค่าการส่งออก 154.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.60 และ 10.53 ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย และไต้หวัน
2.2 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ นำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่างๆ โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกันจำนวน 148.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 11.18 และ 12.69 ตามลำดับ แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทไม้หรือไม้แปรรูป ประเภทต่าง ๆ มีการนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่ และในส่วนผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้ามาจากประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ภาวะการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน ทั้งนี้เป็นเพราะต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมัน นอกจากนี้การลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ทำให้สินค้าไม้และเครื่องเรือน อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้างและการตกแต่งอาคารสถานที่มีการผลิตปรับตัวลดลง
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คาดว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้การลงทุนในการก่อสร้างของภาคเอกชนชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าไม้และเครื่องเรือนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญชะลอตัวตามไปด้วย
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ประเทศในกลุ่มอาเซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ของไทย เช่น จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และตะวันออกกลางก็ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะมีการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งจากจีนและเวียดนาม ซึ่งจีนเริ่มมีการปรับตัวทางด้านการออกแบบ แต่ราคาขายยังต่ำกว่าไทยมาก และมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดสินค้าระดับสูง ในขณะที่เวียดนามซึ่งมีต้นทุนต่ำสามารถครองตลาดสินค้าระดับล่างได้เกือบทั้งหมด และยังได้เปรียบจากการที่ประเทศยุโรปย้ายฐานการผลิตมายังเวียดนาม ทำให้มีการพัฒนาการผลิตเพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนที่สำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการของไทยจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงควบคู่กับการปรับปรุงรูปแบบและประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะเรื่องความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการออกแบบเพื่อยกระดับตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-