กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกันยายน และระยะ 9 เดือนแรกของปี 2549 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2549
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนกันยายน 2549 เท่ากับ 115.0 สำหรับเดือนสิงหาคม 2549 เท่ากับ 115.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนสิงหาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.3
2.2 เดือนกันยายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 2.7
2.3 เทียบระยะ 9 เดือนเฉลี่ย (มกราคม - กันยายน) ของปี 2549 กับ
ระยะเดียวกันของปี 2548 สูงขึ้นร้อยละ 5.2
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2549 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.3 (สิงหาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1) นับเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปี 2549 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการลดลงอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงตามภาวะตลาดโลก ประกอบกับราคาอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อหมู ไก่ และไข่ ลดลงอย่างต่อเนื่องด้วย ขณะที่ราคาสินค้าอุปโภค เช่น ค่าของใช้ส่วนบุคคลโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับทรงตัว
3.1 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 1.1 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 8.3 โดยการลดลงของราคาน้ำมันเบนซิน 6 ครั้งและน้ำมันดีเซล 7 ครั้ง สำหรับสินค้าหมวดอื่น ๆ ราคาสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในระดับทรงตัวและเคลื่อนไหวเล็กน้อย
3.2 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.0 สาเหตุสำคัญยังคงเป็นการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผลไม้สดร้อยละ 6.5 ข้าวสารเหนียวร้อยละ 5.9 และผักสดร้อยละ 2.3 เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาล ประกอบกับภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทำให้ผักได้รับความเสียหาย สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ยังคงมีราคาลดลงอย่างต่อเนื่องได้แก่ เนื้อหมู ไก่ และไข่
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนกันยายน 2548 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.7 เป็นอัตราเพิ่มที่ชะลอตัวลงจากเดือนที่แล้วค่อนข้างมาก (สิงหาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 3.8) สาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นสำคัญทำให้ดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัวลงค่อนข้างมากจากร้อยละ 15.1 มาเป็นร้อยละ 2.0 ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารที่เป็นอาหารหลักลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น เนื้อหมู ไก่ และไข่ อย่างไรก็ตามค่าโดยสารสาธารณะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงร้อยละ 13.0
5. ถ้าพิจารณาช่วงระยะ 9 เดือนเฉลี่ยของปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2548 ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 โดยการเพิ่มขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.3 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5.7
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกันยายน 2549 เท่ากับ 105.0 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนสิงหาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
6.2 เดือนกันยายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 1.9
6.3 เทียบระยะ 9 เดือนเฉลี่ย (มกราคม - กันยายน) ของปี 2549
กับช่วงระยะเดียวกันของปี 2548 สูงขึ้นร้อยละ 2.5
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2549
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนกันยายน 2549 เท่ากับ 115.0 สำหรับเดือนสิงหาคม 2549 เท่ากับ 115.4
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนสิงหาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.3
2.2 เดือนกันยายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 2.7
2.3 เทียบระยะ 9 เดือนเฉลี่ย (มกราคม - กันยายน) ของปี 2549 กับ
ระยะเดียวกันของปี 2548 สูงขึ้นร้อยละ 5.2
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2549 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.3 (สิงหาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1) นับเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปี 2549 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการลดลงอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงตามภาวะตลาดโลก ประกอบกับราคาอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อหมู ไก่ และไข่ ลดลงอย่างต่อเนื่องด้วย ขณะที่ราคาสินค้าอุปโภค เช่น ค่าของใช้ส่วนบุคคลโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับทรงตัว
3.1 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 1.1 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 8.3 โดยการลดลงของราคาน้ำมันเบนซิน 6 ครั้งและน้ำมันดีเซล 7 ครั้ง สำหรับสินค้าหมวดอื่น ๆ ราคาสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในระดับทรงตัวและเคลื่อนไหวเล็กน้อย
3.2 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.0 สาเหตุสำคัญยังคงเป็นการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผลไม้สดร้อยละ 6.5 ข้าวสารเหนียวร้อยละ 5.9 และผักสดร้อยละ 2.3 เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาล ประกอบกับภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทำให้ผักได้รับความเสียหาย สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ยังคงมีราคาลดลงอย่างต่อเนื่องได้แก่ เนื้อหมู ไก่ และไข่
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนกันยายน 2548 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.7 เป็นอัตราเพิ่มที่ชะลอตัวลงจากเดือนที่แล้วค่อนข้างมาก (สิงหาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 3.8) สาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นสำคัญทำให้ดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัวลงค่อนข้างมากจากร้อยละ 15.1 มาเป็นร้อยละ 2.0 ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารที่เป็นอาหารหลักลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น เนื้อหมู ไก่ และไข่ อย่างไรก็ตามค่าโดยสารสาธารณะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงร้อยละ 13.0
5. ถ้าพิจารณาช่วงระยะ 9 เดือนเฉลี่ยของปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2548 ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 โดยการเพิ่มขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.3 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5.7
6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกันยายน 2549 เท่ากับ 105.0 เมื่อเทียบกับ
6.1 เดือนสิงหาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
6.2 เดือนกันยายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 1.9
6.3 เทียบระยะ 9 เดือนเฉลี่ย (มกราคม - กันยายน) ของปี 2549
กับช่วงระยะเดียวกันของปี 2548 สูงขึ้นร้อยละ 2.5
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--