กรุงเทพ--27 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ในโอกาสที่นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2549 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้มีพิธีลงนามอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (Convention between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Korea for the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income) โดยนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และนาย Yu Myung-hwan รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเกาหลี เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย-สาธารณรัฐเกาหลี มีสาระสำคัญเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ และป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีระหว่างประเทศคู่สัญญาทำนองเดียวกับความตกลงหรืออนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยเคยตกลงไว้แล้วกับประเทศอื่นๆ และมีผลบังคับใช้มานานแล้ว (ขณะนี้มี 49 ประเทศ)
การจัดทำอนุสัญญาดังกล่าวกับสาธารณรัฐเกาหลี จะส่งสัญญาณในเชิงบวกต่อนักลงทุนของทั้งสองประเทศ เนื่องจากอนุสัญญาดังกล่าวช่วยขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไปในระดับหนึ่ง จึงทำให้ภาระภาษีซึ่งถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งของนักลงทุนลดต่ำลงด้วย นอกจากนี้ จะทำให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่แน่นอนและชัดเจน ซึ่งเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน สร้างความมั่นใจ และเป็นหลักประกันในการลงทุนทำธุรกิจระหว่าง
ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ อนุสัญญาฯ จึงช่วยดึงดูดการลงทุนระหว่างไทยและสาธารณรัฐเกาหลีมากยิ่งขึ้น
ไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2501 สาธารณรัฐเกาหลีเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนรายใหญ่ของไทย โดยระหว่างปี 2547-2548 มีการลงทุนสุทธิคิดเป็นมูลค่า 298 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 ไทยส่งออกสินค้าไปยังสาธารณรัฐเกาหลี คิดเป็นมูลค่า 2,259 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้าสินค้าจากสาธารณรัฐเกาหลี คิดเป็นมูลค่า 3,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบัน สาธารณรัฐเกาหลีมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น และตั้งเป้าหมายทำเขตการค้าเสรีกับ 15 ประเทศ/กลุ่มประเทศ ภายในปี 2550 เพื่อขยายตลาดการค้าให้สินค้าส่งออกของประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ร้อยละ 70 ของ GDP
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ในโอกาสที่นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2549 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้มีพิธีลงนามอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (Convention between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Korea for the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income) โดยนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และนาย Yu Myung-hwan รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเกาหลี เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย-สาธารณรัฐเกาหลี มีสาระสำคัญเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ และป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีระหว่างประเทศคู่สัญญาทำนองเดียวกับความตกลงหรืออนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยเคยตกลงไว้แล้วกับประเทศอื่นๆ และมีผลบังคับใช้มานานแล้ว (ขณะนี้มี 49 ประเทศ)
การจัดทำอนุสัญญาดังกล่าวกับสาธารณรัฐเกาหลี จะส่งสัญญาณในเชิงบวกต่อนักลงทุนของทั้งสองประเทศ เนื่องจากอนุสัญญาดังกล่าวช่วยขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไปในระดับหนึ่ง จึงทำให้ภาระภาษีซึ่งถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งของนักลงทุนลดต่ำลงด้วย นอกจากนี้ จะทำให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่แน่นอนและชัดเจน ซึ่งเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน สร้างความมั่นใจ และเป็นหลักประกันในการลงทุนทำธุรกิจระหว่าง
ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ อนุสัญญาฯ จึงช่วยดึงดูดการลงทุนระหว่างไทยและสาธารณรัฐเกาหลีมากยิ่งขึ้น
ไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2501 สาธารณรัฐเกาหลีเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนรายใหญ่ของไทย โดยระหว่างปี 2547-2548 มีการลงทุนสุทธิคิดเป็นมูลค่า 298 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 ไทยส่งออกสินค้าไปยังสาธารณรัฐเกาหลี คิดเป็นมูลค่า 2,259 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้าสินค้าจากสาธารณรัฐเกาหลี คิดเป็นมูลค่า 3,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบัน สาธารณรัฐเกาหลีมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น และตั้งเป้าหมายทำเขตการค้าเสรีกับ 15 ประเทศ/กลุ่มประเทศ ภายในปี 2550 เพื่อขยายตลาดการค้าให้สินค้าส่งออกของประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ร้อยละ 70 ของ GDP
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-