สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สถานการณ์การผลิตในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนเนื่องจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจของไทยเข้าสู่ภาวะชะลอตัว อันเป็นผลจากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความไม่ชัดเจนด้านการเมืองส่งผลให้ภาคประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย หันไปเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนักเหมาะกับกำลังซื้อที่มีจำกัด การนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 มีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจากจีน เวียดนามและอินเดีย สูงถึงร้อยละ 46.1 โดยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและดัชนีการจำหน่ายสินค้า การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 2.9 และ 3.7 การผลิตผ้าฯ ลดลงร้อยละ 9.5 และ 3.2 การผลิตเครื่องแต่งกายฯ ลดลงร้อยละ 7.7 และ 6.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนตามลำดับ ซึ่งดัชนีลดลงเช่นเดียวกัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ในส่วนการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 1,649.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,671.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 21.08 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 10.15 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 10.93 ล้านตัน โดยการผลิตปูนซีเมนต์เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 1.68 เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนการก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ลดลง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.22 และในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีการผลิตปูนซีเมนต์จำนวน 42.52 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27 การผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการได้เพิ่มการผลิตเพื่อขยายการส่งออกทดแทนตลาดในประเทศ โดยการส่งออกมีปริมาณรวม 3.67 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,011.81 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.66 และ1.03 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 1.51 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า1,736.56 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 2.16 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,275.25 ล้านบาท อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 2.39 แต่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.72
ด้านการจำหน่ายในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 7.76 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.08 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.68 ล้านตัน โดยปริมาณการจำหน่ายรวมในประเทศเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 8.38 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.39 สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ 16.23 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.35 เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และในเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทำให้มีอุปสรรคในการก่อสร้าง ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง อีกทั้งการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 38.72 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.93 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.87 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.15 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.32 และ 8.76 ตามลำดับ และในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 75.98 ล้านตาราง เมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.30 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตรา การขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.06 และ 6.20 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตเซรามิกขยายตัวลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
ในการจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 40.26 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 8.48 และ 4.13 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.21 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.08 และ 10.57 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ ฤดูฝน ตลอดจนภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 167.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.79 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.28 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป สำหรับผลิตภัณฑ์ที่การส่งออกขยายตัวลดลง ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และของชำร่วยเครื่อง ประดับ ซึ่งขยายตัวลดลงจากตลาดหลักดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในส่วนการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 1,649.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,671.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 21.08 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 10.15 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 10.93 ล้านตัน โดยการผลิตปูนซีเมนต์เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 1.68 เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนการก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ทำให้ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ลดลง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.22 และในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีการผลิตปูนซีเมนต์จำนวน 42.52 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27 การผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการได้เพิ่มการผลิตเพื่อขยายการส่งออกทดแทนตลาดในประเทศ โดยการส่งออกมีปริมาณรวม 3.67 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,011.81 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.66 และ1.03 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 1.51 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า1,736.56 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 2.16 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,275.25 ล้านบาท อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 2.39 แต่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.72
ด้านการจำหน่ายในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 7.76 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.08 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.68 ล้านตัน โดยปริมาณการจำหน่ายรวมในประเทศเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 8.38 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.39 สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ 16.23 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.35 เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และในเดือนมิถุนายนเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทำให้มีอุปสรรคในการก่อสร้าง ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง อีกทั้งการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 38.72 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.93 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.87 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.15 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.32 และ 8.76 ตามลำดับ และในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 75.98 ล้านตาราง เมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.30 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตรา การขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.06 และ 6.20 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตเซรามิกขยายตัวลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
ในการจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 40.26 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 8.48 และ 4.13 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.21 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.08 และ 10.57 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ ฤดูฝน ตลอดจนภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 167.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.79 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.28 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป สำหรับผลิตภัณฑ์ที่การส่งออกขยายตัวลดลง ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และของชำร่วยเครื่อง ประดับ ซึ่งขยายตัวลดลงจากตลาดหลักดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-