1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิต 4.43 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 16.73 และ19.60 ตามลำดับ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณการผลิต 9.75 ล้าน
ชิ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการผลิตลดลงร้อยละ 12.48 เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศปรับตัวลดลงตามทิศทางการชะลอตัวของ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
จึงทำให้ผู้ผลิตปรับลดปริมาณการผลิตลง
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่าย 1.12 ล้าน
ชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 15.79 และ 59.57 ตามลำดับ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มี
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ 2.45 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการผลิตลดลงร้อยละ 51.49 เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันจากราคา
น้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนผลกระทบจากปัญหาทางการเมือง ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มซบเซาลง ส่งผลให้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ไม้และเครื่องเรือนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างปรับตัวลดลงตามไปด้วย
3. การส่งออกและการนำเข้า
3.1 การส่งออก
ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น
528.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.10 และ 3.13 ตามลำดับ สำหรับในช่วงครึ่ง
แรกของปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 1,040.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 เนื่องจากมูลค่าการส่ง
ออกของประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ เช่น จีน เอเชีย
ใต้ แอฟริกาใต้ ตะวันออกกลาง มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ในปัจจุบันจะมีมูลค่าไม่มากนักแต่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
โดยรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า
ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ใน
ช่วงไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 262.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และ
เครื่องเรือน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 4.97 และ 3.74 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นทั้ง
จากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ผู้ผลิตของไทยยังต้องเผชิญปัญหาภาวะการแข่งขันที่รุนแรง
ขึ้นทั้งจากจีนและเวียดนามที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย ทำให้การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยไปยังตลาดส่งออกที่สำคัญทั้งสหรัฐอเมริกา และ
ญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวลดลงเล็กน้อย สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่
สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้
รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ ในไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 85.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่า
การส่งออกร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.15 แต่เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 8.96 ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber
Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 180.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 34
ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.98 และ
23.71 ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย และไต้หวัน
3.2 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และ
ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ นำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่างๆ โดยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีมูลค่าการนำ
เข้ารวมกันจำนวน 149.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.40 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนลดลงร้อยละ 31.84 สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มี มูลค่าการนำเข้า 297.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลด
ลงร้อยละ 23.27 โดยจะมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ไม้ซุงท่อนเป็นสำคัญ ซึ่งการนำเข้าส่วนใหญ่จากประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย สำหรับผลิตภัณฑ์
ประเภทไม้หรือไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์จะ
นำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย ในไตรมาสที่ 2 ปี2549 และในช่วงครึ่งแรกของปี
2549 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศปรับตัวลดลง ตามทิศทางการ
ชะลอตัวลงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนปรับตัวสูงขึ้นทั้งจากผลกระทบของราคาน้ำมันและอัตรา
ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าไม้และเครื่องเรือน อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้างและการตกแต่งอาคารสถานที่มีการผลิต
และการจำหน่ายในประเทศลดลงตามไปด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีแนวโน้มชะลอตัว
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ยังคงชะลอตัวลง
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 และในช่วงครึ่งแรกปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อนและระยะเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ เช่น
จีน เอเชียใต้ แอฟริกาใต้ ตะวันออกกลาง รวมไปถึงออสเตรเลียและมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ในปัจจุบันจะมีมูลค่าไม่มากนักแต่มีการขยายตัวอย่างต่อ
เนื่อง
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการ
ส่งออกเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ กก ผักตบชวา ได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่
สำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และออสเตรเลีย มีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี และความต้องการในตลาดส่งออกรายใหม่ของไทย ได้แก่
จีน เอเชียใต้ แอฟริกา และตะวันออกกลาง ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการส่งออกของไทยมีหลายปัจจัย ได้แก่ ปัญหาต้นทุนการ
ผลิตที่สูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ ได้แก่ ไม้ยางพารา ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและเวียดนาม ซึ่งจีนและ
เวียดนามมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทยมาก นอกจากนี้ปัญหาเรื่องกฎระเบียบการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์โดยใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อ
สุขภาพของผู้ใช้ในแต่ละประเทศโดยเฉพาะยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็ยังคงเข้มงวดเช่นเดิม ซึ่งผู้ประกอบการของไทยจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญต่อ
การบริหารต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงควบคู่กับการปรับปรุงรูปแบบและประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะเรื่องความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการออกแบบเพื่อ
ยกระดับตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 5.51 5.32 4.43 11.14 9.75
D เทียบกับไตรมาสก่อน -16.73
D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -19.6 -12.48
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 39 โรงงาน
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 2.77 1.33 1.12 5.05 2.45
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -15.79
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -59.57 -51.49
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 39 โรงงาน
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน (รายไตรมาส)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส D เทียบกับ % D เทียบกับ
2/2548 1/2549 2/2549 ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 272.4 275.9 262.2 -4.97 -3.74
1.1 เครื่องเรือนไม้ 161.6 162.7 146 -10.26 -9.65
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 71.1 68.5 67.5 -1.46 -5.06
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 39.7 44.7 48.7 8.95 22.67
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 93.69 81.9 85.3 4.15 -8.96
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 32.9 20.4 19.8 -2.94 -39.82
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 31.1 26.3 28.6 8.75 -8.04
2.3 กรอบรูปไม้ 21 23.4 25.3 8.12 20.48
2.4 รูปแกะสลักไม้ 8.69 11.8 11.6 -1.69 33.49
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 145.9 154.3 180.5 16.98 23.71
3.1 ไม้แปรรูป 55.4 55.6 69.5 25 25.45
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 1.7 1.7 1.2 -29.41 -29.41
3.3 ไม้อัด 36.6 50.9 57.6 13.16 57.38
3.4 Fiber Board 32 32.9 38.6 17.33 20.63
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 20.2 13.2 13.6 3.03 -32.67
รวม 511.99 512.1 528 3.1 3.13
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน (รายไตรมาส)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส D เทียบกับ % D เทียบกับ
2/2548 1/2549 2/2549 ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 31.3 23.8 24.2 1.68 -22.68
ไม้แปรรูป 152.8 95.3 93.2 -2.2 -39.01
ไม้อัด วีเนียร์ 24.9 20 21.1 5.5 -15.26
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 9.9 9.5 10.7 12.63 8.08
รวม 218.9 148.6 149.2 0.4 -31.84
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน (ครึ่งปีแรก)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ปี 2548 ปี 2549 D เทียบกับ
(ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.) ช่วงเดียวกันของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 534.8 538.1 0.62
1.1 เครื่องเรือนไม้ 314.9 308.7 -1.97
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 143.9 136 -5.49
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 76 93.4 22.89
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 176.6 167.2 -5.32
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 47.3 40.2 -15.1
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 60.9 54.9 -9.85
2.3 กรอบรูปไม้ 44.8 48.7 8.71
2.4 รูปแกะสลักไม้ 23.6 23.4 -0.85
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 283.6 334.8 18.05
3.1 ไม้แปรรูป 106.3 125.1 17.69
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 4.2 2.9 -30.95
3.3 ไม้อัด 70.5 108.5 53.9
3.4 Fiber Board 62.9 71.5 13.67
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 39.7 26.8 -32.49
รวม 995 1,040.10 4.53
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 6 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน (ครึ่งปีแรก)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ปี 2548 ปี 2549 D เทียบกับ
(ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.) ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 59.7 48 -19.6
ไม้แปรรูป 267 188.5 -29.4
ไม้อัด วีเนียร์ 44.4 41.1 -7.43
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 17 20.2 18.82
รวม 388.1 297.8 -23.27
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีปริมาณการผลิต 4.43 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 16.73 และ19.60 ตามลำดับ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณการผลิต 9.75 ล้าน
ชิ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการผลิตลดลงร้อยละ 12.48 เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศปรับตัวลดลงตามทิศทางการชะลอตัวของ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
จึงทำให้ผู้ผลิตปรับลดปริมาณการผลิตลง
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่าย 1.12 ล้าน
ชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 15.79 และ 59.57 ตามลำดับ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มี
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ 2.45 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการผลิตลดลงร้อยละ 51.49 เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันจากราคา
น้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนผลกระทบจากปัญหาทางการเมือง ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มซบเซาลง ส่งผลให้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ไม้และเครื่องเรือนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างปรับตัวลดลงตามไปด้วย
3. การส่งออกและการนำเข้า
3.1 การส่งออก
ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น
528.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.10 และ 3.13 ตามลำดับ สำหรับในช่วงครึ่ง
แรกของปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 1,040.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 เนื่องจากมูลค่าการส่ง
ออกของประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ เช่น จีน เอเชีย
ใต้ แอฟริกาใต้ ตะวันออกกลาง มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ในปัจจุบันจะมีมูลค่าไม่มากนักแต่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
โดยรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า
ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ใน
ช่วงไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 262.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และ
เครื่องเรือน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 4.97 และ 3.74 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นทั้ง
จากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ผู้ผลิตของไทยยังต้องเผชิญปัญหาภาวะการแข่งขันที่รุนแรง
ขึ้นทั้งจากจีนและเวียดนามที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย ทำให้การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยไปยังตลาดส่งออกที่สำคัญทั้งสหรัฐอเมริกา และ
ญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวลดลงเล็กน้อย สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่
สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้
รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ ในไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 85.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่า
การส่งออกร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.15 แต่เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 8.96 ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber
Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 180.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 34
ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.98 และ
23.71 ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย และไต้หวัน
3.2 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และ
ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ นำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่างๆ โดยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีมูลค่าการนำ
เข้ารวมกันจำนวน 149.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.40 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนลดลงร้อยละ 31.84 สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มี มูลค่าการนำเข้า 297.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลด
ลงร้อยละ 23.27 โดยจะมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ไม้ซุงท่อนเป็นสำคัญ ซึ่งการนำเข้าส่วนใหญ่จากประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย สำหรับผลิตภัณฑ์
ประเภทไม้หรือไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์จะ
นำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย ในไตรมาสที่ 2 ปี2549 และในช่วงครึ่งแรกของปี
2549 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศปรับตัวลดลง ตามทิศทางการ
ชะลอตัวลงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนปรับตัวสูงขึ้นทั้งจากผลกระทบของราคาน้ำมันและอัตรา
ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าไม้และเครื่องเรือน อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้างและการตกแต่งอาคารสถานที่มีการผลิต
และการจำหน่ายในประเทศลดลงตามไปด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีแนวโน้มชะลอตัว
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ยังคงชะลอตัวลง
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 และในช่วงครึ่งแรกปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อนและระยะเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์ในตลาดใหม่ เช่น
จีน เอเชียใต้ แอฟริกาใต้ ตะวันออกกลาง รวมไปถึงออสเตรเลียและมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ในปัจจุบันจะมีมูลค่าไม่มากนักแต่มีการขยายตัวอย่างต่อ
เนื่อง
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการ
ส่งออกเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ กก ผักตบชวา ได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่
สำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และออสเตรเลีย มีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี และความต้องการในตลาดส่งออกรายใหม่ของไทย ได้แก่
จีน เอเชียใต้ แอฟริกา และตะวันออกกลาง ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการส่งออกของไทยมีหลายปัจจัย ได้แก่ ปัญหาต้นทุนการ
ผลิตที่สูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ ได้แก่ ไม้ยางพารา ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและเวียดนาม ซึ่งจีนและ
เวียดนามมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทยมาก นอกจากนี้ปัญหาเรื่องกฎระเบียบการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์โดยใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อ
สุขภาพของผู้ใช้ในแต่ละประเทศโดยเฉพาะยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็ยังคงเข้มงวดเช่นเดิม ซึ่งผู้ประกอบการของไทยจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญต่อ
การบริหารต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงควบคู่กับการปรับปรุงรูปแบบและประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะเรื่องความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการออกแบบเพื่อ
ยกระดับตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 5.51 5.32 4.43 11.14 9.75
D เทียบกับไตรมาสก่อน -16.73
D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -19.6 -12.48
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 39 โรงงาน
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 2.77 1.33 1.12 5.05 2.45
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -15.79
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -59.57 -51.49
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 39 โรงงาน
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน (รายไตรมาส)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส D เทียบกับ % D เทียบกับ
2/2548 1/2549 2/2549 ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 272.4 275.9 262.2 -4.97 -3.74
1.1 เครื่องเรือนไม้ 161.6 162.7 146 -10.26 -9.65
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 71.1 68.5 67.5 -1.46 -5.06
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 39.7 44.7 48.7 8.95 22.67
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 93.69 81.9 85.3 4.15 -8.96
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 32.9 20.4 19.8 -2.94 -39.82
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 31.1 26.3 28.6 8.75 -8.04
2.3 กรอบรูปไม้ 21 23.4 25.3 8.12 20.48
2.4 รูปแกะสลักไม้ 8.69 11.8 11.6 -1.69 33.49
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 145.9 154.3 180.5 16.98 23.71
3.1 ไม้แปรรูป 55.4 55.6 69.5 25 25.45
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 1.7 1.7 1.2 -29.41 -29.41
3.3 ไม้อัด 36.6 50.9 57.6 13.16 57.38
3.4 Fiber Board 32 32.9 38.6 17.33 20.63
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 20.2 13.2 13.6 3.03 -32.67
รวม 511.99 512.1 528 3.1 3.13
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน (รายไตรมาส)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส D เทียบกับ % D เทียบกับ
2/2548 1/2549 2/2549 ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 31.3 23.8 24.2 1.68 -22.68
ไม้แปรรูป 152.8 95.3 93.2 -2.2 -39.01
ไม้อัด วีเนียร์ 24.9 20 21.1 5.5 -15.26
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 9.9 9.5 10.7 12.63 8.08
รวม 218.9 148.6 149.2 0.4 -31.84
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน (ครึ่งปีแรก)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ปี 2548 ปี 2549 D เทียบกับ
(ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.) ช่วงเดียวกันของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 534.8 538.1 0.62
1.1 เครื่องเรือนไม้ 314.9 308.7 -1.97
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 143.9 136 -5.49
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 76 93.4 22.89
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 176.6 167.2 -5.32
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 47.3 40.2 -15.1
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 60.9 54.9 -9.85
2.3 กรอบรูปไม้ 44.8 48.7 8.71
2.4 รูปแกะสลักไม้ 23.6 23.4 -0.85
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 283.6 334.8 18.05
3.1 ไม้แปรรูป 106.3 125.1 17.69
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 4.2 2.9 -30.95
3.3 ไม้อัด 70.5 108.5 53.9
3.4 Fiber Board 62.9 71.5 13.67
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 39.7 26.8 -32.49
รวม 995 1,040.10 4.53
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 6 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน (ครึ่งปีแรก)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ปี 2548 ปี 2549 D เทียบกับ
(ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.) ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 59.7 48 -19.6
ไม้แปรรูป 267 188.5 -29.4
ไม้อัด วีเนียร์ 44.4 41.1 -7.43
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 17 20.2 18.82
รวม 388.1 297.8 -23.27
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-