กรุงเทพ--7 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ณ กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (เอเปค) ครั้งที่ 14 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะจัดขึ้น ณ กรุงฮานอย เวียดนาม ระหว่างวันที่ 15-19 พฤศจิกายน 2549 สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 14 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลักคือ “มุ่งสู่ประชาคมแห่งพลวัตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและมั่งคั่ง (Towards a Dynamic Community for Sustainable Development and Prosperity)”
2. ที่ประชุมฯ จะรับรองปฏิญญาฮานอย (Hanoi Declaration) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ในการดำเนินการตามแนวทางปูซาน (Busan Roadmap) เพื่อบรรลุตามเป้าหมายโบกอร์ (Bogor Goals) ในการส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสมาชิก โดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วในปี 2553 และสำหรับสมาชิกประเทศกำลังพัฒนาในปี 2563
3. ประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือในที่ประชุมฯ ประกอบด้วย
3.1 การค้าและการลงทุน ซึ่งสมาชิกเอเปคทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจจะหารือเกี่ยวกับปฏิญญาฮานอย ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการในรายละเอียดในการดำเนินการตามแนวทางปูซานและเป้าหมายโบกอร์ นอกจากนี้ สมาชิกเอเปคจะหารือกันในการผลักดันให้เอเปคมีบทบาทในการสนับสนุนองค์การการค้าโลก (WTO) ในการแก้ปัญหาความชะงักงันของการเจรจาการค้าโลกรอบโดฮา
3.2 ความร่วมมือ ซึ่งสมาชิกเอเปคจะหารือถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.3 ความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งสมาชิกเอเปคจะหารือกันถึงความร่วมมือในสาขาที่เกี่ยวข้องที่มีนัยเกี่ยวข้องทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง อาทิ การต่อต้านการก่อการร้ายข้ามชาติ ความร่วมมือด้านสาธารณสุข และภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเอเปคสามารถมีบทบาทเป็นเสมือนคลังความคิดและการฝึกอบรม/เตรียมความพร้อม ซึ่งจะเสริมกับบทบาทของไทยในกรอบทวิภาคีดังเช่นที่ไทยให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
4. นอกจากนี้ สมาชิกเอเปคยังจะหารือเกี่ยวกับการปฏิรูปโครงสร้างและประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรและสำนักเลขาธิการฯ เพื่อความคล่องตัวและการประหยัดทรัพยากรด้วย
5. ในส่วนของไทย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ตอบรับคำเชิญที่จะกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสุดยอด APEC CEO ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติของเวียดนามในช่วงบ่ายในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 รวมทั้งการขอเข้าเยี่ยมคารวะของ US APEC Business Coalition ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยนักธุรกิจชั้นนำของสหรัฐฯ อันจะเป็นโอกาสอันดีที่นายกรัฐมนตรีจะชี้แจงให้นักธุรกิจชั้นนำเหล่านี้ได้เข้าใจถึงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เน้นการนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาเสริมปฏิสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับประชาคมระหว่างประเทศ โดยจะยืนยันว่า ไทยจะยังคงมีบทบาทอย่างแข็งขันในเวทีต่างๆ ต่อไป นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีจะอธิบายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองของไทยให้นักธุรกิจชั้นนำเหล่านี้ได้ทราบด้วย
6. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเดินทางไปร่วมการประชุมฯ ยังมีกำหนดการที่จะพบหารือทวิภาคีกับผู้นำหรือรัฐมนตรีต่างๆ ของสมาชิกเอเปคด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ณ กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (เอเปค) ครั้งที่ 14 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะจัดขึ้น ณ กรุงฮานอย เวียดนาม ระหว่างวันที่ 15-19 พฤศจิกายน 2549 สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 14 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลักคือ “มุ่งสู่ประชาคมแห่งพลวัตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและมั่งคั่ง (Towards a Dynamic Community for Sustainable Development and Prosperity)”
2. ที่ประชุมฯ จะรับรองปฏิญญาฮานอย (Hanoi Declaration) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ในการดำเนินการตามแนวทางปูซาน (Busan Roadmap) เพื่อบรรลุตามเป้าหมายโบกอร์ (Bogor Goals) ในการส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสมาชิก โดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วในปี 2553 และสำหรับสมาชิกประเทศกำลังพัฒนาในปี 2563
3. ประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือในที่ประชุมฯ ประกอบด้วย
3.1 การค้าและการลงทุน ซึ่งสมาชิกเอเปคทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจจะหารือเกี่ยวกับปฏิญญาฮานอย ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการในรายละเอียดในการดำเนินการตามแนวทางปูซานและเป้าหมายโบกอร์ นอกจากนี้ สมาชิกเอเปคจะหารือกันในการผลักดันให้เอเปคมีบทบาทในการสนับสนุนองค์การการค้าโลก (WTO) ในการแก้ปัญหาความชะงักงันของการเจรจาการค้าโลกรอบโดฮา
3.2 ความร่วมมือ ซึ่งสมาชิกเอเปคจะหารือถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.3 ความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งสมาชิกเอเปคจะหารือกันถึงความร่วมมือในสาขาที่เกี่ยวข้องที่มีนัยเกี่ยวข้องทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง อาทิ การต่อต้านการก่อการร้ายข้ามชาติ ความร่วมมือด้านสาธารณสุข และภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเอเปคสามารถมีบทบาทเป็นเสมือนคลังความคิดและการฝึกอบรม/เตรียมความพร้อม ซึ่งจะเสริมกับบทบาทของไทยในกรอบทวิภาคีดังเช่นที่ไทยให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
4. นอกจากนี้ สมาชิกเอเปคยังจะหารือเกี่ยวกับการปฏิรูปโครงสร้างและประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรและสำนักเลขาธิการฯ เพื่อความคล่องตัวและการประหยัดทรัพยากรด้วย
5. ในส่วนของไทย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ตอบรับคำเชิญที่จะกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสุดยอด APEC CEO ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติของเวียดนามในช่วงบ่ายในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 รวมทั้งการขอเข้าเยี่ยมคารวะของ US APEC Business Coalition ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยนักธุรกิจชั้นนำของสหรัฐฯ อันจะเป็นโอกาสอันดีที่นายกรัฐมนตรีจะชี้แจงให้นักธุรกิจชั้นนำเหล่านี้ได้เข้าใจถึงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เน้นการนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาเสริมปฏิสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับประชาคมระหว่างประเทศ โดยจะยืนยันว่า ไทยจะยังคงมีบทบาทอย่างแข็งขันในเวทีต่างๆ ต่อไป นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีจะอธิบายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองของไทยให้นักธุรกิจชั้นนำเหล่านี้ได้ทราบด้วย
6. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเดินทางไปร่วมการประชุมฯ ยังมีกำหนดการที่จะพบหารือทวิภาคีกับผู้นำหรือรัฐมนตรีต่างๆ ของสมาชิกเอเปคด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-