(ต่อ1) การกำหนดแบบคำนวณเงินกองทุน สภาพคล่องสุทธิบล.

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday July 7, 1995 18:54 —ประกาศ ก.ล.ต.

          รายละเอียดประกอบการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (แบบ บ.ล.4)
____________________________________________________________________________________
วิธีปฏิบัติ
1. ให้บริษัทหลักทรัพย์ดำรง และคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามที่สำนักงานประกาศ
กำหนดทุกสิ้นวัน
2. ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำแบบการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ(แบบบ.ล.4) ของ
สำนักงานใหญ่รวมสาขา(ถ้ามี) ตามที่สำนักงานประกาศกำหนด โดยแสดงยอดคงค้างของแต่ละรายการ
ในแบบรายงานเป็นหน่วยบาท เศษของหนึ่งบาทตั้งแต่ห้าสิบสตางค์ขึ้นไปให้ปัดเป็นหนึ่งบาท และใส่เครื่อง
หมายจุลภาค "," หลังหลักพัน และหลักล้าน และยื่นแบบรายงานดังกล่าวจำนวน 2 ชุด ต่อฝ่ายกำกับ
ตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในกรณีดังนี้
แบบรายงานที่ต้องยื่นต่อสำนักงาน กำหนดส่งรายงาน
กรณีที่ 1: ณ สิ้นวันทำการสุดท้ายของเดือนเป็นประจำทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
กรณีที่ 2: ณ สิ้นวันเป็นรายวันติดต่อกันในกรณีที่เข้าเกณฑ์ต้องรายงาน
ตามข้อ 3 ของประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ที่สก. 10/2538 เรื่องการรายงานการคำนวณเงินกองทุน
สภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม
2538 โดยให้รายงาน
ตั้งแต่ : วันที่บริษัทเริ่มมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ เท่ากับหรือ
น้อยกว่าอัตราส่วนตามข้อ 3 ของประกาศดังกล่าว
จนถึง : วันที่บริษัทมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิมากกว่าอัตราส่วน ภายใน 2 วันทำการถัด
ตามข้อ 3 ของประกาศดังกล่าวเป็นเวลา 2 วันทำการ จากวันที่ต้องการรายงาน
ติดต่อกัน
____________________________________________________________________________________
รายละเอียดประกอบการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
____________________________________________________________________________________
รายการ คำอธิบาย
____________________________________________________________________________________
วิธีการคำนวณ "เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ" ดูประกอบกับ "แบบการคำนวณเงินกองทุน
สภาพคล่องสุทธิ" ตามแบบ บ.ล.4
ส่วนที่ 1 : เงินกองทุนสภาพคล่อง
1. เงินสดและเงินฝากธนาคาร
1.1 เงินสดและเงินฝากธนาคาร ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ที่บริษัทมีอยู่เงินฝากธนาคาร
ทุกประเภท รวมทั้งบัตรเงินฝาก ที่ออกโดยธนาคาร
พาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
ตามหนังสือเวียนที่ กลต.ก. (ว) 359/2535
เรื่องการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2535
1.2 รายการเงินสดระหว่างเรียกเก็บ ตราสารสั่งจ่ายเงินใด ๆ ที่นำฝากธนาคาร เพื่อ
เรียกเก็บตามระเบียบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร
ซึ่งจะเรียกเก็บได้ภายในวันทำการถัดไป
2. เงินลงทุนในหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาว่าจะ หลักทรัพย์ที่บริษัทซื้อโดยมีสัญญาว่า จะขายคืนตาม
ขายคืน ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขาย
พันธบัตร โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน หรือขายคืน ให้
คำนวณมูลค่าจากราคา ที่จะขายคืนตามสัญญา รวม
ดอกเบี้ยค้างรับ
3. ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดย ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน ที่ออกโดยสถาบัน
สถาบันการเงิน การเงิน ตามกฎหมาย ว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม
ของสถาบันการเงิน คำนวณมูลค่าตามราคาที่ตราไว้
หน้าตั๋ว (Face Value)
____________________________________________________________________________________
____________________________________________________________________________________
รายการ คำอธิบาย
____________________________________________________________________________________
4. เงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารแห่ง หลักทรัพย์และตราสารแห่งหนี้อื่น ที่เป็นกรรมสิทธิ์
หนี้อื่น (ดูรายละเอียดประกอบในส่วนที่ 3) ของบริษัท (ไม่รวมเงินลงทุนในหลักทรัพย์ โดยมี
สัญญาว่าจะขายคืนในข้อ 2 และตั๋วสัญญาใช้เงินและ
ตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินในข้อ 3) ให้
คำนวณมูลค่าเท่ากับ ข้อ ก. ในส่วนที่ 3 รวมมูลค่า
หลักทรัพย์ ในที่นี้หมายถึง หลักทรัพย์ทุกประเภท
ตามความหมายในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ
หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
ตราสารแห่งหนี้อื่นในที่นี้หมายถึงตราสารแห่งหนี้
ที่มิได้ถือเป็นหลักทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ.2535 ซึ่งสำนักงานอนุญาต
ให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนได้เช่น ตั๋วแลกเงิน
ตามหนังสือเวียนที่กลต.ก.(ว) 1000/2536 เรื่อง
การประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่
10 พฤศจิกายน 2536
5. ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ ลูกหนี้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ โดยไม่
รวมลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้อง บังคับคดี หรือ
ประนอมหนี้
5.1 ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่ง บัญชีของลูกหนี้ที่สั่งซื้อหลักทรัพย์ด้วยเงินสดและจำนวน
เงินค่าซื้อหลักทรัพย์ของลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลัก
ทรัพย์ ที่ใช้เงินสดชำระค่าซื้อส่วนหนึ่ง (Cash
Margin) ในส่วนที่จะต้องชำระให้แก่บริษัทภายใน
วันทำการถัดจากวันที่ซื้อหลักทรัพย์นั้นตามอัตราที่ตลาด
หลักทรัพย์ฯ กำหนด
5.1.1 ยังไม่พ้นกำหนดชำระ ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่ง ที่อยู่ระหว่างการเรียก
ชำระเงิน ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดชำระเงินภายในระยะ
เวลาตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดสำหรับการซื้อ
ขายหลักทรัพย์ ที่กระทำการผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ
และตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดสำหรับการ
ซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ
____________________________________________________________________________________
____________________________________________________________________________________
รายการ คำอธิบาย
____________________________________________________________________________________
ก. มูลหนี้รวม หมายถึง ยอดค้างชำระของลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ ตาม
คำสั่งในส่วนที่ยังไม่พ้นกำหนดชำระ ให้คำนวณ โดย
ใช้ยอดดุลสุทธิของลูกค้าแต่ละราย โดยแสดงยอด
เฉพาะราย ที่มียอดดุลสุทธิลูกหนี้ (ถ้ารายใดมียอด
ดุลสุทธิเจ้าหนี้ ให้แสดงเป็นหนี้สินในรายการเจ้าหนี้
ธุรกิจหลักทรัพย์ในส่วนที่ 2 ข้อ 3.1 ขายหลักทรัพย์
ตามคำสั่ง)
5.1.2 พ้นกำหนดชำระ ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่ง ที่ไม่สามารถชำระเงิน
ได้ตามกำหนดซึ่งอยู่ระหว่างการเรียกชำระเงินจาก
ลูกหนี้ โดยไม่นับรวมลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้อง
บังคับคดี หรือประนอมหนี้
ก. มูลหนี้รวม หมายถึง ยอดเงินค้างชำระของลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์
ตามคำสั่งในส่วนที่พ้นกำหนดชำระเงิน ตามกำหนด
แล้ว
ข. หลักประกัน สินทรัพย์ทุกประเภทของลูกหนี้ที่บริษัทมีสิทธิเรียกร้อง
จากลูกหนี้ได้ หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระเงินตาม
ยอดมูลหนี้ในส่วนที่พ้นกำหนดชำระแล้วให้แก่บริษัทได้
ซึ่งได้แก่
- หลักทรัพย์ในบัญชีซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งของลูกหนี้
- ทรัพย์สินทุกประเภทที่ลูกหนี้นำมาวางเป็นประกัน
เพื่อเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัท
การคำนวณมูลค่าหลักประกันประเภทต่าง ๆ ให้
คำนวณโดยใช้เกณฑ์ดังนี้
- ตั๋วสัญญาใช้เงินที่สลักหลังแล้ว : ใช้ราคาที่ตรา
ไว้หน้าตั๋ว
- หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือใน
ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ : ใช้ราคาตลาด ณ วันที่
คำนวณ หรือ ราคาปิดครั้งสุดท้ายของหลักทรัพย์
นั้น
- หลักทรัพย์อื่น : ใช้ราคาทุน
____________________________________________________________________________________
____________________________________________________________________________________
รายการ คำอธิบาย
____________________________________________________________________________________
(/1) ยอดรวมของมูลค่าที่ต่ำกว่า ระหว่างมูลหนี้กับหลัก
ประกันของลูกหนี้แต่ละราย ให้คำนวณโดยเปรียบ
เทียบระหว่าง "ยอดมูลหนี้" กับ "มูลค่าหลักประกัน"
ของลูกหนี้แต่ละราย ดังนี้
* ลูกหนี้รายใดที่มี "ยอดมูลหนี้" ต่ำกว่า "มูลค่า
หลักประกัน" ให้ใช้ "ยอดมูลหนี้" ของลูกหนี้ราย
นั้น ในการคำนวณ
* ลูกหนี้รายใดที่มี "มูลค่าหลักประกัน" ต่ำกว่า
"ยอดมูลหนี้" ให้ใช้ "มูลค่าหลักประกัน" ของ
ลูกหนี้รายนั้นในการคำนวณ
5.2 ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ บัญชีของลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin
Account) ทุกประเภทที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
(โดยไม่รวมจำนวนเงินค่าซื้อหลักทรัพย์ของลูกหนี้
เงินให้กู้ยืม เพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่ใช้เงินสดชำระค่าซื้อ
ส่วนหนึ่ง (Cash Margin) ในส่วนที่รวมอยู่ใน
หัวข้อ 5.1 ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งแล้ว)
ให้คำนวณเปรียบเทียบระหว่าง "ยอดมูลหนี้" กับ
"มูลค่าหลักประกัน" ของลูกหนี้แต่ละราย หากลูกหนี้
รายใดมีรายการมากกว่า 1 บัญชี ให้คำนวณราย
การจากทุกบัญชีของลูกหนี้รายนั้นรวมกัน "ยอดมูลหนี้"
ให้คำนวณโดยใช้ยอดดุลสุทธิของรายการ ดังต่อไปนี้
ของลูกหนี้แต่ละรายรวมกัน
- ยอดมูลหนี้คงค้าง
- กำไรและ/หรือขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์
- ค่านายหน้าค้างรับและ/หรือดอกเบี้ยค้างรับ
____________________________________________________________________________________
____________________________________________________________________________________
รายการ คำอธิบาย
____________________________________________________________________________________
"มูลค่าหลักประกัน" ให้คำนวณมูลค่าหลักประกันของ
ลูกหนี้แต่ละราย จากรายการดังต่อไปนี้ (โดยใช้
เกณฑ์ เช่นเดียวกับการคำนวณมูลค่าหลักประกันใน
ข้อ 5.1.2)
- หลักทรัพย์ในบัญชีเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของ
ลูกหนี้
- ทรัพย์สินทุกประเภทที่ลูกหนี้ นำมาวางเป็นหลัก
ประกันขั้นต้น (Initial Margin) และที่นำมา
วางเป็นหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) เพื่อ
รักษาระดับอัตรามาร์จินขั้นต้นไว้
5.2.1 หลักประกันคุ้มหนี้ ลูกหนี้รายที่มี "ยอดมูลหนี้" ต่ำกว่า "มูลค่าหลักประกัน"
ก. มูลหนี้รวม "ยอดมูลหนี้" ของลูกหนี้รายที่มีหลักประกันคุ้มหนี้ทุกรายรวมกัน
ข. หลักประกัน "มูลค่าหลักประกัน" ของลูกหนี้รายที่มีหลักประกันคุ้มหนี้ ทุกรายรวมกัน
5.2.2 หลักประกันไม่คุ้มหนี้ ลูกหนี้รายที่มี "มูลค่าหลักประกัน" ต่ำกว่า "ยอดมูลหนี้"
ก. มูลหนี้รวม "ยอดมูลหนี้" ของลูกหนี้รายที่มีหลักประกันไม่คุ้มหนี้ทุกรายรวมกัน
ข. หลักประกัน "มูลค่าหลักประกัน" ของลูกหนี้รายที่มีหลักประกันไม่คุ้มหนี้ทุกรายรวมกัน
5.3 บัญชีระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ บัญชีระหว่างบริษัทกับบริษัทหลักทรัพย์อื่นที่เกิดขึ้นจาก
การซื้อขายหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์ ในที่นี้หมายถึงเฉพาะบริษัทหลัก
ทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยไม่รวมถึงบริษัท
หลักทรัพย์ ที่ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดการกอง
ทุนรวม
ก. มูลหนี้รวม ให้แสดงยอดดุลสุทธิลูกหนี้ของรายการดังต่อไปนี้
- กรณีที่มีการชำระราคาผ่านสำนักหักบัญชี: ให้
แสดงยอดดุลสุทธิลูกหนี้ของบัญชี ระหว่างบริษัทกับ
สำนักหักบัญชี
____________________________________________________________________________________
____________________________________________________________________________________
รายการ คำอธิบาย
____________________________________________________________________________________
- กรณีที่การชำระราคาไม่ผ่านสำนักหักบัญชี:ให้
แสดงยอดดุลสุทธิลูกหนี้ของบัญชี ระหว่างบริษัทกับ
บริษัทหลักทรัพย์อื่นเป็นรายบริษัท
(ถ้ารายใดมียอดดุลสุทธิเจ้าหนี้ ให้แสดงเป็นหนี้สิน
ในรายการเจ้าหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ ในส่วนที่ 2 ข้อ
3.3 บัญชีระหว่างบริษัทหลักทรัพย์)
6. รวมสินทรัพย์สภาพคล่อง คำนวณจากผลรวมของรายการตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 5 :
(ข้อ 1 + ข้อ 2 + ข้อ 3 + ข้อ 4 + ข้อ 5)
7. หัก หนี้สินรวม คำนวณจากข้อ 6 ในส่วนที่ 2
8. เงินกองทุนสภาพคล่อง คำนวณจากรายการรวมสินทรัพย์สภาพคล่อง หักด้วย
หนี้สินรวม (ข้อ 6 - ข้อ 7)
การปรับค่าความเสี่ยง
9. ความเสี่ยง: จากการประกอบธุรกิจ ให้คำนวณค่าความเสี่ยงเท่ากับ (ข้อ 5.1.1x1.5%)
หลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขาย + (ข้อ 5.1.2 x 10%) + (ข้อ 5.2.2 x 10%)
หลักทรัพย์ ซึ่งหมายถึง
* ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่ง ที่ยังไม่พ้นกำหนด
ชำระ คำนวณค่าความเสี่ยงร้อยละ 1.5 ของ
มูลหนี้รวม
* ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่ง ที่พ้นกำหนดชำระ
คำนวณค่าความเสี่ยงร้อยละ 10 ของยอดรวม
ของมูลค่า ที่ต่ำกว่าระหว่างมูลหนี้กับหลักประกัน
ของลูกหนี้แต่ละราย
____________________________________________________________________________________
____________________________________________________________________________________
รายการ คำอธิบาย
____________________________________________________________________________________
* ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่มีหลักประกัน
ไม่คุ้มหนี้ คำนวณค่าความเสี่ยงร้อยละ 10 ของ
หลักประกัน
* ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่มีหลักประกัน
คุ้มหนี้และบัญชีระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ คำนวณ
ค่าความเสี่ยงร้อยละ 0 ของมูลหนี้รวม
10. ความเสี่ยง: จากเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ให้คำนวณค่าความเสี่ยงเท่ากับข้อ ข. ในส่วนที่ 3
และตราสารแห่งหนี้อื่น รวมค่าความเสี่ยง
11. ความเสี่ยง: จากหลักทรัพย์ที่อาจคงเหลือ ให้คำนวณค่าความเสี่ยงเท่ากับข้อ 3 ในส่วนที่ 4
จากการรับประกันการจัดจำหน่าย รวมมูลค่าความเสี่ยงสำหรับหลักทรัพย์ ที่อาจคง
เหลือจากการรับประกันการจัดจำหน่าย
12. ผลรวมของการปรับค่าความเสี่ยง คำนวณจากผลรวมของรายการในข้อ 9 ถึงข้อ 11:
(ข้อ 9 + ข้อ 10 + ข้อ 11)
13. เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ คำนวณจากเงินกองทุนสภาพคล่อง หักด้วยผลรวม
ของการปรับค่าความเสี่ยง: (ข้อ 8 - ข้อ 12)
14. อัตราส่วนเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ คำนวณจากเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ หารด้วยหนี้
ต่อหนี้สินรวม สินรวม คูณด้วย 100: (ข้อ 13 x 100/ข้อ 7)
(หน่วย: %)
________________________________________________________________________________
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ