นำส่งสำเนาประกาศและซักซ้อมความเข้าใจ

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday February 16, 2006 11:01 —ประกาศ ก.ล.ต.

16 กุมภาพันธ์ 2549เรียน ผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการ กองทุนรวม/กองทุนส่วนบุคคลทุกบริษัท ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทุกราย ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลทุกราย นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ที่ น.(ว) 2 /2549 เรื่อง นำส่งสำเนาประกาศและซักซ้อมความเข้าใจ ด้วยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และสำนักงานได้ออกประกาศจำนวน 2 ฉบับดังนี้ 1. ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 1/2549 เรื่อง การยกเลิกประกาศเกี่ยวกับการควบรวมกองทุน และการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้ ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2549 (“ประกาศที่ กน. 1/2549”) 2. ประกาศสำนักงานที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (“ประกาศที่ สข/น. 1/2549”) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความเข้าใจที่ตรงกันและถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนดได้อย่างถูกต้อง สำนักงานจึงขอซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นในประกาศและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. การยกเลิกประกาศ ประกาศที่ กน. 1/2549 ได้ยกเลิกประกาศทั้งหมดจำนวน 3 ฉบับ คือ (1) ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 14/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้ ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (2) ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 44/2545 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545 (3) ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 12/2547 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ประกาศที่ สข/น. 1/2549 ได้ยกเลิกประกาศทั้งหมดจำนวน 7 ฉบับ คือ (1) ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ สน. 24/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (2) ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ สข. 36/2547 เรื่อง มาตรฐานทะเบียนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 (3) ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ สน. 1/2548 เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยบริษัทจัดการในนามกองทุนและการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2548 (4) ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ สน. 21/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมอีทีเอฟ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 (5) ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ สข. 40/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการรับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (6) ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ สข. 41/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับมูลค่าต่อหน่วยและการคำนวณจำนวนหน่วยของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (7) ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ สน. 42/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2548 2. รายละเอียดของร่างประกาศ สำนักงาน ได้จัดทำประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนตามแนวทางการจัดทำ streamline ประกาศ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะมาจากประกาศที่ได้ยกเลิกไปแล้ว (โดยข้อและเลขที่ประกาศ หรือหนังสือเวียนที่วงเล็บด้านหลังแต่ละ Bullet เป็นข้อตามประกาศหรือหนังสือเวียนเดิม) เพียงแต่นำมาจัดหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการอ่านและการทำความเข้าใจ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ ภาคที่ 1 ข้อกำหนดที่ใช้บังคับกับการจัดการกองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ข้อ 4 — ข้อ 9) หมวดที่ 1 ผู้จัดการกองทุน (ข้อ 4 — ข้อ 7) ที่บริษัทจัดการต้องปฏิบัติ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - เป็นไปตามประกาศเดิม - การแต่งตั้ง การประกาศรายชื่อ และการส่งข้อมูลให้สำนักงาน เกี่ยวกับผู้จัดการกองทุน (ข้อ 40 และ ข้อ 41 ของประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 46/2541 (“ ประกาศที่ กน. 46/2541”)) ทั้งนี้ การส่งเอกสารเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนให้เป็นไปแบบที่ประกาศสำนักงานที่ สน. 43/2544 และที่ สน. 13/2547 กำหนด - การให้ความรู้แก่ผู้จัดการกองทุน (ข้อ 42 ของประกาศที่ กน. 46/2541) หมวดที่ 2 การดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล (ข้อ 8) - ข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเป็นการบิดเบือน หมวด 3 การมอบหมายการจัดการ (ข้อ 9) - เพิ่มเติมจากประกาศเดิม - กำหนดให้การมอบหมายให้บุคคลอื่นทำแทนในส่วนการลงทุน (investment) หากปฏิบัติตามข้อ 13 ของประกาศที่ กน. 30/2547 ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสำนักงานแล้ว เหตุผล เพื่อรองรับการตั้งบุคคลอื่นทำการแทน บลจ. ถือว่าได้รับอนุญาตจากสำนักงานตามมาตรา 100 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ภาคที่ 2 การจัดการกองทุนรวม (ข้อ 10 - ข้อ 113) หมวดที่ 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป (ข้อ 11) ส่วนที่ 1 ผู้ดูแลผลประโยชน์ (ข้อ 11) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ (ข้อ 44 ของประกาศที่ กน. 46/2541) ส่วนที่ 2 การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินและมูลค่าหน่วยลงทุน (ข้อ 12 — ข้อ 16) ที่บริษัทจัดการต้องปฏิบัติ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - เป็นไปตามประกาศเดิม - การคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดและกองทุนปิด (ข้อ 24 ของประกาศที่ กน. 46/2541) - การใช้ทศนิยมของกองทุนเปิดและกองทุนปิด (ข้อ 26 ของประกาศที่ กน. 46/2541) - เพิ่มเติมจากประกาศเดิม - กำหนดให้กองทุนเปิดที่มีการซื้อขายแต่ละครั้งห่างกันน้อยกว่า 1 เดือน ให้ประกาศ NAV มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนของวันทำการซื้อขายล่าสุดภายในวันทำการถัดไป หรือกรณีตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ให้ประกาศ NAV มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนเดือนละครั้งภายในวันทำการถัดไป - กรณีที่มีการประกาศในสื่ออื่นที่สำนักงานยอมรับ เช่น NAV Center ของสมาคม บริษัทจัดการลงทุนสามารถประกาศหนังสือพิมพ์ภายใน 2 วันทำการนับแต่วันทำการซื้อขายล่าสุด เหตุผล เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการประกาศ NAV ของกองทุนรวมประเภท interval fund และการประกาศ NAV ในหนังสือพิมพ์ของกองทุนรวม โดยในกรณีกองทุนรวมที่ดำเนินการอยู่แล้ว และประสงค์ที่จะดำเนินการดังกล่าว บริษัทจัดการจะต้องแก้ไขโครงการเพื่อรองรับในเรื่องนี้ด้วย ส่วนที่ 3 การดำเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง(ข้อ 17 — ข้อ 23) (ประกาศสำนักงานที่ สน. 31/2544 และที่ สน. 12/2545) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การดำเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องของกองทุนเปิดและกองทุนปิด - การชดเชยราคา ส่วนที่ 4 การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด (ข้อ 24 —ข้อ 31) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด (ข้อ 27 ของประกาศที่ กน. 46/2541) - การเลื่อนกำหนดการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุน (ข้อ 28 ของประกาศที่ กน. 46/2541) - การหยุดขายหน่วยลงทุนหรือหยุดรับซื้อหน่วยลงทุน (ข้อ 28/1 ของประกาศที่ กน. 46/2541) - การไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ข้อ 29 ของประกาศที่ กน. 46/2541) ตามที่ประกาศกำหนดว่า กรณีบริษัทจัดการเลื่อนกำหนดชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุน หยุดขายหน่วยลงทุนหรือหยุดรับซื้อหน่วยลงทุน หรือ การไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องดำเนินการเพื่อผู้ลงทุนทราบถึงการกระทำดังกล่าว สำนักงานขอซักซ้อมว่า 1. กรณีเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน — บริษัทจัดการควรดำเนินการเพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้ถือหน่วย โดยเฉพาะผู้ถือหน่วยที่ส่งคำสั่งดังกล่าว ทราบ และควรให้ความสำคัญกับช่องทางการเผยแพร่ข่าวสาร เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเป็นพิเศษมากกว่าผู้ลงทุนทั่วไป เช่น มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ถือหน่วยทุกราย เป็นต้น 2. กรณีเป็นผู้ลงทุนทั่วไป — บริษัทจัดการอาจดำเนินการเพื่อให้ผู้ลงทุนทั่วไปทราบถึงการกระทำดังกล่าว เช่น ติดที่บอร์ดของบริษัทจัดการ ลง website เป็นต้น - เพิ่มเติมจากประกาศเดิม - กำหนดกรณีที่เป็นเงื่อนไขการชำระเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงิน และอนุญาตให้บริษัทจัดการกำหนดขั้นตอนการดำเนินการได้ โดยขั้นตอนนั้นต้องสามารถปฏิบัติได้จริงและเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยทุกราย เหตุผล เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุน ส่วนที่ 5 การจัดทำรายงานของกองทุนรวม (ข้อ 32 — ข้อ 39) - เป็นไปตามประกาศเดิม - สำหรับกองทุนรวมที่มีนโยบายมุ่งเน้นการลงทุนในตราสารทุนหรือหน่วยลงทุน (ข้อ 13 วรรค 2 ของประกาศที่ กน. 46/2541) - สำหรับกองทุนรวมผสมที่กำหนดสัดส่วนการลงทุน (ข้อ 18 วรรค 2 ของประกาศที่ กน. 46/2541) - ให้บริษัทจัดการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดการกองทุรวม โดยให้ถือปฏิบัติตามรายละเอียดที่แนบมาพร้อมนี้ (ข้อ 38 ของประกาศที่ กน. 46/2541) - แก้ไขจากประกาศเดิม - ประกาศเดิม การจัดทำรายงานทุกรอบระยะเวลา 6 เดือน บริษัทจัดการสามารถเลือกว่าจะทำรอบปีบัญชีหรือปีปฏิทินก็ได้ และให้บริษัทจัดการทำรายงานทุกรอบปีบัญชีและส่งรายงานดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสำนักงานภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี (ข้อ 35 และข้อ 36 ของประกาศที่ กน. 46/2541) แก้ไขเป็น ยืดหยุ่นการจัดทำรายงานทุกรอบระยะเวลา 6 เดือน หากบริษัทจัดการเลือกจัดทำรายงานหกเดือนตามปีบัญชี ให้บริษัทจัดการได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำและส่งรายงานในรอบระยะเวลา 6 เดือนหลัง แต่รายงานประจำปีให้ส่งเร็วขึ้น คือภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี เหตุผล เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการส่งรายงาน นอกจากนี้ ฝ่ายกำกับฯ ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานรายละเอียดเงินลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพัน เพื่อให้บริษัทจัดการใช้เป็นแนวทางในการเปิดเผยข้อมูลสำคัญให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ส่วนที่ 6 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (ข้อ 40 — ข้อ 43) - เพิ่มเติมจากประกาศเดิม - การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่มีลักษณะให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือ สำนักงานกำหนด บริษัทจัดการสามารถขอความเห็นชอบสำนักงานได้ และเมื่อสำนักงานได้รับคำขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วนให้ถือว่าสำนักงานให้ความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (fast track) เหตุผล เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับประโยชน์ โดยสำนักงานจะมีหนังสือแจ้งให้ความเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ - การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการที่ต้องได้รับมติผู้ถือหน่วย หากได้รับมติผู้ถือหน่วยน้อยกว่าร้อยละ 60 ให้บริษัทจัดการส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการขอมติและการนับมติไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์ เพื่อรับรองผลการนับมติผู้ถือหน่วย เหตุผล เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าการแก้ไขโครงการดังกล่าวได้รับมติผู้ถือหน่วยตามที่กฎหมายกำหนดอย่างแท้จริง ส่วนที่ 7 การเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด (ข้อ 44 — ข้อ 46)(ประกาศสำนักงานที่ สก.6/2537) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน และการจัดทำหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิด - การเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นเปิดต้องกำหนดไว้ในโครงการตั้งแต่ก่อนเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือได้รับมติจากผู้ถือหน่วยเกินกว่าร้อยละ 50 - ให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยของกองทุนรวมปิดในการที่จะออกจากกองทุนรวมปิดได้ ส่วนที่ 8 การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม (ข้อ 47 — ข้อ 59)(ประกาศที่ กน. 44/2545) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การควบรวมกองทุนรวม - การรวมตั้งแต่ 2 กองทุนรวมขึ้นไป - การขอมติจากผู้ถือหน่วย - การบอกกล่าวการควบรวมกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ - การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่ - การแจ้งสถานะการเป็นผู้ถือหน่วยของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอน ส่วนที่ 9 การดำเนินการในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้ (ข้อ 60 — ข้อ 72) (ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 14/2544) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การผิดนัดชำระหนี้ - การได้รับทรัพย์สินจากการชำระหนี้ - การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่มีการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น - เพิ่มเติมจากประกาศเดิม - กำหนดให้ผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องมีพฤติการณ์ว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการสามารถกำหนดได้ว่าจะทำการ set aside หรือไม่ เหตุผล เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้บริษัทจัดการในการพิจารณาว่าจะทำการ set aside หรือไม่ กรณี มีพฤติการณ์ว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ส่วนที่ 10 การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยบริษัทจัดการในนามกองทุน(ข้อ 73) (ประกาศที่ สน. 1/2548) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นในนามกองทุน ส่วนที่ 11 การจ่ายเงินปันผล (ข้อ 74 — ข้อ 75) (ข้อ 39 ของประกาศที่ กน. 46/2541) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การปฏิบัติของบริษัทจัดการในการจ่ายเงินปันผล - การจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีที่แตกต่างกัน - เพิ่มเติมจากประกาศเดิม - การจ่ายเงินปันผลต้องไม่ทำให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมขึ้นในงวดบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น เหตุผล เพื่อไม่ให้เกิดการลดทุนทางอ้อมโดยการจ่ายเงินปันผล และสอดคล้องกับแนวการจ่ายเงินปันผลของ LTF ส่วนที่ 12 ค่าธรรมเนียม (ข้อ 76 — ข้อ 80) - แก้ไขเพิ่มเติมจากประกาศเดิมประกาศเดิม (ข้อ 32 ของประกาศที่ กน. 46/2541 และข้อ 15 (1) ของประกาศที่ กน. 14/2543) - กรณีกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการสามารถกำหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใด หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควร โดยต้องกำหนดให้ชัดเจนในโครงการหรือหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน - กรณีกองทุนส่วนบุคคล ไม่ให้คิดค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นอัตราส่วนไม่ว่าลักษณะใดเฉพาะกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนในส่วนที่เพิ่มขึ้น หรือเฉพาะกับเงินกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ แก้ไขเป็น เหมือนกันทั้ง กองทุนรวม และกองทุนส่วนบุคคล โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการโฆษณาจากกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องกำหนดอัตราสูงสุดที่จะเรียกเก็บด้วย 2. การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการจะต้องปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ - เรียกเก็บตามอัตราร้อยละของ NAV - เรียกเก็บโดยอิงกับผลการดำเนินงาน (performance based management fee) ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด ซึ่งสำนักงานจะมีประกาศเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวต่อไป 3. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดในแต่ละครั้งจากผู้ลงทุน แทนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายรายปี (annual selling fee) จากกองทุนรวม 4. การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 4.1 กรณีที่บริษัทจัดการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่ไม่เกินร้อยละ 25 ของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย หากมีการระบุไว้ในโครงการไว้ชัดเจนแล้ว สามารถทำได้ โดยแจ้งผู้ลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน 4.2 กรณีที่บริษัทจัดการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และเกินร้อยละ 25 ของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย - หากมีการระบุไว้ในโครงการไว้ชัดเจนแล้ว ต้องขอมติของผู้ถือหน่วยหรือขอความเห็นชอบจากสำนักงาน โดยไม่ต้องแก้ไขโครงการ - หากไม่มีการระบุไว้ในโครงการไว้ชัดเจนแล้ว ต้องขอมติของผู้ถือหน่วยหรือขอความเห็นชอบจากสำนักงาน และต้องแก้ไขโครงการ 5. การลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่แตกต่างไปจากโครงการ เหตุผล กำหนดรูปแบบของการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมให้ชัดเจนขึ้นและเป็นไปตามหลักสากล ส่วนที่ 13 การเลิกกองทุนรวม (ข้อ 81 — ข้อ 84) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การเลิกกองทุนรวม (ข้อ 46 ของประกาศที่ กน. 46/2541) - การเลิกกองทุนรวมเพราะเหตุครบอายุของโครงการหรือเพราะเหตุอื่นที่ทราบล่วงหน้า (ข้อ 47 ของประกาศที่ กน.46/2541) - แก้ไขจากประกาศเดิม ประกาศเดิม จำนวนผู้ถือหน่วยลดลงน้อยกว่า 10 รายในวันทำการใด เป็นเหตุในการเลิกกองทุนรวม แก้ไขเป็น จำนวนผู้ถือหน่วยลดลงน้อยกว่า 35 รายในวันทำการใด (retail fund) เป็นเหตุในการเลิกกองทุนรวม เหตุผล เพื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกับหลักเกณฑ์ของประกาศจัดตั้งกองทุนที่กำหนดจำนวนผู้ถือหน่วยภายหลัง IPO ที่ 35 ราย (ประกาศสำนักงานที่ สน. 23/2547) นอกจากนี้ สำนักงานขอซักซ้อมว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์มีหน้าที่ต้องดูแลการดำรงจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนให้เป็นไปตามโครงการและประกาศกำหนด และในกรณีที่จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดในโครงการหรือประกาศ และบริษัทจัดการไม่ดำเนินการตามประกาศ และโครงการ ผู้ดูแลผลประโยชน์มีหน้าที่ต้องรายงานให้สำนักงานทราบด้วย ส่วนที่ 14 การผ่อนผัน (ข้อ 85) - เป็นไปตามประกาศเดิม - บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ได้ (1) การเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์ กรณีผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลา (2) การประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (3) ระยะเวลาการไม่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการหยุดรับคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนเกิน 1 วัน (4) การจัดทำและส่งรายงานรอบปีบัญชี เช่น ในกรณีอยู่ระหว่างเลิกกองทุน หรือกองทุนอายุไม่ถึง 1 ปี เป็นต้น (5) การประกาศการจ่ายเงินปันผลในหนังสือพิมพ์ เช่น กรณีกองปิดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ (6) การดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม เช่น ระยะเวลาการชำระคืนกรณี auto redemption ที่กำหนดไว้ภายใน 10 วันทำการ หมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมมีประกัน (ข้อ 86 — ข้อ 90)(ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 13/2544) โดยมีรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ - เป็นไปตามประกาศเดิม - การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ - กรณีที่จัดให้มีผู้ประกันรายใหม่มีผลให้อัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 25 ของอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันสำหรับงวดประกันล่าสุด - กรณีที่บริษัทจัดการไม่ได้รับมติผู้ถือหน่วยในการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ หรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่สูงกว่าผลประโยชน์ของกองทุนจะได้รับ หรือ บริษัทจัดการไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ ให้บริษัทจัดการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ - เลิกกองทุนเมื่อได้รับมติผู้ถือหน่วย - ยกเลิกการประกันเมื่อได้รับมติผู้ถือหน่วย และจัดการกองทุนดังกล่าวต่อไป หมวด 3 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (ข้อ 91 — ข้อ 92)(ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 31/2544) โดยสามารถขอผ่อนผันในเรื่องดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นไปตามประกาศเดิม (1) การแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน (2) การจัดทำและส่งรายงานเกี่ยวกับวันเริ่มและหยุดปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนและรายชื่อผู้จัดการกองทุน ให้สำนักงาน (3) การให้ความรู้หรือจัดอบรมแก่ผู้จัดการกองทุนและพนักงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยปีละครั้ง (4) การคำนวณและประกาศ NAV และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนปิด (5) การคำนวณและประกาศ NAV มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด (6) การใช้ตัวเลขทศนิยมของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หมวด 4 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมวายุภักษ์ (ข้อ 93 — ข้อ 95)(ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 26/2546) โดยมีรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นไปตามประกาศเดิม - การแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน โดยมีหน้าที่กำหนดนโยบายการลงทุนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในภาพกว้าง - การจ่ายเงินปันผล หมวด 5 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ข้อ 96 — ข้อ 98) (ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 41/2544) โดยมีรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นไปตามประกาศเดิม - การจัดให้มีการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน - ห้ามมิให้บริษัทจัดการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วย - การจัดทำและส่งรายงานเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขายคืนหน่วยลงทุน หมวด 6 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ข้อ 99)(ข้อ 49 ของประกาศ กน. 46/2541) ไม่นำความในเรื่องดังต่อไปนี้มาบังคับใช้ ซึ่งเป็นไปตามประกาศเดิม (1) การคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน รวมถึงการใช้ตัวเลขทศนิยม (2) การประกาศการจ่ายเงินปันผล (3) การเลิกกองทุนอันเกิดจากมูลค่าหน่วยลงทุนลดลง หมวด 7 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (“LTF”) (ข้อ 100 —ข้อ 104)(ประกาศสำนักงานที่ สน. 24/2547) โดยมีรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นไปตามประกาศเดิม - การโอนย้ายการลงทุนในหน่วยลงทุนของ LTF ไปยัง LTF กองทุนอื่น - กำหนดเกณฑ์การจ่ายเงินปันผลต่างจากกองทุนปกติ โดยให้เลือกจ่ายตามเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง ได้แก่ (4) จ่ายจากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยรับที่ได้รับจากทรัพย์สินของกองทุนรวม (5) จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของกำไรสะสมดังกล่าว หรือกำไรสุทธิในงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า หมวด 8 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมอีทีเอฟ (ข้อ 105 — ข้อ 110)(ประกาศสำนักงานที่ สน. 21/2548) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การดำเนินการเมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ถึง 35 รายภายหลังวันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง เนื่องจากกองทุนดังกล่าวได้รับการผ่อนผันจำนวนผู้ถือหน่วยในตลาดแรกได้ เพราะเป็นการขายเฉพาะกับผู้ลงทุนรายใหญ่ - กำหนดให้บริษัทจัดการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุน (redemption) ของกองทุนรวมอีทีเอฟเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้เฉพาะกับผู้ลงทุนรายใหญ่ - เพิ่มเติมจากประกาศเดิม - ให้ผู้ลงทุนรายย่อย (retail investor) สามารถขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟกับบริษัทจัดการได้ โดยต้องระบุเงื่อนไขและวิธีการให้ชัดเจนในโครงการ เหตุผล เพื่อเพิ่มช่องทางให้กับผู้ลงทุนรายย่อยในการขายคืนหน่วยลงทุน - ผ่อนผันเฉพาะThailand Sub-fund ให้บริษัทจัดการสามารถกำหนดเงื่อนไขในการรับคำสั่งซื้อคืนหน่วยลงทุนได้โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน เหตุผล เพื่อให้การจัดการกองทุน Thailand Sub-fund เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่กระทบต่อการจัดการ Port หมวด 9 บทเฉพาะกาล (ข้อ 111- ข้อ 113) - เป็นไปตามประกาศเดิม - กรณีกองทุนรวมใดมีรายละเอียดของโครงการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดของประกาศ ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการภายใน 1 ปี ภาค 3 การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ข้อ 114 — ข้อ 145) หมวด 1 บททั่วไป (ข้อ 114 — ข้อ 124) ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป (ข้อ 114 — ข้อ 116) (ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 14/2543) - เป็นไปตามประกาศเดิม - การเปิดเผยข้อมูล - การสิ้นสุดสัญญาการจัดการกองทุนส่วนบุคคล - การแก้ไขค่าธรรมเนียม - แก้ไขจากประกาศเดิม ประกาศเดิม ห้ามคิดค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นอัตราส่วนไม่ว่าในลักษณะใด ๆ เฉพาะกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคลในส่วนที่เพิ่มขึ้น หรือเฉพาะกับเงินกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ แก้ไขเป็น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกองทุนรวม เหตุผล เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล (ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ