นำส่งสำเนาประกาศและซักซ้อมความเข้าใจ

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday June 29, 2007 10:56 —ประกาศ ก.ล.ต.

29 มิถุนายน 2550เรียน ผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการ กองทุนรวม/กองทุนส่วนบุคคลทุกบริษัท ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทุกราย ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลทุกราย นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ที่ น.(ว) 9/2550 เรื่อง นำส่งสำเนาประกาศและซักซ้อมความเข้าใจ ด้วยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ออกประกาศจำนวน 3 ฉบับดังนี้ 1. ประกาศสำนักงานที่ สน. 8/ 2550 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (“ประกาศที่ สน. 8/2550”) 2. ประกาศสำนักงานที่ สน. 9/2550 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (“ประกาศที่ สน. 9/2550”) 3. ประกาศสำนักงานที่ สน. 10/2550 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (“ประกาศที่ สน. 10/2550”) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความเข้าใจที่ตรงกันและถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนดได้อย่างถูกต้อง สำนักงานจึงขอซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นในประกาศและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยมีรายละเอียดดังนี้' 1. แก้ไขประกาศที่ สน. 23/2547 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (ประกาศที่ สน. 23/2547) 1.1 นโยบายการคุ้มครองเงินต้น ปัจจุบัน ต้องมีนโยบายคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกไม่ต่ำกว่า 80% แก้ไขเป็น ต้องมีนโยบายคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกทั้งจำนวน เหตุผล เพื่อให้กองทุนมีนโยบายคุ้มครองเงินต้นได้ทั้งจำนวนตามความเข้าใจของผู้ลงทุนทั่วไป 1.2 ประเภทตราสารที่ลงทุนในส่วนคุ้มครอง ปัจจุบัน ตราสารภาครัฐไทย และตราสารหนี้ที่มี rating 2 อันดับแรก มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV แก้ไขเป็น (1) ตราสารภาครัฐไทย (2) ตราสารภาครัฐต่างประเทศ ที่มี rating 2 อันดับแรก ของ S & P หรือ Moody’s หรือ Fitch หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศที่สำนักงานกำหนดเพิ่มเติม (3) P/N หรือบัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออกเพื่อการกู้ยืมหรือรับเงินจาก ประชาชน (ไม่รวม structured note) (4) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก (5) ทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือมีความเสี่ยงเทียบเคียงได้กับความเสี่ยงของตราสารภาครัฐไทย ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน เหตุผล เพื่อให้กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นสามารถคุ้มครองเงินต้นได้จริง การลงทุนในส่วนที่จะก่อให้เกิดการคุ้มครองเงินต้นจึงต้องเป็นการลงทุนในตราสารการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งในส่วนของตราสารการเงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออกและสามารถลงทุนได้ในส่วนนี้จึงต้องเป็นตราสารการเงินที่ได้รับการคุ้มครองจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (“FIDF”) เท่านั้น 1.3 กลไกการคุ้มครอง ปัจจุบัน ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินต้นอย่างชัดเจนไว้ในโครงการ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครอง จำนวนเงินต้นที่คุ้มครอง ระยะเวลาการคุ้มครอง แก้ไขเป็น (1) ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินต้นอย่างชัดเจนไว้ในโครงการ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยว กับเงื่อนไขการคุ้มครอง จำนวนเงินต้นที่คุ้มครอง ระยะเวลาการคุ้มครอง และกลไกการคุ้มครอง (2) ต้องกำหนดอัตราส่วนการลงทุนขั้นต่ำในส่วนคุ้มครองเงินต้นและแสดงได้ว่าอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนดนั้น สามารถคุ้มครองเงินต้นทั้งจำนวนได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม เหตุผล เนื่องจากเงื่อนไขระยะเวลาการคุ้มครองและขนาดของกองทุนมีความแตกต่างกัน จึงให้เป็นดุลยพินิจของบริษัทจัดการที่จะกำหนดสัดส่วนให้สอดคล้องกับขนาดและระยะเวลาเพื่อให้สามารถคุ้มครองเงินต้นได้ตามที่กำหนด 1.4 การนำนโยบายและหลักเกณฑ์ของกองทุนรวมมาใช้สำหรับกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ปัจจุบัน ให้นำนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมมาใช้บังคับโดยอนุโลม แก้ไขเป็น ให้นำนโยบายการลงทุนและหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งของกองทุนรวมนั้น ๆ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เหตุผล เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อยและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนอกจากต้องนำนโยบายของกองทุนรวมมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้ว ยังต้องนำหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งมาใช้บังคับด้วย เช่น กำหนดอัตราส่วนการลงทุนขั้นต่ำในส่วนคุ้มครองเงินต้นและแสดงได้ว่าอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนดนั้นสามารถคุ้มครองเงินต้นทั้งจำนวนได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการ เป็นต้น 2. แก้ไขประกาศที่ สน. 28/2549 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2549 (“ประกาศที่ สน. 28/2549”) 2.1 กองทุนคุ้มครองเงินต้นที่มีการลงทุนในต่างประเทศ เพิ่มเติม กรณีลงทุนในต่างประเทศ บริษัทจัดการต้องเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดที่มีอยู่ เหตุผล เพื่อไม่ให้กองทุนคุ้มครองเงินต้นมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมที่อาจส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองเงินต้นได้ 2.2 อัตราส่วนการลงทุนสำหรับประเภทหลักทรัพย์ที่ลงทุนเพื่อมุ่งจะให้เกิดการคุ้มครองเงินต้นทั้งจำนวน ประเภทหลักทรัพย์ company limit เดิม company limit ใหม่ตั๋วสัญญาใช้เงิน/ บัตรเงินฝากของ บง.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ