พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 สิงหาคม 2558 - 25 สิงหาคม 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday August 19, 2015 15:57 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 19 สิงหาคม 2558 - 25 สิงหาคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • เนื่องจากระยะนี้มีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืช ชะงักการเจริญเติบโต และตายได้ หรือส่งผลให้ผลผลิตลดลงในปีถัดไป
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก ในบางพื้นที่อาจมีน้ำขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูท เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้
  • ในช่วงที่มีฝนตกชุก ทำให้ความชื้นในอากาศสูง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคไหม้ และโรคใบขีดโปร่งแสง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลง

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในระยะที่มีฝนตก อาจมีสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น หนีฝนเข้ามาอาศัยหลบซ่อนตัวภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์และอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจโรงเรือนเลี้ยงสัตว์หากพบสัตว์มีพิษดังกล่าวควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยเร็ว
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราต่างๆที่อาจระบาดในช่วงฤดูฝน เช่นโรครากเน่าโคนเน่า และโรคแอนแทรกโนส เป็นต้น ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 19-22 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบาง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง มีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในสวนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพริกไทยในระยะนี้ไม่ควรปล่อยให้มีน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันโรครากเน่า โดยหากพบโรคดังกล่าวควรรีบกำจัดโดยขุดไปเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่นๆ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 19-23 ส.ค. ฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร

  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะเจาะและกัดกินผล ทำให้ผลเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • อนึ่งในระยะนี้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วงและมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 3 เมตร

-ระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก และอาจทำให้มีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยที่เคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อนควรเตรียมพร้อมเฝ้าระวัง

  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน
  • อนึ่งในระยะนี้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ