พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 12 กันยายน 2559 - 18 กันยายน 2559

ข่าวทั่วไป Monday September 12, 2016 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 12 กันยายน 2559 - 18 กันยายน 2559

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในช่วงวันที่ 13-15 ก.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่
  • ฝนตกหนัก : แปลงนาในที่ลุ่มควรเสริมคันนาเพื่อป้องกันน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่นา
  • ปลา(ในกระชัง) ปลาน๊อกน้ำตาย เนื่องฝนตกหนัก สภาพน้ำเปลี่ยน ควรลดปริมาณปลาในกระชัง และลดอาหาร หากโตได้ขนาดควรรีบจับขาย
  • พืชไร่ ฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้ว ควรรีบเก็บเกี่ยว ก่อนได้รับความเสียหาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในช่วงวันที่ 12-14 ก.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และขอบใบแห้ง
  • บริเวณที่ฝนตกหนัก : ชาวนาควรใช้ตาข่ายกั้นทางน้ำเข้านา เพื่อป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ ซึ่งอาจไหลมากับน้ำ
  • พืชผัก ฝนตกต่อเนื่อง ดินและอากาศมีความชื้นสูง : ดูแลระบบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ป้องกันน้ำท่วมขัง และระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าคอดิน โรคเน่าดำ และโรคเน่าเละ
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) ฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนตกบนดินไหลลงบ่อ ทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์อ่อนแอเป็นโรค และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 14-18 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในที่ลุ่ม ควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง หลังคาอย่าให้รั่วซึม พื้นคอกไม่ให้ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์ป่วย โดยเฉาะโรคหวัดในสัตว์ปีก และสุกร
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) ฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนตกบนดินไหลลงบ่อ ทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์อ่อนแอเป็นโรค และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 14-18 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า
  • บริเวณที่เป็นที่ลุ่ม : ควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • พืชไร่ ฝนตกต่อเนื่อง ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกัน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น โรคหัวเน่า และโรคแอนแทรกโนสในมันสัมปะหลัง
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ในช่วงระหว่างวันที่ 12-18 ก.ย. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบน ควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 14-18 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือก และผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียกองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ยางพารา อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ในช่วงระหว่างวันที่ 12-18 ก.ย. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ