พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 14 กันยายน 2559 - 20 กันยายน 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday September 14, 2016 14:31 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 14 กันยายน 2559 - 20 กันยายน 2559

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 14 - 17 ก.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่
  • ไม้ดอก ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคยอดเน่า โรคใบจุด และโรคแอนแทรกโนส
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่องหลายวันเกิดและมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ทำให้พืชอาหารสัตว์ตาย ส่งผลให้สัตว์ขาดแคลนอาหาร จะอ่อนแอยิ่งขึ้น ดังนั้นเกษตรกรจึงควรเตรียมเสบียงพืชอาหารสัตว์ไว้พร้อมใช้ยามฉุกเฉินและหากพบเห็นสัตว์ป่วยควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 ก.ย.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง
  • พืชไร่ ฝนตกต่อเนื่อง ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในข้าวโพด โรคใบไหม้ใน มันสัมปะหลัง และโรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่องหลายวัน เกิดน้ำท่วมขังบางพื้นที่ทำให้พืชอาหารสัตว์ตาย ส่งผลให้สัตว์ขาดแคลนอาหาร จะอ่อนแอยิ่งขึ้น ดังนั้นเกษตรกรจึงควรเตรียมเสบียงพืชอาหารสัตว์ไว้พร้อมใช้ยามฉุกเฉินและหากพบเห็นสัตว์ป่วย เช่น สัตว์ประเภทเท้ากีบ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ ในพื้นที่ทันที

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 17 - 20 ก.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่องหลายวัน เกิดน้ำท่วมขังบางพื้นที่ทำให้พืชอาหารสัตว์ตาย ส่งผลให้สัตว์ขาดแคลนอาหาร จะอ่อนแอยิ่งขึ้น ดังนั้นเกษตรกรจึงควรเตรียมเสบียงพืชอาหารสัตว์ไว้พร้อมใช้ยามฉุกเฉินและหากพบเห็นสัตว์ป่วยควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที
  • พืชผัก อากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรค ราน้ำค้าง โรคเน่าเละโรคใบจุด เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 ก.ย.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า
  • ยางพารา อากาศมีความชื้นสูง :โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณ อ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 20 ก.ย.นี้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • ยางพารา อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 20 ก.ย.นี้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 17-20 ก.ย.มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • ยางพารา อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 20 ก.ย.นี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ