พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 23 กันยายน 2559 - 29 กันยายน 2559

ข่าวทั่วไป Friday September 23, 2016 14:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 23 กันยายน 2559 - 29 กันยายน 2559

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 28-29 ก.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร : ฝนตกต่อเนื่อง : พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกอย่าปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศหายใจ เน่า และตายได้
  • ไม้ผล : ฝนตกชุก อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า
  • ข้าวนาปี : ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาคส่วนในช่วงวันที่ 28-29 ก.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร : ฝนตกต่อเนื่อง : สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกอย่าปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • สัตว์น้ำ : เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่

ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 23-25 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. -

  • พื้นที่การเกษตร : พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้น้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สัตว์เลี้ยงเกษตรกรควรดูแลหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้รั่วซึม พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 23-25 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ฝนตกชุก : ชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า
  • ยางพารา อากาศมีความชื้นสูง :โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น
  • พืชไร่ สภาพอากาศชื้นสูง : ควรป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรกโนสในมันสำปะหลังและโรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. มีฝน ฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • ยางพารา ฝนที่ตกติดต่อกัน ทำให้ความชื้นในดินและในอากาศสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามัน ควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. มีฝน ฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝน ตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส

  • ยางพารา ฝนที่ตกติดต่อกัน ทำให้ความชื้นในดินและในอากาศสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามัน ควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

หมายเหตุ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/MonthRain.php

ปริมาณฝนสะสมเดือนกันยายน (วันที่ 1 – 22 ก.ย.) ระยะที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม. เว้นแต่บางพื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก และภาคตะวันออก มีฝนสะสมเกิน 300 มม. ส่วนบริเวณตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ช่วงที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 40-100 มม. เว้นแต่บางพื้นที่ทางตอนบนของภาคเหนือ ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่มีฝนสะสมอยู่ระหว่าง 5-40 มม.ส่วนบริเวณที่มีฝนสะสมมากกว่า 100 มม. ได้แก่บริเวณภาคกลางตอนบน ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-25 มม. ส่วนทางด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก เละภาคใต้ตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30 มม.

สมดุลน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาประเทศไทยมีสมดุลน้ำส่วนใหญ่มีค่าเป็นบวก โดยมีค่าอยู่ในช่วง 20-70 มม. ส่วนบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีค่าสมดุลน้ำอยู่ในช่วง 100-300 มม. ส่วนด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีค่าสมดุลน้ำอยู่ระหว่าง (-1) ถึง (-30) มม.

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยสมดุลน้ำส่วนใหญ่มีค่าเป็นบวก และในช่วง 7 วันข้างหน้ายังคงมีฝนตกต่อไปอีก เกษตรกรควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่มเกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วม ส่วนพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออก อย่าให้น้ำขังในแปลงปลูกนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ