พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 30 เมษายน - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday April 30, 2018 15:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 52/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 30 เม.ย.-2 พ.ค. บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนลดลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 5 พ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วยสำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในช่วงวันที่ 30 เม.ย.-2 พ.ค.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 1 - 5 พ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนตกอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรได้ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยการจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • เนื่องจากฝนที่ตกต่อเนื่อง จะทำให้สภาพอากาศมีความชื้นเพิ่มขึ้น เกษตรกรที่ปลูกไม้ดอกโดยเฉพาะที่อยู่ในโรงเรือนควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกและปรับปรุงโรงเรือนให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับ ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลและผลแก่โดยเฉพาะลำไยและลิ้นจี่ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นกองอยู่ภายในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 2 - 5 พ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ฝนที่ตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรชุบท่อนพันธุ์หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และดูแลระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น รวมทั้งควรให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในฤดูฝน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนตกอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรได้ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยการจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น รวมทั้งควรให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในฤดูฝน
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจส่งผลกระทบต่อไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยวเกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณแปลงปลูก โดยรีบระบายน้ำจากแปลงให้ได้มากที่สุด รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนที่จะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหาย
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น รวมทั้งควรให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในฤดูฝน

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. – 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 15-30กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. – 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมใต้ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. – 2 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทำให้สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 6 พ.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนเมษายน (ในช่วงวันที่ 1-29 เมษายน 2561) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 200 มม.เว้นแต่บริเวณจังหวัดลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ตราด ชุมพร และพังงา ปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี ชุมพร ระนอง พังงา และยะลา มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-30 มม. เว้นแต่บริเวณด้านตะวันตกของประเทศมีค่าศักย์การคายระเหยของน้ำ 30-45 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวกคือ 10 - 200 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ โดยมีค่า (-1) – (-30)

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ทำให้ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพโดยควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ