พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Friday June 19, 2020 14:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 19 - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 74/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-20 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลงทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกส่วนในช่วงวันที่ 21-25 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 21-25 มิ.ย. บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ เช่น โรคโคนเน่า-หัวเน่าในมันสำปะหลัง เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผักในช่วงที่มีฝนตกไม่สม่ำเสมอ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าและโรคใบไหม้ในทุเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ควรดูแลสวน ให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 19-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรคผลเน่าในเงาะ เป็นต้น
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตลอดช่วง โดยมีกำลังแรงในระยะกลางช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบนในระยะกลางช่วงและในวันสุดท้ายของช่วง อนึ่ง พายุโซนร้อน "นูรี" (NURI (2002))" ที่เคลื่อนตัวบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองหยางเจียง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในช่วงเช้าของวันที่ 14 มิ.ย. พร้อมทั้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและสลายตัวในช่วงค่ำของวันเดียวกัน ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 15-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์และพะเยาในวันที่ 13 มิ.ย. จังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 14 มิ.ย. และมีรายงานน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 14 และ 15 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง กับมีฝนหนักบางแห่ง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย อุดรธานี และกาฬสินธุ์ในวันที่ 13 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 13 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับฝนหนักบางแห่งในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 14 มิ.ย. และรายงานน้ำป่าไหลหลากในวันที่ 15 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 14,16 และ 17 มิ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 14 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ หนองคาย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงาและภูเก็ต ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ขอนแก่น สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ