พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Monday June 22, 2020 13:47 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 22 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 75/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในวันที่ 22-24 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีฝนลดลง ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้

คำเตือน ในช่วงวันที่ 25 - 28 มิ.ย. 63 บริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22 - 24 มิ.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 มิ.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลและผลแก่ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียร่วงหล่นกองอยู่ภายในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ส่วนในระยะปลายเดือนนี้ถึงต้นเดือนหน้าปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในระยะฝนทิ้งช่วง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลซ่อมแซมโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้แข็งแรง หลังคาไม่รั่วซึม แผงกำบังฝนสาดอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกฝน หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22 - 24 มิ.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 มิ.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูท เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ในช่วงฤดูฝนวัชพืชเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22 - 24 มิ.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 มิ.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงฤดูฝนแมลงศัตรูสัตว์ต่างๆ เจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้ศัตรูสัตว์มารบกวนสัตว์เลี้ยง เพราะจะทำให้สัตว์ชะงักการเจริญเติบโต และอาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมขอบบ่อให้สูงขึ้น และจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในระยะฝนทิ้งช่วง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 24 มิ.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 มิ.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูก และโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาฟักตัวได้นาน

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 22 - 23 มิ.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 28 มิ.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออกกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น ส่วนทางฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 15 - 21 มิถุนายน 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตลอดสัปดาห์ โดยมีกำลังอ่อนลงในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบนในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นในครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 15 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 19 และ 20 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 25-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 15 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 18, 19 และ 21 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดหนองคาย นครสวรรค์ ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ระนอง และภูเก็ต ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ อุทัยธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี พังงา และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ