พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Monday July 20, 2020 13:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 87/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20 - 23 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 20 - 22 และในช่วงวันที่ 25 - 26 ก.ค. 63 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉลับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 21-22 ก.ค. 63อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น เช่น โรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคเน่าเละในผัก เป็นต้น โดยดูแลดินให้มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ให้น้ำขังในแปลงปลูก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม แผงกำบังฝนสาดอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 22 และ 25 - 26 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตก เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 22 และ 25 – 26 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นพื้นที่การเกษตร รวมทั้งอุปกรณ์สูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน เพื่อไม่ให้น้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืช ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมขอบบ่อให้สูงขึ้นรวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียมพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงเอาไว้สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยงหากเกิดสภาวะน้ำท่วม

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20 - 22 และ 25 – 26 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในสวนเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำรวมเป็นเนื้อเดียวกัน ป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อรวมทั้งอุปกรณ์สูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 20 - 24 ก.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 26 ก.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20 - 24 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 21-22 ก.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 26 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าฝั่งตะวันออก กับจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ โรคยอดเน่าในปาล์มน้ำมัน เป็นต้น สำหรับทางฝั่งตะวันออก ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีแก่พืชไร่ ไม้ผล ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และเจริญเติบโตทางผล ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตได้ดี แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13 - 19 กรกฎาคม 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตลอดสัปดาห์ ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก และมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 17 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 17 และ 18 ก.ค. มีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 14 ก.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภูในวันที่ 13 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 13 ก.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 20-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่ง 2 ตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 20-50 ของพื้นที่โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราชในวันที่ 16 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 14 และ 15 มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเลย ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ยโสธร นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทองพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร จันทบุรี และนครศรีธรรมราช ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงรายเชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี นนทบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ