พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Friday May 21, 2021 15:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 61/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21 - 22 พ.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฟ้าคะนอง และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ค. บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-23 พ.ค. อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 -70 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควร ผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำเช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดขาว บรอกโคลี เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต และผลผลิตเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะมีฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะพืชตระกูลแตง เช่น แตงโม แคนตาลูป แตงร้าน และแตงกวา เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นตายและผลผลิตเสียหาย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชมความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งและไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 23-27 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับช่วงนี้มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนตกชุกกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพูในยางพารา เป็นต้น อนึ่ง ในช่วงวันที่ 23-27 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14 - 20 พฤษภาคม 2564 ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในระยะครึ่งแรกของช่วง กับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามันในระยะดังกล่าว หลังจากนั้นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ โดยมีฝนเพิ่มขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกกับมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง และอุตรดิตถ์ โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นช่วง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพะเยาในวันที่ 15, 17, 19 และ 20 พ.ค. จังหวัดพิจิตรในวันที่ 16 และ 18 พ.ค. จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และตากในวันที่ 17 พ.ค. จังหวัด

ลำปางในวันที่ 17 และ 19 พ.ค. จังหวัดน่านในวันที่ 18-19 พ.ค. และจังหวัดเชียงรายในวันที่ 19 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 20-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง รายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ดในวันที่ 14 พ.ค. จังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 14-16 พ.ค. จังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานีในวันที่ 14 และ 18 พ.ค. จังหวัดสกลนครและนครพนมในวันที่ 15 พ.ค. จังหวัดชัยภูมิในวันที่ 15-17 พ.ค. จังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 17-18 พ.ค. และจังหวัดเลยและมหาสารคามในวันที่ 18 พ.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ กับมีรายงานฝนหนัก บางแห่งในวันที่ 16, 18 และ 19 พ.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอ่างทอง นครสวรรค์ กาญจนบุรี และชัยนาทในวันที่ 16 พ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 30-50 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 18-19 พ.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีรายงานฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และ มีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 16 พ.ค. จังหวัดนครนายกในวันที่ 18 พ.ค. และจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 19 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 50-85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ และฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 17-18 พ.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 19 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันแรกของช่วงมีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานคร สงขลา และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา กำแพงเพชร เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ