เอแบคโพลล์: ดัชนีความสุขมวลรวมของสาธารณชนในช่วงหลังการเปลี่ยนขั้วการเมือง

ข่าวผลสำรวจ Monday December 22, 2008 07:43 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ดัชนีความสุข มวลรวมของสาธารณชนในช่วงหลังการเปลี่ยนขั้วการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหา นคร ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง และพัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 3,516 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 - 20 ธันวาคม 2551

จากการประเมินความสุขมวลรวมของสาธารณชนในช่วงเปลี่ยนขั้วทางการเมือง พบความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 4.84 ในช่วงเดือน ตุลาคมที่ผ่านมา มาอยู่ที่ 6.55 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนในช่วงหลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว ซึ่งถือว่าเป็นค่าความสุขที่สูงที่สุดตั้งแต่มีรัฐบาลที่มาจากการ เลือกตั้ง(ต้นปี 2551) หลังการยึดอำนาจในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 โดยคะแนนความสุขมวลรวมที่สูงที่สุดคือความสุขต่อความจงรักภักดีที่มีค่าคะแนน สูงถึง 9.39 รองลงมาคือ ความสุขจากบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวได้ 7.97 ความสุขจากวัฒนธรรมประเพณีไทย ได้ 7.51 ความสุข ต่อสุขภาพกาย 7.31 และความสุขต่อสุขภาพใจ 7.28 เป็นต้น

ดร.นพดล กล่าวว่า จะเห็นได้ชัดเจนจากผลการสำรวจว่า การเมืองสงบ ความสุขพุ่ง นี่เป็นหลักฐานข้อมูลทางวิชาการที่น่าจะยืนยันได้อีก ครั้งว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีพื้นฐานโครงสร้างต่างๆ แข็งแรงเป็นทุนทางสังคมและการเมืองอยู่แล้ว ชีวิตความเป็นอยู่และปากท้องของประชาชนจึงอยู่ ที่ความรักความสามัคคี ความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน เมื่อการเมืองสงบนิ่ง หรือลดระดับของความขัดแย้งลง ความสุขของประชาชนก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ค้น พบในงานวิจัยครั้งนี้

ที่น่าสนใจคือ คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.7 นอนหลับได้ค่อนข้างสนิท ถึงนอนหลับได้สนิทขึ้น หลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว ในขณะที่ร้อยละ 9.7 นอนหลับได้ระดับปานกลาง และร้อยละ 10.6 นอนไม่ค่อยหลับ ถึง นอนไม่หลับเลย นอกจากนี้ ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 38.2 คิดว่า ทิศ ทางการเมืองจะดีขึ้น หลังจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 28.2 คิดว่าจะแย่ลง และร้อยละ 33.6 ยังไม่มีความเห็นในเรื่องนี้

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.7 สนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 40.3 ไม่สนับสนุน เพราะแม้ในกลุ่มคนที่เคยสนับสนุนรัฐบาล อดีตพรรคพลังประชาชนยังเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 55.1 ที่หันมาสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลุ่มคนไม่สนับสนุนรัฐบาลเดิมของพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.8 และกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 60.3 ก็สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เช่นกัน

ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ตามหลักของการสำรวจความนิยมของสาธารณชนต่อผู้นำประเทศ ถือว่า เสียงสนับสนุนของนายอภิสิทธิ์ เวช ชาชีวะอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี หรือได้เกรด B ที่สาธารณชนพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลระดับมาก แต่ก็ยังจะมีแรงเสียดทานอยู่พอสมควรที่นายอภิสิทธิ์ ต้องไม่ประมาท ไม่หลงมัวเมาในอำนาจและผลประโยชน์ของตัวแทนของกลุ่มนายทุน กลุ่มการเมืองที่อยู่รอบข้างเพียงไม่กี่คน

โดยค้นพบเหตุผลสำคัญที่จะต้องทำให้ นายอภิสิทธิ์ ประมาทไม่ได้เนื่องจาก เมื่อจำแนกข้อมูลออกตามพื้นที่ พบว่า คนกรุงเทพมหานครเกิน ครึ่งหนึ่งเล็กน้อยเท่านั้น หรือร้อยละ 51.1 ที่สนับสนุน แต่ร้อยละ 48.9 ไม่สนับสนุน จึงถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่ต้องคิดไตร่ตรองอย่างรอบครอบของพรรค ประชาธิปัตย์ ในขณะที่คนในเขตเมืองหรือเขตเทศบาลส่วนใหญ่ร้อยละ 65.9 สนับสนุน และประชาชนนอกเขตเทศบาลหรือร้อยละ 59.2 สนับสนุน

อย่างไรก็ตาม หลังการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองใหม่ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1 เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไป ข้างหน้า ในขณะที่ร้อยละ 40.9 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของสาธารณชนในช่วงหลังการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR (แองเคอร์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ดัชนีความสุขมวลรวมของสาธารณชนใน ช่วงหลังการเปลี่ยนขั้วการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง และ พัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 3,516 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 - 20 ธันวาคม 2551ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัย เชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนด ลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อน จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การ สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 169 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 51.3 เป็นหญิง

ร้อยละ 48.7 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 18.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 28.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 88.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 11.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 0.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 3.3 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.7 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 28.5 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย

ร้อยละ 3.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 45.4 เกษตรกร / รับจ้างใช้แรงงาน

ร้อยละ 9.3 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ

และร้อยละ 4.1 ว่างงาน/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ/ตกงาน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศหลังการเปลี่ยนขั้วการเมือง

เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน — ธันวาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10

ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย พ.ย.-ธ.ค.49 ม.ค.50 เม.ย.50 พ.ค.-ก.ค.50 ก.ย.50 ต.ค.50 เม.ย.51 ก.ค. 51 ส.ค. 51 ก.ย. 51 ต.ค. 51 ช่วงการเมืองเปลี่ย
 ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness)       5.74     5.68      5.11         5.02     5.94     6.9      6.3      6.08      5.82      5.64     4.84            6.55

ตารางที่ 2  แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน หลังการเปลี่ยนขั้วการเมือง
ลำดับที่          กลุ่มปัจจัยต่างๆ                                        ค่าคะแนน

ความสุขโดยเฉลี่ย

1          ความจงรักภักดี                                             9.39
2          บรรยากาศ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว                        7.97
3          วัฒนธรรมประเพณีไทย                                        7.51
4          สุขภาพกาย                                                7.31
5          สุขภาพใจ                                                 7.28
6          หน้าที่การงาน                                              7.06
7          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน                            7.04
8          การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ได้รับ                       6.97
9          สภาพแวดล้อม ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ                         6.85
10          ความเป็นธรรมในสังคมที่ท่านได้รับ                              6.15
11          สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม                               4.59
          ความสุขโดยรวมของคนไทยประจำเดือนธันวาคม 2551                 6.55

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การนอนหลับ ในช่วงเวลาหลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว
ลำดับที่          การนอนหลับในช่วงเวลา หลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว              ค่าร้อยละ
1          นอนไม่ค่อยหลับ ถึง นอนไม่หลับเลย                              10.6
2          นอนหลับได้ระดับปานกลาง                                      9.7
3          นอนหลับได้ค่อนข้างสนิท ถึงนอนหลับได้สนิท                         79.7
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0
ค่าเฉลี่ยความพอเพียงของการนอนหลับอย่างสนิทจากคะแนนเต็ม 10 คะแนนเท่ากับ  7.24

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
ลำดับที่          ทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่  ค่าร้อยละ
1          ดีขึ้น                                                     38.2
2          แย่ลง                                                    28.2
3          ไม่มีความเห็น                                              33.6
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่          การสนับสนุนของสาธารณชน ต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ        ค่าร้อยละ

ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

1          สนับสนุน                                                  59.7
2          ไม่สนับสนุน                                                40.3
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่      การสนับสนุนของสาธารณชน ต่อ นายอภิสิทธิ์    สนับสนุนรัฐบาล(อดีต พปช.)   ไม่สนับสนุนรัฐบาล (พปช.)   ไม่อยู่ฝ่ายใดพลังเงียบ

เวชชาชีวะในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

1          สนับสนุน                                       55.1                   73.8                    60.3
2          ไม่สนับสนุน                                     44.9                   26.2                    39.7
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0                  100.0                   100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่         การสนับสนุนของสาธารณชน ต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ    ในเขตเมืองเขตเทศบาล   นอกเขตเทศบาล   กรุงเทพมหานคร

ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

1          สนับสนุน                                                 65.9               59.2          51.1
2          ไม่สนับสนุน                                               34.1               40.8          48.9
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0              100.0         100.0

ตารางที่ 8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการตัดสินใจเลือกระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อเหตการณ์ทางการเมือง

เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ

ลำดับที่          การตัดสินใจเลือกระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อเหตการณ์ทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ   ค่าร้อยละ
1          เลือกที่จะหวังก้าวต่อไปข้างหน้า                                                                    59.1
2          ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย                                                  40.9
          รวมทั้งสิ้น                                                                                    100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ