กรุงเทพโพลล์: “ประเมินผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ (ครบ 6 เดือน)”

ข่าวผลสำรวจ Monday February 23, 2015 10:39 —กรุงเทพโพลล์

ประเมินผลงานเศรษฐกิจ รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ สอบผ่านได้ 5.62 คะแนนจากเต็ม 10 ผู้ว่า ธปท. ได้คะแนนสูงสุด 7.54 คะแนน นายกรัฐมนตรีได้ 6.62 คะแนน รมว.พาณิชย์ได้น้อยสุด 5.20 คะแนน 34.8% เสนอให้ปรับ ครม. เพราะ รัฐมนตรีบางคนไม่เชี่ยวชาญ ผลงานไม่เข้าเป้า

ด้วยรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะปฏิบัติงานครบ 6 เดือน กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จึงได้ดำเนินการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 28 แห่ง จำนวน 66 คน เรื่อง “ประเมินผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ (ครบ 6 เดือน)” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 9 – 17 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา พบว่า

นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลงานการบริหารเศรษฐกิจในภาพรวมของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาโดยให้คะแนน 5.62 คะแนน (จากเต็ม 10) ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงกว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ (ได้ 4.08 คะแนน) และสูงกว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ (ได้ 5.12 คะแนน) โดยการประเมินครั้งนี้ รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ได้คะแนนมากที่สุดในด้านการบริหารจัดการค่าเงินบาท/เสถียรภาพค่าเงินบาท (6.51 คะแนน) และได้คะแนนน้อยที่สุดในด้านการเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม (GDP) (5.19 คะแนน)

สำหรับการประเมินผลงานตัวนายกรัฐมนตรีโดยภาพรวม พบว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้คะแนน 6.62 คะแนน (จากเต็ม 10) สูงกว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ได้ 3.66 คะแนน ในส่วนของผลงานรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ พบว่า นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงานได้คะแนนสูงสุดเท่ากับ 6.15 คะแนน รองลงมาเป็น หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจได้ 6.07 คะแนน ส่วนผู้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ รมว.พาณิชย์ ได้ 5.20 คะแนน ทำให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.69 คะแนน ขณะที่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้คะแนนเท่ากับ 7.54 คะแนน ซึ่งเป็นระดับคะแนนสูงสุด และเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อปี 2556 ที่ได้ 7.11 คะแนน

สุดท้ายเมื่อถามว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควรมีการปรับ ครม. หรือไม่ พบว่า ร้อยละ 34.8 เห็นว่า ควรปรับ เพราะ (1) รัฐมนตรีไม่มีความเชี่ยวชาญจริง กรอบการทำงานแคบ ทำงานแบบราชการ ขาดแนวคิดใหม่ๆ ดังนั้น ควรให้มืออาชีพ มีความเชี่ยวชาญ เข้ามาทำหน้าที่แทน (2) การปฏิบัติงานล่าช้า งานไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร ทำงานเชิงรับ และทำงานไม่สอด ประสานกัน ขณะที่ ร้อยละ 21.2 เห็นว่า ไม่ควรปรับ โดยให้เหตุผลว่า (1) เพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบาย/โครงการต่างๆ ซึ่งต้องใช้เวลา (2) รัฐบาลชุดนี้มีเวลาทำงานที่น้อยตาม roadmap ที่ได้ประกาศจึงไม่ควรมีการปรับเปลี่ยน ครม. อย่างไรก็ตาม มีนักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 44.0 ที่ไม่ตอบคำถามข้อนี้

หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
         นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ประเมินผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบันและที่ผ่านมา

รัฐบาล

นายกรัฐมนตรี                      นายอภิสิทธิ์      นางสาวยิ่งลักษณ์      นางสาวยิ่งลักษณ์       พล.อ. ประยุทธ์
ช่วงเวลาที่สำรวจ                    พ.ค. 54          เม.ย. 55           มิ.ย. 56            ก.พ. 57
ผลงานด้านเศรษฐกิจ (เต็ม 10)            5.12              3.83              4.08               5.62
ผลงานของนายกรัฐมนตรี(เต็ม 10)            -                  -              3.66               6.62

2.  ประเมินผลงานการบริหารเศรษฐกิจภาพรวมของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                         คะแนน                    ผลงาน(ร้อยละ)                  ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
                                                       (เต็ม 10)     ดีเยี่ยม     ดี       พอใช้       แย่    แย่มาก
1.  การบริหารจัดการค่าเงินบาท/เสถียรภาพค่าเงินบาท                6.51       3.0     51.5     40.9      0.0      0.0         4.6
2.  การบริหารจัดการราคาพลังงาน                               6.04       7.6     43.9     33.3      9.1      4.5         1.6
3.  การบริหารจัดการหนี้สาธารณะ                                5.63       1.5     28.8     51.5      9.1      0.0         9.1
4.  การสร้างสรรค์โครงการเศรษฐกิจต่างๆ                         5.48       1.5     30.3     48.5     15.2      0.0         4.5
5.  การสร้างความเป็นธรรมในสังคมลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ       5.25       1.5     27.3     45.5     15.2      3.0         7.5
6.  การแก้ปัญหา/ดูแลเสถียรภาพของราคาสินค้า                      5.23       0.0     27.3     54.5     15.2      1.5         1.5
7.  การเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม (GDP)                      5.19       0.0     22.7     60.6     15.2      1.5         0.0
    รวม                                                   5.62       2.2     33.1     47.8     11.3      1.5         4.1

3. ประเมินผลงานรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาลนายกฯ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                         คะแนน                    ผลงาน(ร้อยละ)                  ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
                                                       (เต็ม 10)     ดีเยี่ยม     ดี       พอใช้       แย่    แย่มาก
1. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี                     6.62       9.1     53.0     28.8      7.6      0.0         1.5
2. นายณรงค์ชัย  อัครเศรณี  รมว.พลังงาน                         6.15       4.5     51.5     28.8      4.5      6.1         4.6
3. หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล  รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ           6.07       1.5     47.0     37.9      9.1      0.0         4.5
4. นางกอบกาญจน์  วัฒนวรางกูร  รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา           5.83       3.0     31.8     48.5      7.6      0.0         9.1
5. นายจักรมณฑ์  ผาสุกวนิช  รมว.อุตสาหกรรม                      5.61       0.0     31.8     45.5      7.6      1.5        13.6
6. พลเอก ธนะศักดิ์  ปฏิมาประกร รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศ     5.56       0.0     30.3     48.5      7.6      1.5        12.1
7. พลอากาศเอก ประจิน  จั่นตอง  รมว.คมนาคม                    5.49       3.0     33.3     39.4     12.1      4.5         7.7
8. นายสมหมาย  ภาษี  รมว.คลัง                                5.41       0.0     25.8     57.6      7.6      1.5         7.5
9. นายปีติพงศ์  พี่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์               5.37       0.0     25.8     54.5     12.1      0.0         7.6
10. พลเอก สุรศักดิ์  กาญจนรัตน์  รมว.แรงงาน                     5.26       0.0     18.2     59.1      9.1      0.0        13.6
11. พลเอก ฉัตรชัย  สาริกัลป์ยะ  รมว.พาณิชย์                      5.20       0.0     24.2     54.5     10.6      3.0         7.7
รวม  รัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์                                    5.69       1.9     33.9     45.7      8.7      1.7         8.1
12. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย         7.54      25.8     47.0     18.2      3.0      0.0         6.0

4.  ข้อคำถาม  “พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควรมีการปรับ ครม.  หรือไม่”
ร้อยละ  34.8  เห็นว่า  ควรปรับ

เพราะ 1. รัฐมนตรีไม่มีความเชี่ยวชาญจริง กรอบการทำงานแคบ ทำงานแบบราชการ ขาดแนวคิดใหม่ๆ ดังนั้น ควรให้มืออาชีพ มีความเชี่ยวชาญ เข้ามาทำหน้าที่แทน

2. การปฏิบัติงานล่าช้า งานไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร ทำงานเชิงรับและทำงานไม่สอด ประสานกัน ร้อยละ 21.2 เห็นว่า ไม่ควรปรับ

เพราะ 1. เพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบาย/โครงการต่างๆ ซึ่งต้องใช้เวลา

2. รัฐบาลชุดนี้มีเวลาทำงานที่น้อยตาม roadmap ที่ได้ประกาศจึงไม่ควรมีการปรับเปลี่ยน ครม. ร้อยละ 44.0 ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล

2. เพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนให้รัฐบาลได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 28 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานชั้นนำภายในระยะเวลาที่กำหนด

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  9 – 17 กุมภาพันธ์ 2558

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  22 กุมภาพันธ์ 2558

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่

          หน่วยงานภาครัฐ                               35        53
          หน่วยงานภาคเอกชน                            23      34.8
          สถาบันการศึกษา                                8      12.2
          รวม                                        66       100
เพศ
          ชาย                                        41      62.1
          หญิง                                        25      37.9
          รวม                                        66       100
อายุ
          26 ปี – 35 ปี                                12      18.2
          36 ปี – 45 ปี                                30      45.5
          46 ปีขึ้นไป                                   24      36.3
          รวม                                        66       100
การศึกษา
          ปริญญาตรี                                     3       4.6
          ปริญญาโท                                    49      74.2
          ปริญญาเอก                                   14      21.2
          รวม                                        66       100
ประสบการณ์ทำงานรวม
          1-5  ปี                                      5       7.7
          6-10 ปี                                     16      24.2
          11-15 ปี                                    16      24.2
          16-20 ปี                                     7      10.6
          ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                              22      33.3
          รวม                                        66       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ