กรุงเทพโพลล์: “นับถอยหลัง 7 วันก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 59”

ข่าวผลสำรวจ Monday August 1, 2016 09:59 —กรุงเทพโพลล์

นับถอยหลัง 7 วันก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชนเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ และยังไม่แน่ใจเพิ่มสูงขึ้นส่วนใหญ่พอใจการทำหน้าที่ของกกต. และไม่กังวลว่าจะมีกลุ่มคน สร้างความปั่นป่วน รุนแรงใกล้วันลงประชามติ

อีก 7 วันจะถึงวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ นับถอยหลัง 7 วันก่อนลงประชามติร่าง รัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 59” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 2,810 คน พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 66.0 พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ต่อการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลแก่ประชาชนก่อนลงประชามติ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ขณะที่ร้อยละ 25.7 พอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 8.3 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

ทั้งนี้เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ว่าจะมีกลุ่มคนบางกลุ่มสร้างความก่อกวน/ปั่นป่วน ให้เกิดสถานการณ์รุนแรงในช่วงใกล้วันลงประชามติ ประชาชนร้อยละ 75.4 ระบุว่าไม่กังวล ขณะที่ ร้อยละ 22.0 ระบุว่ากังวล ที่เหลือร้อยละ 2.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ

สำหรับความตั้งใจจะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59 ที่จะถึงนี้นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 87.8 ตั้งใจว่าจะไป เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ร้อยละ 2.0 ขณะที่ร้อยละ 6.2 ตั้งใจว่าจะไม่ไป (ลดลงร้อยละ 0.9) และร้อยละ 6.0 ยังไม่แน่ใจ (ลดลงร้อยละ 1.1)

สุดท้ายเมื่อถามว่าหากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.4 ระบุว่า “เห็นชอบ” เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งที่ ผ่านมา ร้อยละ 3.7 ขณะที่ร้อยละ 7.7 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ” (ลดลงร้อยละ 2.1) ส่วนร้อยละ 8.5 ระบุว่า “งดออกเสียง” (ลดลงร้อยละ 3.7) และมีถึงร้อยละ 35.4 ระบุว่า “ไม่แน่ใจ”

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล แก่ประชาชนก่อนลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559

พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
          (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 45.9  และมากที่สุดร้อยละ 20.1)                    ร้อยละ          66.0
พอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
          (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 19.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 6.1)                      ร้อยละ          25.7
ไม่แน่ใจ                                                                           ร้อยละ           8.3

2. ความกังวลว่าจะมีกลุ่มคนบางกลุ่มสร้างความก่อกวน/ปั่นป่วน ให้เกิดสถานการณ์รุนแรงในช่วงใกล้วันลงประชามติ
กังวล                                                                             ร้อยละ          22.0
ไม่กังวล                                                                           ร้อยละ          75.4
ไม่แน่ใจ                                                                           ร้อยละ           2.6

3.  ความตั้งใจ จะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59

                          15 วัน              7 วัน           เพิ่มขึ้น/ลดลง
                       ก่อนลงประชามติ      ก่อนลงประชามติ        (ร้อยละ)
                         (ร้อยละ)           (ร้อยละ)
ตั้งใจว่าจะไป                 85.8              87.8                2
ตั้งใจว่าจะไม่ไป                7.1               6.2             -0.9
ไม่แน่ใจ                      7.1                 6             -1.1

4. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ท่านจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่”

                         15 วัน              7 วัน           เพิ่มขึ้น/ลดลง
                     ก่อนลงประชามติ       ก่อนลงประชามติ        (ร้อยละ)
                        (ร้อยละ)            (ร้อยละ)
เห็นชอบ                    44.7              48.4               3.7
ไม่เห็นชอบ                   9.8               7.7              -2.1
งดออกเสียง                 12.2               8.5              -3.7
ไม่แน่ใจ                    33.3              35.4               2.1

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับความตั้งใจที่จะไปออกเสียงลงประชามติ

2) เพื่อสะท้อนความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

3) เพื่อทราบถึงความพึงพอใจที่มีต่อการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

4) เพื่อทราบถึงความกังวลว่าจะมีกลุ่มคนบางกลุ่มสร้างความก่อกวนในช่วงใกล้วันลงประชามติ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  26 - 29 กรกฎาคม 2559

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  30 กรกฎาคม 2559

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               1,401      49.9
          หญิง                               1,409      50.1
          รวม                               2,810       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                         370      13.2
          31 ปี - 40 ปี                         654      23.2
          41 ปี - 50 ปี                         792      28.2
          51 ปี - 60 ปี                         635      22.6
          61 ปี ขึ้นไป                           359      12.8
          รวม                               2,810       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      1,832      65.2
          ปริญญาตรี                             776      27.6
          สูงกว่าปริญญาตรี                        202       7.2
          รวม                               2,810       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                          371      13.2
          ลูกจ้างเอกชน                          652      23.2
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        1,200      42.7
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                  96       3.4
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ              396      14.1
          นักเรียน/ นักศึกษา                       62       2.2
          ว่างงาน/ รวมกลุ่ม                       33       1.2
          รวม                               2,810       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ