สรุปผลข้อมูลเบื้องต้น การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้าง พ.ศ. 2556

ข่าวผลสำรวจ Tuesday April 29, 2014 08:15 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ข้อมูลสถิติพื้นที่ของสิ่งก่อสร้าง ถือเป็นตัวชี้นำทางเศรษฐกิจที่สำคัญตัวหนึ่ง สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้รวบรวมข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างเป็นประจำทุกปี เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างทุกประเภทที่เอกชนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่และต่อเติมหรือดัดแปลงในเขตพื้นที่ที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้แก่ จำนวนผู้ได้รับอนุญาต จำนวนสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำไปใช้ในการจัดทำบัญชีประชาชาติด้านการสะสมทุน และมูลค่าการก่อสร้างรวมของทั้งประเทศ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และภาคเอกชน นำไปใช้ในการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการติดตามภาวะเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ การส่งเสริมการขาย/วางแผนการลงทุนการก่อสร้าง รวมทั้งแผนการจ้างงาน และการผลิตฝีมือแรงงานให้กับภาคประชาชนต่อไป

สำหรับสรุปผลข้อมูลเบื้องต้นฉบับนี้ เป็นข้อมูลการอนุญาตให้เอกชนก่อสร้างในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งทำการรวบรวมข้อมูลทุกเดือน จากสำนักงานเขต หน่วยราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สรุปข้อมูลที่สำคัญได้ดังนี้

1. สิ่งก่อสร้างประเภทอาคารโรงเรือน

1.1 จำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้าง ในปี 2556 มีผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างใหม่ ต่อเติมหรือดัดแปลงทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 150,764 ราย โดยร้อยละ 98.8 ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่และร้อยละ 1.2 ได้รับอนุญาตให้ต่อเติม หรือดัดแปลง เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ได้รับอนุญาตมากที่สุด 38,230 ราย (ร้อยละ 25.4) รองลงมาคือภาคกลาง 33,489 ราย (ร้อยละ 22.2) ส่วนกรุงเทพมหานครมี ผู้ได้รับอนุญาตน้อยที่สุด 12,095 ราย (ร้อยละ 8.0)

เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือนในปี 2556 ในภาพรวมลดลงร้อยละ 4.7 โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลงมากที่สุดคือร้อยละ 13.9

1.2 จำนวนสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ของสิ่งก่อสร้าง

ในปี 2556 มีสิ่งก่อสร้างประเภทอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 255,351 หน่วย โดยในภาคกลางมีจำนวนอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างมากกว่าภาคอื่น ๆ คือ 62,961 หน่วย รองลงมาคือเขตปริมณฑล มีจำนวน 50,895 หน่วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวน 44,295 หน่วย ภาคใต้40,822 หน่วย ภาคเหนือและกรุงเทพมหานครมีจำนวนอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใกล้เคียงกันจำนวน 28,189 หน่วย และ 28,185 หน่วยตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า ในภาพรวมจำนวนสิ่งก่อสร้างในปี 2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยเพิ่มขึ้นจาก 249,722 หน่วย ในปี 2555 เป็น 255,351 หน่วยในปี 2556 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ในเขตปริมณฑลและภาคกลางมีจำนวนสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเขตปริมณฑลพบว่ามีจำนวนสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 โดยเพิ่มขึ้นจาก 43,106 หน่วยในปี 2555 เป็น 50,895 หน่วยในปี 2556 ภาคกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ส่วนกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคเหนือ และภาคใต้มีจำนวนสิ่งก่อสร้างลดลง โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลงมากที่สุดร้อยละ 12.9 (แผนภูมิ 2)

ส่วนพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างประเภทอาคารโรงเรือน พบว่าในปี 2556 ทั่วประเทศมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างรวม 81.0 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ประมาณร้อยละ 8.4 เมื่อพิจารณาตามภาค พบว่าเกือบทุกภาคมีพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเขตปริมณฑล พบว่ามีพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 40.6 ยกเว้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกรุงเทพ- มหานครมีจำนวนลดลงจากปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 15.5 และ 3.2 ตามลำดับ (แผนภูมิ 3) 1.3 ประเภทและพื้นที่ของสิ่งก่อสร้าง

เมื่อพิจารณาแนวโน้มของพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างในภาพรวมระหว่างปี 2549 ถึงปี 2556 ในรอบ 8 ปี พบว่า ในปี 2550 พื้นที่ของสิ่งก่อสร้างมีจำนวนลดลงจากปี 2549 อย่างเห็นได้ชัดจาก 70.2 ล้านตารางเมตรปี 2549 เป็น 59.3

หากพิจารณาพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างตามประเภทของสิ่งก่อสร้าง (แผนภูมิ 5) พบว่า พื้นที่ของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 59.5) เป็นการก่อสร้างอาคารโรงเรือนเพื่ออยู่อาศัย ซึ่งมีจำนวน 48.2 ล้านตารางเมตร ส่วนการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์และอาคารสำนักงานมีจำนวน 14.7 ล้านตารางเมตร (ร้อยละ 18.2) เพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานมีจำนวน 10.5 ล้านตารางเมตร (ร้อยละ 13.0) พื้นที่ของสิ่งก่อสร้างที่เป็นโรงแรมมีจำนวน 3.0 ล้านตารางเมตร (ร้อยละ 3.7) อาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุขมีจำนวน 0.8 ล้านตารางเมตร (ร้อยละ 1.0) และเป็นการก่อสร้างอื่น ๆ เช่น อาคารเพื่อการบำบัดน้ำเสีย โรงไฟฟ้า อาคารระบบประปาและโรงกรองน้ำ เพื่อการเกษตร เพื่อการขนส่ง เพื่อการบันเทิง และอื่น ๆ จำนวน 3.8 ล้านตารางเมตร (ร้อยละ 4.7) ล้านตารางเมตรในปี2550 หลังจากนั้นมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับปี 2556 มีพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 จากปี 2555 คือจาก 74.7 ล้านตารางเมตร เป็น 81.0 ล้านตารางเมตรในปี 2556 (แผนภูมิ 4)

เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า อาคารโรงเรือนมีพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโดยรวมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.4 โดยเฉพาะการก่อสร้างโรงแรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 73.3 รองลงมาเป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ15.5 การก่อสร้างอาคารเพื่อการศึกษาและสาธารณสุขเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 อาคารเพื่ออยู่อาศัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 การก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์และอาคารสำนักงานเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดมีจำนวน 3.9 ล้านตารางเมตร ส่วนการก่อสร้างอาคารเพื่อการบำบัดน้ำเสีย โรงไฟฟ้า อาคารระบบประปาและโรงกรองน้ำ เพื่อการเกษตร เพื่อการขนส่ง เพื่อการบันเทิง และอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 จากปี 2555

2. สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน

ในปี 2556 มีผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนประเภท รั้ว/กำแพง ถนน สะพาน เขื่อน/คันดิน ท่อ/ทางระบายน้ำ ฯลฯ ทั่วประเทศจำนวน 16,707 รายเป็นสิ่งก่อสร้างทั้งสิ้น 19,335 แห่ง

เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา พบว่า สิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสูงสุดในปี 2553 และลดลงต่ำสุดในปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่ประสบภาวะ น้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย ในปี 2555 มีการก่อสร้างทดแทนสิ่งที่เสียหายไปจากน้ำท่วมและมีการก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อป้องกันน้ำท่วม ทำให้สิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น ส่วนในปี 2556 มีผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับปี 2555 จำนวนสิ่งก่อสร้างลดลง ร้อยละ 13.0 (แผนภูมิ 6)

สำหรับความยาวของสิ่งก่อสร้างทั่วประเทศ ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจำนวนทั้งสิ้น 2,253,304 เมตร ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างท่อ/ทางระบายน้ำรวม 1,367,459 เมตร (ร้อยละ 60.7) เป็นการก่อสร้างถนน 449,778 เมตร (ร้อยละ 20.0) การก่อสร้างรั้ว/กำแพง 366,052 เมตร (ร้อยละ 16.2) ส่วนการก่อสร้างอื่น ๆ เช่น การ

สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนประเภทสระว่ายน้ำ ปั๊มน้ำมัน ท่าเรือ สนามกีฬา ลานจอดรถ ป้ายโฆษณา ฯลฯ ในปี 2556 มีผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจำนวน 3,113 ราย และมีการอนุญาตให้ก่อสร้างจำนวน 3,699 แห่ง

เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา พบว่าทั้งจำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างและจำนวนสิ่งก่อสร้าง มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก สำหรับปี 2556 มีผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจำนวน 3,113 รายเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 จากปี 2555 และสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจำนวน 3,699 แห่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 (แผนภูมิ 8) ก่อสร้างสะพาน เขื่อน/คันดิน เป็นต้น คิดเป็นความยาวรวม 70,015 เมตร (ร้อยละ 3.1)

เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555 พบว่า ความยาวของสิ่งก่อสร้างแต่ละประเภทลดลง โดยในภาพรวมปี 2556 มีความยาวทั้งสิ้นลดลงร้อยละ 21.4 จากปี 2555 (แผนภูมิ 7)

สำหรับพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างทั่วประเทศได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจำนวนทั้งสิ้น 2,268,899 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างลานจอดรถ 1,089,161 ตารางเมตร (ร้อยละ 48.0) รองลงมาเป็นปั๊มน้ำมัน 151,968 ตารางเมตร (ร้อยละ 6.7) ป้ายโฆษณา 85,631 ตารางเมตร (ร้อยละ 3.8) สระ ว่ายน้ำ 72,232 ตารางเมตร (ร้อยละ 3.2) ส่วนการก่อสร้างอื่น ๆ เช่น การก่อสร้างท่าเรือ สนามกีฬา

3. สรุปสถานการณ์ก่อสร้าง

จากการประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างในปี 2556 พบว่า จำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือนลดลงร้อยละ4.7จากปี 2555 แต่จำนวนสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และพื้นที่ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4

สำหรับสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือนที่ใช้ความยาวเป็นหน่วยวัด มีความยาวของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 21.4 และสิ่งก่อสร้างที่ใช้พื้นที่เป็นหน่วยวัดมีพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 จากปี 2555 ลานตากข้าว การก่อสร้างพื้นที่ตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น คิดเป็นพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างรวม 869,907 ตารางเมตร (ร้อยละ 38.3)

เมื่อพิจารณา พื้นที่ของสิ่งก่อสร้างในปี 2556 ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 จากปี 2555 โดยเฉพาะลานจอดรถเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.3 (แผนภูมิ 9)

อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างแสดงให้เห็นถึงการก่อสร้างในภาค เอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ต่อเนื่องจากนโยบายเกี่ยวกับการซื้อบ้านหลังแรกจากภาครัฐ และการฟื้นฟู ซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างที่เสียหาย สาเหตุจากการเกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ปลายปี 2554 และสาเหตุจากวัสดุก่อสร้างหลายชนิดมีแนวโน้มปรับขึ้นราคา เช่น เหล็ก ไม้ ซีเมนต์ และต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีการชะลอการก่อสร้างในบางพื้นที่

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ