ผลสำรวจการรับรู้ของตัวอย่างต่อวันครอบครัวแห่งชาติ พบว่า ร้อยละ 40.4 ระบุรับทราบและสามารถระบุได้อย่างถูกต้องว่าวันครอบครัว ตรงกับวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี ในขณะที่ร้อยละ 59.6 ระบุไม่ทราบว่าตรงกับวันที่อะไร ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจที่อยู่ร่วมทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัวในวันครอบครัว และช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 67.6 ระบุตั้งใจจะอยู่ร่วมทำกิจกรรม ในขณะที่ร้อยละ 28.1 ระบุยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 4.3 ระบุจะไม่อยู่/ไม่ว่าง นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงการจัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในครอบครัวนั้น พบว่า ร้อยละ 74.4 ระบุครอบครัวของตนมีการจัดกิจกรรมดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 25.6 ระบุไม่มี
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวของตนเองในปัจจุบันนั้นพบว่า ประมาณ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 75.3 ระบุมีความสัมพันธ์ในระดับดี-ดีมาก ในขณะที่ร้อยละ 22.0 ระบุค่อนข้างดี ร้อยละ 2.6 ระบุไม่ค่อยดี และร้อยละ 0.1 ระบุไม่ดี-ไม่ดีเลย ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 62.9 ระบุมีวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว โดยการทำกิจกรรมร่วมกันในเวลาว่าง รองลงมาคือ ร้อยละ 54.9 ระบุมีการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอ ร้อยละ 45.2 ระบุมีการพบปะสังสรรค์กันในหมู่ญาติพี่น้อง ร้อยละ 30.1 ระบุ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ร้อยละ 26.9 ระบุมีการแสดงความรักต่อกัน (โอบกอดกัน) และร้อยละ 18.9 ระบุมอบของให้แก่กันในวันสำคัญ ตามลำดับ
ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นรากฐานในการนำมาซึ่งครอบครัวที่ดี ครอบครัวที่อบอุ่น และรับผิดชอบต่อสังคมนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.7 ระบุการมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน ร้อยละ 53.7 ระบุความพร้อมทางการเงิน ร้อยละ 50.5 ระบุการมีหลักธรรม/คุณธรรมประจำใจ ร้อยละ 48.2 ระบุการมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ และร้อยละ 41.1 ระบุปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในสังคม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีพื้นฐานทางการศึกษาที่ดี (ร้อยละ 34.2) ความพร้อมทางวัยวุฒิ (ร้อยละ 24.3) ชาติกำเนิด/วงศ์ตระกูล (ร้อยละ 17.0) ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อสังคมไทยในปัจจุบัน โดย “เปรียบเทียบสังคมไทยเป็นครอบครัว ครอบครัวหนึ่งที่อยู่ในสังคมเดียวกัน” นั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 48.9 ระบุคิดว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่อบอุ่น ในขณะที่ร้อยละ 19.6 ระบุเป็นสังคมที่ไม่อบอุ่น และร้อยละ 31.5 ไม่ระบุความคิดเห็น ตามลำดับ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.6 เป็นชาย ร้อยละ 53.4 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 8.8 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 18.8 อายุระหว่าง 20–29 ปี ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 30–39 ปี ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 40–49 ปี และร้อยละ 32.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 75.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 21.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 6.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.5 ระบุเป็นพนักงานบริษัท ร้อยละ 23.5 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ/ส่วนตัว/ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ ร้อยละ 16.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 23.1 ระบุเป็นผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป/ลูกจ้างโรงงาน/สถานประกอบการ ร้อยละ 9.6 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.4 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 30.4 ระบุรายได้ ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 9.2 ระบุ 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 9.1 ระบุ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 13.0 ระบุ 15,001-20,000 บาท และร้อยละ 38.3 ระบุมากกว่า 20,000 บาท ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
--เอแบคโพลล์--