ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยผลวิจัย เรื่อง “คิดดี ทำดี มีสุข และความภูมิใจในความเป็นไทย (Good Thought Good Practice Total Happiness and Pride of Being Thai) : จากตัวอย่างเด็กนักเรียนชั้น ป. 5 จนถึง นักศึกษาปริญญาเอก ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 22,539 ตัวอย่าง ดำเนิน โครงการระหว่าง วันที่ 1 กุมภาพันธ์- 26 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา พบว่า
โดยภาพรวม ผู้ที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.1 ระบุว่าแหล่งที่มาของการคิดดี หรือทำดีที่ใช้ในปัจจุบัน คือ จากการอบรมสั่งสอนจาก พ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่ รองลงมาคือ ร้อยละ 77.5 ระบุ จากโรงเรียน ร้อยละ 71.3 ระบุจากโทรทัศน์ ร้อยละ 64.2 ระบุ จากการสนทนากับเพื่อน ร้อยละ 54.9 ระบุจากอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 47.8 ระบุจากการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม และรองๆ ลงไปคือ จากการเลียนแบบบุคคลสำคัญ จากการฟังวิทยุ จากการปฏิบัติธรรมะ จากการไปวัด และจากการอ่านหนังสือธรรมะ เป็นต้น
ในขณะที่ตัวชี้วัดความดีในมิติของการ “คิดดี” โดยพิจารณาจากความคิดเห็นในระดับ “เห็นด้วย-เห็นด้วยอย่างยิ่ง” กับข้อความต่างๆ นั้น พบว่า ร้อยละ 89.9 ระบุคนดีนอกจากจะทำดีแล้วยังต้องช่วยให้ผู้อื่นทำดีด้วย รองลงมาคือร้อยละ 88.9 ระบุหัวหน้าที่ดีต้องไม่เข้าข้างคนผิดแม้จะ เป็นคนใกล้ชิด ร้อยละ 88.8 ระบุสังคมจะเป็นสุขถ้าทุกคนยินดีช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่ต้องมีการร้องขอ ร้อยละ 88.6 ระบุทุกคนล้วนมีดีหากเลือกสิ่งดีๆ มาสื่อสารกันสังคมจะสงบสุข และร้อยละ 88.6 เช่นเดียวกันที่ระบุว่า การทะเลาะวิวาทจะน้อยลง ถ้าผู้คนไตร่ตรองก่อนที่จะพูดหรือลงมือทำ
นอกจากนี้ร้อยละ 87.3 ระบุว่าคนไทยต้องช่วยกันรักษาสาธารณสมบัติ และไม่ยึดถือเป็นสมบัติของตน ร้อยละ 85.4 ระบุถ้าคนไทยกล้า ทำในสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง แม้จะเป็นเรื่องใหม่ จะทำให้สังคมเป็นสุข ร้อยละ 83.8 ระบุอุปสรรคคือความท้าทายต้องก้าวข้ามไปให้ได้ ร้อยละ 53.7 ระบุการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นเรื่องของคนที่มีความพร้อม อย่างไรก็ตามร้อยละ 46.1 ไม่เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อกรณีที่ว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อน แต่งงานไม่ใช่เรื่องเสียหาย ในขณะที่ร้อยละ 51.0 ระบุความขัดแย้งเป็นธรรมชาติการทำงานปล่อยทิ้งไว้ก็จะคลี่คลายไปเอง
ตัวชี้วัดความดีเมื่อพิจารณาจากระดับความเป็นจริงของการ “ทำดี” ในชีวิตประจำวันในระดับ “มาก-มากที่สุด” เป็นดังนี้ ร้อยละ 67.6 ระบุยินดีแบ่งปันสิ่งของของตนเองให้ผู้ยากไร้หรือเพื่อนๆ เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 67.1 ระบุไม่ชอบการดูถูกหรือเอาเปรียบผู้ที่ด้อยกว่า ร้อยละ 65.9 ระบุชื่นชมผู้มีจิตเสียสละมุ่งมั่นช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อคับขัน ร้อยละ 65.2 เชื่อว่าปัญหาทุกปัญหาสามารถแก้ได้ด้วยเหตุผล ร้อยละ 62.6 ไม่หลงมัวเมาไปกับ สิ่งยั่วยุ ร้อยละ 61.7 ระบุตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 58.8 ระบุใจกว้างและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ร้อย ละ 50.0 ระบุเป็นคนดีในสายตาของเพื่อนหรือคนใกล้เคียง ร้อยละ 46.2 ระบุมักถูกชวนให้เข้าทำงานกลุ่มด้วย ร้อยละ 44.5 ระบุสามารถปฏิเสธ สิ่งไม่ดีหรือไม่พึงประสงค์ได้อย่างนิ่มนวล ร้อยละ 43.5 ระบุควบคุมอารมณ์ได้ เมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดหวัง ร้อยละ 32.4 ระบุมักจะเป็นคนกลางคอย ไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดปัญหาในหมู่เพื่อน ร้อยละ 31.4 ระบุต่อต้านการปฏิบัติที่ไม่เสมอภาคในสังคม หน่วยงานหรือโรงเรียน อย่างไรก็ตามมีเพียงร้อยละ 10.2 เท่านั้นที่ระบุว่าตนเองเป็นคนพูดอย่างทำอย่างไม่ปฏิบัติตามสัญญา
สำหรับตัวชี้วัดความภูมิใจในความเป็นไทย เมื่อพิจารณาลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเองในระดับ “มาก-มากที่สุด” พบว่า ร้อยละ 76.8 ระบุรู้สึกชื่นชมเมื่อเห็นเด็กไทยมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ร้อยละ 73.0 ระบุภูมิใจที่ได้สื่อสารกับคนอื่นด้วยภาษาไทย ร้อยละ 64.4 ระบุมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ดำเนินชีวิตด้วยความพอเพียง ร้อยละ 51.4 ยินดีเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ประเพณีไทยทุกครั้งที่มีโอกาส และร้อยละ 44.9 ระบุมักจะซื้อสินค้าไทยให้เป็นของขวัญเทศกาลปีใหม่ ตามลำดับ
สำหรับความภูมิใจในสิ่งต่างๆ ของประเทศไทยในระดับ “มาก-มากที่สุด” นั้นพบว่า ร้อยละ 92.7 ระบุภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย ร้อย ละ 87.7 ระบุภูมิใจในอาหารไทย ร้อยละ 86.7 ระบุภูมิใจในแผ่นดินไทย ร้อยละ 85.5 ระบุภูมิใจในประเพณีไทย ร้อยละ 82.9 ระบุภูมิใจใน ภูมิปัญญาไทย ร้อยละ 81.8 ระบุภูมิใจในภาษาไทย ร้อยละ 81.0 ระบุภูมิใจที่องค์กรระหว่างประเทศ เช่น ยูเนสโก ยกย่องให้คนไทยเป็นบุคคลสำคัญ ของโลก ร้อยละ 80.8 ระบุภูมิใจในศิลปะการแสดงแบบไทยๆ ร้อยละ 80.3 ระบุภูมิใจในวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย
นอกจากนี้ร้อยละ 79.4 ระบุภูมิใจในมารยาทแบบไทย ร้อยละ 78.7 ระบุภูมิใจในการละเล่นพื้นบ้านของไทย ร้อยละ 78.5 ระบุภูมิใจ ในวรรณคดีไทย ร้อยละ 77.9 ระบุภูมิใจในสมุนไพรไทย ร้อยละ 76.9 ระบุภูมิใจในสถาปัตยกรรมไทย ร้อยละ 76.8 ระบุภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติ ไทย ร้อยละ 76.0 ระบุภูมิใจในบุคคลสำคัญของไทย ร้อยละ 75.5 ระบุภูมิใจในการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์สินค้าไทยด้วยภาษาไทย ร้อยละ 73.0 ระบุภูมิใจ ในสินค้าที่ผลิตในเมืองไทย ร้อยละ 69.9 ระบุภูมิใจในแพทย์แผนไทย ในขณะที่ร้อยละ 25.2 ระบุภูมิใจในนักการเมืองไทย ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดความสุขด้านลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตนเองในระดับมาก-มากที่สุดพบว่า ร้อยละ 62.8 รู้สึกว่าตน เองเป็นคนมีความสุข และร้อยละ 61.9 ระบุรู้ว่าตนเองเป็นคนอารมณ์ดี
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความเป็นจริงในความรู้สึกเชิงลบที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้นพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ33.6 ระบุตนเอง รับประทานอาหารแต่ละมื้อไม่ตรงเวลาที่ควรจะเป็น ในขณะที่ร้อยละ 22.8 ระบุรู้สึกกลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ ร้อยละ 17.4 ระบุเป็นคนตื่น ตกใจง่าย ร้อยละ 16.0 ระบุชอบเปรียบเทียบสิ่งที่ตนเองมีกับสิ่งที่ผู้อื่นมี ร้อยละ 14.3 ระบุมีอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ ร้อยละ 13.2 ระบุเป็นคน ชอบตำหนิตนเองในเรื่องต่างๆ ร้อยละ 12.2 ระบุรู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร ร้อยละ 11.8 ระบุรู้สึกอยากร้องไห้บ่อยๆ ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 8.7 และร้อยละ 8.0 เท่านั้นที่รู้สึกหมดหวังในชีวิตและรู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า ตามลำดับ
คณะผู้วิจัยระบุผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพเด็กและเยาวชนไทยในระบบการศึกษาส่วนใหญ่ยังคงมีความคิดดี ทำดี และมีความสุข แต่ จำนวนไม่น้อยที่กำลังมีปัญหาทั้งในด้านความคิดและการกระทำ โดยพบว่ามีอยู่ประมาณร้อยละ 10 ที่ค่อนข้างมีปัญหารุนแรงในจิตใจจะเก็บตัวอยู่ในโลก ของตัวเองและรู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า ยิ่งไปกว่านั้น ประมาณ 1 ใน 6 ที่คิดว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดีพอต่อสิ่งที่ไม่ดีในชีวิต ยังคงหลงมัวเมาไปกับสิ่งยั่วยุ ต่างๆ และที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มนักการเมืองยังคงเป็นสิ่งที่เด็กนักเรียนและนักศึกษาเหล่านี้มีความภูมิใจน้อยที่สุด จึงน่าจะถึงเวลาแล้วที่ ผู้ใหญ่ในสังคม จะทำอะไรบางอย่างที่จริงจังและต่อเนื่องเพื่อหนุนเสริมความเข้มแข็งของสังคมไทยในปัจจุบัน เช่น การเป็นแบบอย่างที่ดีต่อกันตั้งแต่ในครอบครัว ชุมชน และสังคมระดับกว้าง และเสนอให้มีนโยบาย “เด็กไทยคิดดี ทำดี มีสุข” แบบยั่งยืน โดยเปิดพื้นที่ให้เด็กไทยมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำความดี ไม่ แบ่งแยกชนชั้น ไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อ “ลด” สภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสังคมไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 40.3 เป็นเพศชายในขณะที่ร้อยละ 59.7 เป็นเพศหญิง
ทั้งนี้ ร้อยละ 35.1 ระบุอายุต่ำกว่า 15 ปีร้อยละ 41.9 ระบุอายุ 15-19 ปี
ร้อยละ 15.2 ระบุอายุ 20-24 ปี
และร้อยละ 7.8 ระบุอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป
และระดับการศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบันนั้นพบว่า ร้อยละ 18.8 ระบุกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา
ร้อยละ 35.6 ระบุกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ร้อยละ 14.3 กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ป.ว.ช.
ร้อยละ 13.6 ระบุกำลังศึกษาอยู่ในระดับ ป.ว.ส.
ร้อยละ 17.7 ระบุกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
ตามลำดับ
ทั้งนี้ ร้อยละ 73.4 ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาของรัฐในขณะที่ร้อยละ 26.6 ระบุกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาของเอกชน
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้