การยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองนำเงินเข้าระยะสั้น

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 5, 2008 11:08 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                        29 กุมภาพันธ์ 2551
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ที่ ฝกช.(02)ว.37/2551 เรื่อง การยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองนำเงินเข้าระยะสั้น
และปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเพื่อยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น และปรับหลักเกณฑ์การฝากเงินถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ รวมทั้งยกเลิกหนังสือเวียนตามรายการแนบ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.ให้นิติบุคคลรับอนุญาตรับซื้อเงินตราต่างประเทศจากลูกค้าได้เต็มจำนวน โดยไม่ต้องกันเงินสำรองร้อยละ 30 ของเงินตราต่างประเทศที่ลูกค้านำมาขาย กรณีรับซื้อเงินตราต่างประเทศจากบุคคลที่มีถิ่นอยู่นอกประเทศนิติบุคคลรับอนุญาตจะต้องแจ้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศให้ลูกค้าทราบ
2.ปรับปรุงหลักเกณฑ์บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยให้แยกเป็น 2 ประเภทคือ 1) บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น(Non-resident Baht Account for Securities: NRBS) และ 2) บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป(Non-resident Baht Account: NRBA)
3.ยกเลิกบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการลงทุนในตราสารทุนและสัญญาล่วงหน้า(Special Non-resident Baht Account for Securities : SNS) บัญชีเพื่อการลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุน(Special Non-resedent Baht Account for Debt Securities and Unit Trusts : SND) และบัญชีเพื่อค่าสินค้าและบริการ(Special Non-resident Baht Account for Trade and Services : SNT)
ทั้งนี้ ผู้มีบัญชี SNS หรือ SND เดิมสามารถใช้บัญชีดังกล่าวเป็นบัญชี NRBS โดยผ่อนผันให้มียอดคงค้างในบัญชีดังกล่าวรวมกันไม่เกิน 600 ล้านบาท และผู้ที่มีบัญชี SNT เดิมสามารถใช้บัญชีดังกล่าวเป็นบัญชี NRBA โดยผ่อนผันให้มียอดคงค้างในบัญชีดังกล่าวรวมกันไม่เกิน 400 ล้านบาท จนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2551 และให้นิติบุคคลรับอนุญาตดำเนินการเปลี่ยนแปลงประเภทบัญชี หรือปิดบัญชี SNS SND และ SNT ตามความประสงค์ของลูกค้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 14 มีนาคม 2551 โดยหากไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้ภายในกำหนดดังกล่าว ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเปลี่ยนบัญชี SNS และ SND เป็นบัญชี NRBS และเปลี่ยนบัญชี SNT เป็นบัญชี NRBA แทน
4.การฝากหรือถอนเงินจากบัญชี NRBS และ NRBA ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข(สรุปรายละเอียดตามแนบ) ดังนี้
4.1 ให้ฝากหรือถอนเงินบาทในบัญชี NRBS และ NRBA ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดสำหรับบัญชีแต่ละประเภท โดยนิติบุคคลรับอนุญาตต้องเรียกเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
4.2 ให้โอนนเงินบาทระหว่างบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นอยู่นอกประเทศประเภทเดียวกันได้ ไม่อนุญาตให้โอนระหว่างบัญชี NRBS และ NRBA
ทั้งนี้ เจ้าพนักงานผ่อนผันให้โอนเงินบาทระหว่างบัญชี NRBS และ NRBA ได้ไม่เกินวันที่ 14 มีนาคม 2551
5.ให้นิติบุคคลรับอนุญาตที่ได้รวบเงินสำรองที่กันไว้ และยังไม่ได้นำส่ง ธปท.ส่งคืนเงินสำรองให้แก่ลูกค้าภายใน 7 วันทำการนับจากวันที่ที่ลงในหนังสือเวียนฉบับนี้
สำหรับเงินสำรองที่ได้นำส่ง ธปท.แล้ว ให้นิติบุคคลรับอนุญาตแจ้งลูกค้าที่ยินยอมให้กันเงินสำรองตามมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นยื่นความจำนงขอรับเงินสำรองเต็มจำนวนคืนจาก ธปท.โดยผ่านนิติบุคคลรับอนุญาตที่กันเงินสำรองไว้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
5.1 เมื่อลูกค้ายื่นคำขอเพื่อขอรับเงินสำรองคืน ให้นิติบุคคลรับอนุญาตตรวจสอบชื่อและจำนวนเงินสำรองที่กันไว้ และรวบรวมรายชื่อลูกค้าและจำนวนเงินสำรองตามแบบการขอรับเงินสำรองคืนจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่แนบ และมีหนังสือขอรับเงินสำรองถึงเจ้าพนักงานเพื่อคืนเงินสำรองดังกล่าวภายใน 5 วันทำการนับจากวันที่ลูกค้าได้ยื่นคำขอรับรองต่อนิติบุคคลรับอนุญาต
5.2 เมื่อเจ้าพนักงานได้ตรวจสอบรายชื่อและจำนวนเงินสำรองว่าถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานจะแจ้งผลการพิจารณาให้นิติบุคคลรับอนุญาตทราบและจะโอนเงินให้นิติบุคคลรับอนุญาตในวันที่ทำการ 7 วันนับจากวันที่ได้รับคำขอจากนิติบุคคลรับอนุญาต
5.3 ให้นิติบุคคลรับอนุญาตดำเนินการเพื่อคืนเงินสำรองให้ลูกค้าภายในวันเดียวกับที่เจ้าพนักงานโอนเงินคืนให้
อนึ่ง การคืนเงินสำรอง ลูกค้าจะไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ จากเงินสำรองที่กันไว้ และหากลูกค้าที่ถูกกันเงินสำรองไม่แจ้งความจำนงขอรับเงินสำรองคืนภายใน 2 ปีนับจากวันที่ลูกค้ายินยอมให้กันเงินสำรอง ถือว่าลูกค้าไม่ประสงค์จะขอรับเงินดังกล่าวคืนทั้งจำนวน
6.ให้นิติบุคคลรับอนุญาตจัดส่งรายงานที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อยกเว้นการกันเงินสำรอง สำหรับธุรกรรมที่ยังไม่ได้รายงานต่อ ธปท.ตามแบบแผนรายงานแนบซึ่งประกอบด้วยรายงานยอดคงค้างการกู้ยืมและการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และรายงานการลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุนในประเทศของต่างชาติ โดยส่งให้ ธปท.ภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่ที่ลงในหนังสือเวียนฉบับนี้ และแจ้งให้ลูกค้าที่ได้ทำสัญญาคุ้มครองความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน(Swap) เพื่อยกเลิกหรือไม่ต่ออายุสัญญาดังกล่าว โดยให้ผู้ขอยื่นแบบคำขออนุญาตผ่อนผันระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามแนบ พร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้
ก) คำขออนุญาต
ข) หลักฐานแสดง underlying ของสัญญา Swap เช่น หลักฐานการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ หรือหลักฐานการลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุน เป็นต้น
ค) สัญญา Swap ที่ทำก่อนยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น
ง) หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง
จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยทั่วกัน
ขอแสดงความนับถือ
(นางสุชาดา กิระกุล)
เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1.ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ
เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน(ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
2.รายชื่อหนังสือเวียนที่ยกเลิก
3.สรุปหลักเกณฑ์บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
สายตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0-2356-7345-6
หมายเหตุ: ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดประชุมชี้แจงในวันที่ 3 มีนาคม 2551 เวลา 14.00 น.
ณ. ห้องประชุม ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชั้น 4 อาคาร 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน
(ฉบับที่ 17)
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 และข้อ 16 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 และข้อ 16 วรรคสอง แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เจ้าพนักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2549
(2) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549
(3) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 29 มกราคม 2550
(4) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 1 มีนาคม 2550
(5) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2550
(6) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2550
ข้อ 2 ให้เพิ่มคำนิยามดังต่อไปนี้ในข้อ 2 ของประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547
"หลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น" หมายความรวมถึง ตราสารทุน ตราสารหนี้หน่วยลงทุน"
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 35 ของประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ข้อ 36 ของประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน(ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2550 ของประกาศเจ้าพนักงานควบคมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศเจ้าพนักควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน(ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 และข้อ 37 ของประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
"ข้อ 35 ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเปิดบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ ได้เฉพาะเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น เพื่อการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน และเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป
ข้อ 35/1 การรับฝากเงินบาทเข้าบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น(Non-resident Baht Account for Securities : NRBS) ให้รับฝากได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เงินบาทค่าของเงินตราต่างประเทศที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศหรือที่ถอนจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
(2) เงินบาทที่โอนมาจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่นบัญชีอื่น
(3) เงินบาที่จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในข้อ 11 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ที่เป็นเงินชำระคืนเงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น ผลตอบแทนและเงินที่ได้รับชำระที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนดังกล่าว รวมทั้งเงินที่เกี่ยวข้องกับสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
(4) เงินบาทที่กู้ยืมจากนิติบุคคลรับอนุญาต
การถอนเงินบาทจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น ให้นิติบุคคลรับอนุญาตดำเนินการให้ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ชำระการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น และชำระเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนดังกล่าว
(2) โอนเข้าบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์การลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่นบัญชีอื่น
(3) ชำระเงินที่เกี่ยวกับธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงิน
(4) ชำระคืนเงินกู้ยืมจากนิติบุคคลรับอนุญาต
(5) ซื้อเงินตราต่างประเทศกับนิติบุคคลรับอนุญาต
ข้อ 35/2 การรับฝากเงินเข้าบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน(Special Non-resident Baht Account : SNRBA) ให้รับฝากได้เฉพาะกรณีสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนรม สาธารณรัฐประชาชนจีน(เฉพาะมณฑลยูนนาน) และประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย โดยให้สาขาธนาคารพาณิชย์ไทยมีบัญชีดังกล่าวกับสำนักงานใหญ่หรือสาขาของธนาคารพาณิชย์นั้นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเพียง 1 บัญชี ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เงินบาทค่าของเงินตราต่างประเทศที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศหรือที่ถอนจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
(2) เงินบาทที่โอนมาจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านบัญชีอื่น
(3) เงินบาทที่จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในข้อ 11 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547
(4) เงินบาทที่กู้ยืมจากนิติบุคลรับอนุญาต
(5) เงินบาทที่ธนาคารในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีได้รับจากการทำธุรกรรมทางการเงินกับนิติบุคคลรับอนุญาต
(6) เงินบาที่ธนาคารในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีส่งหรือนำเข้าจากประเทศดังกล่าว
การถอนเงินบาทจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อการค้า การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้นิติบุคคลรับอนุญาตดำเนินการให้ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ชำระธุรกรรมการค้าการลงทุนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน(เฉพาะมณฑลยูนาน) และประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย
(2) ชำระค่าสินค้าและบริการจากประเทศไทย
(3) โอนเข้าบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นฐานที่อยู่นอกประเทศเพื่อการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านบัญชีอื่น
(4) แลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศผ่านธุรกรรม Swap กับนิติบุคคลรับอนุญาตในกรณีที่ถอนเพื่อวัตถุประสงค์นอกเหนือจาก(1) ถึง(3)
ข้อ 35/3 การรับฝากเงินบาทเข้าบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป (Non-resident Baht Account : NRBA) ให้รับฝากได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เงินบาทค่าของเงินตราต่างประเทศที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศหรือที่ถอนจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
(2) เงินบาทที่โอนมาจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปบัญชีอื่น
(3) เงินบาทที่จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในข้อ 11 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ที่ไม่ใช่เงินที่เกี่ยวข้องกับสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าหรือชำระคืนเงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น และผลตอบแทนจากการลงทุน ดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตฝากเงินที่ชำระคืนเงินลงทุนในหุ้นที่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศลงทุนในสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ 10 ของทุนทั้งหมดของกิจการ รวมทั้งผลตอบแทนและเงินที่ได้รับชำระที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนดังกล่าวได้
(4) เงินบาทที่กู้ยืมจากนิติบุคคลรับอนุญาต
(5) เงินบาที่ธนาคารในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีได้รับจากการทำธุรกรรมทางการเงินกับนิติบุคคลรับอนุญาต
(6) เงินบาที่ธนาคารในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีส่งหรือนำเข้าจากต่างประเทศดังกล่าว
การถอนเงินบาทจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปให้นิติบุคคลรับอนุญาตดำเนินการให้ได้ทุกกรณี ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
(1) ชำระการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น
ทั้งนี้ ให้นิติบุคคลนรับอนุญาตถอนเพื่อชำระเงินลงทุนในหุ้นที่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศลงทุนในสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ 10 ของทุนทั้งหมดของกิจการ และชำระเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนดังกล่าวได้
(2) โดนเข้าบัญชีเงินบาทของบุคคลทที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์การลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น หรือบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน
(3) ชำระเงินที่เกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
ข้อ 36 การรับฝากเงินในแต่ละกรณีที่ระบุในข้อ 35/1 และ 35/3 แห่งประกาศนี้ ให้นิติบุคลคลรับอนุญาตเรียกเอกสารหลักฐาน ดังนี้
(1) กรณีเงินบาทค่าของเงินตราต่างประเทศที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศหรือที่ถอนจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ให้เรียกเอกสารหลักฐานที่แสดงการขายเงินตราต่างประเทศ
(2) กรณีเงินบาทที่กู้ยืมจากนิติบุคคลรับอนุญาต ให้เรียกสำเนาสัญญาเงินกู้หรือเอกสารการรับสินเชื่อ
(3) กรณีเงินบาทที่จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในข้อ 11 แห่งการประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนหรือรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ให้เรียกเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในข้อ 15
(4) กรณีเงินบาทที่ธนาคารในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีได้รับจากการทำธุรกรรมทางการเงินกับนิติบุคคลรับอนุญาตให้เรียกเอกสารหลักฐานการทำธุรกรรมทางการเงินกับนิติบุคคลรับอนุญาต
(5) กรณีเงินบาทที่ธนาคารในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีส่งหรือนำเข้าจากประเทศดังกล่าว ให้เรียกเอกสารใบสำแดงการนำเงินบาทเข้ามาในประเทศที่พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรประทับตราและลงชื่อแล้ว
การถอนเงินในแต่ละกรณีที่ระบุในข้อ 35/1 และ 35/3 แห่งประกาศนี้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเรียกให้ผู้ถือยื่นเอกสารหลักฐานดังนี้
(1) กรณีชำระการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น และชำระเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนดังกล่าว ให้เรียกหลักฐานการซื้อหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น หรือเอกสารเรียกเก็บเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนดังกล่าว
(2) กรณีชำระเงินที่เกี่ยวกับธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงิน ให้เรียกเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมอนุพันธ์ทาการเงิน เช่น สัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน หรือหนังสือรับรองจากนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า
(3) กรณีชำระคืนเงินกู้ยืมจากนิติบุคคลรับอนุญาต ให้เรียกสำเนาสัญญาเงินกู้หรือเอกสารการรับสินเชื่อ
(4) กรณีเงินบาทตามข้อ 35/3 วรรคสอง ยกเว้นกรณีถอนเพื่อโอนไปยังบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปของบัญชีอื่น ให้เรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องตามแต่กรณี
ข้อ 37 ให้นิติบุคคลรับอนุญาตรับเงินบาทของบุคคลที่ระบุต่อไปนี้เข้าบัญชีเงินฝากได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 35 ข้อ 35/1 ข้อ 35/3 ข้อ 36 และข้อ 47
(1) สถานทูตต่างประเทศ ทบวงการชำนาญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) คนสัญชาติไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 1 ปี
(3) บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีพรมกติดต่อกับประเทศไทย และมได้ประกอบธุรกิจการธนาคาร"
ข้อ 4 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เจ้าพนักงานผ่อนผันดังนี้
(1)ให้ผู้ที่มีบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์เฉาพะการลงทุนในตราสารทุนและสัญญาล่วงหน้า(Special Non-resident Bath Account for Securities : SNS) หรือบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุน(Special Non-resident Bath Account for Debt Securities and Unit Trusts : SNT) เดิม สามารถใช้บัญชีดังกล่าวเป็นบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปได้
ทั้งนี้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตดำเนินการเปลี่ยนแปลงประเภทบัญชี หรือปิดบัญชี SNS SND และ SNT ตามความประสงค์ของเจ้าของบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 14 มีนาคม 2551 โดยหากไม่สามารถติดต่อเจ้าของบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น และเปลี่ยนบัญชี SNT เป็นบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปแทน
(2) โอนเงินบาทระหว่างบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปและบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่นได้ไม่เกินวันที่ 14 มีนาคม 2551
ประกาศ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยน)
เอกสารแนบ
รายชื่อหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ลำดับที่ เลขที่ วันที่ เรื่อง
1 ฝกช.(21)ว.15/2549 27 ธันวาคม 2549 การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดส่ง
รายงานและรายการนำส่งเงิน
สำรอง การขอรับเงินสำรอง
และการขออนุญาตเจ้าพนักงาน
2 ฝกช.(02)ว.90/2550 5 กันยายน 2550 กองทุนรวมอีทีเอฟ
เอกสารแนบ
สรุปหลักเกณฑ์บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.บัญชีเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น(Non-resident Baht Account for Securities : NRBS)
สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ และตราสารทางการเงินทุกประเภท เช่น ตราสารทุน ตราสารหนี้ หน่วยลงทุน สัญญาล่วงหน้าในตลาด TFEX และ AFET รวมทั้งรายได้ผลตอบแทนจากการลงทุนและการชำระเงินที่เกี่ยวข้อง
การฝาก: 1.เงินที่ฝากต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้
1) เงินบาทที่นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาแลกหรือกู้จาก ธพ.
2) เงินบาที่โอนจาก NRBS บัญชีอื่น
3) เงินบาที่รับชำระคืนจากเงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น และ ผลตอบแทนหรือเงินที่ได้รับชำระที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนดังกล่าว เช่น เงินปันผลดอกเบี้ย หรือชำระคืนเงินลงทุนในสัญญาล่วงหน้าใน TFEX และ AFET รวมทั้งเงินประกันและกำไรที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนดังกล่าว
2.การฝากตาม 1) และ 3) ต้องแสดงเอกสารฐานตามที่กำหนด
การถอน: 1.ถอนได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1) ลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น และชำระเงินที่เกี่ยวข้อง
2) ชำระเงินที่เกี่ยวกับธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงิน
3) ชำระคืนเงินกู้จาก ธพ.
4) โอนเข้า NRBS อื่น
5) ซื้อเงินตราต่างประเทศกับ ธพ.
2.การถอนตาม 1) ถึง 3) ต้องแสดงเอกสารหลักฐาน
ยอดคงค้าง: 300 ล้านบาทต่อราย
2.บัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป(Non-resident Baht Account: NRBA)
สำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไปที่ไม่ใช่เงินลงทุนในหลักทรัพย์ และตราสารทางการเงิน เช่น ค่าสินค้า ค่าบริการ เงินลงทุนโดยตรง เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เงินกู้ยืม เงินเพื่อการชำระธุรกรรมอื่นๆ
การฝาก: 1.เงินที่ฝากต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้
1) เงินบาทที่นำเงินตราต่างประเทศมาแลกหรือเงินกู้จาก ธพ.
2) เงินบาทที่โอนจาก NRBA บัญชีอื่น
3) เงินบาทที่บุคคลไทยชำระให้ต่างชาติตามที่กำหนดในข้อ 11 ของประกาศ กระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547
เงินที่ฝากได้ เช่น
- ค่าสินค้า บริการ ชำระคืนเงินกู้ ชำระคืนเงินลงทุนในหุ้นทุนที่ต่างชาติลงทุนโดยมี สัดส่วนการลงทุนตั้งแต่ 10% ของทุนหรือหุ้นทั้งหมดของกิจการ ค่าขายอสังหาริมทรัพย์
- บุคคลไทยลงทุนโดยตรงหรือให้กู้แก่ต่างประเทศ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ โอนให้ญาติในต่างประเทศ
เงินที่ฝากไม่ได้ ได้แก่
- เงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น และผลตอบแทน (ไม่รวมหุ้นทุนที่ต่างชาติลงทุนโดยมีสัดส่วนการลงทุนตั้งแต่ 10%)
- เงินที่เกี่ยวข้องกับสัญญาล่วงหน้าใน TFEX และ AFET
4) เงินบาที่ ธพ.ในประเทศเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย ได้รับจาก ธพ.ไทย หรือส่งหรือนำเข้าจากประเทศดังกล่าว และฝากเข้าบัญชีของตน
2.การฝากตาม 1) 3) และ 4) ต้องแสดงเอกสารหลักฐาน
การถอน: 1.ถอนได้ทุกกรณี เช่น ค่าสินค้า บริการ ชำระคืนเงินกู้ ชำระคืนเงินลงทุนในหุ้นทุนที่ต่างชาติลงทุนโดยมีสัดส่วนการลงทุนตั้งแต่ 10% ส่งไปลงทุนโดยตรงหรือให้กู้ยืมในต่างประเทศยกเว้น
1) ชำระเงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น ทั้งนี้ ในกรณีหุ้นทุนที่ต่างชาติลงทุนโดยมีสัดส่วนการลงทุนตั้งแต่ 10% ให้ถอนได้
2) โอนเข้าบัญชี NRBS
3) ชำระเงินที่เกี่ยวกับสัญญาล่วงหน้าใน TFEX และ AFET
2.การถอนต้องแสดงเอกสารหลักฐานทุกกรณี ยกเว้นถอนเพื่อโอนเข้าบัญชี NRBA บัญชีอื่น
ยอดคงค้าง: 300 ล้านบาทต่อราย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ