ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 25, 2022 11:20 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

สถานการณ์รัสเซียที่ใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติการในยูเครน นับตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เริ่มมีสัญญาณส่งผลกระทบต่อดัชนีราคาส่งออกและดัชนีราคานำเข้าของไทย ผ่านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่เร่งสูงอยู่ในระดับสูงกว่า 100ดอลลาร์ สรอ. ต่อ บาร์เรล ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อดัชนีราคาส่งออกและดัชนีราคานำเข้าของไทยชัดเจนขึ้นในช่วงที่เหลือของปี

ดัชนีราคาส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2565เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 3.8(YoY) สาเหตุหลักเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับฐานราคาที่อยู่ในระดับต่ำของปีก่อนหน้า รวมกับต้นทุนวัตถุดิบตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 43.8 ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.0 จากอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และเหล็ก ตามความต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว รวมถึงบางสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เนื่องจากเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญของสินค้าต่างๆ และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการนำเข้าเพื่อบริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น

ดัชนีราคานำเข้า เดือนกุมภาพันธ์ 2565เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 12.1(YoY) ทั้งนี้ หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วยหมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 56.3 ได้แก่ น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.8 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.8 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง นมและผลิตภัณฑ์นม ผลจากความต้องการในการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 3.6 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ จากต้นทุนการผลิตและความต้องการในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ จากความต้องการใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.3 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่งแนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลให้มีความไม่แน่นอนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของโลก ทั้งผลกระทบทางตรง เนื่องจากสินค้าที่รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตสำคัญ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาก เช่น ก๊าซธรรมชาติน้ำมันดิบ ปุ๋ย ข้าวสาลี เหล็ก และนิกเกิล เป็นต้น ขณะที่ผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจสำคัญของโลก รวมทั้งผลกระทบจากการตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของรัสเซีย โดยเฉพาะการจำกัดการส่งออกสินค้าบางชนิด ซึ่งจะเป็นผลกระทบวงกว้างที่ส่งผลทั้งราคาสินค้าและต้นทุนการผลิต เช่น (1) สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันและพืชพลังงานทดแทนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (2) สินค้าที่ใช้ทดแทนข้าวสาลีมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (3) สินค้าทางการเกษตรมีแนวโมปรับตัวสูงขึ้น จากต้นทุนปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น (4) สินค้าที่ใช้เหล็กและนิกเกิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และ (5) ต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากการดำเนินมาตรการปิดน่านฟ้าของทั้ง 2ฝ่าย ทำให้การเดินทางอากาศมีต้นทุนระยะเวลาและต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น

อัตราการค้า (Term of Trade)เดือนกุมภาพันธ์ 2565

อัตราการค้าของไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับ 97.3 (เดือนมกราคม 2565 เท่ากับ 99.0) อัตราการค้าอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึง ไทยเริ่มมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเร่งตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ราคานำเข้า (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันมากกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก รวมถึงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับสูงขึ้นตาม ด้วยเหตุนี้ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นข้อจำกัดต่อการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราการค้าไทยในระยะต่อไป

1. เทียบกับเดือนมกราคม 2565 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.9 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 9.0 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เนื่องจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรง ระหว่างรัสเซียกับยูเครน ประกอบกับกลุ่มโอเปกพลัส ประสบปัญหาในการเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ตามเป้าหมาย ทำให้ส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบตึงตัว หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.7 โดยเฉพาะยางพารา ราคาสูงขึ้นตามความต้องการใช้ของโลกที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับผลผลิตที่ลดลงจากการระบาดของโรคใบร่วงและการเข้าสู่ฤดูกาลปิดกรีดยาง นอกจากนี้ สินค้าข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าและคู่แข่งอย่างประเทศอินเดียประสบปัญหาด้านการขนส่ง ทำให้ไม่สามารถส่งออกข้าวตามคำสั่งซื้อได้ทั้งหมด ประเทศคู่ค้าบางรายจึงเปลี่ยนมาซื้อข้าวจากไทยทดแทน สำหรับผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการบริโภค และต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เนื่องจากความต้องการนำเข้าทั่วโลกเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตของน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองประเทศผู้ผลิตสำคัญลดลง นอกจากนี้ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง ราคาสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดเพื่อใช้ในการบริโภค รวมถึงตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากผลของราคาเม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยางเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ และเหล็ก เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวทำให้ความต้องการของตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้น
2.เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 43.8 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจาก3.8 รวมทุกรายการผลของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.0 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ อาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบ0.5 หมวดสินค้าเกษตรกรรมที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความต้องการบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง สำหรับน้ำตาลทราย ราคายังทรงตัวในระดับสูงกว่าปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ราคาหดตัวต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน 5.0 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรโดยมีปัจจัยกดดันจากปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นทั้งจากอินเดียและไทย หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และเหล็ก ตามความ2.5 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมต้องการสินค้าของประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว รวมถึงบางสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เนื่องจากเป็น43.8 ต้นทุนการผลิตที่สำคัญของสินค้าต่างๆ และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.5 ได้แก่ ยางพารา หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง และไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามความต้องการนำเข้าเพื่อบริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น3. เฉลี่ยม.ค.-ก.พ. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 3.7โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 42.3 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น และฐานราคา3.7 น้ำมันเฉลี่ยที่ต่ำกว่าในช่วงก่อนหน้า หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.3 ได้แก่ อาหารทะเลรวมทุกรายการ

กระป๋องและแปรรูป ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ อาหารสัตว์เลี้ยง ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ0.3

และผลกระทบจากค่าระวางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และน้ำตาลทรายหมวดสินค้าเกษตรกรรม

5.3 จากปริมาณผลผลิตที่ลดลงในช่วงก่อนหน้า และความต้องการบริโภคสินค้าที่เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ2.4 ส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์ยาง ตามความต้องการของประเทศคู่ค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรม

ที่ฟื้นตัว รวมถึงเม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และเหล็ก ซึ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และ42.3

หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ผลไม้สดแช่เย็น หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง

แช่แข็ง และแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามความต้องการบริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดจีนเป็นสำคัญ และตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ได้แก่น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และน้ำมันสำเร็จรูป เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.8 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น ส่วนเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น และปุ๋ย ปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่ปรับสูงขึ้น และมีการจำกัดปริมาณการส่งออกของประเทศจีนและรัสเซียหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.4 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารมีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น นมและผลิตภัณฑ์นม และผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ผลจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 3.4 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง และเป็นสินค้าเทคโนโลยีใหม่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะผลจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.7 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง

อัตราการค้าของไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับ 97.3(เดือนมกราคม 2565 เท่ากับ 99.0)ลดลงต่ำกว่าระดับ 100 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แสดงถึง อัตราการค้าของไทยเริ่มมีความเสียเปรียบเชิงโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายต่ำกว่าราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา อัตราการค้าของไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับ 97.3 (เดือนมกราคม 2565 เท่ากับ 99.0) อัตราการค้าอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงไทยเริ่มมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เร่งตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ราคานำเข้า (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันมากกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก รวมถึงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นตาม และสะท้อนไปยังต้นทุนวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นข้อจำกัดต่อการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราการค้าไทยในระยะต่อไป

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เคมีภัณฑ์เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ทองคำ นมและผลิตภัณฑ์นม และทองแดงและผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งทอและเสื้อผ้า เป็นต้น แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าในช่วงที่เหลือของปี 2565คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลให้มีความไม่แน่นอนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของโลก ทั้ง ผลกระทบทางตรง เนื่องจากสินค้าที่รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตสำคัญมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาก เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ปุ๋ย ข้าวสาลี เหล็ก และนิกเกิล เป็นต้น ขณะที่ ผลกระทบทางอ้อมเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจสำคัญของโลก รวมทั้งผลกระทบจากการตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของรัสเซีย โดยเฉพาะการจำกัดการส่งออกสินค้าบางชนิด ซึ่งจะเป็นผลกระทบวงกว้างที่ส่งผลต่อราคาสินค้าและต้นทุนการผลิต เช่น (1) สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันและพืชพลังงานทดแทนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (2) สินค้าที่ใช้ทดแทนข้าวสาลีมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (3) สินค้าทางการเกษตรมีแนวโมปรับตัวสูงขึ้น จากต้นทุนปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น (4) สินค้าที่ใช้เหล็กและนิกเกิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และ (5) ต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากการดำเนินมาตรการปิดน่านฟ้าของทั้ง 2ฝ่าย ทำให้การเดินทางอากาศมีต้นทุนระยะเวลาและต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น

นอกจากผลกระทบระยะสั้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแล้ว ในระยะยาวคาดว่าดัชนีราคาส่งออกและดัชนีราคานำเข้า จะได้รับผลจากมาตรการคว่ำบาตรของทั้ง 2 ฝ่าย ที่มีการดำเนินการตอบโต้อย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อจำกัดใหม่ระหว่างประเทศ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของความร่วมมือ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศครั้งสำคัญของโลกอีกครั้ง และส่งผลต่อเนื่องต่อราคาสินค้าและต้นทุนการผลิตในระยะกลางและระยะยาวต่อไป

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ