ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนมิถุนายน 2566 และระยะ 6 เดือนแรกของปี 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 25, 2023 13:29 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)สูงขึ้น0.1

ไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)ลดลง-1.5 Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนมิถุนายน 2566 (ปี 2555=100)เท่ากับ 108.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.4 (YoY)เป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 31 เดือน จากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ปัจจัยหลักเป็นผลจากฐานราคาในเดือนมิถุนายน 2565 ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการสินค้าชะลอลง และส่งผลให้หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 24.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ตามอุปสงค์น้ำมันที่ลดลง ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกยังคงปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.8 ได้แก่ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และข้าว เนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลง ขณะที่ความต้องการสินค้าเกษตรยังขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามความต้องการสินค้าเพื่อใช้ในการบริโภค และต้นทุนวัตถุดิบสินค้าเกษตรปรับเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ตามความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตที่เริ่มคลี่คลาย สำหรับทองคำ ราคายังปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น

ดัชนีราคานำเข้า เดือนมิถุนายน 2566 (ปี 2555=100)เท่ากับ 108.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหดตัวเร่งขึ้นต่อเนื่อง ที่ร้อยละ 5.2 (YoY) จากเดือนก่อนหน้า ที่ลดลงร้อยละ 3.6 โดยเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาในหมวดสินค้าเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ที่ลดลงร้อยละ 27.3 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป จากฐานราคาน้ำมันในช่วงก่อนหน้าที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง ขณะที่หมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ายังปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลสำหรับทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น และพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตและบริโภคเป็นสำคัญ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.4 ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ และเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ยังขยายตัวได้ดีตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ รถยนต์นั่ง และส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน เป็นผลจากอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มกลับมาฟื้นตัว ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการใช้เพื่อการลงทุน และเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 เล็กน้อย โดยมีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ 2) ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ 3) ประเทศคู่ค้าหลักยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด เพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อ 4) ราคาน้ำมันปรับลดลงจากปี 2565 ค่อนข้างมาก ตามความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 5)ความผันผวนของค่าเงินบาท และ 6) ปัญหาสถาบันการเงินภายในประเทศเศรษฐกิจหลัก ยังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์รัสเซียยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชยูเครนผ่านทะเลดำ อาจส่งผลให้ราคาวัตถุดิบอาหารทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรลดลง อาจทำให้แนวโน้มราคาส่งออกและราคานำเข้าในระยะข้างหน้าไม่ปรับลดลงมาก

อัตราการค้า (Term of Trade)เดือนมิถุนายน 2566 อัตราการค้าของไทย ในเดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 99.7 (เดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 99.0) ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราการค้า เดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น หากราคาน้ำมันยังเคลื่อนไหวอยู่ในทิศทางขาลง เนื่องจากราคานำเข้าจะมีแนวโน้มลดลงมากกว่าราคาส่งออก

1. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 (MoM)ลดลงร้อยละ 0.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่หดตัว โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล เนื่องจากการส่งออกน้ำมันจากรัสเซียซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความกังวลด้านเศรษฐกิจจีนที่เติบโตแบบชะลอตัวและมีความไม่แน่นอน หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ลดลงร้อยละ 0.2 จากราคาน้ำตาลทรายที่ลดลง เนื่องจากผลผลิตจากผู้ผลิตรายใหญ่อย่างสหรัฐฯ และบราซิลเพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการนำเข้าที่ลดลงจากจีน ปาล์มน้ำมัน ราคาลดลงจากการที่อินเดียซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก หันไปนำเข้าพืชน้ำมันประเภทอื่นที่ราคาถูกกว่า อีกทั้งสต็อกน้ำมันปาล์มในไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ ราคาลดลงโดยมีสาเหตุหลักจากความต้องการของประเทศคู่ค้าที่ชะลอลง โดยเฉพาะในตลาดส่งออกสำคัญอย่างญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.1 ได้แก่ เม็ดพลาสติก โดยเฉพาะเอทิลีน โพลิโพรพิลีน และโพลิสไตรีน ที่มีความต้องการสินค้าปลายทางลดลง และการซื้อส่วนใหญ่เป็นการซื้อตามความจำเป็น สำหรับเคมีภัณฑ์ และอัญมณีและเครื่องประดับ ราคาลดลงตามความต้องการที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า ขณะที่หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามอุปทานโลกที่ลดลงจากสถานการณ์ไข้หวัดนกระบาดในบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตไก่รายใหญ่ ทำให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 180 วัน และต้องกำจัดสัตว์ปีกทั้งฟาร์มในหลาย ๆ แห่ง ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ได้รับอานิสงส์จากการเปิดประเทศของจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย รวมถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดใหม่ ๆ และข้าว ราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการกักตุนเพิ่มขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ รวมถึงผลผลิตทั่วโลกที่ลดลงจากปัญหาภาวะโลกร้อน (เอลนีโญ) และเงินบาทที่อ่อนค่า ยังเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการส่งออกข้าวของไทย 2.เทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 (YoY)ลดลงร้อยละ 0.4โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกหดตัวมีเพียงหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงถึงร้อยละ 24.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล ที่ราคาลดลงจากอุปทานที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งอุปสงค์ในภูมิภาคเอเชียที่ชะลอตัวลง และน้ำมันดิบ ราคาลดลงเนื่องจากข้อตกลงนิวเคลียร์ชั่วคราวระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านใกล้จะบรรลุ ซึ่งจะทำให้อิหร่านส่งออกน้ำมันดิบสู่ตลาดโลกได้มากขึ้น และน้ำมันที่กลั่นจากทาร์ของถ่านหิน ราคาลดลงตามทิศทางราคาของถ่านหินจากสภาพอากาศที่อบอุ่นในยุโรป ทำให้ความต้องการใช้ลดลงตามไปด้วย ขณะที่หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.8 ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ราคาสูงขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคจีน ข้าว ราคาสูงขึ้นจากภัยแล้งทั่วโลก ทำให้สต็อกข้าวของผู้บริโภครายใหญ่ลดลง อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สำหรับไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ และสินค้าประมง อาทิ ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง ราคาสูงขึ้นจากความกังวลว่าเปรูซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตปลาสำคัญของโลกอาจมีผลผลิตปลาไม่เพียงพอ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบอาหารเพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี อยู่ในภาวะขาดแคลนจากภัยแล้งในประเทศผู้ผลิตสำคัญ และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวตามแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์โลก การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์อย่างต่อเนื่อง และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคาสูงขึ้นจากการได้รับอานิสงส์จากคลื่นความร้อนที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ อาทิ อินเดีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับต้น ๆ ของไทย3. เฉลี่ย(ม.ค. -มิ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 1.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 4.0 ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ราคาสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดโลก รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในหลายประเทศ อาหารสัตว์เลี้ยง ราคาสูงขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น และน้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นสอดคล้องกับที่ ISOลดประมาณการผลผลิตน้ำตาลโลกปี 2565/2566 ลง 1.7% หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.1 ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ราคาสูงขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคจีนเพิ่มขึ้น ข้าว ราคาขยายตัวจากภาวะเอลนีโญซึ่งจะทำให้ผลผลิตข้าวทั่วโลกขาดแคลนมากที่สุดในรอบ 20ปี และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ราคาปรับเพิ่มตามความต้องการเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร เอทานอล และอาหารสัตว์ และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.1 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ และแผงวงจรพิมพ์ ราคามีแนวโน้มเติบโตสอดคล้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปรับเพิ่มตามความต้องการ EV ทั่วโลก ซึ่งเติบโตเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ราคาสูงขึ้นตามความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญด้านสุขภาพมากขึ้น อาทิ เครื่องฟอกอากาศ และเครื่องปรับอากาศ ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 8.2 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ ที่ราคาลดลงจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว4. ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.3โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรสูงขึ้นร้อยละ 3.0 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ราคาสูงขึ้นจากผู้บริโภคมีความต้องการอาหารกระป๋องมากขึ้น น้ำตาลทราย จากผลผลิตน้ำตาลโลกในช่วงก่อนหน้าที่ลดลงและผลไม้กระป๋องและแปรรูป เพิ่มขึ้นจากความต้องการนำเข้าของจีนเพื่อทดแทนในส่วนที่ยังไม่สามารถผลิตได้ และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี ราคาสูงขึ้นจากความกังวลที่รัสเซียระงับต่ออายุข้อตกลงส่งออกธัญพืชผ่านทะเลดำของยูเครนซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ สินค้ากสิกรรม โดยเฉพาะข้าว ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากแหล่งผลิตข้าวสำคัญของโลก อาทิ อินเดีย เวียดนาม รวมถึงไทย ต่างอยู่ในเขตที่จะได้รับผลกระทบจากภัยเอลนีโญทั้งหมด สินค้าประมง ที่ยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน ไต้หวัน สินค้าปศุสัตว์ ที่ราคาขยายตัวจากโรคระบาด AFSในสุกรที่ยังไม่สิ้นสุด ทำให้ความต้องการเนื้อสัตว์อื่น ๆ เพื่อทดแทนเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เติบโตตามตลาดแฟชั่นที่กลับมาขยายตัวหลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยังขยายตัวได้ดีตามความต้องการของประเทศคู่ค้า สำหรับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ราคาสูงขึ้นตามชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G,ศูนย์ข้อมูล (DataCenter) ตลอดจนผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคาสูงขึ้นตามความต้องการรถยนต์สำเร็จรูปที่ขยายตัวขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 18.1 ได้แก่ น้ำมันดิบ ราคาลดลงเนื่องจากภาคการผลิตของสหรัฐฯ หดตัวลงมาก ทำให้ความต้องการเดินทางลดลง และน้ำมันสำเร็จรูป ราคาลดลงตามความต้องการใช้ที่ชะลอลงอันเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว5. ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)สูงขึ้นร้อยละ 0.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 1.3 อาทิ สินค้ากสิกรรม โดยเฉพาะผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ราคาสูงขึ้นเนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูกาลส่งมอบผลไม้ที่สำคัญของปี ประกอบกับการส่งออกไปยังตลาดจีนกลับมาขยายตัว และสินค้าประมงที่ความต้องการจากประเทศคู่ค้ายังเติบโตต่อเนื่อง หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.6 อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ที่ราคาสูงขึ้นตามวิถีชีวิตที่เร่งรีบของผู้บริโภคชาวจีน รวมถึงการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ทำให้ความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น และน้ำตาลทรายที่ราคาสูงขึ้นจากการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญอย่างอ้อยซึ่งได้รับผลกระทบจากเอลนีโญ และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.2 อาทิ สิ่งทอ ที่ราคาขยายตัวตามการเปิดประเทศของจีน โดยเฉพาะเส้นใยประดิษฐ์ ผ้าถัก รวมถึงการขยายตัวของภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในสหรัฐฯ และยุโรป ที่คาดว่าจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายเป็นที่ต้องการมากขึ้น เครื่องใช้ไฟฟ้า ราคาสูงขึ้นตามความต้องการสินค้ากลุ่มเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และเครื่องซักผ้า ที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 5.0 ได้แก่ น้ำมันดิบ ราคาลดลงเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันของโลก อีกทั้งกิจกรรมทางธุรกิจของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน 2566ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จากการเติบโตของภาคบริการที่ชะลอตัวลงเป็นครั้งแรกของปี และน้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่ราคาหดตัวจากอุปสงค์น้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์6. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกเดือนกรกฎาคม 2566 แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก เดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยหรือค่อนข้างทรงตัว ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะปรับสูงขึ้นจากผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และรัสเซียยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชยูเครนผ่านทะเลดำ อาจส่งผลให้ราคาอาหารทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจาก (1) เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าที่ยังคงเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ยืดเยื้อ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ (2) ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ส่งผลให้ความต้องการสินค้าปรับตัวลดลง (3) ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว (4) ความผันผวนของค่าเงินบาท และ (5) ความเสี่ยงจากปัญหาสถาบันการเงินภายในประเทศเศรษฐกิจหลัก ยังมีความไม่แน่นอนสูง อาจทำให้แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกไม่สามารถขยายตัวได้อย่างที่คาดการณ์ไว้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้าสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์โทร 0 2507 5821 1. เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.9โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 2.9 ได้แก่น้ำมันดิบ เป็นผลจากความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว และกดดันให้อุปสงค์น้ำมันปรับตัวลดลง ประกอบกับปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านปรับเพิ่มขึ้นสำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และถ่านหิน ราคาลดลงเนื่องจากความต้องการพลังงานเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมลดลง รวมถึงปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติยังอยู่ในระดับสูง หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำโดยเฉพาะทองคำ ราคาปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเงินเหรียญสหรัฐฯ กลับมาแข็งค่า ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง สำหรับเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลจากการบริโภคหดตัวตามอุปสงค์เหล็กในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงซบเซา โดยความต้องการใช้เหล็กที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์อาจลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความต้องการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตลดลง ประกอบกับเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับลดลงขณะที่ปุ๋ย ราคาลดลงตามทิศทางราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลง รวมถึงจีน อิหร่าน และตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นผู้ผลิตอีกแหล่งที่สำคัญขายในราคาที่ต่ำกว่า ส่งผลให้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกอ่อนตัวลง หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.4 โดยเฉพาะส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์เป็นสำคัญ ตามความต้องการชะลอลง และหมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ทำจากยาง ตามความต้องการลงทุนที่ลดลงโดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการซื้อ คอมพิวเตอร์ที่เริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ขณะที่หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่กาแฟ ชา เครื่องเทศ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เนื่องจากความต้องการบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ เครื่องรับวิทยุโทรศัพท์ โทรเลข โทรทัศน์ และสบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง เนื่องจากความต้องการใช้ในการบริโภคมีแนวโน้มลดลง2. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 (YoY)ลดลงร้อยละ 5.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 27.3 ติดลบเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 22.2 ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ตามราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามความต้องการใช้ที่ชะลอลง เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากการที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำคัญ อาทิ ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ และแผงวงจรพิมพ์ มีแนวโน้มเติบโตสอดคล้องไปกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ราคายังทรงตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า เนื่องจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ วิกฤตสถาบันการเงินธนาคาร ส่งผลให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้นหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.4 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง และเครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน ขยายตัวตามความต้องการอุปโภคบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เป็นผลจากการฟื้นตัวของตลาดยานยนต์ในประเทศประกอบกับสถานการณ์ขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่คลี่คลาย ทำให้กำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นประกอบกับความต้องการรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ขยายตัวดีตามภาคการก่อสร้าง และการเปิดตัวรถยนต์โมเดลใหม่โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการใช้เพื่อการลงทุน และเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบเนื่องจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ส่งผลให้ความต้องการใช้เครื่องมือแพทย์มีมากขึ้น3. เฉลี่ย(ม.ค. -มิ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 (AoA)ลดลงร้อยละ 0.5โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือหมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 10.7 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากความต้องการใช้ทั่วโลกปรับตัวลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ขณะที่หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 2.9 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนและวัตถุดิบของผู้ผลิตยาในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.3 ได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรไฟฟ้า ได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ตามความต้องการเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับเคมีภัณฑ์ ตามทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ขยายตัวดีขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และทองคำ ราคายังทรงตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า เนื่องจากความกังวลเรื่องนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 1.3 ได้แก่เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการทดสอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ ราคายังปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนเพิ่มขึ้น และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ได้แก่รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ราคาปรับตัวสูงขึ้น จากตลาดยานยนต์ทั่วโลกที่กำลังฟื้นตัว และปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์เพื่อการผลิตเริ่มคลี่คลาย รวมถึงแนวโน้มความต้องการรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นจากโครงการก่อสร้าง4. ไตรมาสที่ 2ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า (YoY) ลดลงร้อยละ 3.1โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง คือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 19.9 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามทิศทางราคาพลังงานโลกที่ชะลอตัวตามอุปสงค์ที่ลดลง ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ได้แก่เครื่องเพชรพลอย อัญมณีเงินแท่งและทองคำ โดยเฉพาะทองคำ ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูปตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีความต้องการในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการใช้ในการอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มขึ้นและผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ตามความต้องการนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.7 โดยเฉพาะเครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ ตามความต้องการอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น สำหรับเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น โดยได้แรงหนุนจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการปรับตัวดีขึ้นของภาคเอกชน และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สูงขึ้นร้อยละ 0.5 โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ราคาสูงขึ้นตามความต้องการรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้น5. ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) ลดลงร้อยละ 1.5โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 7.3 ได้แก่ น้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลง สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ราคาลดลงจากสภาวะอากาศที่อบอุ่นขึ้น ประกอบกับปริมาณการสำรองก๊าซในปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูง หมวดสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 0.5 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถานการณ์โควิด -19 ที่คลี่คลาย ทำให้ความต้องการสินค้าชะลอลง ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตามความต้องการลงทุนที่ชะลอตัวและหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 0.3 โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ลดลงตามรุ่นสินค้าที่มีการยกเลิกสายการผลิตและ0.3 ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ โดยเฉพาะทองคำ 0.3 ตามความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น สำหรับอุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่คลี่คลายส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช และสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ตามความต้องการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ตามความต้องการของผู้บริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง6. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนกรกฎาคม2566 แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า เดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เล็กน้อยจากแนวโน้มราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศอาจปรับตัวสูงขึ้น ภายหลังรัสเซียยุติข้อตกลงส่งออกธัญพืชยูเครนผ่านทะเลดำ อย่างไรก็ตาม ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนจากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ราคาน้ำมันที่ยังปรับลดลงมากกว่าปี 2565 และค่าระวางเรือที่ลดลง ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศลดลง อาจส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าปรับลดลงได้

อัตราการค้าของไทย ในเดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 99.7(เดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 99.0) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน สะท้อนถึงไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก

อัตราการค้าของไทย ในเดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 99.7 (เดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 99.0) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน แต่ยังคงต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้ายังสูงกว่าราคาส่งออก ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ทองคำ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และนมและผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น

แนวโน้มอัตราการค้า เดือนกรกฎาคม 2566 อาจเริ่มปรับตัวดีขึ้น หากราคาน้ำมันยังเคลื่อนไหวอยู่ในทิศทางขาลง เนื่องจากราคานำเข้าจะมีแนวโน้มลดลงมากกว่าราคาส่งออก

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ