ทำเนียบรัฐบาล--12 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (กปพ.) รายงานผลการประชุมเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2542 (ครั้งที่ 1/2542) โดยมีสาระและมติสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ความก้าวหน้าในการจัดตั้งกองทุนพัฒนานวัตกรรม ที่ประชุมได้รับทราบถึงความก้าวหน้าในการจัดตั้งกองทุนพัฒนานวัตกรรม ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2541 ซึ่งขณะนี้คณะทำงานเพื่อยกร่างข้อบังคับกองทุน (ดร. ไพจิตร เอื้อทวีกุล เป็นประธาน) ได้แก้ไขและปรับปรุงร่างข้อบังคับว่าด้วยการบริหารกองทุนพัฒนานวัตกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพร้อมกับรายชื่อคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยเร็ว กองทุนนี้จะเน้นการให้ความช่วยเหลือกับโครงการที่สามารถสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และสามารถผลักดันการปรับโครงสร้างการผลิต
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการปรับโครงสร้างภาคเกษตร ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าในการปรับโครงสร้างภาคเกษตรตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน 2541 ซึ่งโครงการบางส่วนได้ใช้เงินงบประมาณไปแล้ว บางส่วนได้เงินกู้ประจำปี และมีอีกส่วนใหญ่ที่เป็นแผนระยะเร่งด่วน (200 ล้านเหรียญสหรัฐ) และระยะปานกลาง (400 ล้านเหรียญสหรัฐ) กำลังเจรจาเงื่อนไขเงินกู้กับธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยคณะกรรมการได้มีมติดังนี้
2.1 มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงการคลัง ไปเจรจากับธนาคารพัฒนาเอเชีย เพื่อแก้ไขกรอบนโยบายเงินกู้ (Policy Matrix) ในประเด็นต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้แล้วเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542
2.2 มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเร่งจัดทำรายละเอียดของโครงการตามแผนระยะสั้นเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดกลไกการใช้เงินกู้แนวทางการตรวจสอบ และประเมินผลของแผนระยะสั้นด้วย สำหรับรายละเอียดโครงการตามแผนระยะปานกลาง ให้เร่งจัดทำและนำเสนอ กปพ.พิจารณาต่อไป
2.3 มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หาเงินจากแหล่งอื่น ๆ ที่เหมาะสม มาใช้ในการดำเนินการตามแผนระยะสั้นก่อน เนื่องจากการปรับปรุงเงื่อนไขกรอบเงินกู้ของธนาคารพัฒนาเอเชียอาจใช้เวลานาน
2.4 มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินในโครงการตามแผนนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งใช้เงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อให้เกิดผลการพัฒนาตามเป้าหมาย
3. ความก้าวหน้าการดำเนินการปรับโครงสร้างด้านอุตสาหกรรม ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรมจำนวน 24 โครงการ (4,435.1 ล้านบาท) ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2541 ขณะนี้กระทรวงคลังได้จัดสรรเงินในส่วนที่หน่วยปฏิบัติต้องใช้จ่ายในระยะเริ่มต้นแล้ว โดยในส่วนของสินเชื่อให้ใช้สินเชื่อที่จัดผ่าน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม เพื่อให้การดำเนินการสำหรับโครงการดังกล่าวเป็นไปได้โดยรวดเร็ว และเตรียมงานระยะปานกลางให้พร้อม คณะกรรมการฯ ได้มีมติดังนี้
3.1 มอบหมายให้กระทรวงการคลังเร่งรัดการจัดสรรวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่พิจารณาแล้วจำนวน 3,768.43 ล้านบาท และมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งรัดเบิกจ่ายวงเงินกู้ให้หน่วยงานปฏิบัติดำเนินการตามที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้แล้วจำนวน 666.67 ล้านบาท
3.2 ในส่วนของวงเงินสินเชื่อเพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม จำนวน 3,768.43 ล้านบาท มอบหมายให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ประสานกำกับดูแลและกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่เห็นสมควรให้กู้ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าโครงการที่อยู่ภายใต้การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เสนอจะได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจดังกล่าว
3.3 มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณากลไกที่จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายและการพิจารณาเงื่อนไขและแนวทางการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินไปอย่างได้ผลคุ้มค่าในการลงทุน และสามารถใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาโครงการที่เหลือภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมต่อไป
3.4 มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดกลไกในการตรวจสอบติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการที่ได้รับการจัดสรรวงเงินสินเชื่อภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไปแล้ว เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ กปพ.เพื่อพิจารณาต่อไป
3.5 มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำรายละเอียดโครงการตามแผนปฏิบัติการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เหลือในกรอบระยะ 5 ปี และจัดลำดับความสำคัญโครงการในระยะต่อไป ทั้งนี้การจัดลำดับความสำคัญต้องคำนึงถึงโครงการที่ก่อให้เกิดการสร้างรายได้และการสร้างงานในระยะสั้นและความพร้อมของโครงการเป็นเกณฑ์พิจาณา และนำผลการดำเนินการเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการ กปพ. พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
4. การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ที่ประชุมเห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปรับโครงสร้างการผลิตในระยะต่อไป และรับทราบข้อเสนอแนวทางและโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากองค์กรที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มีเป็นจำนวนมากและขาดการประสานงานให้เกิดแรงผลักดันไปในทิศทางเดียวกัน และมีโครงการปรับโครงสร้างในทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรมที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการทำรายละเอียด คณะกรรมการฯ จึงได้พิจารณาให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการปรับโครงสร้างการผลิต โดยให้คณะอนุกรรมการนี้ ทำหน้าที่รวบรวมแผนงานและโครงการ จัดลำดับความสำคัญ พิจารณารายละเอียด และวางแนวทางการประสานงาน จากแผนงานและโครงการตามแผนปรับโครงสร้างภาคเกษตร แผนปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม และแนวทางและโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทั้งนี้ คณะกรรมการได้มีมติ ดังนี้
4.1 รับทราบแนวทางและโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ สวทช.
4.2 เห็นชอบตามแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการปรับโครงสร้างการผลิตโดยให้มีแนวทางในการกำกับดูแล เพื่อให้แผนปฏิบัติการได้รับการนำไปปฏิบัติตามแนวทางและลำดับความสำคัญ
4.3 ให้ สวทช. ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯเพื่อยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับโครงสร้างการผลิต โดยมีรองนายก-รัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นประธาน และ ผอ.สวทช. เป็นเลขานุการ โดยมีองค์ประกอบของคณะทำงานฯ ตามที่เสนอมา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 มีนาคม 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (กปพ.) รายงานผลการประชุมเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2542 (ครั้งที่ 1/2542) โดยมีสาระและมติสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ความก้าวหน้าในการจัดตั้งกองทุนพัฒนานวัตกรรม ที่ประชุมได้รับทราบถึงความก้าวหน้าในการจัดตั้งกองทุนพัฒนานวัตกรรม ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2541 ซึ่งขณะนี้คณะทำงานเพื่อยกร่างข้อบังคับกองทุน (ดร. ไพจิตร เอื้อทวีกุล เป็นประธาน) ได้แก้ไขและปรับปรุงร่างข้อบังคับว่าด้วยการบริหารกองทุนพัฒนานวัตกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพร้อมกับรายชื่อคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยเร็ว กองทุนนี้จะเน้นการให้ความช่วยเหลือกับโครงการที่สามารถสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และสามารถผลักดันการปรับโครงสร้างการผลิต
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการปรับโครงสร้างภาคเกษตร ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าในการปรับโครงสร้างภาคเกษตรตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน 2541 ซึ่งโครงการบางส่วนได้ใช้เงินงบประมาณไปแล้ว บางส่วนได้เงินกู้ประจำปี และมีอีกส่วนใหญ่ที่เป็นแผนระยะเร่งด่วน (200 ล้านเหรียญสหรัฐ) และระยะปานกลาง (400 ล้านเหรียญสหรัฐ) กำลังเจรจาเงื่อนไขเงินกู้กับธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยคณะกรรมการได้มีมติดังนี้
2.1 มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงการคลัง ไปเจรจากับธนาคารพัฒนาเอเชีย เพื่อแก้ไขกรอบนโยบายเงินกู้ (Policy Matrix) ในประเด็นต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้แล้วเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542
2.2 มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเร่งจัดทำรายละเอียดของโครงการตามแผนระยะสั้นเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดกลไกการใช้เงินกู้แนวทางการตรวจสอบ และประเมินผลของแผนระยะสั้นด้วย สำหรับรายละเอียดโครงการตามแผนระยะปานกลาง ให้เร่งจัดทำและนำเสนอ กปพ.พิจารณาต่อไป
2.3 มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หาเงินจากแหล่งอื่น ๆ ที่เหมาะสม มาใช้ในการดำเนินการตามแผนระยะสั้นก่อน เนื่องจากการปรับปรุงเงื่อนไขกรอบเงินกู้ของธนาคารพัฒนาเอเชียอาจใช้เวลานาน
2.4 มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินในโครงการตามแผนนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งใช้เงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อให้เกิดผลการพัฒนาตามเป้าหมาย
3. ความก้าวหน้าการดำเนินการปรับโครงสร้างด้านอุตสาหกรรม ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรมจำนวน 24 โครงการ (4,435.1 ล้านบาท) ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2541 ขณะนี้กระทรวงคลังได้จัดสรรเงินในส่วนที่หน่วยปฏิบัติต้องใช้จ่ายในระยะเริ่มต้นแล้ว โดยในส่วนของสินเชื่อให้ใช้สินเชื่อที่จัดผ่าน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม เพื่อให้การดำเนินการสำหรับโครงการดังกล่าวเป็นไปได้โดยรวดเร็ว และเตรียมงานระยะปานกลางให้พร้อม คณะกรรมการฯ ได้มีมติดังนี้
3.1 มอบหมายให้กระทรวงการคลังเร่งรัดการจัดสรรวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่พิจารณาแล้วจำนวน 3,768.43 ล้านบาท และมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งรัดเบิกจ่ายวงเงินกู้ให้หน่วยงานปฏิบัติดำเนินการตามที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้แล้วจำนวน 666.67 ล้านบาท
3.2 ในส่วนของวงเงินสินเชื่อเพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม จำนวน 3,768.43 ล้านบาท มอบหมายให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ประสานกำกับดูแลและกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่เห็นสมควรให้กู้ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าโครงการที่อยู่ภายใต้การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เสนอจะได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจดังกล่าว
3.3 มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณากลไกที่จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายและการพิจารณาเงื่อนไขและแนวทางการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินไปอย่างได้ผลคุ้มค่าในการลงทุน และสามารถใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาโครงการที่เหลือภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมต่อไป
3.4 มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดกลไกในการตรวจสอบติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการที่ได้รับการจัดสรรวงเงินสินเชื่อภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไปแล้ว เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ กปพ.เพื่อพิจารณาต่อไป
3.5 มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำรายละเอียดโครงการตามแผนปฏิบัติการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เหลือในกรอบระยะ 5 ปี และจัดลำดับความสำคัญโครงการในระยะต่อไป ทั้งนี้การจัดลำดับความสำคัญต้องคำนึงถึงโครงการที่ก่อให้เกิดการสร้างรายได้และการสร้างงานในระยะสั้นและความพร้อมของโครงการเป็นเกณฑ์พิจาณา และนำผลการดำเนินการเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการ กปพ. พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
4. การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ที่ประชุมเห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปรับโครงสร้างการผลิตในระยะต่อไป และรับทราบข้อเสนอแนวทางและโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากองค์กรที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มีเป็นจำนวนมากและขาดการประสานงานให้เกิดแรงผลักดันไปในทิศทางเดียวกัน และมีโครงการปรับโครงสร้างในทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรมที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการทำรายละเอียด คณะกรรมการฯ จึงได้พิจารณาให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการปรับโครงสร้างการผลิต โดยให้คณะอนุกรรมการนี้ ทำหน้าที่รวบรวมแผนงานและโครงการ จัดลำดับความสำคัญ พิจารณารายละเอียด และวางแนวทางการประสานงาน จากแผนงานและโครงการตามแผนปรับโครงสร้างภาคเกษตร แผนปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม และแนวทางและโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทั้งนี้ คณะกรรมการได้มีมติ ดังนี้
4.1 รับทราบแนวทางและโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ สวทช.
4.2 เห็นชอบตามแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการปรับโครงสร้างการผลิตโดยให้มีแนวทางในการกำกับดูแล เพื่อให้แผนปฏิบัติการได้รับการนำไปปฏิบัติตามแนวทางและลำดับความสำคัญ
4.3 ให้ สวทช. ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯเพื่อยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับโครงสร้างการผลิต โดยมีรองนายก-รัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เป็นประธาน และ ผอ.สวทช. เป็นเลขานุการ โดยมีองค์ประกอบของคณะทำงานฯ ตามที่เสนอมา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 มีนาคม 2542--