ในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน ปี 2552 ปริมาณการค้าระหว่างประเทศรวมของไทยกับแคนาดามีมูลค่า 869.45 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.69 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย การส่งออกไปแคนาดา มีมูลค่า 563.17 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย และลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ -16.23 และการนำเข้าจากแคนาดามีมูลค่า 306.28 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของไทย และลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ -32.02% ดุลการค้าระหว่างไทยกับแคนาดาในช่วงเดือนมกราคม- มิถุนายน 2552 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 256.89 ล้านเหรียญสหรัฐ
1.1 สินค้าส่งออกสำคัญไปแคนาดา ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่มเกม เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เลนซ์ รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก เตาอบไมโครเวฟ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน
สินค้าส่งออกของไทยที่เพิ่มขึ้นได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (10.69%) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (5.70%) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (9.58%) ผลิตภัณฑ์ยาง (9.07%) เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า (68.44%) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (65.59%) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป (31.26%) ฯลฯ
สินค้าส่งออกของไทยที่ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-28.11%) ข้าว (-21.69%)ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (-0.99%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (-6.63%) ยางพารา (-60.43%) อัญมณีและเครื่องประดับ (-3.55%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (-1.58%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-40.47%) เครื่องกีฬาและเครื่องเล่มเกม (-29.19%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (-21.63%) เลนซ์ (-6.11%) รองเท้าและชิ้นส่วน (-18.19%) ผลิตภัณฑ์พลาสติก (-31.51%) ฯลฯ
1.2 สินค้านำเข้าสำคัญจากแคนาดา ได้แก่ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ (-17.05) แผงวงจรไฟฟ้า (-31.79%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (-35.96%) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (-16.11%) ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช (-75.68%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (-3.66%) สินแร่โลหะ (-55.27%) เคมีภัณฑ์ (-24.69%) สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูละ (23.07%) เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ (64.33%) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ (1,196.76%) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (52.11%) ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ (7.61%) และถ่านหิน ฯลฯ
ไทยส่งออกไปแคนาดาเดือนมิถุนายน 2552 มีมูลค่า 106.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.28 โดยการส่งออกที่ผ่านมาของไทยในเดือนพฤษภาคม มีมูลค่าการส่งออก 93.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.26 และในเดือนเมษายน 2552 มีมูลค่า 84.03 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 10.19
สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (42.69%) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (37.43%) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (74.35%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (15.28%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น (9.53%) ยางพารา (50.52%) อัญมณีและเครื่องประดับ (52.65%) ผลิตภัณฑ์ยาง (17.65%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (22.92%) เลนซ์ (20.82%) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ (55.81%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน(10.65%) ผลิตภัณฑ์พลาสติก (9.56%) ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง (18.33%) ผลิตภัณฑ์เซรามิก (633.57%) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (11.63%) เครื่องยกทรง วัดทรงและส่วนประกอบ (122.84%) ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (68.05%) ผลิตภัณฑ์ข้าว (14.93%) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (7.66%) เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร (21.05%) ผักกระป๋องและแปรรูป (6.85%) ของเล่น (27.19%)
สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-13.73%) ข้าว (-25.98%) เครื่องกีฬาและเครื่องเล่มเกม (-16.62%) เตาอบไมโครเวฟ(-33.14%) รองเท้าและชิ้นส่วน (-11.39%) ไก่แปรรูป(-44.50%) สิ่งปรุงรสอาหาร (-19.61%) แผงวงจรไฟฟ้า (-59.14%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (-52.69%) อาหารสัตว์เลี้ยง (-30.28%)
ในช่วงเดือนมค.-มิ.ย.2552 แคนาดามีการนำเข้าโดยรวมลดลงถึง 16.23% โดยประเทศคู่ค้าหลักได้แก่ สหรัฐฯ จีน เม็กซิโก ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 19 แคนาดานำเข้าสินค้าจากต่างประเทศลดลงเนื่องจาก การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมหลักหลายแห่งปิดกิจการหรือลดการผลิตจึงลดการนำเข้า สต็อกสินค้ายังมีมากเกินพอกำลังซื้อของประชาชนลดลงจากการว่างงานและรายได้ลดลง การลดการจับจ่ายใช้สอยและมีการเก็บออมมากขึ้นการลดการนำเข้าสินค้าที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยสาเหตุการนำเข้าสินค้าไทยที่ลดลงมีดังนี้
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากแคนาดามีการนำเข้าโดยรวมลดลงถึง -25.36% และไทยต้องเผชิญกับประเทศคู่แข่งที่สินค้ามีราคาถูกกว่า ได้แก่ จีน สหรัฐฯ เม็กซิโก
ข้าว ในภาพรวม แคนาดามีการนำเข้าเพิ่มขึ้น 16.11% และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับสอง แต่แคนาดาได้หันไปนำเข้าข้าวมากขึ้นจากสหรัฐฯ ออสเตรเลียและปากีสถานที่มีราคาถูกกว่าข้าวไทย
ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ภาพรวมแคนาดานำเข้าเพิ่มขึ้น 3.81% แต่นำเข้าจากไทยลดลงและหันไปนำเข้าจากคู่แข่งของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ฟิลิปปินส์ เนื่องจาก ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่งขัน ประเทศคู่แข่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดมากขึ้น
เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ แคนาดานำเข้าโดยรวมลดลง -30.48% เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจัดเป็นสินค้าประเภทสินค้าฟุ่มเฟือย และไทยยังต้องเผชิญกับคู่แข่งต่าง ๆ ได้แก่ สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และมาเลเซีย โดยไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 6
ยางพารา แคนาดา มีการนำเข้าจากทั่วโลกลดลง -47.99% เนื่องจาก การหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ ส่งผลให้มีการลดการนำเข้ายางพารา ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และไทยต้องเผชิญกับคู่แข่ง ได้แก่ อินโดนิเซีย และมาเลเซีย
อัญมณีเครื่องประดับ แคนาดามีการนำเข้าลดลง -22.05% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การลดการจับจ่ายสินค้าที่จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และไทยยังต้องเผชิญกับคู่แข่งจากสหรัฐฯ จีน อิตาลี และอินเดีย
รถยนต์ รถจักรยานยนต์และ อุปกรณ์ส่วนประกอบ แคนาดามีการนำเข้าโดยรวมลดลง -13.30% จากการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน การลดการจับจ่ายซื้อสินค้า และเผชิญกับคู่แข่งจาก สหรัฐฯ ญี่ปุ่นเม็กซิโก และจีน โดยไทยอยู่อันดับ 10
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แคนาดามีการนำเข้าลดลง -18.13% เนื่องจาก อุตสาหกรรมหนักหดตัว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว และเผชิญกับคู่แข่งจาก สหรัฐฯ จีน อิตาลี ไต้หวัน ตามลำดับ โดยไทยอยู่อันดับที่ 6
เครื่องกีฬาและเครื่องเล่มเกม แคนาดานำเข้ารวมลดลง -13.18% เนื่องจาก การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ความต้องการสินค้าดังกล่าวที่จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคาสินค้าไทยที่สูงกว่าคู่แข่งขันและเผชิญกับคู่แข่งจากจีน สหรัฐฯ ไต้หวัน โดยไทยอยู่อันดับที่ 4
เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน แคนาดามีการนำเข้าโดยรวมลดลง -21.60% จากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ประชาชนลดการซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์ใหม่ การซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์เก่ามากขึ้น และเผชิญกับคู่แข่งขันจาก จีน สหรัฐฯ เวียดนาม และอิตาลี โดยไทยอยู่อันดับที่ 11
เลนซ์ แคนาดานำเข้าโดยรวมลดลง -11.59% ประชาชนลดการจับจ่ายซื้อสินค้า และเผชิญกับคู่แข่งสินค้าจากสหรัฐฯ และอินโดนีเซีย โดยไทยอยู่อันดับที่ 3
รองเท้าและชิ้นส่วน การนำเข้าโดยรวมลดลง -10.14% สินค้าไทยมีราคาแพงกว่า คุณภาพและรูปแบบไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ไทยต้องเผชิญกับคู่แข่งจากจีน เวียดนาม อิตาลี ประเทศในแถบอเมริกาใต้ โดยไทยอยู่อันดับที่ 6
ผลิตภัณฑ์พลาสติก แคนาดามีการนำเข้าโดยรวมลดลง 11.49% เนื่องจากภาครัฐได้มีการรณรงค์เพื่อลดการใช้พลาสติกและเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้อีกครั้งได้ และใช้วัสดุอื่นทดแทน เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และเผชิญกับคู่แข่งจากสหรัฐฯ จีน เม็กซิโก ไต้หวัน โดยไทยอยู่อันดับที่ 9
- การสร้างแบรนด์สินค้า ผู้ส่งออกไทยควรให้ความสำคัญต่อการสร้างแบรนด์สินค้าส่งออก โดยต้องสร้างความเชื่อมั่น (Confidence and Trust) ให้เกิดขึ้นกับตัวสินค้าซึ่งจะนำไปสู่ Brand Loyalty ขณะนี้ กลุ่มสินค้าอาหารจากไทย ได้มีการสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมไทย อาทิ รถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เ ครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ยังไม่ได้มีการผลักดันการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในตลาดอย่างจริงจัง จึงทำให้สินค้าประเภทนี้ของไทยไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายใหญ่จากประเทศคู่แข่งได้
- การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในแคนาดา น่าจะเป็นช่องทางหนึ่งในการเจาะขยายตลาดส่งออกในแคนาดาได้เป็นอย่างดี งานแสดงสินค้าในแคนาดาที่สำคัญได้แก่ Canadian Gift & Tableware Association (CGTA) สินค้าของขวัญของตกแต่งบ้าน จัดประมาณเดือน มกราคม และ สิงหาคม ทุกปี และงาน Canadian Health Food Association (CHFA) สินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ จัดในเดือน ตุลาคม ทุกปี
- การทำการค้าบนอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบการชาวแคนาดาใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางสำคัญในการทำการค้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การลดต้นทุน และสามารถเจรจาการค้าแบบ real time ได้ ผู้ส่งออกไทยอาจใช้กลยุทธ์นี้ในการขยายการค้า อาทิ การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล์ การทำ web site การเข้าเป็นเครือข่ายของ web ประสบความสำเร็จในการทำการค้า
- การสร้างเครือข่ายทางการค้า ได้แก่ การค้าผ่านตัวแทนทางการค้าในแคนาดา (Sale Representative) การร่วมทำการตลาดกับผู้นำเข้า (อาทิ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายโฆษณาสินค้า การให้ส่วนลดสินค้า การให้ credit term สำหรับการสั่งซื้อสินค้า) การลงทุนเปิดกิจการเครือข่ายกระจายสินค้าในแคนาดา
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโตรอนโต
ที่มา: http://www.depthai.go.th