รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 16 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 16, 2012 11:25 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2555

Summary:

1. รมว. พาณิชย์เตียมเสนอ ครม.เพื่อขออนุมัติการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเพื่อสกัดราคาขายปลีก

2. ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็ นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 8.5

3. สหรัฐฯ อาจลงโทษอินเดียกรณีที่อินเดียนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายใหม่ของสหรัฐฯ

Highlight:
1. รมว. พาณิชย์เตียมเสนอ ครม.เพื่อขออนุมัติการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเพื่อสกัดราคาขายปลีก
  • นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศ 4 หมื่นตัน ในระยะเวลา 1 เดือน ในราคาไม่เกิน 30 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อส่งให้โรงสกัดผลิตขายปลีกน้ำมันปาล์มในราคาไม่เกิน 42 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำมันปาล์ม และป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการขยับราคาในขณะนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาสูงขึ้นและผลกระทบผู้บริโภค
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบดังกล่าว ผนวกกับฤดูเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมันซึ่งอยู่ระหว่างเดือน มี.ค.-มิ.ย. นั้น จะเป็ นปัจจัยช่วยลดแรงกดดันจากราคาขายปลีกน้ำมันที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นในระยะต่อไป ตามอุปสงค์ของน้ำมันปาล์มในประเทศที่ค่อนข้างสูง ทั้งจากผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของน้ำมันปาล์มที่ใช้ในประเทศ และอีกร้อยละ 30 จากผู้ผลิตไบโอดีเซล เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันซึ่งคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งเสริมเสถียรภาพของระดับราคาในประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันแรงกดดันจากระดับราคาเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในประเทศอิหร่านซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญของโลก และมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 4 ของอุปทานน้ำมันจากทั่วโลกส่งผลให้ สศค. อาจมีการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ และอัตราเงินเฟ้อในปี 55 จากประมาณการเดิม ณ เดือน ธ.ค.54 ซึ่งคาดว่าในปี 55 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี จะอยู่ที่ 116.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์ 111.0-121.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.5 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.0-4.0)
2. ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 8.5
  • ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 8.5 แม้ว่าคาดการณ์แรงกดดันจากเงินเฟ้อในปัจจุบันสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปัญหาการเมืองในประเทศอิหร่าน ผนวกกับค่าเงินรูปีอ่อนค่าลง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอินเดีย ส่วนหน่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจอินเดียยังคงชะลอลงต่อเนื่อง ทั้งจากการลงทุนที่หดตัวในไตรมาสที่ 4 ปี 54 และภาคการส่งออกึ่งชะลอลงชัดเจน โดยล่าสุดการส่งออกเดือน ก.พ.55 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 28 เดือน ที่ร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อนหน้า จากการชะลอลงของเศรษฐกิจยูโรโซนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 1 ของอินเดีย ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอินเดียอาจต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ผนวกกับค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงส่งผลให้ทางการอินเดียต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายสำคัญในการดำเนินนโยบายทางการเงินในระยะต่อไป
3. สหรัฐฯ อาจลงโทษอินเดียกรณีที่อินเดียนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายใหม่ของสหรัฐฯ
  • สหรัฐฯ อาจลงโทษอินเดีย กรณีที่อินเดียนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายใหม่ของสหรัฐฯ กำหนด เนื่องจากอินเดียมีปริมาณการซื้อน้ำมันจากอิหร่านเพิ่มขึ้น ในเดือน ม.ค. 55 โดยกฎหมายดังกล่าวระบุว่า หากประเทศใดไม่ลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านอย่างมีนัยสำคัญ หรือประมาณร้อยละ 15 ของปริมาณการนำเข้าเดิมในครึ่งแรกของปี 55 จะต้องได้รับการลงโทษ
  • ฝ่ายเลขาฯ วิเคราะห์ว่า อินเดียเป็นผู้ซื้อน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของอิหร่าน และรายใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลก รองจากจีน และญี่ปุ่น โดยมีปริมาณการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน 328,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งแรกของปี 54 สะท้อนว่าอินเดียพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านเพื่อการบริโภคและสำหรับภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นหลัก การลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านลงร้อยละ 15 ของปริมาณการนำเข้าเดิม หรือคิดเป็นมูลค่า 49,200 บาร์เรลต่อวันจึงต้องอาศัยเวลาในการปรับเปลี่ยนการใช้น้ำมันภายในประเทศซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้น้ำมันในปริมาณมาก นอกจากนี้ ผู้กลั่นน้ำมันอินเดียทำสัญญาสั่งนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านเป็นรายปีซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่เดือน เม.ย.ในปี นั้น — มี.ค ในปีถัดไป ดังนั้นในระยะนี้จึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านได้ ดังนั้นเดือน เม.ย. 55 จึงจะสามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงปริมาณการนำเข้าน้ำมันของอินเดียจากอิหร่านได้อย่างชัดเจนและตัดสินได้ว่าอินเดียจะถูกลงโทษตามกฎหมายใหม่ของสหรัฐฯ หรือไม่

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ