เอกสารแนบ
“เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม 2557 บ่งชี้เศรษฐกิจไทยด้านการใช้จ่ายในประเทศเริ่มดีขึ้น ขณะที่วิกฤติการเมืองคลี่คลาย ทำให้การใช้จ่ายรัฐเร่งขึ้น และเอกชนมั่นใจขึ้น แต่การใช้จ่ายต่างประเทศเริ่มลดลงทั้งส่งออกสินค้าและบริการ อย่างไรก็ตาม ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะเริ่มมีแรงกดดันเงินเฟ้อสูงขึ้น ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศยังแข็งแกร่ง ทั้งนี้ เดือนพฤษภาคม 2557 นี้ เป็นเดือนหัวเลี้ยวหัวต่อของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ทำให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่าเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทย ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ จะกลับมามีพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 เป็นต้นไป”
1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนพฤษภาคม 2557 เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2557 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อเดือน ตามการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกของของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 0.1 สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2557 หดตัวร้อยละ-17.8 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องของยอดขายรถจักรยานยนต์ในภูมิภาคที่หดตัวร้อยละ -21.0 และสอดคล้องกับยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม.ที่หดตัวร้อยละ-5.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่หดตัวลงทั่วทุกภาคของประเทศ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวัง การใช้จ่ายสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เป็นต้นขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนพฤษภาคม 2557 หดตัวร้อยละ -44.4 ต่อปี นอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนพฤษภาคม 2557 หดตัวที่ร้อยละ -4.5 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -7.7 ต่อเดือน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนพฤษภาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 60.7ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน และเป็นค่าดัชนีที่สูงสุดในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2557เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง ส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่างๆ เริ่มมีความชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวที่มีการเริ่มทยอยจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับชาวนาแล้วบางส่วน ซึ่งจะส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน 2556 2556 2557 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 เม.ย. พ.ค. YTD ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) -0.7 6.8 -0.3 -7.3 -1.0 -0.2 -1.2 2.3 0.1 %qoq_SA / %mom_SA -2.0 -3.2 -0.9 5.5 -1.1 1.0 0.8 - ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy) 4.4 4.6 7.7 6.2 -0.2 -3.9 5.0 -4.5 -2.3 %qoq_SA / %mom_SA -2.7 -1.3 -0.5 4.2 -6.3 6.8 -7.7 - ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy) -6.1 97.2 -3.3 -24.8 -39.7 -55.3 -34.4 -44.4 -50.1 %qoq_SA / %mom_SA -3.3 -27.3 -2.8 -11.0 -27.5 13.7 -17.3 - ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy) -6.0 5.4 -6.2 -8.7 -20.8 -20.8 -21.5 -17.8 -20.3 %qoq_SA / %mom_SA -2.0 -4.9 -3.7 -8.2 -8.2 0.2 -2.0 - ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค 70.2 73.8 72.8 69.3 64.9 59.9 57.7 60.7 59.62. การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณหดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนพฤษภาคม 2557 หดตัวร้อยละ-1.8ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อเดือนขณะที่ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม 2557 หดตัวร้อยละ-1.0 ต่อปีและเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนพฤษภาคม 2557 หดตัวร้อยละ -31.7 ต่อปี สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนพฤษภาคม 2557 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -15.4 ต่อปี
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน 2556 2556 2557 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 เม.ย. พ.ค. YTD เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy) 17.9 35.2 11.0 22.0 9.1 -6.6 -7.7 -1.0 -5.6 %qoq_SA / %mom_SA -1.5 -1.4 8.2 4.0 -14.2 6.1 2.0 - ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy) 8.3 15.9 14.6 3.0 0.3 -2.4 -3.1 -1.8 -2.4 %qoq_SA / %mom_SA -0.6 1.3 -1.3 1.0 -2.4 1.4 1.0 - เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy) -8.4 19.4 3.2 -26.2 -24.1 -36.6 -32.3 -31.7 -34.9 %qoq_SA / %mom_SA -3.1 -7.6 -14.2 -0.9 -18.5 11.0 -6.1 - ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy) -5.9 3.7 -1.5 -7.9 -16.6 -14.1 -16.9 -15.4 -15.0 %qoq_SA / %mom_SA -10.5 -0.4 -4.7 -1.9 -7.7 -0.8 -0.5 - ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักเครื่องบิน เรือและรถไฟ (%yoy)-10.2 -0.7 -11.2 -10.0 -18.0 -11.4 -3.8 -6.0 -8.8 %qoq_SA / %mom_SA -8.8 -5.0 -1.0 -4.3 -1.6 6.1 -2.6 -3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในเดือนพฤษภาคม 2557 พบว่า รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนพฤษภาคม 2557 ได้จำนวน 154.3 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.1 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน142.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.3 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 125.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.5 ต่อปี (2) รายจ่ายลงทุน 16.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ-0.6 ต่อปี ส่งผลอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2557 ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณเบิกจ่ายได้ 1,565.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 62.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 (2,525.0 พันล้านบาท) ทั้งนี้ รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนพฤษภาคม 2557 ได้จำนวน 282.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -14.2 ต่อปี โดยมีรายการสำคัญ ดังนี้ (1) ภาษีฐานรายได้ หดตัวร้อยละ -11.0 ต่อปี จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -2.4 ต่อปี เนื่องจากผลกระทบของการปรับลดอัตราภาษีที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดหดตัวร้อยละ -12.9 ต่อปี ตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลง ซึ่งทำให้ผลประกอบการของภาคเอกชนไม่ขยายตัวเท่าที่ประมาณไว้ และ (2) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี สะท้อนการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และภาษีจากการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามการนำเข้าที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 ได้จำนวน 1,360.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -5.3 ต่อปี และต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ -93.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ -6.4 สำหรับดุลเงินงบประมาณในเดือนพฤษภาคม 2557 เกินดุล 9.2 พันล้านบาท ทำให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน – 500.6 พันล้านบาท
เครื่องชี้ภาคการคลัง FY2556 FY2556 FY2557 (พันล้านบาท) Q1/ Q2/ Q3/ Q4/ Q1/ Q2/ เม.ย. พ.ค. YTD FY56 FY56 FY56 FY56 FY57 FY57 รายได้สุทธิของรัฐบาล 2,161.3 508.5 469.6 641.9 537.5 503.4 437.7 136.3 282.6 1,360.0(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) (%y-o-y) 9.4 27.6 13.7 3.4 -1.2 -1.0 -6.8 5.5 -14.2 -5.3 รายจ่ายรัฐบาลรวม 2,402.5 785.9 585.7 482.0 548.9 831.1 553.0 195.8 154.3 1,734.2 (%y-o-y) 4.7 60.5 -24.9 4.8 -3.0 5.7 -5.6 8.6 14.1 2.8 ดุลเงินงบประมาณ -239.0 -283.6 -109.1 165.1 -11.4 -334.7 -115.5 -59.7 9.2 -500.64. การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤษภาคม 2557 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 19.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -2.1 ต่อปี และร้อยละ -2.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (m-o-m SA) โดยตลาดส่งออกหลักที่หดตัว ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น กลุ่มอาเซียน-5 และออสเตรเลีย ขณะที่สินค้าส่งออกที่มีการหดตัวลงมากได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤษภาคม 2557 มีมูลค่าอยู่ที่ 20.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -9.3 ต่อปี ทั้งนี้ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนพฤษภาคม 2557 ขาดดุลที่ -0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ 2556 2557 (สัดส่วนการส่งออกปี55 >ปี 56 ) 2556 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 เม.ย. พ.ค. YTD ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy) -0.3 3.9 -2.2 -1.7 -1.0 -1.0 -0.9 -2.1 -1.2 %qoq_SA / %mom_SA - -1.3 -2.8 1.7 1.7 -0.7 1.8 -2.6 - 1.จีน (11.7%>>>11.9%) 1.4 7.3 -13.4 -0.3 12.9 -4.4 -9.5 -5.7 -5.6 2.สหรัฐฯ (9.9%>>>10%) 0.8 0.8 -3.5 0.7 5.2 0.6 0.6 2.8 1.1 3.ญี่ปุ่น (10.2%>>>9.7%) -5.2 1.5 -6.3 -10.1 -5.5 2.0 -4.5 -9.9 -1.7 4.สหภาพยุโรป (8.5%>>>8.8%) 2.7 7.0 -5.3 3.3 6.3 4.8 5.4 11.9 6.4 5.ฮ่องกง (5.7%>>>5.8%) 0.7 11.2 7.7 -1.4 -12.0 -1.8 -7.5 4.4 -1.7 6.มาเลเซีย (5.4%>>>5.7%) 4.7 -0.8 5.8 12.4 2.0 -0.1 10.3 -9.8 -0.5 PS.อาเซียน-9 (24.6%>>>26.0%) 5.0 5.9 2.4 10.8 1.2 -5.4 -1.9 0.1 -3.5 PS.อาเซียน-5 (17.2%>>>17.6%) 2.0 5.4 -0.7 11.2 -7.1 -11.0 -8.3 -3.3 -8.8 PS.อินโดจีน-4 (7.4%>>>8.3%) 11.8 7.0 9.9 10.0 20.3 7.1 11.5 7.5 8.05. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานมีสัญญาณหดตัว ในสาขาอุตสาหกรรมและบริการ สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2557 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -4.1 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -1.3 ต่อเดือน โดยอุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องประดับ และอาหาร เป็นสำคัญ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเลียม และเครื่องแต่งกาย เป็นต้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 85.1ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนเนื่องมาจากผู้ประกอบการมีระดับความเชื่อมั่นมากขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลาย อีกทั้งมีการทยอยการจ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน รวมทั้งช่วยส่งเสริมด้านการผลิตมากขึ้น ในขณะที่ภาคบริการ สะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.7 ล้านคน หดตัวร้อยละ -10.7 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -5.1 ต่อเดือน โดยนักท่องเที่ยวที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ขณะที่นักท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัวได้แก่ ลาว อังกฤษ และเวียดนาม อย่างไรก็ดี ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนพฤษภาคม 2557 ขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปีตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตข้าวโพดที่ยังคงขยายตัวในอัตราเร่งตามพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลผลิตข้าวนาปรังรอบแรกที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว ขณะที่ผลผลิตยางพาราและมันสำปะหลังลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอากาศที่แห้งแล้ง ทำให้ผลผลิตออกมาน้อยกว่าปกติ และพื้นที่เพาะปลูกที่ลดลงของมันสำปะหลัง ในส่วนของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะสุกรและไก่เนื้อ ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีรายงานสถานการณ์โรคระบาด
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน 2556 2556 2557 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 เม.ย. พ.ค. YTD ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%yoy) -3.2 2.9 -4.9 -3.5 -7.1 -7.1 -4.1 -4.1 -5.9 %qoq_SA / %mom_SA -2.9 -5.4 -1.4 3.4 -7.1 2.7 -1.3 - นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy) 18.8 22.1 24.3 21.4 9.3 -5.8 -1.7 -10.7 -5.9 %qoq_SA / %mom_SA - 4.4 6.4 1.0 -2.2 -10.2 7.3 -5.1 - ดัชนีผลผลิตเกษตรกรรม (%yoy) -1.0 2.1 -5.0 -4.3 1.5 3.9 5.3 6.9 4.8 %qoq_SA / %mom_SA -0.4 -3.2 -0.2 5.4 1.1 0.7 1.0 -6. ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะเริ่มมีแรงกดดันเงินเฟ้อสูงขึ้น ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง โดยในเดือนพฤษภาคม 2557 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดผักสดและปศุสัตว์เนื่องจากภัยแล้งส่งผลให้อุปทานลดลง ประกอบกับอาหารสำเร็จรูป มีราคาเพิ่มสูงขึ้นจากการทยอยปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.8ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือนพฤษภาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมซึ่งคิดเป็นจำนวน ผู้ว่างงานเท่ากับ 3.62 แสนคน สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 อยู่ที่ร้อยละ 46.6 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 นอกจากนี้ เสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2557 อยู่ในระดับสูงที่ 167.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.76 เท่า
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ 2556 2556 2557 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 เม.ย. พ.ค. YTD ภายในประเทศ เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) 2.2 3.1 2.3 1.7 1.7 2.0 2.5 2.6 2.2 เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy) 1.0 1.5 1.0 0.5 0.8 1.2 1.7 1.8 1.4 อัตราการว่างงาน (yoy%) 0.7 0.7 0.7 0.8 0.6 0.9 0.9 0.9 0.9 หนี้สาธารณะ/GDP 45.7 44.2 44.5 45.5 45.7 46.1 46.6 n.a. 46.6 ภายนอกประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $) -2.8 0.5 -6.7 0.4 3.0 8.2 -0.6 n.a. 7.6 ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $) 167.2 177.8 170.8 172.3 167.2 167.4 168.9 167.5 167.5 ฐานะสุทธิ Forward (พันล้าน $) 23.0 23.7 23.7 21.2 23.0 23.6 23.2 23.2 23.2นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกล่าวสรุปว่า เดือนพฤษภาคม 2557 ถือเป็นเดือนหัวเลี้ยวหัวต่อของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ทำให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เครื่องยนต์เศรษฐกิจไทย ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ จะกลับมามีพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 เป็นต้นไป
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง