รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 7 - 10 กรกฎาคม 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 15, 2014 14:45 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มิ.ย. 57 มีจำนวน 169,390 คัน หรือหดตัวร้อยละ -15.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 57 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,532.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.9 ของ GDP
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ค. 57 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.27 ล้านล้านบาท
  • อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม
  • มูลค่าการส่งออกจีน เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวต่อเนื่องที่ ร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้ากลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 5.5
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น เดือน มิ.ย. 57 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 41.2 จุด
  • วันที่ 9 ก.ค. 57 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ มีมติคงอัตราciloกับเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 57 ธนาคารกลางอินโดนีเซีย มีมติคงอัตราPดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมาเลเซีย เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ เดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

Indicator next week

Indicators                     Forecast       Previous
Jun :  Cement sale (%yoy)        -0.8           -1.8
  • เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและอาคารชุดลดลง ตามการการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ อย่างไรก็ดี อุปทานเริ่มกลับมาเปิดขายใหม่มากขึ้น สะท้อนได้จากจำนวนที่อยู่อาศัยที่เปิดขายใหม่ที่เพิ่มขึ้น
Economic Indicators: This Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน มิ.ย. 57 มีจำนวน 169,390 คัน หรือหดตัวร้อยละ -15.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -17.8 โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องของยอดขายรถจักรยานยนต์ในภูมิภาคที่หดตัวร้อยละ -18.2 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -21.0 สอดคล้องกับยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม.ที่หดตัวร้อยละ -5.9 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่หดตัวลงทั่วทุกภาคของประเทศ ตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวัง การใช้จ่ายสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 57 ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวร้อยละ -19.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 57 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,532.5 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 51.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.9 ของ GDP ทั้งนี้ การลดลงของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ของรัฐบาลลดลงสุทธิ 49.5 พันล้านบาท โดยมีรายการสำคัญจากหนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 58.0 พันล้านบาท ซึ่งนำไปใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติ การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 ที่ครบกำหนดชำระหนี้เงินกู้ในวันที่ 12 พ.ค. 57 ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 97.1 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 93.1 ของยอดหนี้สาธารณะ)
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ค. 57 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.27 ล้านล้านบาท โดยสินเชื่อยังคงขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.03 (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่เงินฝากหดตัวร้อยละ -1.6 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ อุปสงค์จากนอกประเทศที่ยังฟื้นตัวดีต่อเนื่อง แม้ยังมีความเสี่ยงอยู่ จะเป็นหนึ่งในปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจ ขณะที่ ปัจจัยทางการเมืองในประเทศ และการผลักดันนโยบายของภาครัฐ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัจจัยข้างต้นจะส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไป
  • การจ้างงานเดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ 38.38 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 6.94 แสนคน ส่งผลให้ 6 เดือนแรกของปี 57 มี ผู้มีงานทำอยู่ที่ 37.82 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.72 แสนคน หรือ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.7 ซึ่งเป็นการปรับลดลงในทุกหมวดการจ้างงานหลัก โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมหดตัวร้อยละ -4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ในขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรเริ่มส่งสัญญาณปรับลดลงเช่นเดียวกัน ที่ร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 4.48 แสนคน
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน มิ.ย. 57 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนที่หดตัวร้อยละ -1.8 เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและอาคารชุดลดลง ตามการการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ อย่างไรก็ดี อุปทานเริ่มกลับมาเปิดขายใหม่มากขึ้น สะท้อนได้จากจำนวนที่อยู่อาศัยที่เปิดขายใหม่ที่เพิ่มขึ้น

Global Economic Indicators: This Week

China:improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปและภูมิภาคอาเซียน ส่วนมูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 57 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากปัจจัยฐานในปีก่อนหน้าเป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนดังกล่าวเกินดุลมูลค่า 31.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 57 ปรับลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าในหมวดอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนแรงกดดันด้านราคาในระดับต่ำและมีเสถียรภาพมากขึ้น

Japan: improving economic trend

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 57 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 41.2 จุด นับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนมุมมองเชิงบวกของผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น

Taiwan: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าส่วนหนึ่งจากการส่งออกไปจีนและฮ่องกง (สัดส่วนร้อยละ 26.8 และ 12.9 ของการส่งออกรวม ในปี 56 ตามลำดับ) ที่ชะลอลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 1.9 และร้อยละ 9.4 จากร้อยละ 5.0 และร้อยละ 15.4 ในเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ โดยเมื่อดูในรายละเอียดพบว่า การส่งออกสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ชะลอลงเป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 57 กลับมาขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าหมวดวัตถุดิบตามคำสั่งซื้อและราคาสินค้าดังกล่าวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการส่งออกที่มากกว่าการนำเข้า ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงอยู่ที่ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ

South Korea: mixed signal

เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 57 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14

Australia: mixed signal

อัตราว่างงาน เดือน มิ.ย. 57 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 6.0 ของกำลังแรงงานรวม จากจำนวนผู้หางานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

Indonesia: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 15.0 ทั้งนี้ เป็นผลจากยอดขายสินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและสันทนาการที่หดตัวร้อยละ -5.6 และ -12.9 ตามลำดับสะท้อนการบริโภคภาคเอกชนในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 57 ธนาคารกลางอินโดนีเซีย มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือน ก.ค. 57 อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9

Malaysia: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 18.7 ทั้งนี้ เป็นผลจากการส่งออกไปยังจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญ (สัดส่วนการส่งออกไปจีนร้อยละ 13.5 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 56) ที่หดตัวร้อยละ -0.4 เป็นสำคัญ ส่วนมูลค่า การนำเข้า เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงที่ขยายตัวขึ้นมากถึงร้อยละ 46.8 เป็นสำคัญการส่งออกที่มากกว่าการนำเข้าส่งผลให้ดุลการค้า เดือน พ.ค. 57 ยังคงเกินดุลมูลค่า 5.7 พันล้าน ริงกิต ในส่วนของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ผลจาก การผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตและผลผลิตไฟฟ้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 และ 4.6 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 และ 3.9 ตามลำดับ

Philippines: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ทั้งนี้ เป็นผลจาก การส่งออกสินค้าในหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (สัดส่วนร้อยละ 42.2 ของ การส่งออกรวมในปี 56) ที่หดตัวชะลอลงต่อเนื่องจากร้อยละ -2.5 มาอยู่ที่ร้อยละ -1.6 ในเดือนดังกล่าว ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าในหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ และราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ แม้ว่าราคาอาหารจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

United Kingdom: mixed signal

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่วนหนึ่งจากสินค้าในหมวดภาคการผลิตและการประปาที่หดตัวจากเดือนก่อนหน้าเป็นสำคัญ

Weekly Financial Indicators

  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนในช่วงปลายสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 9 ก.ค. 57 ปิดที่ 1,507.92 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 36,842 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศ ส่วนหนึ่งจากการเข้าซื้อก่อนประกาศผลประกอบการครึ่งปีแรกของบริษัท โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานและสื่อสาร และ เครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ บ่งชี้แนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในตลาดที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 7- 9 ก.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิถึง 5,781.65 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุไม่เกิน 6 เดือนและอายุมากกว่า 10 ปี ปรับลดลงประมาณ 1-5 bps จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างประเทศที่มีความกังวลว่าธนาคารกลางของสหรัฐฯ (Fed) จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7 - 9 ก.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 2,538.0 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 9 ก.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.43 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นทั้งหมด ยกเว้น ค่าเงินยูโร และค่าเงินวอนที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.15 จากสัปดาห์ก่อน
  • ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 9 ก.ค. 57 ปิดที่ 1,325.60 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,319.89 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ