Executive Summary
- มูลค่าการส่งออกในเดือน ส.ค. 57 หดตัวลงอีกครั้งที่ร้อยละ -7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -14.2
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ส.ค. 57 หดตัว ในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.7
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ส.ค. 57 เกินดุล 239.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือน ส.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ ร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.2
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 69.2
- GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 2 ปี 57 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาส 2 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP เวียดนาม ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน โดย HSBC ญ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 50.2 จุด
Indicator next week
Indicators Forecast Previous Sep : Motorcycle sales (%yoy) -5.0 -11.4- ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่ค่อนข้างต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี จากการที่ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ยังหดตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรยังคงหดตัวลงเช่นกัน และส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง
- การส่งออกในเดือน ส.ค. 57 มีมูลค่า 18,943.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.9 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าหดตัวที่ร้อยละ -2.1 จากการหดตัวของสินค้าภาคอุตสาหกรรมที่ร้อยละ -8.3 ตามการหดตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ที่ร้อยละ -2.6 และ -8.9 ตามลำดับ ประกอบกับสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่หดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -4.1 ในขณะที่สินค้าเกษตรกรรมขยายตัวดีที่ร้อยละ 8.0 รวมถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวดีเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกหดตัวคงที่จากเดือนก่อนที่ร้อยละ -0.2 และปริมาณการส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -7.2 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 57 หดตัวที่ร้อยละ -1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- การนำเข้าในเดือน ส.ค. 57 มีมูลค่า 17,797.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ -14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.9 จากการหดตัวของทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าทุนและยานยนต์ที่หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -21.2 และ -24.2 ตามลำดับ นอกจากนี้สินค้าวัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าเชื้อเพลิงหดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -10.2 -7.1 และ -11.7 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาสินค้านำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -0.3 และปริมาณการนำเข้าหดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -13.9 ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 57 หดตัวที่ร้อยละ -12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และจากการที่มูลค่าการส่งออกสูงกว่ามูลค่าการนำเข้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน ส.ค. 57 เกินดุล 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ส.ค. 57 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยลบจากอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร และเครื่องประดับเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากภาวะอิ่มตัวของตลาดภายในประเทศ ประกอบกับปัจจัยฐานสูง ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหาร หดตัวจากผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็งและปลาทูน่า จากโรคระบาดในกุ้งที่มี การฟื้นตัวช้าและจากความผันผวนของราคาปลาทูน่า สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลดีต่อดัชนีในเดือนนี้ คือ อุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ ที่ได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงระบบทีวีเป็นระบบดิจิตอล นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่นที่ขยายตัวได้ คือ อิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากต้นทุนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางลดลงต่อเนื่อง และการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มแก๊สโซฮอล์ ประกอบกับราคาเนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ และไข่ไก่ลดลงจากความต้องการที่น้อยลงในช่วงเทศกาลเจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 8 เดือนแรกของปี 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 สะท้อนถึงเสถียรภาพด้านราคาที่ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดซีเมนต์ที่หดตัวร้อยละ -3.1 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัว -2.8 สอดคล้องกับดัชนีในหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 3.3 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ตามการชะลอตัวของการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 57 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ส.ค. 57 เกินดุล 239.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล 856.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นที่ระดับ 2,198.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการนำเข้าที่หดตัวสูง สอดคล้องกับอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่ยังกลับมาฟื้นตัวไม่เต็มที่ ในขณะที่การส่งออกหดตัวเร่งขึ้น เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างและอุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัว ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุล 1,959.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการขาดดุลที่น้อยกว่าเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่น ตามค่าเงินเยนที่อ่อนค่า ประกอบกับรายรับภาคท่องเที่ยวยังคงหดตัว ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 57 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 8,140.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือน ส.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการชะลอลงของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจที่สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว และการที่ธนาคารพาณิชย์โดยรวมยังคงรักษามาตรฐานการปล่อยสินเชื่อให้มีความเข้มงวดเพื่อรอดูความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 57 ส่งผลให้คาดว่า สินเชื่อกลับมาขยายตัวดีขึ้นได้ในระยะต่อไป
- เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ที่ชะลอลง ทั้งจากเงินฝากของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ทั้งนี้ คาดว่าสถาบันการเงินจะระดมทุนผ่านเงินฝากเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะต่อไป ตามความต้องการสินเชื่อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่คาดว่าปรับตัวดีขึ้นในอนาคต
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม เดือนก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 69.2 ลดลงจากเดือนก่อนที่ระดับ 70.1 ซึ่งถือเป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว จากราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวในระดับต่ำ ในขณะที่ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ที่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับการส่งออกไทย
- ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศ ในเดือน ส.ค. 57 หดตัวที่ร้อยละ -11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ -6.8 สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์การลงทุนของภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวในปี 57 ตามการหดตัวของยอดขายเหล็กเส้นข้ออ้อย (น้ำหนักร้อยละ 64.4) ที่หดตัวร้อยละ -12.9 เหล็กเส้นกลม (น้ำหนักร้อยละ 11.2) ที่หดตัวร้อยละ -9.3 ในขณะที่เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (น้ำหนักร้อยละ 13.2 ของปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม) ขยายตัวร้อยละ 10.2 ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมในช่วง 9 เดือนแรกปี 57 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ย.57 คาดว่าจะ หดตัวร้อยละ -5.0 เมื่อเทียบกับจากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -11.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่ค่อนข้างต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี จากการที่ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ยังหดตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรยังคงหดตัวลงเช่นกัน และส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง
Global Economic Indicators: This Week
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 57 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.1 จากไตรมาสก่อนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) สูงกว่าตัวเลขที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ ผลจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวเร่งขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 86.0 จุด ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจและการคาดการณ์กิจกรรมทางธุรกิจที่ลดลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 ปรับลดลงที่ระดับ 56.6 จุด จากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ สินค้าคงค้าง การจัดส่ง และการจ้างงานที่ปรับตัวลดลง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม โดย HSBC เดือน ก.ย. 57 (ตัวเลขสมบูรณ์) อยู่ที่ระดับ 50.2 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน สะท้อนภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวในอัตราต่ำต่อเนื่องสอดคล้องกับดัชนีฯ ภาคอุตสาหกรรม โดย NBS เดือน ก.ย.57 ที่คงที่ที่ระดับ 51.1 จุด ด้านดัชนีฯ นอกภาคอุตสาหกรรม โดย NBS เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 54.0 จุด ลดลงจากระดับ 54.4 จุด ในเดือนก่อน และเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 8 เดือน
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าทุกหมวดที่ปรับเพิ่มขึ้น ยกเว้นหมวดเชื้อเพลิงและพลังงาน ส่วนอัตราว่างงาน เดือน ส.ค. 57 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานรวม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) หดตัวที่ร้อยละ -1.5 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.7 จุด ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวยังคงเกินกว่าระดับ 50 จุด ต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกัน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 57 ลดลงต่อเนื่อง มาอยู่ที่ระดับ -11.4 สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มชะลอลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 50.3 สะท้อนการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอลงต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 (ตัวเลขเบื้องต้น) ลดลงต่ำสุดในรอบ 59 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารและพลังงานที่ลดลง สะท้อนความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดที่เพิ่มขึ้น อัตราว่างงาน เดือน ส.ค. 57 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 11.5 ของกำลังแรงงานรวม บ่งชี้ภาคการจ้างงานที่ซบเซา
GDP ไตรมาส 2 ปี 57 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อน ราคาบ้าน เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่หดตัวครั้งแรกในรอบ 18 เดือนที่ร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 51.6 จุด ต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ในขณะที่ ดัชนีฯ ภาคก่อสร้าง เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 64.2 จุด เพื่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 64.2 จุด ในเดือนก่อน และเป็นระดับสูงสุดใน 8 เดือน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ขยายตัวเร่งขึ้น
มูลค่าส่งออก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปสหรัฐฯ ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนมูลค่านำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 13.7 จากการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เร่งขึ้น ทำให้ดุลการค้า เดือน ส.ค. 57 ขาดดุล -3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านดัชนีผู้จัดการฝายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากดัชนีผลผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ปรับตัวดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.0 จากราคาอาหารและสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 57 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 1.7 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 57 ขยายตัวขะลอลงที่ร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากมูลค่าส่งออกยางพาราที่หดตัวตามราคายางพาราในตลาดโลกที่ตกต่ำ ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 15.3 จากการนำเข้าเครื่องจักรและส่วนประกอบ ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ย. 57 ขาดดุล -600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวชะลอลงมาที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวชะลอลง มูลค่าส่งออก เดือน ส.ค. 57 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานสูง และการส่งออกไปยังจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฮ่องกง ที่หดตัวต่อเนื่อง และมูลค่านำเข้าหดตัวเร่งขึ้นร้อยละ -6.8 ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 241 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
มูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 57 กลับมาขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.0 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ย. 57 เกินดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 57 หดตัวร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวในเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 7 เดือน มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 57 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.4 ชะลอลงจากเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 อยู่ที่ระดับ 53.3 จุด แม้ลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 40 เดือนในเดือนก่อน แต่ยังคงสะท้อนการขยายตัวระดับสูง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 57 ปรับลดลงมาที่ระดับ 51.0 จุด จากผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่ชะลอลง
- ดัชนี SET ปรับตัวลดลงมาปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ในวันที่ 2 ต.ค. 57 โดยปิดที่ 1,569.73 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันสูงถึง 54,443 ล้านบาท โดยมีแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาแย่กว่าคาด อีกทั้งนักลงทุนยังรอความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 29 ก.ย. - 2 ต.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 1,142.8 ล้านบาท ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปีขึ้นไป ปรับลดลง 4 - 13 bps เป็นไปในทิศทางเดียวกับ US Treasury โดยนักลงทุนยังจับตามองการทำมาตรการ QE ของธนาคารกลางยุโรป ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 29 ก.ย. - 2 ต.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ 2,787.1 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
- ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 2 ต.ค. 57 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 32.48 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.43 จากสัปดาห์ก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินยูโร วอน หยวน และดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่ามากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.23 จากสัปดาห์ก่อน
- ราคาทองคำค่อนข้างคงที่ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 2 ต.ค. 57 ปิดที่ 1,213.30 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,215.69 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th