เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 27, 2014 14:00 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

"สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2557 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกขยายตัวเช่นกันสำหรับเศรษฐกิจด้านอุปทาน ภาคเกษตรกรรมชะลอตัว ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน"

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนตุลาคม ปี 2557 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนตุลาคม 2557 ที่แม้ว่าจะกลับมาหดตัวที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวได้ร้อยละ 2.8 ต่อเดือน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศ ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 3.3 อย่างไรก็ตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้าหดตัวร้อยละ -7.5 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม 2557 ที่แม้ว่าจะหดตัวร้อยละ -7.6 ต่อปี ตามการลดลงของยอดขายรถจักรยานยนต์ทั้งในภูมิภาค และกทม. ที่หดตัวร้อยละ -11.4 และ -6.5 ต่อปี ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 0.9 ต่อเดือน ส่วนปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนตุลาคม 2557 ยังคงหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -28.0 ต่อปีและเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่า ขยายตัวได้ร้อยละ 1.4 ต่อเดือน สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนตุลาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 69.6ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะเม็ดเงินที่สนับสนุนเกษตรกร รวมถึงโครงการลงทุนซ่อมแซมต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการจ้างงานของแต่ละท้องถิ่น และการที่ราคาน้ำมันแก็สโซฮอล์ในประเทศที่ปรับตัวลดลงทำให้ภาระค่าครองชีพของประชาชนลดลง นอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนตุลาคม 2557 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -3.3 ต่อเดือน

    เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน          2556               2556                               2557
                                             Q1     Q2     Q3     Q4      Q1     Q2    Q3     ก.ย.   ต.ค.   YTD
   ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)      -0.7    6.8   -0.3   -7.3    -1.1   -0.1    0.3   2.3     4.1   -1.7    0.5
   %qoq_SA / %mom_SA                       -3.0   -2.0   -1.2     5.4   -2.4   -1.3   0.7     1.3    2.8      -
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)      4.4    4.6    7.7    6.2    -0.2   -3.9    0.4   0.4    11.6    0.9   -0.9
   %qoq_SA / %mom_SA                       -4.0   -1.3   -0.7     6.1   -7.8    3.6  -0.7    14.8   -3.3      -
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)        -6.1   97.2   -3.3  -24.8   -39.7  -55.3  -37.7 -38.3   -35.9  -28.0  -43.7
   %qoq_SA / %mom_SA                       -3.3  -27.3   -2.8   -11.0  -25.7    1.7  -7.4    -0.8    1.4      -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)    -6.0    5.4   -6.2   -8.7   -14.9  -20.8  -18.2  -8.1    -4.4   -7.6  -15.2
   %qoq_SA / %mom_SA                       -1.0   -5.1   -4.7    -4.8   -8.0   -2.3   7.4     4.3    0.9      -
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                  70.2   73.8   72.8   69.3    64.9   59.9   61.2  69.3    69.2   69.6   64.1

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนตุลาคม ปี 2557 ปรับตัวดีขึ้น โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรสะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนตุลาคม 2557 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า หดตัวร้อยละ -7.1 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนตุลาคม 2557 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -13.6 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนหมวดภาคเอกชนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากยอดขายปูนซิเมนต์ในเดือนตุลาคม 2557 หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -5.7 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อเดือน

    เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน           2556               2556                              2557
                                             Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     Q2     Q3     ก.ย.   ต.ค.   YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)            8.3   15.9   14.6    3.0    0.3   -2.4   -3.0   -2.9    -5.6   -5.7   -3.0
   %qoq_SA / %mom_SA                        0.6    1.2   -2.0    0.7   -2.0    0.5   -2.2    -2.5    0.4      -
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)     -8.4   19.4    3.2  -26.2  -24.1  -36.6  -30.6  -20.4   -18.5  -13.6  -28.8
   %qoq_SA / %mom_SA                       -3.1   -7.6  -14.2   -0.9  -15.2   -2.8   -1.2     4.0    0.8      -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)             -5.9    3.7   -1.5   -7.9  -16.6  -14.1  -12.6    0.0    17.8    8.0   -7.4
   %qoq_SA / %mom_SA                       -9.8   -0.3   -6.0   -1.6   -6.9    1.4    7.9    45.6   -7.1      -

3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในเดือนตุลาคม ปี 2557 (เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558) สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ผ่านการขาดดุลงบประมาณ โดยทางด้านการเบิกจ่ายงบประมาณพบว่ารัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนตุลคาคม 2557 ได้จำนวน 367.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 42.3 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 344.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 41.3 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 330.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 36.7 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 14.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 449.6 ต่อปี ทั้งนี้ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558ในเดือนแรกเบิกจ่ายได้ 344.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 13.4 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 (2,575.0 พันล้านบาท)สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาลพบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนตุลาคม 2557 ได้จำนวน 171.5 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.0 ต่อปี อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ในเดือนตุลาคม 2557 สามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณร้อยละ 5.1 โดยมีรายการสำคัญ ดังนี้ (1) ภาษีฐานรายได้จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -2.5 ต่อปี จากภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -1.4 ต่อปี และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -3.8 ต่อปี ตามการปรับลดอัตราภาษี และ (2) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -0.3 ต่อปี โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศจัดเก็บเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ต่อปี และภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -6.0 ต่อปี ทั้งนี้ ดุลงบประมาณในเดือนตุลาคม 2557 ขาดดุลจำนวน -193.4 พันล้านบาท

    เครื่องชี้ภาคการคลัง
       (พันล้านบาท)
                    FY2557              FY2557                          FY2558
                            Q1/FY57 Q2/FY57 Q3/FY57 Q4/FY57  กรอบวงเงิน   ต.ค.     YTD
                                                             งบประมาณ
รายได้สุทธิของรัฐบาล   2,073.9    503.5   437.2   608.3   525.0    2,325.0  171.5   171.5
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)
(%y-o-y)              -4.1     -1.0    -6.9    -5.2    -3.1        2.2   -4.0    -4.0
รายจ่ายรัฐบาลรวม     2,460.0    831.1   553.0   514.7   561.2    2,575.0  367.6   367.6
(%y-o-y)               2.4      5.7    -5.6     6.8     2.2        2.0   42.3    42.3
ดุลเงินงบประมาณ       -390.0   -334.7  -115.9   105.5   -44.9     -250.0 -193.4  -193.4

4.การส่งออกสินค้าในเดือนตุลาคม ปี 2557 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น พบว่า การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนตุลาคม 2557 กลับมาขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 20.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อเดือน สำหรับตลาดส่งออกหลักที่การส่งออกมีการขยายตัวในเดือนตุลาคม 2557 ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และกลุ่มอาเซียน-9 เป็นสำคัญ โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ได้แก่ สินค้าในหมวดเกษตรกรรม อุตสาหกรรมเกษตร ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสำคัญ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนตุลาคม 2557 มีมูลค่าอยู่ที่ 20.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -4.9 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่มากกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐทำให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนตุลาคม 2557 เกินดุลที่ 0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

  ประเทศคู่ค้าหลัก                     2556               2556                               2557
(สัดส่วนการส่งออกปี 55 >>ปี 56)                  Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     Q2     Q3    ก.ย.   ต.ค.   YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)                -0.3     3.9   -2.2   -1.7   -1.0   -1.0    0.3   -1.8    3.2    4.0    0.4
%qoq_SA / %mom_SA                     -    -1.3   -2.8    1.7    1.7   -1.3   -0.8   -1.1    2.5    4.7      -
 1.จีน (11.7%>>>11.9%)               1.4     7.3  -13.4   -0.3   12.9   -4.4   -4.2   -6.3   -1.7   -7.8   -5.0
 2.สหรัฐฯ (9.9%>>>10%)               0.8     0.8   -3.5    0.7    5.2    0.6    4.9    3.4    6.2    6.4    3.3
 3.ญี่ปุ่น (10.2%>>>9.7%)              -5.2     1.5   -6.3  -10.1   -5.5    2.0   -4.9   -1.0    1.4    4.1   -0.7
 4.สหภาพยุโรป (8.5%>>>8.8%)          2.7     7.0   -5.3    3.3    6.3    4.8   11.0    2.0    4.5    8.5    6.2
 5.ฮ่องกง (5.7%>>>5.8%)              0.7    11.2    7.7   -1.4  -12.0   -1.8    1.7  -13.5   -6.8    2.9   -4.1
 6.มาเลเซีย (5.4%>>>5.7%)            4.7    -0.8    5.8   12.4    2.0   -0.1   -0.1   -5.0  -11.2    n.a.   n.a.
 PS.อาเซียน-9 (24.6%>>>26.0%)        5.0     5.9    2.4   10.8    1.2   -5.4    0.2    1.1    8.8    n.a.   n.a.
 PS.อาเซียน-5 (17.2%>>>17.6%)        2.0     5.4   -0.7   11.2   -7.1  -11.0   -3.7   -4.2    4.3    n.a.   n.a.
 PS.อินโดจีน-4 (7.4%>>>8.3%)         11.8     7.0    9.9   10.0   20.3    7.1    8.8   13.6   19.0    n.a.   n.a.

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากภาคบริการ โดยพบว่าภาคบริการสะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.18 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี และถือเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 10 เดือน และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 12.3 ต่อเดือน สะท้อนถึงนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ภายในประเทศมากขึ้น โดยเป็นนักท่องเที่ยวจากจีนที่กลับมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 67.0 ต่อปี โดยมีปัจจัยหลักจากการยกเว้นค่าธรรมเนียมวิซ่าให้นักท่องเที่ยวจีนตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม - 8 พฤศจิกายน 2557 ประกอบกับการมีวันหยุดต่อเนื่องในวันชาติจีนในช่วงต้นเดือน ขณะที่ภาคเกษตรกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนตุลาคม 2557 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -5.2 ต่อปี ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลเป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือก ที่ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นปี ทำให้เกษตรกรลดการปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 ประกอบกับผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เนื่องจากมีการเร่งเก็บเกี่ยวไปแล้วในช่วงก่อนหน้าและยางพาราที่หดตัวลง เนื่องจากมีฝนตกชุกหนาแน่นในเขตภาคใต้ทำให้เกษตรกรกรีดยางพาราไม่ได้ รวมไปถึงผลผลิตสับปะรดโรงงาน ปาล์มน้ำมัน และผลผลิตสุกรที่ปรับตัวลดลงในเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะไก่เนื้อ และไข่ไก่จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและไม่มีรายงานสถานการณ์โรคระบาด สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 87.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยเป็นผลมาจากคำสั่งซื้อสินค้าที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงปลายปี โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น อาหาร และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ การค้าชายแดนยังคงขยายตัวได้ดี

    เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน           2556               2556                              2557
                                             Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     Q2     Q3    ก.ย.    ต.ค.   YTD
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)              18.8   22.1   24.3   21.4    9.3   -7.8  -13.3  -10.1   -7.0     6.1   -8.7
   %qoq_SA / %mom_SA                   -    4.6    6.6   -0.3   -1.4  -11.7   -0.7    3.9    4.9    12.3      -
ดัชนีผลผลิตเกษตรกรรม (%yoy)            -2.4   -2.8   -3.6   -8.6    2.5    1.6    4.2   -0.5   -4.2    -5.2    3.1
%qoq_SA / %mom_SA                          -0.4   -3.2   -0.2    5.4    4.4   -0.6   -5.5   -6.4     7.6      -

6. ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคงโดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคม2557 ขยายตัวร้อยละ 1.5ต่อปี ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากต้นทุนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางลดลงต่อเนื่อง และการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มแก๊สโซฮอล์ประกอบกับราคาเนื้อสัตว์ สัตว์น้ำและไข่ไก่ลดลงจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการสินค้าดังกล่าวค่อนข้างทรงตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 สำหรับอัตราการว่างงานเดือนตุลาคม2557 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 2.89 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ล่าสุด ณ สิ้นเดือนกันยายน2557 อยู่ที่ร้อยละ 47.2 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ ซึ่งสะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม2557 ที่อยู่ในระดับสูงที่ 160.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.8 เท่า

    เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ           2556               2556                               2557
                                             Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     Q2     Q3     ก.ย.   ต.ค.   YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                   2.2     3.1    2.3    1.7     1.7   2.0    2.5    2.0     1.8    1.5    2.1
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                  1.0     1.5    1.0    0.5     0.8   1.2    1.5    1.8     1.7    1.7    1.7
อัตราการว่างงาน (yoy%)                0.7     0.7    0.7    0.8     0.6   0.9    1.0    0.8     0.8    0.8    0.9
หนี้สาธารณะ/GDP                      45.7    44.2   44.5   45.5    45.7  46.5   47.1   47.2    47.2    n.a.  47.2
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)             -2.8     0.5   -6.7    0.8     2.9   8.2    0.5   -1.5    -0.9    n.a.   7.3
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)           167.2   177.8  170.8  172.3   167.2 167.5  168.2  161.6   161.6  160.6  160.6
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)         23.0    23.7   23.7   21.2    23.0  23.6   23.7   24.7    24.7   23.8   23.8

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ