รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 28 เมษายน 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 28, 2016 13:29 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 28 เมษายน 2559

Summary:

1. กระทรวงพาณิชย์แนะผู้ประกอบการไทยขยายลงทุนไปกาตาร์

2. ธนาคารกลางสหรัฐฯ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระหว่างร้อยละ 0.25 - 0.50 ต่อปี

3. BOJ เปิดฉากประชุมวันแรก ตลาดคาดอาจใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินเพิ่ม

1. กระทรวงพาณิชย์แนะผู้ประกอบการไทยขยายลงทุนไปกาตาร์
  • รมช.พาณิชย์ เผยว่า ได้หารือกับเอกอัครราชทูตกาตาร์ประจำประเทศไทย ในประเด็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งในปี 2565 กาตาร์จะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก จึงมีแผนจะก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ ตลอดจนสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะเข้าไปลงทุนในสาขาก่อสร้าง นอกจากนี้ รมช.พาณิชย์ เห็นว่าไทยสามารถสนับสนุนกาตาร์ในด้านสินค้าและบริการได้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า กาตาร์เป็นคู่ค้าอันดับที่ 25 ของไทยในตลาดโลก และเป็นอันดับที่ 3 ในภูมิภาคตะวันออกกลาง รองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (54-58) การค้าระหว่างไทยกับกาตาร์มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับกาตาร์ ในปี 58 การค้ารวมระหว่างไทยกับกาตาร์มีมูลค่า 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย สำหรับการเร่งก่อสร้างในกาตาร์เพื่อเตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกนั้น ไทยสามารถสนับสนุนกาตาร์ในด้านสินค้าและบริการ อาทิ อาหารและสินค้าฮาลาล เครื่องปรับอากาศและระบบทำความเย็น เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในบ้าน การออกแบบสนามภายนอกอาคาร และการปรับภูมิทัศน์ ซึ่งที่ผ่านมาทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีมาโดยตลอดในด้านเศรษฐกิจการค้า เนื่องจากกาตาร์เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของไทยและสามารถเป็นประตูสู่ประเทศในตะวันออกกลางได้
2. ธนาคารกลางสหรัฐฯ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระหว่างร้อยละ 0.25 - 0.50 ต่อปี
  • คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติ 9 ตอ 1 เสียง ใหคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไวที่ระหวางรอยละ 0.25 - 0.50 โดยแถลงการณหลังการประชุมระบุวา สภาวะตลาดแรงงานสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น แมวากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง การใชจายครัวเรือนขยายตัวปานกลาง แมวารายไดที่แทจริงของครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่แข็งแรงและความเชื่อมั่นของผูบริโภคยังอยูในระดับสูง ทั้งนี้ตั้งแตตนปตลาดบานปรับตัวดีขึ้น แตการลงทุนถาวรของธุรกิจและการสงออกสุทธิยังคงออนแอ อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ต่ำกว่าหมายระยะยาวที่รอยละ 2 โดยสวนหนึ่งมาจากราคาพลังงานที่ลดลงกอนหนานี้และราคานำเข้าที่มิใช่พลังงานลดลง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม FOMC ครั้งนี้เป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด หลังจากที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. 58 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 49 ทั้งนี้เครื่องชี้ล่าสุดของสหรัฐมีสัญญาณแผ่วลง เช่น ยอดสั่งซื้อสินคาคงทนของผู้ผลิตสหรัฐฯ ในเดือนมี.ค. 59 ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบจากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตรที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.6 สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจยังลังเลที่จะลงทุนเพิ่ม ส่วนหนึ่งเนื่องจากเงินดอลล่าร์แข็งค่า และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นของผูบริโภคสหรัฐฯ เดือน เม.ย. อยูที่ระดับ 94.2 (มีฐานปี 2528 = 100) ลดลงจากระดับ 96.1 ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าการคาดการณ์ ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี ในปี 59
3. BOJ เปิดฉากประชุมวันแรก ตลาดคาดอาจใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินเพิ่ม
  • สำนักงานธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มต้นการประชุมนโยบายการเงิน โดยมีกระแสคาดการณ์ในตลาดมากขึ้นว่า BOJ อาจจะใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อผลักดันอัตราเงินเฟ้อซึ่งยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมายอย่างมาก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มีความเป็นไปได้ว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ BOJ มีแนวโน้มที่จะหารือถึงความจำเป็นในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เนื่องจากมาตรการดอกเบี้ยติดลบ (ร้อยละ -0.1) ที่เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 59 ที่ผ่านมา ให้ผลลัพธ์ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในทางตรงกันข้ามเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมากลับปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลลบด้านแข่งขันทางการค้า กอรปกับญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 59 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของญี่ปุ่นในแง่ของห่วงโซ่อุปทานการผลิต เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำนวนมาก ก่อให้เกิดการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ อาทิ โตโยต้า ฮอนด้า และนิสสัน เป็นต้น โดยส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคการเงินของญี่ปุ่น ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลและ BOJ มีแนวโน้มที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะเงินฝืดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเศรษฐกิจจะมีการขยายตัว และไม่กลับสู่ภาวะเงินฝืด

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ