รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกรกฎาคม ปี 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 30, 2018 15:14 —กระทรวงการคลัง

"เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม ปี 2561 ขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีสะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวในระดับสูง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 69.1 สูงสุดในรอบ 42 เดือน สำหรับอุปสงค์จากต่างประเทศ สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง ด้านอุปทานได้รับแรงสนับสนุนจากภาคเกษตร โดยดัชนีผลผลิตการเกษตรขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่อง 8 เดือนติดต่อกัน ส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงของเกษตรกรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน"

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกรกฎาคม ปี 2561 ว่า "เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม ปี 2561 ขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีสะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวในระดับสูง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 69.1 สูงสุดในรอบ 42 เดือน สำหรับอุปสงค์จากต่างประเทศ สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง ด้านอุปทานได้รับแรงสนับสนุนจากภาคเกษตร โดยดัชนีผลผลิตการเกษตรขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่อง 8 เดือนติดต่อกัน ส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงของเกษตรกรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน" โดยมีรายละเอียดสรุป ได้ดังนี้

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากปริมาณ การจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกรกฎาคม 2561 ยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 21.4 ต่อปี และปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อปี ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนกรกฎาคม 2561 หดตัวร้อยละ -4.0 ต่อปี ขณะทีรายได้เกษตรกรที่แท้จริงในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่องขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 18.2 ต่อปี คิดเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 68 เดือน นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 69.1 สูงสุดในรอบ 42 เดือน โดยเป็นผลมาจากการส่งออกและ การท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 28.8 ต่อปี เนื่องจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 25.5 ต่อปี ขณะที่ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.8 อย่างไรก็ดี หลังจากหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน เรือ รถไฟ) ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 5.0 สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวที่ร้อยละ 15.4 ต่อปี ขณะที่ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี สูงสุดในรอบ 75 เดือน

อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนกรกฎาคม 2561 มีมูลค่า 20.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.3 ต่อปี และเป็น การขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในตลาดสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อินเดีย CLMV เป็นต้น ทั้งนี้ สินค้าที่สนับสนุนการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ที่ขยายตัวร้อยละ 11.2 และ 11.1 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับมูลค่า การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 20.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี โดยสินค้านำเข้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ เชื้อเพลิง และสินค้าทุนหักเครื่องบิน เรือ รถไฟ ทั้งนี้ ผลของมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนกรกฎาคม 2561 ขาดดุลจำนวน 516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนกรกฎาคม 2561 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยที่ยังคงขยายตัวได้โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.4 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในหมวดพืชผลสำคัญ และหมวดประมง ที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 และ 8.8 ตามลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI)อยู่ที่ระดับ 93.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 62 เดือน โดยความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับกำลังซื้อภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะภาคเกษตร นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2561 มีจำนวน 3.18 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย เป็นสำคัญ ในขณะที่ นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี เช่น นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศมูลค่า 166,378.22 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปี

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.8 แสนคน ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 7 เดือน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.0 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 205.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.4 เท่า

เอกสารแนบ
"เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม ปี 2561 ขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศ โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีสะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวในระดับสูง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 69.1 สูงสุดในรอบ 42 เดือน สำหรับอุปสงค์จากต่างประเทศ สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง ด้านอุปทานได้รับแรงสนับสนุนจาก ภาคเกษตร โดยดัชนีผลผลิตการเกษตรขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่อง 8 เดือนติดต่อกัน ส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงของเกษตรกรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน"

1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดี สะท้อนจากปริมาณ การจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกรกฎาคม 2561 ยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 21.4 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -4.4 ต่อเดือน สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -3.7 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนกรกฎาคม 2561 หดตัวร้อยละ -4.0 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อเดือน ขณะที่รายได้เกษตรกรที่แท้จริงในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 18.2 ต่อปี คิดเป็นการ ขยายตัวสูงสุดในรอบ 68 เดือน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อเดือน นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 69.1 สูงสุดในรอบ 42 เดือน โดยเป็นผลมาจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 28.8 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อเดือน เนื่องจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 25.5 ต่อปี สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 28.8 ต่อปี เนื่องจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 25.5 ต่อปี ขณะที่ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.8 ปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -3.5 ต่อเดือน อย่างไรก็ดี หลังจากหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน เรือ รถไฟ) ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 5.0 ปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -2.9 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัว ร้อยละ -2.7 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อเดือน สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี สูงสุดในรอบ 75 เดือน จาก การสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่สูงขึ้นร้อยละ 16.3

3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนกรกฎาคม 2561 เบิกจ่ายได้จำนวน 213.0 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 202.6 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายประจำ 177.1 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 25.5 พันล้านบาท และเป็น การเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 10.4 พันล้านบาท ทำให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 มีการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 2,368.8 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 2,070.5 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 298.3 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 180.8 พันล้านบาท

4.อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนกรกฎาคม 2561 มีมูลค่า 20.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.3 ต่อปี และเป็น การขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในตลาดสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อินเดีย CLMV เป็นต้น ทั้งนี้ สินค้าที่สนับสนุนการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ที่ขยายตัวร้อยละ 11.2 และ 11.1 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับมูลค่า การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 20.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี โดยสินค้านำเข้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ เชื้อเพลิง และสินค้าทุนหักเครื่องบิน เรือ รถไฟ ทั้งนี้ ผลของมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนกรกฎาคม 2561 ขาดดุลจำนวน 516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

5.เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม นอกจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยที่ยังคงขยายตัวได้ โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 และ 8.8 ตามลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 93.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 62 เดือน โดยความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากยอดคำสั่งซื้อและยอดขายโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับกำลังซื้อภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะภาคเกษตร สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2561 มีจำนวน 3.18 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -9.4 ต่อเดือน โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย เป็นสำคัญ ในขณะที่ นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี เช่น นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศมูลค่า 166,378.22 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปี

6.เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน โดยสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดพลังงาน และราคาน้ำมันขายปลีกที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.8 แสนคน ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 7 เดือน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.0 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 205.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.4 เท่า

ฉบับที่ 52/2561

วันที่ 30 สิงหาคม 2561

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ