รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤศจิกายน 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 26, 2018 15:16 —กระทรวงการคลัง

"เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2561 ได้รับแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี สูงสุดในรอบ 4 เดือน และการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 26.9 ต่อปี สำหรับด้านอุปสงค์ภายนอกประเทศจากการส่งออกสินค้ามีสัญญาณทรงตัวเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาขยายตัวเป็นบวก"

นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง พร้อมด้วย นายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤศจิกายนปี 2561 ว่า "เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2561 ได้รับแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี สูงสุดในรอบ 4 เดือน และการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 26.9 ต่อปี สำหรับด้านอุปสงค์ภายนอกประเทศจากการส่งออกสินค้ามีสัญญาณทรงตัวเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาขยายตัวเป็นบวก" โดยมีรายละเอียดสรุป ได้ดังนี้

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากปริมาณ การจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่ขยายตัวได้ดีที่ระดับร้อยละ 12.8 ต่อปี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 เดือน และปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ขยายตัวร้อยละ 9.4 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ระดับ 67.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย โดยมีปัจจัยลบจากราคาพืชผลทางการเกษตร จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยลดลง สถานการณ์สงครามการค้า และการขยายตัวชะลอลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในไตรมาสที่ 3

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดีจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างส่งสัญญาณชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ที่ระดับร้อยละ 26.9 ต่อปี เนื่องจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัว ร้อยละ 27.5 ต่อปี สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี ขณะที่ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.4 ต่อปี ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 นับตั้งแต่ เดือน มีนาคม 2561 จากการขยายตัวตามการก่อสร้าง สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ระดับ 108.0 คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กสูงขึ้นร้อยละ 3.3

อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้ากลับมาส่งสัญญาณชะลอตัว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนพฤศจิกายน 2561 มีมูลค่า 21.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -0.95 ต่อปี อย่างไรก็ดี การส่งออกในตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ CLMV ยังคงขยายตัวในระดับสูง โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ ที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 เดือน ทั้งนี้ สินค้าที่สนับสนุนการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เช่น เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และทูน่ากระป๋อง เป็นต้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 22.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนพฤศจิกายน 2561 กลับมาขาดดุลจำนวน 1,178 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนพฤศจิกายน 2561 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค การท่องเที่ยว โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนพฤศจิกายน 2561 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 ต่อปี โดยหดตัว ใน หมวดพืชผลสำคัญ และหมวดประมง ที่ร้อยละ -3.3 และ -17.0 ตามลำดับ ขณะที่ หมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 93.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 66 เดือน โดยค่าดัชนีที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการทั้งขนาดย่อม กลาง และขนาดใหญ่ เนื่องจากผู้ประกอบการเร่งผลิตสินค้าชดเชยวันทำงานน้อยกว่าปกติในเดือนธันวาคม และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ แฟชั่น อาหาร กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการปรับลดของราคาน้ำมันส่งผลดีทำให้ต้นทุนการประกอบการลดต่ำลง นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2561 มีจำนวน 3.18 ล้านคน กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี จากการขยายตัวต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่ขยายตัวในระดับสูง ร้อยละ 44.6 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 41 เดือน นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ นักท่องเที่ยวอินเดียและฮ่องกง เป็นต้น ทั้งนี้ ส่งผลทำให้เดือนพฤศจิกายน 2561 มีรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศ มูลค่า 167,418 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.18 ต่อปี

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ขยายตัวในอัตราชะลอลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.7 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2561 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 41.7 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ระดับ 203.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.2 เท่า

"เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2561 ได้รับแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี สูงสุดในรอบ 4 เดือน และการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 26.9 ต่อปี สำหรับด้านอุปสงค์ภายนอกประเทศจากการส่งออกสินค้ามีสัญญาณทรงตัวเทียบกับ ปีก่อนหน้า ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาขยายตัวเป็นบวก"

1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่ขยายตัวได้ดีที่ระดับร้อยละ 12.8 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อเดือน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 เดือน แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -0.4 ต่อเดือน และปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ขยายตัวร้อยละ 9.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 9.2 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนพฤศจิกายน 2561 หดตัวที่ร้อยละ -6.1 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -2.8 ต่อเดือน โดยเป็นการหดตัวในเขต กทม. ร้อยละ -7.5 ต่อปี และเขตภูมิภาคหดตัวร้อยละ -3.5 ต่อปี สำหรับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ระดับ 67.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยลบจากราคาพืชผลทางการเกษตร จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยลดลง สถานการณ์สงครามการค้า และการขยายตัวชะลอลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในไตรมาสที่ 3

2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดีจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างส่งสัญญาณชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ที่ระดับร้อยละ 26.9 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.53 ต่อเดือน เนื่องจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 27.5 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.1 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวลงที่ร้อยละ -10.4 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.4 ต่อปี ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 นับตั้งแต่เดือน มีนาคม 2561 จากการขยายตัวตามการก่อสร้าง และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อเดือน สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ระดับ 108.0 คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กสูงขึ้นร้อยละ 3.3

3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนพฤศจิกายน 2561 เบิกจ่ายได้จำนวน 226.3 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 199.7 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายประจำ 181.4 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 18.3 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 26.6 พันล้านบาททำให้ในปีงบประมาณ 2562 มีการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน647.5 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 603.7 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 43.8 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 47.0 พันล้านบาท

4.อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้ากลับมาส่งสัญญาณชะลอตัว โดยมูลค่า การส่งออกสินค้าในเดือนพฤศจิกายน 2561 มีมูลค่า 21.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -0.95 ต่อปี อย่างไรก็ดี การส่งออกในตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ CLMV ยังคงขยายตัวในระดับสูง โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ ที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 เดือน ทั้งนี้ สินค้าที่สนับสนุนการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เช่น เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และทูน่ากระป๋อง เป็นต้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 22.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนพฤศจิกายน 2561 กลับมา ขาดดุลจำนวน 1,178 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนพฤศจิกายน 2561 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาค การท่องเที่ยว โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนพฤศจิกายน 2561 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 ต่อปี โดยหดตัวใน หมวดพืชผลสำคัญ และหมวดประมง ที่ร้อยละ -3.3 และ -17.0 ตามลำดับ ขณะที่ หมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัว ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 93.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 66 เดือน โดยค่าดัชนีที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการทั้งขนาดย่อม กลางและขนาดใหญ่ เนื่องจากผู้ประกอบการเร่งผลิตสินค้าชดเชยวันทำงานน้อยกว่าปกติในเดือนธันวาคม และมี การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ แฟชั่น อาหาร กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการปรับลดของราคาน้ำมันส่งผลดีทำให้ต้นทุนการประกอบการลดต่ำลง นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2561 มีจำนวน 3.18 ล้านคน กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อเดือน จากการขยายตัวต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 44.6 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 41 เดือน นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ นักท่องเที่ยวอินเดียและฮ่องกง เป็นต้น ทั้งนี้ ส่งผลทำให้เดือนพฤศจิกายน 2561 มีรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศ มูลค่า 167,418 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.18 ต่อปี

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ขยายตัวในอัตราชะลอลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.7 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2561 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 41.7 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ระดับ 203.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.2 เท่า

ฉบับที่ 76 /2561

วันที่ 26 ธันวาคม 2561

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ