รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 28, 2021 11:28 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่  22 /2564                              วันที่ 28 พฤษภาคม 2564

รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน 2564

?เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2564 ยังคงขยายตัวได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุน
จากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 อย่างใกล้ชิดต่อไป?
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน 2564 พบว่า ?เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2564 ยังคงขยายตัวได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 อย่างใกล้ชิดต่อไป? โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณรถจักรยานยนต์
จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 65.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัด
ผลทางฤดูกาลขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.7 สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.8 ต่อปี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 60.8 และ 92.4 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาที่ระดับ 46.0 จากระดับ 48.5 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวล
ต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน อย่างไรก็ดี มาตรการกระตุ้นการบริโภค โดยเฉพาะโครงการเราชนะ และโครงการ ม33 เรารักกัน ยังช่วยสนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 16.5 ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 93.1 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
หลังขจัดผลทางฤดูกาลขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 สำหรับการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง
ร้อยละ -1.6 ต่อปี อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.2 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เช่นเดียวกันกับภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวร้อยละ 40.4 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 1.7
มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการส่งออกสินค้ารวมในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
อยู่ที่ 21,429.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 13.1 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 36 เดือน นอกจากนี้เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 25.7 ต่อปี โดยสินค้า
ที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ 1) สินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 135.9 และ 55.5 ต่อปี ตามลำดับ 2) สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะ ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 85.2 และ 40.0 ต่อปี ตามลำดับ 3) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น
4) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง
ที่ยังคงมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง และ 5) กลุ่มสินค้าเกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิตที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาด
คู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดสหรัฐ จีน สหภาพยุโรป และเอเชียใต้ ขยายตัวที่ร้อยละ 9.0 21.9 52.5 และ 149.9 ต่อปี ตามลำดับ
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานขยายตัวเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยบริการด้านการท่องเที่ยว พบว่า ในเดือนเมษายน 2564 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (Special Tourist Visa: STV) รวมถึงนักท่องเที่ยว
กลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ จำนวน 8,529 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และจีน ในขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัว
ร้อยละ 5,261.5 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญ อาทิ มันสำปะหลัง และผลผลิต
ในหมวดปศุสัตว์ เช่น สุกร และไก่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 84.3
จากระดับ 87.3 ในเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายน 2564 แต่ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง
เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าระดับราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564
อยู่ที่ร้อยละ 54.3 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 อยู่ในระดับสูงที่ 250.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
?เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2564 ยังคงขยายตัวได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 อย่างใกล้ชิดต่อไป?

1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณรถจักรยานยนต์
จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 65.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัด
ผลทางฤดูกาลขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.7 สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.8 ต่อปี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 60.8 และ 92.4 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาที่ระดับ 46.0 จากระดับ 48.5 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวล
ต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน อย่างไรก็ดี มาตรการกระตุ้นการบริโภค โดยเฉพาะโครงการเราชนะ และโครงการ ม33 เรารักกัน ยังช่วยสนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง


เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน          2563          2563          2564
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%YoY)          ?6.8%          ?0.0%          ?15.1%          ?5.1%          ?6.7%          ?3.9%          15.2%          60.8%          8.3%
%qoq_SA / %mom_SA                     0.5%          ?13.7%          7.5%          0.0%          3.6%          30.4%          ?0.1%
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%YoY)          ?30.6%          ?23.6%          ?60.2%          ?30.3%          ?5.0%          ?24.0%          18.4%          92.4%          ?12.2%
%qoq_SA / %mom_SA                     2.5%          ?49.5%          62.6%          12.2%          ?17.0%          7.9%          ?14.5%
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%YoY)          ?10.4%          ?5.9%          ?28.1%          ?2.9%          ?4.6%          1.2%          15.6%          65.8%          11.4%
%qoq_SA / %mom_SA                     ?0.8%          ?26.2%          40.8%          ?7.6%          5.4%          9.1%          7.7%
ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%YoY)          ?10.1%          ?2.2%          ?16.6%          ?11.2%          ?10.6%          8.8%          17.8%          35.6%          14.4%
%qoq_SA / %mom_SA                     ?7.7%          ?12.7%          12.3%          ?1.4%          12.8%          3.8%          4.2%
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)          52.6          60.8          48.2          50.4          51.1          48.6          48.5          46.0          47.9
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (%YoY)          1.2%          ?6.9%          ?4.0%          4.5%          8.4%          13.5%          15.6%          9.8%          12.7%

2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 16.5 ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 93.1 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
หลังขจัดผลทางฤดูกาลขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 สำหรับการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง
ร้อยละ -1.6 ต่อปี อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.2 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เช่นเดียวกันกับภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัว
ร้อยละ 40.4 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 1.7







เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน          2563          2563          2564
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน (%YoY)          ?10.3%          ?3.9%          ?17.0%          ?15.4%          ?4.9%          5.4%          14.8%          16.5%          8.0%
%qoq_SA / %mom_SA                     ?4.7%          ?10.7%          3.4%          7.7%          6.0%          4.9%          ?2.3%
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์(%YoY)          ?15.2%          ?24.4%          ?44.2%          ?1.3%          11.7%          5.9%          26.3%          93.1%          18.9%
 %qoq_SA / %mom_SA                     ?6.9%          ?25.6%          56.4%          2.7%          ?10.8%          0.9%          0.9%
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%YoY)          ?12.9%          ?17.8%          ?12.3%          ?10.4%          ?11.3%          5.0%          17.8%          40.4%          11.7%
%qoq_SA / %mom_SA                     ?11.6%          ?5.1%          9.3%          ?3.2%          4.5%          7.4%          1.7%
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%YoY)          ?0.5%          ?4.3%          4.0%          1.6%          ?3.1%          4.7%          11.4%          ?1.6%          3.2%
%qoq_SA / %mom_SA                     ?4.8%          9.2%          ?4.4%          ?2.6%          3.2%          2.3%          5.2%
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (%YoY)          ?1.8%          ?2.1%          ?3.6%          ?1.7%          0.4%          4.4%          5.4%          8.4%          5.4%

3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนเมษายน 2564 เบิกจ่ายได้จำนวน 231.1 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 222.8 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 186.8 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 36.1 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 8.3 พันล้านบาท ทำให้ใน 7 เดือนแรกในปีงบประมาณ 2564 มีการเบิกจ่ายรวม 1,916.5 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณ
ปีปัจจุบันจำนวน 1,774.3 พันล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,578.5 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 195.8 พันล้านบาท และ
การเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 142.2 พันล้านบาท

เครื่องชี้
ภาคการคลัง          FY2563          FY2563          FY2564
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          Q2          มี.ค.          เม.ย.          FYTD
รายจ่ายปีปัจจุบัน          2,943.9          729.5          813.6          710.4          690.4          938.5          612.9          258.5          222.8          1,774.3
 %YoY          5.6          ?18.3          21.6          20.4          8.6          28.7          ?24.7          ?42.9          ?31.0          ?4.9
รายจ่ายประจำ          2,575.9          703.5          750.4          602.8          519.3          865.5          526.2          211.9          186.8          1,578.5
%YoY          7.3          ?14.0          31.9          21.1          0.5          23.0          ?29.9          ?47.6          ?35.5          ?9.5
รายจ่ายลงทุน          367.9          26.0          63.3          107.6          171.1          73.0          86.7          46.6          36.1          195.8
%YoY          ?5.0          ?65.4          ?36.9          16.1          43.7          180.9          37.1          ?3.7          8.3          59.8
รายจ่ายปีก่อน          224.9          80.6          62.8          32.8          48.7          79.8          54.2          20.0          8.3          142.2
%YoY          ?11.8          13.9          2.9          ?54.0          ?6.0          ?1.0          ?13.7          ?0.9          ?36.4          ?9.1
รายจ่ายรวม          3,168.7          810.1          876.4          743.2          739.0          1,018.3          667.0          278.5          231.1          1,916.5
%YoY          4.1          ?15.9          20.0          12.3          7.5          25.7          ?23.9          ?41.1          ?31.2          ?5.2

4. มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการส่งออกสินค้ารวมในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 21,429.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 13.1 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 36 เดือน นอกจากนี้เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 25.7 ต่อปี โดยสินค้า
ที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ 1) สินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 135.9 และ 55.5 ต่อปี ตามลำดับ 2) สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะ ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 85.2 และ 40.0 ต่อปี ตามลำดับ 3) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น
4) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง
ที่ยังคงมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง และ 5) กลุ่มสินค้าเกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิตที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาด
คู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดสหรัฐ จีน สหภาพยุโรป และเอเชียใต้ ขยายตัวที่ร้อยละ 9.0 21.9 52.5 และ 149.9 ต่อปี ตามลำดับ

ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ          สัดส่วน          2563          2563          2564
                              Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
ส่งออกไปทั้งโลก          100.0%          -6.0%          1.0%          -15.2%          -7.8%          -2.0%          2.3%          8.5%          13.1%          4.8%
สหรัฐฯ          14.8%          9.6%          -2.6%          8.9%          17.6%          16.0%          12.5%          7.2%          9.0%          11.6%
จีน          12.9%          2.0%          -0.9%          12.1%          -0.2%          -2.6%          20.6%          35.4%          21.9%          21.0%
ญี่ปุ่น          9.9%          -6.7%          -5.5%          -13.5%          -12.2%          4.2%          6.2%          4.7%          2.7%          5.4%
สหภาพยุโรป          8.0%          -12.7%          -4.0%          -30.7%          -12.6%          -3.7%          8.5%          32.0%          52.5%          16.5%
ทวีปออสเตรเลีย          4.9%          -7.6%          -4.0%          -22.9%          -12.9%          13.0%          21.2%          16.9%          39.1%          24.4%
ฮ่องกง          4.9%          -3.6%          12.3%          -8.6%          -13.9%          -2.0%          -19.3%          -26.8%          -19.8%          -19.4%
เวียดนาม          4.8%          -7.9%          -7.9%          -21.0%          -5.8%          3.6%          12.9%          13.0%          39.3%          18.6%
สิงคโปร์          4.1%          7.2%          38.1%          -0.2%          4.3%          -10.6%          -37.4%          -25.9%          -41.7%          -38.7%
มาเลเซีย          3.8%          -15.7%          -22.9%          -32.0%          -6.7%          -0.6%          36.7%          70.6%          91.5%          47.9%
อินโดนีเซีย          3.3%          -16.0%          22.4%          -6.2%          -45.9%          -33.4%          -26.1%          -36.3%          -39.2%          -29.6%
ตะวันออกกลาง          3.1%          -13.2%          3.5%          -22.2%          -24.4%          -10.3%          0.0%          -0.2%          66.6%          10.5%
อินเดีย          2.4%          -25.2%          -11.4%          -67.2%          -21.7%          9.0%          8.0%          28.3%          193.0%          30.2%
แอฟริกา          2.4%          -19.4%          -15.5%          -38.2%          -17.0%          -5.6%          11.2%          11.2%          25.3%          14.1%
ฟิลิปปินส์          2.2%          -27.0%          -10.9%          -47.0%          -33.5%          -17.0%          4.0%          38.7%          124.6%          19.4%
เกาหลีใต้          1.8%          -10.3%          -4.9%          -25.4%          -7.1%          -0.7%          19.5%          40.9%          52.4%          27.0%
ไต้หวัน          1.6%          -5.6%          13.5%          -11.9%          -14.7%          -5.8%          9.8%          14.3%          27.7%          14.3%
     อาเซียน-9          24.0%          -11.7%          4.2%          -22.4%          -14.9%          -13.6%          -5.5%          -0.4%          12.5%          -1.6%
     อาเซียน-5          13.4%          -12.2%          5.3%          -19.7%          -19.0%          -15.0%          -10.2%          -2.5%          -4.4%          -8.8%
     อินโดจีน-4          10.5%          -11.1%          2.8%          -25.9%          -9.2%          -12.0%          0.6%          2.0%          44.3%          8.6%
5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานขยายตัวเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยบริการด้านการท่องเที่ยว พบว่า ในเดือนเมษายน 2564 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (Special Tourist Visa: STV) รวมถึงนักท่องเที่ยว
กลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ จำนวน 8,529 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และจีน ในขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัว
ร้อยละ 5,261.5 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญ อาทิ มันสำปะหลัง และผลผลิต
ในหมวดปศุสัตว์ เช่น สุกร และไก่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 84.3
จากระดับ 87.3 ในเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายน 2564 แต่ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน          2563          2563          2564
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%YoY)          ?5.6%          ?13.3%          ?5.0%          ?2.4%          ?2.1%          3.7%          3.1%          0.8%          3.1%
%qoq_SA / %mom_SA                     ?5.6%          5.8%          2.0%          ?1.6%          ?4.0%          ?18.9%          15.5%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%YoY)          ?9.3%          ?6.7%          ?20.4%          ?8.5%          ?1.6%          0.3%          4.1%          n.a.          0.3%
%qoq_SA / %mom_SA                     ?0.0%          ?15.3%          12.0%          3.6%          2.0%          ?7.1%          n.a.
อัตราการใช้กำลังการผลิต (%)          61.0%          66.9%          52.8%          60.4%          63.8%          67.0%          69.7%          n.a.          67.0%
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)          84.6          90.1          78.1          83.9          86.4          85.3          87.3          84.3          85.1
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%YoY)          ?83.2%          ?38.0%          ?100.0%          ?100.0%          ?99.9%          ?99.7%          ?99.2%          100.0%          ?99.6%
%qoq_SA / %mom_SA                     64.2%          ?100.0%          ?4.8%          -          77.6%          29.9%          151.7%
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (%YoY)          ?46.4%          ?30.3%          ?90.6%          ?38.0%          ?29.9%          ?34.5%          71.5%          5,261.5%          ?17.5%

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าระดับราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น : สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564
อยู่ที่ร้อยละ 54.3 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 อยู่ในระดับสูงที่ 250.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ          2563          2563          2564
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
ภายในประเทศ
อัตราการว่างงาน (%)          1.6%          1.1%          2.0%          1.3%          1.9%          2.0%          n.a.          n.a.          2.0%
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป  (%YoY)          ?0.8%          0.4%          ?2.7%          ?0.7%          ?0.4%          ?0.5%          ?0.1%          3.4%          0.4%
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (%YoY)          0.3%          0.5%          0.1%          0.3%          0.2%          0.1%          0.1%          0.3          0.2%
หนี้สาธารณะต่อ GDP(%)          51.8%          41.7%          45.8%          49.4%          51.8%          53.2%          54.3%          n.a.          54.3%
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)          16.5          9.8          1.3          6.6          ?1.2          ?1.7          -0.8          n.a.          ?2.6
ทุนสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)          258.1          226.5          241.6          251.1          258.1          253.9          245.5          250.4          250.4
ฐานะสุทธิ Forward (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)          28.3          34.4          24.5          24.2          28.3          30.6          32.7          30.7          30.7



















ตารางที่ 1 เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators) เดือนเมษายน 2564
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ
รายเดือน          2563          2563          2564
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          มี.ค.          เม.ย.          YTD
ภาวะเศรษฐกิจภายนอก
ราคาน้ำมันดิบ Dubai (ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล) /7          42.21          50.73          30.57          42.92          44.62          60.01          64.42          62.90          60.74
อัตราดอกเบี้ย Federal Fund (%)/7          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25
ด้านอุปสงค์
การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (%YoY) /1          ?6.8          ?0.0          ?15.1          ?5.1          ?6.7          ?3.9          15.2          60.8          8.3
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%YoY)/13          ?30.6          ?23.6          ?60.2          ?30.3          ?5.0          ?24.0          18.4          92.4          ?12.2
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%YoY)/12          ?10.4          ?5.9          ?28.1          ?2.9          ?4.6          1.2          15.6          65.8          11.4
ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY) /14          ?10.1          ?2.2          ?16.6          ?11.2          ?10.6          8.8          17.8          35.6          14.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวม (ระดับ) /5          52.6          60.8          48.2          50.4          51.1          48.6          48.5          46.0          47.9
การลงทุนภาคเอกชน
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY) /14          ?10.3          ?3.9          ?17.0          ?15.4          ?4.9          5.4          14.8          16.5          8.0
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์
(%YoY)/13          ?15.2          ?24.4          ?44.2          ?1.3          11.7          5.9          26.3          93.1          18.9
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม  (%YoY) /1          ?12.9          ?17.8          ?12.3          ?10.4          ?11.3          5.0          17.8          40.4          11.7
ยอดขายปูนซีเมนต์ (%YoY) /14          ?0.5          ?4.3          4.0          1.6          ?3.1          4.7          11.4          ?1.6          3.2
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (%YoY) /4          ?1.8          ?2.1          ?3.6          ?1.7          0.4          4.4          5.4          8.4          5.4
การค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการส่งออก (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ);ระบบศุลกากร/4          231.5          62.7          51.7          58.7          58.4          64.1          24.2          21.4          85.6
(%YoY) /4          ?6.0          1.0          ?15.2          ?7.8          ?2.0          2.3          8.5          13.1          4.8
ราคาสินค้าส่งออก  (%YoY) /4           ?0.8          ?0.4          ?2.0          ?0.7          0.1          2.1          3.5          3.9          2.6
ปริมาณการส่งออก  (%YoY)/14          ?5.3          1.4          ?13.4          ?7.2          ?2.1          0.1          4.8          8.8          2.1
มูลค่าการนำเข้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ระบบศุลกากร/4          207.0          58.2          44.8          48.7          55.3          63.6          23.5          21.2          84.9
(%YoY) /4          ?12.4          ?2.9          ?23.8          ?18.6          ?4.2          9.4          14.1          29.8          13.9
ราคาสินค้านำเข้า  (%YoY) /4           ?2.0          ?0.9          ?5.1          ?1.5          ?0.5          6.1          10.7          13.1          7.8
ปริมาณการนำเข้า (%YoY)/14           ?10.7          ?1.9          ?19.6          ?17.4          ?3.8          2.9          3.1          14.7          5.6
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ);ระบบศุลกากร /4           24.5          4.5          6.9          9.9          3.1          0.5          0.7          0.2          0.7
ด้านอุปทาน
ภาคการเกษตร
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (%YoY) /6          ?5.6          ?13.3          ?5.0          ?2.4          ?2.1          3.7          3.1          0.8          3.1
ดัชนีราคาสินค้าเกษตร  (%YoY)  /6          6.1          8.6          ?1.4          6.3          11.1          9.7          12.8          13.3          10.6
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (%YoY) /14          1.2          ?6.9          ?4.0          4.5          8.4          13.5          15.6          9.8          12.7
การจ้างงานภาคเกษตร (%YoY) /3          1.2          ?3.6          ?          0.4          3.9          ?          ?          ?          ?
ภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%YoY) /9          ?9.3          ?6.7          ?20.4          ?8.5          ?1.6          0.3          4.1          n.a.          0.3
มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY) /4          ?9.9          ?1.5          ?20.1          ?19.2          2.5          26.3          29.6          29.1          27.0
ปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY) /14          ?11.8          ?2.7          ?21.4          ?21.0          ?1.2          20.5          23.0          22.4          20.9
อัตราการใช้กำลังการผลิต (%) /9          61.0          66.9          52.8          60.4          63.8          67.0          69.7          n.a.          67.0
การจ้างงานภาคอุตสาหกรรม (%YoY) /3          4.7          ?1.6          ?          ?2.6          20.3          ?          ?          ?          ?
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)/8          84.6          90.1          78.1          83.9          86.4          85.3          87.3          84.3          85.1
ภาคบริการ
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ (ล้านคน)/10          6.7          6.7          0.0          0.0          0.0          0.0          0.0          0.0          0.0
(%YoY)  /14          ?83.2          ?38.0          ?100.0          ?100.0          ?99.9          ?99.7          ?99.2          100.0          ?99.7
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (%YoY)/10          ?46.4          ?30.3          ?90.6          ?38.0          ?29.9          -34.5          71.5          5,261.5          -17.5
การจ้างงานภาคบริการ (%YoY) /3          ?0.8          1.0          ?          3.1          ?4.6          ?          ?          ?          ?
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย (บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ)/2          31.4          31.8          31.7          31.3          30.6          30.3          30.8          31.3          30.5
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2          16.5          9.8          1.3          6.6          ?1.2          ?1.7          -0.8          n.a.          -2.6
ทุนสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2          258.1          226.5          241.6          251.1          258.1          253.9          245.5          250.4          250.4
ฐานะซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2          28.3          34.4          24.5          24.2          28.3          30.6          32.7          30.7          30.7
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ
อัตราการว่างงาน (%) /3          1.6          1.1          2.0          1.3          1.9          2.0          ?          ?          2.0
ดัชนีราคาผู้ผลิต  (%YoY)  /4          ?1.9          ?0.4          ?4.1          ?1.7          ?1.5          ?1.4          0.5          2.8          ?0.3
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป  (%YoY)  /4          ?0.8          0.4          ?2.7          ?0.7          ?0.4          ?0.5          ?0.1          3.4          0.4
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (%YoY)  /4          0.3          0.5          0.1          0.3          0.2          0.1          0.1          0.3          0.2
หนี้สาธารณะต่อ GDP(%) /1          51.8          41.7          45.8          49.4          51.8          54.3          54.3          ?          54.3

ภาคการคลัง (ปีงบประมาณ)/1           FY2563          FY2563
Q1          FY2563
Q2          FY2563
Q3          FY2563
Q4          FY2564
Q1          FY2564
Q2          FY2564
มี.ค.          FY2564
เม.ย.          FYTD
รายจ่ายปีปัจจุบัน (พันล้านบาท)/1          2,943.9          729.5          813.6          710.4          690.4          938.5          612.9          258.5          222.8          1,774.3
(%YoY) /1          5.6          ?18.3          21.6          20.4          8.6          28.7          ?24.7          ?42.9          ?31.0          ?4.9
รายจ่ายประจำ (พันล้านบาท)/1          2,575.9          703.5          750.4          602.8          519.3          865.5          526.2          211.9          186.8          1,578.5
(%YoY) /1          7.3          ?14.0          31.9          21.1          0.5          23.0          ?29.9          ?47.6          ?35.5          ?9.5
รายจ่ายลงทุน (พันล้านบาท)/1          367.9          26.0          63.3          107.6          171.1          73.0          86.7          46.6          36.1          195.8
(%YoY) /1          ?5.0          ?65.4          ?36.9          16.1          43.7          180.9          37.1          ?3.7          8.3          59.8
รายจ่ายปีก่อน (พันล้านบาท)/1          224.9          80.6          62.8          32.8          48.7          79.8          54.2          20.0          8.3          142.2
(%YoY) /1          ?11.8          13.9          2.9          ?54.0          ?6.0          ?1.0          ?13.7          ?0.9          ?36.4          ?9.1
รายจ่ายรวม (พันล้านบาท)/1          3,168.7          810.1          876.4          743.2          739.0          1,018.3          667.0          278.5          231.1          1,916.5
(%YoY) /1          4.1          ?15.9          20.0          12.3          7.5          25.7          ?23.9          ?41.1          ?31.2          ?5.2
ที่มา: 1/กระทรวงการคลัง 2/ธนาคารแห่งประเทศไทย 3/สำนักงานสถิติแห่งชาติ 4/กระทรวงพาณิชย์ 5/มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 6/สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 7/Reuters
8/สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 9/สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 10/กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 11/ กรมจัดเก็บประกอบด้วยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต
และกรมศุลกากร 12/กรมการขนส่งทางบก 13/บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด 14/คำนวณโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ