รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ 3-7 พฤศจิกายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 10, 2008 14:39 —กระทรวงการคลัง

Economic Indicators: This Week

สินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์เดือน ก.ย. 2551 ขยายตัวสูงต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 13.1 ต่อปี สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.1 โดยสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ระดับ 6,128.2 พันล้านบาท สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 6,072.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งนี้ การขยายตัวของสินเชื่อในไตรมาส 3 ปี 51 เป็นการเร่งตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจ (สัดส่วนร้อยละ 75.7 ของสินเชื่อรวม) ที่ร้อยละ 12.3 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 ในไตรมาส 2 ปี 2551 ส่วนหนึ่งสะท้อนความต้องการเงินทุนหมุนเวียนตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่สูงขึ้น

เงินฝากรวมของธนาคารพาณิชย์เดือน ก.ย. 2551 หดตัวต่อเนื่องที่อัตราร้อยละ -0.1 ต่อปี โดยเงินฝากรวมอยู่ที่ระดับ 6,731.4 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 6,743.0 พันล้านบาท หรือหดตัวคิดเป็นร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากรวมการระดมเงินผ่านเงินฝากและตั๋วแลกเงิน (B/E) ส่งผลให้การขยายตัวของปริมาณเงินฝากรวมกันในอัตราร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. 50

รายจ่ายรัฐบาลในเดือน ต.ค.51 (เบื้องต้น) ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 สามารถเบิกจ่ายได้ 93.4 พันล้านบาท หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ -39.9 ต่อปี เนื่องจาก พรบ. งบประมาณรายจ่ายปี 52 มีผลบังคับใช้ล่าช้าเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 51 ทำให้ในเดือน ต.ค. 51 รายจ่ายประจำสามารถเบิกจ่ายได้ประมาณ 84.2 พันล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ -30.4 ต่อปี โดยมีรายจ่ายที่สำคัญได้แก่การเบิกจ่ายให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพ 14.0 พันล้านบาท ในขณะที่ในส่วนของรายจ่ายลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้เพียง 563.0 ล้านบาท หดตัวลงที่ร้อยละ -97.9 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการบังคับใช้งบประมาณปี 52 ที่ล่าช้าเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การหดตัวในอัตราที่สูงมาจากปัจจัยฐานสูงของช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ได้มีการโอนงบรายจ่ายลงทุนให้แก่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอีกกว่า 21.0 พันล้านบาท

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. 51 ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี และใกล้เคียงกับที่ สศค. คาดการณ์ไว้ ราคาบริการสำคัญที่หดตัวลงประกอบด้วย ค่าไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา และแสงสว่าง (ซึ่งมีน้ำหนัก 5.1% ในตระกร้าเงินเฟ้อ) หดตัวถึงร้อยละ -36.4 ต่อปี และค่าโดยสารสาธารณะ (ซึ่งมีน้ำหนัก 4.5% ในตระกร้าเงินเฟ้อ) หดตัวร้อยละ -2.2 ต่อปี ซึ่งเป็นราคาบริการที่ได้รับอานิสงค์ด้านบวกจาก 6 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาล และการที่ราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างมาก ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงตามไปด้วย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ต.ค. 51 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย 10 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 6.3 และ 2.4 ต่อปี ตามลำดับ

Economic Indicators: Next Week

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือน ต.ค. 51 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 7.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ต่อปี เป็นผลมาจากการชะลอตัวของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปี ที่แม้ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวแต่ผลผลิตลดลงเนื่องจากได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายเดือนก.ย.-ต้นเดือนต.ค. ในขณะที่ยางพาราผลผลิตลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการกรีดยาง

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือนต.ค. 51 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.0 ต่อปี ชะลอลงมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 31.1 ต่อปี เป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา เริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากความต้องการของโลกชะลอตัวลง บวกกับราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับลดลงมาก โดยเฉพาะข้าวและยางพารา

ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์เดือน ต.ค. 51 คาดว่าขยายตัวที่ร้อยละ 13.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 25.9 ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากการขยายตัวที่สูงผิดปกติในเดือน ก.ย. 51 อันเนื่องมาจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ก.ย. 50 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่เริ่มมีทิศทางขยายตัวชะลอลงส่งผลให้รายได้เกษตรกรปรับลดลง และทำให้กำลังซื้อของประชาชนในแถบภูมิภาคลดลงตามไปด้วย

Foreign Exchange Review

ค่าเงินสกุลคู่ค้าหลักของไทยเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่าลงในเกือบทุกสกุล ยกเว้นค่าเงินเยน ดอลลาร์ไต้หวันและหยวนที่แข็งค่าขึ้น
  • ค่าเงินของประเทศคู่ค้าหลักของไทยส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) และอังกฤษ (BOE) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 bps และ 150 bps มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และ 3.00 ตามลำดับ โดยการปรับลดของ BOE มากกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก เป็นผลให้ค่าเงินปอนด์สเตอลิงค์อ่อนค่าลงมาก รวมถึงทำให้ตลาดกังวลว่าภาวะวิกฤตการณ์การเงินโลกยังคงรุนแรงต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ตัวเลขการจ้างงานและดัชนีการผลิตนอกภาคอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสหรัฐ (ADP Employment และ ISM Non manufacturing) ต่ำกว่าคาดมาก และคาดว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ (Non-farm payroll) จะปรับตัวลดลงเช่นกัน ส่งผลให้นักลงทุนที่เคยกู้เงินเยนเพื่อไปลงทุนในต่างประเทศยังคงถอนการลงทุนจากตลาดต่าง ๆ และกลับไปคืนเงินกู้ (Unwind Carry Trade) ส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น
  • ขณะเดียวกัน ค่าเงินเอเชียส่วนใหญ่อ่อนค่าลงเนื่องจากตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจเอเชียจะได้รับผลกระทบรุนแรงวิกฤตการณ์การเงินโลกจึงถอนการลงทุน โดยเฉพาะในเกาหลีและอินโดนิเซีย ค่าเงินวอนและรูเปียห์อินโดนิเซียจึงอ่อนค่าลงมาก แม้ทางการของทั้งสองประเทศจะออกมาตรการช่วยเหลือเศรษฐกิจแล้วก็ตาม
ค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินของคู่ค้าหลักส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นยกเว้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ดอลลาร์ไต้หวันและหยวนที่บาทอ่อนค่าลง
  • สาเหตุที่ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับคู่ค้าหลักแข็งค่าขึ้นเนื่องจากค่าเงินสกุลหลักทั้งในยุโรปและเอเชียอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐหลังจากที่BOE และ ECB ลดดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนถอนการลงทุนจากตลาดดังกล่าวกลับไปยังสหรัฐ ในขณะที่ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยมีแรงซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออก ขณะที่มีแรงขายเงินบาทจากผู้ผลิตและผู้นำเข้า ทำให้ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อย ซึ่งการที่ค่าเงินยุโรปและเอเชียลางสกุลอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลดังกล่าว
ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เมื่อเทียบกับคู่ค้าหลัก 11 สกุลเงิน (ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน หยวน ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน วอนเกาหลี
ดอลลาร์สิงคโปร์ รูเปียห์อินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย และเปโซฟิลิปปินส์)ณ วันที่ 7 พ.ย. 51 แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 49 ร้อยละ 4.35 แข็งค่าขึ้น
เล็กน้อยจากสัปดาห์ที่แล้วที่อยู่ที่ร้อยละ 4.00
  • เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับวอนเกาหลี (ร้อยละ 54.4) รูเปียห์อินโดนิเซีย(ร้อยละ 31.1) ปอนด์สเตอลิงค์ (ร้อยละ 28.2) ดอลลาร์ไต้หวัน (ร้อยละ 9.2)ดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 8.2) ดอลลาร์ฮ่องกง (ร้อยละ 7.9) ยูโร (ร้อยละ 7.3) ริงกิตมาเลเซีย (ร้อยละ 5.1) เปโซฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 3.2) และดอลลาร์สิงคโปร์(ร้อยละ 2.3) แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ เงินเยน (ร้อยละ 9.9) และหยวน (ร้อยละ

7.3)

Foreign Exchange and Reserves

ณ วันที่ 31 ต.ค.51 ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Net Reserve) เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 112.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของ Gross Reserve จำนวน 0.20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นการลดลงของ Forward Obligation จำนวน -0.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศรวมเพิ่มขึ้นน่าจะมาจากการตีค่ามูลค่าทุนสำรองในรูปดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น (Valuation Gain) จากการที่ค่าเงิน EU แข็งค่าขึ้นจาก 1.262 เป็น 1.273 ต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงสัปดาห์ดังกล่าว ประกอบกับคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าบริหารค่าเงินบาทเพื่อให้มีเสถียรภาพในสภาวะที่นักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนจากประเทศโดยเฉพาะจากการเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเกิดจากความไม่มั่นใจสถานการณ์การเงินจากวิกฤตการณ์การเงินโลก อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าลงของค่าเงินบาทในสัปดาห์ดังกล่าวนี้ สะท้อนว่าการเข้าแทรกแซงของทางการมีน้อยกว่าความต้องการขายเงินบาทของนักลงทุนต่างชาติ จึงทำให้ค่าเงินบาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า(วันที่ 24 ต.ค.51) ร้อยละ 0.83 จาก 34.64 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเป็น 34.93 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 31 ต.ค. 51

Major Trading Partners’ Economies: This Week

ISM Manufacturing Index ของสหรัฐเดือนต.ค. 51 ลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 38.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปี ทั้งนี้ดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 แสดงถึงการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตอุตสาหกรรมในขณะที่ระดับที่ต่ำกว่า 40 เป็นสัญญาณอันตรายแสดงว่าภาคอุตสาหกรรมกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยดุลการค้าออสเตรเลียเดือน ต.ค.51

ดุลการค้ามาเลเซียเดือน ก.ย.51 เกินดุลที่ 14.53 พันล้านริงกิตเพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 51 ที่เกินดุล 12.6 พันล้านริงกิต เป็นผลจากการส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยมีมูลค่าส่งออกรวมขยายตัวร้อยละ15.1 ต่อปี สาเหตุหลักจากอุปสงค์ในทวีปเอเชียยังดีอยู่ทำให้ชดเชยกับการส่งออกไปตลาดสหรัฐที่หดตัวลง โดยมูลค่าการส่งออกในตลาดอาเซียนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 25.4 ของการส่งออกทั้งหมด เติบโตร้อยละ 15 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้ารวมขยายตัวร้อยละ 11.9 ต่อปี

ดุลการค้าเกาหลีใต้เดือนต.ค. 51 เกินดุลที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากเดือนก่อนหน้าที่เคยขาดดุลที่ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลจากการนำเข้าที่ชะลอตัวลงมากกว่าการส่งออก โดยการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่รอ้ ยละ 45.8 ต่อปี ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง และการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 10.0 ต่อปี ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 28.7 ต่อปี ผลจากเศรษฐกิจคู่ค้ารายใหญ่ (จีนสหภาพยุโรป และสหรัฐ) ชะลอตัว ทั้งนี้ การขยายตัวของการส่งออกและการนำเข้าในเดือนต.ค. 51 เป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 13 เดือน โดยเฉพาะการส่งออกไปจีนที่หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี

ดุลการค้าอินโดนีเซียเดือน ก.ย.51 เกินดุลที่ 1.02 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 0.64 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯสาเหตุหลักจากการนำเข้าที่ชะลอตัวลงมากกว่าการส่งออก โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 28.3 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 30.3 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้าในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 45.4 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำมันและก๊าซลดลงตามราคาที่ปรับตัวลดลงในตลาดโลก

ดุลการค้าออสเตรเลียในเดือน ก.ย.51 เกินดุลที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือ ประมาณ 1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจาก 1.2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในเดือนก่อน นับเป็นการเกินดุลสูงสุดตั้งแต่เดือนมิ.ย. 1997 โดยมูลค่าการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 49.6 ต่อปี ซึ่งสินค้าส่งออกที่ขยายตัวมาก ได้แก่ เหล็ก สินแร่ และถ่านหิน ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 17.8 ต่อปี

ธนาคารกลางหลายประเทศประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในช่วงสัปดาห์นี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศหลังคาดว่าจะชะลอลงต่อเนื่องในไตรมาส 4 จนถึงปีหน้า โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหภาพยุโรปปรับลดลงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนโยบายของอังกฤษปรับลดลงถึงร้อยละ 1.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี สวิตเซอร์แลนด์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยนโยบายสาธารณรัฐเชกปรับลดลงร้อยละ 0.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเวียดนาม(Prime rate) ปรับลดลงร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 12.0 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของออสเตรเลียปรับลดลงร้อยละ 0.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.25ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนโยบายของอินเดีย (Repurchase rate) ลดลงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ ร้อยละ 7.5 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเกาหลีใต้ปรับตัวลดลงเป็นครั้งที่สามภายในรอบ 30 วัน อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี

Major Trading Partners’ Economies: Next Week

ดุลการค้าจีนคาดว่าจะเกินดุลลดลงเล็กน้อย ผลจากการส่งออกชะลอตัวลงมากกว๋าการนำเข้า โดยจากตัวเลข ?N BS PMI เดือนล่าสุด ต.ค. 51 อยู่ที่44.6 ลดจากระดับ 51.2 ในเดือน ก.ย. 51 ในขณะที่ CLSA PMI ลดลงมาอยู่ที่ 45.2 จากระดับ 47.7 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนถึงปริมาณการผลิตในประเทศที่ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับการส่งออกที่น่าจะลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การนำเข้าน่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อยตามภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ