สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 29, 2024 15:15 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22 - 28 เมษายน 2567

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การผลิต

1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลงผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยเดือนเมษายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.054 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนพฤษภาคม 2567 อีก 0.015 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด

2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.47 ร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว

คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนเมษายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.233 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 35.81 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2567 อีก 1.375 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 22.04 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด

1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,920 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,932 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08

ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,386 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,224 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,130 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 31,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88

ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 19,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.51

3) ราคาส่งออกเอฟโอบี

ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 848 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,167 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 861 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,222 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 55 บาท

ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 602 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,125 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน 597 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,649 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 476 บาท

ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 599 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,015 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 594 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,540 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 475 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.7532 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

2.1 สถานการณ์ข้าวโลก

1) การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนเมษายน 2567 ผลผลิต 515.526 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 514.424 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.21

2) การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนเมษายน 2567 มีปริมาณผลผลิต 515.526 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.21 การใช้ในประเทศ 521.346 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.33 การส่งออก/นำเข้า 53.448 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.43 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 172.152 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 3.27

  • ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปากีสถาน กัมพูชา เมียนมา จีน กายานา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย สหภาพยุโรป และตุรกี
  • ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป เวียดนาม อิรัก ซาอุดิอาระเบีย ไอเวอรี่โคสต์ เซเนกัล อิหร่าน บราซิล เบอร์กินาฟาโซ เม็กซิโก สหราชอาณาจักร เนปาล เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน มาเลเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กินี กานา ญี่ปุ่น เคนยา และโมซัมบิก
  • ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน ไทย และไนจีเรีย

2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

1) ไทย

นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (WAVE BCG Co., Ltd.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ รวมทั้งภาคธุรกิจของไทยบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้กลไกใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates: RECs) และคาร์บอนเครดิต รวมทั้งส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกันและแบ่งปันความรู้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับองค์กร ประเทศชาติ และโลกโดยรวม ซึ่งความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK และ WAVE BCG Co., Ltd. ในครั้งนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายของ EXIM BANK สู่การเป็น Green Development Bank และตอบสนองนโยบายรัฐบาล ตลอดจนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ขณะที่ WAVE BCG Co., Ltd. เป็นผู้ให้บริการจัดหาและซื้อขาย RECs ครบวงจรอันดับต้นๆ ของประเทศไทย มีความสามารถในการจัดหา RECs จากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จำนวน 8,000,000 RECs ต่อปี และตั้งเป้าหมายเพิ่ม RECs เป็น 15,000,000 RECs ต่อปี เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยบรรลุเป้าหมายในการลดหรือชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานและมีขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกเพิ่มมากขึ้น

นายเจมส์ แอนดริว มอร์ กล่าวว่า WAVE BCG Co., Ltd. อยู่ระหว่างการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการทั่วโลกได้รับการกดดันจากปัญหาโลกร้อนให้ต้องปรับตัวเพื่อเป็นทางรอดไม่ใช่ทางเลือก ดังนั้น ความร่วมมือระหว่าง WAVE BCG Co., Ltd. กับ EXIM BANK ในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศที่ปัจจุบัน ยังอยู่ในระดับสูงจาก 2 แหล่งผลิตหลัก ได้แก่ ภาคพลังงาน และภาคการเกษตร โดยจะผลักดันให้ผู้ประกอบการรวมทั้งเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้ RECs เป็นกลไกในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย โดยเริ่มดำเนินการในลักษณะนำร่องภายใต้โครงการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกสินค้าเกษตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรของไทย

นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการบุกเบิกเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมให้เกิดการซื้อขายคาร์บอนเครดิต กระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้และลงมือทำจริงในการสร้างระบบนิเวศคาร์บอนต่ำ ตั้งแต่ต้นน้ำในภาคเกษตรกรรมจนถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก อาทิ ก๊าซมีเทน ตั้งแต่แปลงนาข้าวไปจนถึงการส่งเสริมให้มีผู้รับซื้อข้าวที่มีก๊าซมีเทนต่ำ และในอนาคต EXIM BANK จะขยายความร่วมมือกับพันธมิตรอื่นๆ ต่อไป เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดโซ่อุปทานการส่งออก ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ EXIM BANK ตั้งเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2573 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 รวมทั้งมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนให้เป็นร้อยละ 50 ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดภายในปี 2571 ขณะเดียวกัน WAVE BCG Co., Ltd. ตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยและประชาคมโลก โดยใช้ RECs เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญสำหรับส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มากขึ้น ในรูปแบบของการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ทำให้ทุกภาคส่วน รวมถึงประชาชนในสังคมสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ และมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์

2) บังกลาเทศ

กระทรวงการอาหารของบังกลาเทศ ได้ออกประกาศกระทรวงฯ อนุญาตนำเข้าข้าวและจัดสรรปริมาณนำเข้าให?แก่บริษัทเอกชนจำนวน 30 บริษัท รวมทั้งสิ้น 127,000 ตัน จำแนกเป็น ข้าวขาว 33,000 ตัน ข้าวนึ่ง 91,000 ตัน และข้าวอื่นๆ 3,000 ตัน โดยมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งการปรับขึ้นราคาข้าวในตลาดค?ปลีกทั่วประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้นำเข้าเพื่อกำกับการจำหน่ายข้าวในตลาดภายในประเทศ ดังนี้

(1) ต?องนำเข้าและจำหน่ายในตลาดฯ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตนำเข?ข้าวจะต?องแจ้งปริมาณนำเข? และปริมาณคงเหลือต?อหน่วยงานระดับอำเภอของกระทรวงการอาหาร

(3) กระทรวงการอาหารสงวนสิทธิ์การอนุญาตนำเข?เพิ่มเติม และ

(4) ข้าวที่นำเข้าห้ามบรรจุถุงใหม่ ต้องบรรจุในถุงที่ออกจากโรงงานผลิต และต?องจำหน่ายข้าวตามบรรจุภัณฑ์เดิมที่นำเข?

ในการนี้ บริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้นำเข?ข้าวจะได้รับสิทธิลดหย?อนภาษีนำเข้าข้าวในอัตราใหม่ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ จากเดิมเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 62.50 ปรับลดลงเหลืออัตราร้อยละ 15.25 โดยสิทธิลดหย?อนภาษีนี้จะสิ้นสุดในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ ราคาข้าวคุณภาพต่ำในเมืองธากา กิโลกรัมละ 52 ตากา (กิโลกรัมละ 17.60 บาท) สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48 ตากา (กิโลกรัมละ 16.24 บาท) ซึ่งการจัดสรรปริมาณนำเข้าข้าวดังกล่าว ได้สะท?อนถึงความท้าทายด?นความมั่นคงทางอาหารของบังกลาเทศ รวมทั้งความท้าทายในการกำกับผู้ประกอบการนำเข้าข้าวรายใหญ่ด้วย

ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ตากา เท่ากับ 0.3372 บาท

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ