สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (มกราคม — มีนาคม 2556)(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 27, 2013 14:05 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากโรงงานรถยนต์ผลิตเพื่อให้ทันความต้องการของลูกค้าตามคำสั่งจอง จากนโยบายรถยนต์คันแรก และการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น
  • สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 38 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 40,040.73 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5,854 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 5 โครงการ คือ 1) โครงการของบริษัท อพอลโลไทร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตยางยานพาหนะ เช่น ยางรถบรรทุก ยางรถบัสยางรถยนต์ รถกระบะ รถเอสยูวี เป็นต้น มีเงินลงทุน 14,735.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,470 คน 2) โครงการของบริษัท สยามทรัค เรเดียล จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตยางยานพาหนะ เช่น ยางรถบรรทุก และยางรถบัส เป็นต้น มีเงินลงทุน 3,191.50 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 986 คน 3) โครงการของบริษัท มิ้น ออโตโมบิล พาร์ท (ประเทศไทย)จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตเคลือบผิว (Surface Treantment) และการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก สำหรับยานพาหนะ มีเงินลงทุน 3,200.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 230 คน 4) โครงการของ MR. Choichi Yuki ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตเกียร์อัตโนมัติ (AutomaticTransmission) มีเงินลงทุน 11,284.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 559 คน และ 5)โครงการของ Mr.Ignatius Loh Keab Loy ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานพาหนะ มีเงินลงทุน 1,084.50 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 376 คน (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 เมษายน 2556 จาก FOURIN)

  • อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในเดือนมกราคมของปี 2556 มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 6,632,997 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.50 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 4,981,359 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,651,638 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.70 และ ร้อยละ 8.70 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2556 จำนวน 1,964,463 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.62 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม 2556 จำนวน 889,946 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.42 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก ญี่ปุ่นมีการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม 2556 จำนวน 754,054 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ11.37 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก
  • สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในเดือนมกราคม ปี 2556 มีการจำหน่ายรถยนต์ 6,154,765 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 12.50 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 4,684,026 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 1,470,739 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ13.20 และร้อยละ 10.10 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญพบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคม 2556 จำนวน 2,034,488 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.06 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก สหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคม 2556 จำนวน
1,064,847 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.51 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก ญี่ปุ่นมีการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคม 2556 จำนวน 383,501 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.23 ของประมาณจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงสองเดือนแรก ปี 2556 (ม.ค.-ก.พ.) จำนวน 3,311,660 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 13.90 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 2,726,206 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.80 และการผลิตรถยนต์เพื่อ
การพาณิชย์ 585,454 คัน ลดลงร้อยละ 1.30 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2556 (ม.ค.-ก.พ.) มีจำนวน 3,389,107 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 14.60 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 2,837,417 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.50 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 551,690 คัน ลดลง ร้อยละ 5.40
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงสองเดือนแรก ของปี 2556 (ม.ค.-ก.พ.) จำนวน 1,802,256 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 6.80 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 729,599 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.30 จากช่วง
เดียวกันของปีที่แล้ว และการผลิตรถบรรทุก 1,072,657 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.90 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคม ของปี 2556 มีจำนวน 1,064,847 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 13.90 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 521,977 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.40 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 542,870 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 13.80
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศญี่ปุ่น มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคมของปี 2556 จำนวน 754,054 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.90 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 642,751 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 10.70 และการผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ 111,303 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 5.10 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคมของปี 2556 มีจำนวน 383,501 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 7.80 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 332,066 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 7.40 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จำนวน 51,435 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 7.80

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 721,460 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 499,356 คัน ร้อยละ 44.48 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 325,888 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 381,943 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 13,629 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 132.07, 9.73 และ 25.66 ตามลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสแรกของปี 2556 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 285,988 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 39.35 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยเป็นรถยนต์นั่ง 96,858 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.00 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) 189,130 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.00 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์ ลดลงร้อยละ 1.18 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ลดลงร้อยละ 3.71 แต่ปริมาณการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.71 และ 1.78 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2556 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 410,568 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 278,408 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.47 หากแยกตามประเภท รถยนต์ มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 199,772 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 159,089 คัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 21,646 คัน และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 30,061 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.53,14.05, 26.39 และ 49.27 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 3.84 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 7.52, 1.18 และ 25.90 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ PPV เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.80

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2556 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 283,966 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 220,721 คัน ร้อยละ 28.65 ถ้าหากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 125, 641.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 102,764.92 ล้านบาท ร้อยละ 22.26 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 16.10 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 6.57

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 มีมูลค่า46,400.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 80.23 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 29.23, 22.19 และ 10.87 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลียอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 504.31, 23.16 และ 22.17 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2556 มีมูลค่า 4,671.67 ล้านบาทลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 13.30 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 83.96,10.34 และ 1.77 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 18.07 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 มีมูลค่า 76,418.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 8.32 ประเทศ ที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 25.16, 10.57 และ 6.03 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.65

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 (ม.ค.- มี.ค.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 9,622.34 และ 6,373.90 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 14.23 และ 15.22 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 4.95 และการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 33.63 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 39.34, 25.31 และ 14.37 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.25 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นและเยอรมนีลดลงร้อยละ 39.40 และ 27.76 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 27.85, 12.55 และ 11.27 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากอินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 498.06 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 60.03 และ 2.56 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2556 มีปริมาณการผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผู้ประกอบการมีการเร่งการผลิตรถยนต์ตอบสนองต่อความต้องการรถยนต์ของผู้บริโภคภายในประเทศ อีกทั้งผู้ประกอบการรถยนต์จาก หลากหลายค่ายมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น สำหรับการส่งออกรถยนต์ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนียแอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้อุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่สองของปี 2556 คาดว่า จะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับ ไตรมาสแรกของปี 2556 โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่สองปี 2556 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 6 แสนคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 45-50 เนื่องจากมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าที่มียอดตกค้างจากนโยบายรถยนต์คันแรก รวมทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุน ซึ่งได้แก่ การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 586,136 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 685,022 คัน ร้อยละ 14.44 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์ แบบครอบครัว 496,335 คัน ลดลงร้อยละ 20.01 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 89,801คัน เพิ่มขึ้น 39.24 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.68 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.74 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว ลดลงร้อยละ 3.98

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556(ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 549,065 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 519,601 คัน ร้อยละ 5.67 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 263,923 คัน เพิ่มร้อยละ 8.96 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 251,095 คัน ลดลงร้อยละ 3.30 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 34,047 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 91.66 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.05 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.58, 2.07 และ 63.75 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2556 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 222,141 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน80,193 คัน และ CKD จำนวน 141,948 ชุด) ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 228,380 คัน ร้อยละ 2.74 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 8,903.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 7,761.77 ล้านบาท ร้อยละ 14.71 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD)ลดลงร้อยละ 6.67 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.70

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 มีมูลค่า 9,745.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.78 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออก สำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.87, 16.13 และ 12.85 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.50 และ 85.40 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 38.99

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 1,946.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 671.89 ล้านบาท ร้อยละ 189.73 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.28 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 ได้แก่เวียดนาม อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อย ละ 74.08, 6.72 และ 5.01 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เวียดนาม และอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 866.35 และ 3,178.61 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2556 การผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ต้องเร่งการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับภาคการเกษตร ซึ่งเป็นตลาดหลักของรถจักรยานยนต์ มีผลผลิตและราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รายได้ของเกษตรกรดีขึ้น อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่สองของปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2556 โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่สองปี 2556 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 6.2 แสนคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 10-15

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 43,123.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 16.99 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 6,924.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 8.53 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 4,165.32 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 10.51 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 และ 31.94 ตามลำดับ ในทางกลับกันชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 15.48

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 มีมูลค่า 52,878.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 6.32 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 16.08, 12.57 และ 11.56 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไป อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.96 และ 40.06 แต่การส่งออกไปญี่ปุ่น ลดลง 18.85 ตามลำดับ

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 2,126.78 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 31.81 การส่งออก ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 240.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 40.42 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ลดลง ร้อยละ 28.96 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.62

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 มีมูลค่า 5,226.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 26.48 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา และบราซิล คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.96, 10.17 และ 9.24 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย และกัมพูชา ลดลงร้อยละ 46.91 และ 14.77 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปบราซิล เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.71

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 103,650.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 80.07 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556เปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ลดลงร้อยละ 44.02 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดเนเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 52.59, 10.73 และ 4.80 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.94, 32.54 และ 179.96 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 5,226.20 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.48 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.73 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 40.41, 14.86 และ 8.91 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.99, 22.32 และ 10.19 ตามลำดับ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

  • เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงงดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนของรถที่ใช้แล้วที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ พ.ศ. .... ที่ กระทรวงคมนาคมได้แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทเฉพาะกาลในร่างกฎกระทรวงที่สำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่งแล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ดังนี้
  • กำหนดให้งดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนของรถที่ใช้แล้ว ที่เข้ามาจากต่างประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่นทุกจังหวัด ดังนี้ 1) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 2) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน 3) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และ 4)รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
  • กำหนดให้ผู้ใดประสงค์จะนำรถมาจดทะเบียนตามมาตรา 10 ให้นำมาจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ เว้นแต่รถที่ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ขึ้นบัญชีกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภายใน30 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ซึ่งต้องชำระภาษีสรรพสามิตและผ่านการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ให้นำมาจดทะเบียนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
  • วันที่ 15 มกราคม 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบสำหรับรถยนต์บรรทุก รถหัวลาก รถโดยสาร และรถใช้งานพิเศษ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) ให้คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ (ที่มา :www.thaigov.go.th)

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ