สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2556 (ตุลาคม – ธันวาคม 2556)(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 28, 2014 14:21 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2556 ทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว แม้ว่าการส่งออกมีการขยายตัวแต่การจำหน่ายในประเทศชะลอตัว เนื่องจากการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติภายหลังนโยบายรถคันแรก และปัญหาทางการเมืองส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ
          - สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2556 สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2556 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 56 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 72,367 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 12,710 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 11 โครงการ คือ 1) โครงการของบริษัท อาอิชิ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนเหล็กทุบขึ้นรูป มีเงินลงทุน 1,451 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 68 คน 2) โครงการของบริษัท อีซูซุเอ็นยิ่น แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล มีเงินลงทุน 2,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 177 คน 3) โครงการของบริษัท ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ มีเงินลงทุน 7,447.90 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,321 คน 4) โครงการของบริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค บางประกง จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ มีเงินลงทุน 1,410 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 117 คน 5) โครงการของบริษัท มูซาชิออโตพาร์ท จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนเกียร์สำหรับยานพาหนะ มีเงินลงทุน 1,500 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 56 คน 6) โครงการของบริษัทโชนัน ยูนิเทค (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ มีเงินลงทุน 1,030 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 56 คน 7) โครงการของบริษัท  สยามโตโยต้า อุตสาหกรรม จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตเครื่องยนต์แก๊สโซลีนสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและเครื่องยนต์แก๊สโซลีนสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล มีเงินลงทุน 5,196.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 399 คน  8) โครงการของบริษัท ยาสุนากะ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ มีเงินลงทุน 1,200 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 218 คน 9) โครงการของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานพาหนะ มีเงินลงทุน 33,248.30 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย         3,979 คน  10) โครงการของบริษัทมิตซูบิชิ  เทอร์โบชาร์จเจอร์เอเชีย จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิต Turbocharger และชิ้นส่วน มีเงินลงทุน 5,100 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,465 คน 11) โครงการของบริษัทสยาม เคียวซัน เด็นโซ่ จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนสำหรับยานพาหนะ มีเงินลงทุน 1,287.40 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 226 คน (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 จาก FOURIN)
  • อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2556 (ม.ค.-ส.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 53,349,295 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 0.60 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 39,843,947 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 0.33 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 13,505,348 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.40 เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2556จำนวน 12,334,369 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.12 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก ส่วนสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2556 จำนวน 7,361,625 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.80 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และญี่ปุ่นมีการผลิตรถยนต์ในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2556 จำนวน 6,251,877 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.72 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก
  • การจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลกในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2556 (ม.ค.-ก.ย.) มีการจำหน่าย รถยนต์ 59,720,463 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.67 แบ่งเป็น การจำหน่ายรถยนต์นั่ง 43,913,572 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 15,806,891 คัน เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.09 และ 5.33 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ พบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2556 จำนวน 15,882,585 คัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 26.59 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลก สหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2556 จำนวน 11,984,845 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.07 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ ทั้งโลก ญี่ปุ่นมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2556 จำนวน 4,073,265 คัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 6.82 ของปริมาณจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลก
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงสิบเอ็ดเดือนของ ปี 2556 (ม.ค.-พ.ย.) จำนวน 19,988,474 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 14.31 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 16,302,419 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.77 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 3,686,055 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.29 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสิบเอ็ดเดือนของปี 2556 (ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวน 19,859,161 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 13.52 แบ่งเป็น การจำหน่ายรถยนต์นั่ง 16,151,060 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.11 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 3,708,101 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.08
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงสิบเอ็ดเดือนของปี 2556 (ม.ค.-พ.ย.) จำนวน 10,346,370 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 7.43 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 4,084,621 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.19 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และการผลิตรถบรรทุก 6,261,749 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 8.25 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสิบเดือนของปี 2556 (ม.ค.-ต.ค.) มีจำนวน 13,220,685 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 8.03 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 6,382,037 คัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.30 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 6,838,648 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 10.70
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศญี่ปุ่น มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงสิบเดือนของปี 2556 (ม.ค.-ต.ค.) จำนวน 7,997,055 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 5.85แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 6,802,157 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 6.89 แต่การผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ 1,194,898 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 0.55 สำหรับ การจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสิบเอ็ดเดือนของปี 2556 (ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวน 4,952,303 คัน ลดลง จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.57 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 4,203,068 คัน ลดลง จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.99 แต่การจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์จำนวน 749,235 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 0.85

อุตสาหกรรมรถยนต์

          การผลิต  ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2556 มีจำนวน 2,457,057 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.85 และ 21.04 ตามลำดับ ส่วนรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ ลดลงร้อยละ 8.22 การผลิตโดยรวมเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1,121,303 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.64 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็น การผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ เพื่อการส่งออกร้อยละ 65.05 การผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 34.95 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซี.ซี. และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซี.ซี. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 526,828 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 730,099 คัน ร้อยละ 27.84 โดยแบ่งเป็น        การผลิตรถยนต์นั่ง 220,233 คัน ลดลงร้อยละ 31.22 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 297,530 คัน ลดลงร้อยละ 24.99 ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 9,065 คัน ลดลงร้อยละ 31.69  หากพิจารณาใน ไตรมาสที่สี่ของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 10.60 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ  ลดลงร้อยละ 14.88 และ 5.69 และ 39.81 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2556 มีจำนวน 1,326,055 คัน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของปี 2555 ลดลงร้อยละ 6.98 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์ PPV (รวม SUV) ลดลงร้อยละ 5.66, 10.30 และ 3.75 ตามลำดับ ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.37 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 296,037 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 427,078 คัน ร้อยละ 30.68 หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 133,354 คัน รถปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 123,130 คัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 16,089 คัน และรถยนต์ PPV (รวม SUV) 23,464 คัน โดยการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 38.26, 23.52, 22.93 และ 19.68 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์ PPV(รวม SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.91 และ 30.20 ตามลำดับ ส่วนรถยนต์นั่ง และรถยนต์ เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 8.54 และ 18.08 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2556 มีปริมาณ การส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 1,128,152 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการส่งออกรถยนต์ ปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.27 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 512,186.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 4.93 เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 280,811 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 284,806 คัน ร้อยละ 1.40 ถ้าหากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 128,515.78 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 134,473.57 ล้านบาท ร้อยละ 4.43 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์ ลดลงร้อยละ 8.45 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 8.72

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในปี 2556 มีมูลค่า 182,355.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว ร้อยละ 19.09 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 24.29, 16.95 และ 11.37 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.89 และ 16.97 ตามลำดับ แต่มูลค่าการส่งออกไปอินโดนีเซียลดลงร้อยละ 34.43 มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในปี 2556 มีมูลค่า 14,706.68 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 18.73 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 76.51, 9.47 และ 5.27 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 26.60 แต่การส่งออกไปออสเตรเลียและอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.12 และ 622.00 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในปี 2556 มีมูลค่า 318,573.58 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 1.41 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 24.84, 11.42 และ 4.60 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลียและซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.23 และ 3.45 ตามลำดับ แต่การส่งออกไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ลดลงร้อยละ 13.01

          การนำเข้า  การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในปี 2556 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 38,888.92 และ 19,415.53 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในปี 2555 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 11.08 และ 33.92 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาส  ที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.)  มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 10,871.59 และ 4,826.11 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.39 ส่วนรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 49.71          หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53 และ 3.93 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในปี 2556 ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 30.85, 22.81 และ 19.91 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 12.35 และ 36.93 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 28.61, 17.23 และ 12.29 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ลดลงร้อยละ 64.57 และ 4.45 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 198.74

สรุปและแนวโน้มรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2556 ทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 ส่วนการส่งออกมีการขยายตัวในตลาดหลัก ได้แก่ ประเทศในแถบโอเชียเนีย และตลาดอื่นๆ ได้แก่ ประเทศในแถบแอฟริกา หากพิจารณาอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่สามของปี 2556 พบว่าในส่วนของการผลิตและการส่งออกชะลอตัว แต่การจำหน่ายและการนำเข้าขยายตัว

ข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ ประมาณการว่า ในปี 2557 คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 2,500,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณ ร้อยละ 50 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 50 เนื่องจากการปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ ของตลาดในประเทศ ก่อนจะมีนโยบายรถยนต์คันแรก และตลาดต่างประเทศที่คาดว่าจะมีความต้องการมากขึ้น

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2556 มีจำนวน 2,218,625 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555 ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 2,606,161 คัน ร้อยละ 14.87 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,872,174 คัน ลดลงร้อยละ 20.29 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 346,451 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.53 เมื่อพิจารณาปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) มีจำนวน 471,723 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิต 582,117 คัน ร้อยละ 18.96 แบ่งเป็น การผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 390,672 คัน ลดลงร้อยละ 24.42 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 81,051 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.32 คัน

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยใน ปี 2556 มีจำนวน 2,004,496คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 2,130,067 คัน ร้อยละ 5.90 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 961,706 คัน ลดลงร้อยละ 2.77 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 889,035 คัน ลดลงร้อยละ 16.32 แต่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 153,755 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.87 ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) มีจำนวน 414,402 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 14.68 แบ่งเป็น การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 202,523 คัน ลดลงร้อยละ 7.47 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 173,938 คัน ลดลงร้อยละ 29.30 แต่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 37,941 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.48

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในปี 2556 มีจำนวน 935,747 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 333,780 คัน และ CKD จำนวน 601,967 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.28 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) มีมูลค่า 50,149.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 69.08 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยมีจำนวน 249,289 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 84,100 คัน และ CKD จำนวน 165,189 ชุด) เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4.78 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์มีมูลค่า 13,704.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 64.23

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2556 มีมูลค่า 37,689.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 24.63 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 15.92, 13.66 และ 13.43 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกามีมูลค่าลดลงร้อยละ 12.18 แต่การส่งออกไปสหราชอาณาจักรและอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.37 และ 40.34 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2556 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 5,105.15 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.35 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 738.83 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สี่ของปี 2555 ลดลงร้อยละ 45.62 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญของปี 2556 ได้แก่ เวียดนาม ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 70.01, 5.79 และ 5.66 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากทั้ง 3 ประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 107.74, 3.96 และ 57.34 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาการผลิตและจำหน่ายชะลอตัว แต่มูลค่าการส่งออกและนำเข้าขยายตัว โดยจากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการผลิตรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่า ในปี 2557 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ 2,415,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90 และการผลิตเพื่อการส่งออก ร้อยละ 10-15

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทย ในปี 2556 พบว่า มีมูลค่า 190,282.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 12.90 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 28,353.87 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.05 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ยนต์มีมูลค่า 19,715.27 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555 ลดลงร้อยละ 1.99 เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) มีมูลค่า 48,859.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 15.16 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 7,932.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 51.15 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 5,344.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 8.43 หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่ามูลค่า การส่งออกเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.91 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ลดลงร้อยละ 4.13 และ 5.04 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในปี 2556 มีมูลค่า 222,477.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4.27 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 14.65, 12.25 และ 11.68 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไป อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.45 และ 17.95 ตามลำดับ แต่การส่งออกไปญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 10.54

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ในปี 2556 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 6,709.13 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555 ลดลงร้อยละ 38.48 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 1,000.70 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.80 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 1,409.54 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 52.91 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 218.34 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.39 หากพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) ลดลงร้อยละ 6.98 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 25.81

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในปี 2556 มีมูลค่า 24,973.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 5.38 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ บราซิล กัมพูชา และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.92, 11.13 และ 11.05 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปบราซิลเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.75 แต่การส่งออกไปกัมพูชาและอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 1.17 และ 27.35 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทย ในปี 2556 มีมูลค่า 363,906.87 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ร้อยละ 7.68 เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) มีมูลค่า 79,713.45 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 30.77 หากพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาส ที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 11.12 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในปี 2556 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 50.69, 11.95 และ 4.58 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 12.91 แต่การนำเข้าจากจีน และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.40 และ 10.60 ตามลำดับ

          การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ของประเทศไทยในปี 2556 มีมูลค่า 18,043.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.09 หากพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 4,118.26 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 11.95 หากพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2556 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่ามูลค่า        การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 5.66 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2556 (ต.ค.-ธ.ค.) ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย  คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 37.24, 15.93 และ 10.26 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 2.02 และ 1.88 ตามลำดับ แต่การนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.95

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ออกประกาศ ฉบับที่ ส 1/2556 ลงวันที่ 30 กันยายน 2556 เพื่อให้การส่งเสริมกิจการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ 2 โดยเป็นการส่งเสริมให้เกิดการขยายฐานการผลิตรถยนต์ที่มีคุณสมบัติทางด้านการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัย ดังนี้

1)ด้านการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง

  • สำหรับรถยนต์ที่ใช้หรือสามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จะต้องมีอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่เกิน 4.3 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร ตาม Combine Mode ที่ระบุไว้ในข้อกำหนดทางเทคนิค UNECE Reg.101 Rev.2 หรือระดับที่สูงกว่า

2) ด้านสิ่งแวดล้อม

  • ต้องเป็นไปตามมาตรฐานมลพิษระดับ Euro 5 ตามข้อกำหนดทางเทคนิค UNECE Reg.83 (06) Rev.4 หรือระดับที่สูงกว่า
  • มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกจากท่อไอเสียไม่เกิน 100 กรัมต่อ 1 กิโลเมตร ที่วัดตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อกำหนดทางเทคนิค UNECE Reg.101 Rev.2 หรือระดับที่สูงกว่า

3) ด้านความปลอดภัย

  • มีคุณสมบัติในการป้องกันผู้โดยสาร กรณีที่เกิดอุบัติเหตุการชนด้านหน้าของตัวรถตามข้อกำหนดทางเทคนิค UNECE Reg.94 Rev.1 หรือระดับที่สูงกว่า
  • มีคุณสมบัติในการป้องกันผู้โดยสาร กรณีที่เกิดอุบัติเหตุการชนด้านข้างของตัวรถตามข้อกำหนดทางเทคนิค UNECE Reg.95 Rev.1 หรือระดับที่สูงกว่า
  • มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) โดยอย่างน้อยต้องมีระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (Antilock Braking System-ABS) ซึ่งได้ติดตั้งระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Stability Control System-ESC System) และระบบห้ามล้อดังกล่าวนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิค UNECE Reg.13H Rev.2 หรือระดับที่สูงกว่าด้วย

(รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ