สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1/2563

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 28, 2020 15:10 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1/2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 6.6 โดยปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวรวมถึงผลกระทบจากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 1/2563 อาทิ การผลิตรถยนต์ ภาวะการผลิตลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ปัจจัยหลักจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศและการส่งออก รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้งานแสดงรถยนต์ในเดือนเมษายนเลื่อนออกไปส่งผลกระทบต่อยอดขายในประเทศ การผลิตน้ำตาล เนื่องจากปีนี้โรงงานปิดหีบเร็ว เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกและสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยต่อไร่ลดลง การผลิตน้ำมันปาล์ม การผลิตลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวตั้งแต่ปีก่อนและยังคงยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 1/2563 อาทิ เครื่องปรับอากาศ จากปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากสินค้าเครื่องปรับอากาศประเภทอินเวอร์เตอร์ และสามารถกรองฝุ่นและเชื้อโรคหรือสิ่งปนเปื้อนในอากาศได้ รวมถึงสภาพอากาศที่ร้อนทั่วประเทศ เช่นเดียวกับปริมาณการส่งออกที่ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากกลุ่มประเทศอาเซียน และออสเตรเลียจากวิกฤตไฟป่า Hard Disk Drive ภาวการณ์ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยได้รับปัจจัยบวกหลังการปิดฐาน การผลิตที่มาเลเซียและย้ายฐานจากฟิลิปปินส์

แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2/2563

เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการนำเข้าเหล็กจากประเทศจีน ทั้งนี้ ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ได้แก่ โครงการก่อสร้างโครงสร้างของภาครัฐ

ไฟฟ้า คาดว่า จะมีการผลิตและมูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.5 และ 4.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องโดยจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าให้เกิดการชะลอตัวและเกิดความ ไม่แน่นอนทางด้านอุปสงค์ในระยะยาว อย่างไรก็ตามประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะควบคุมการระบาดฯ ได้ดี ทำให้ภาคการผลิตกลับมาดำเนินการได้ อาจจะส่งผลให้การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมไทยซึ่งเป็นห่วงโซ่การผลิตในการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าฟื้นตัวเพิ่มขึ้น

อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะมีการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากหลายประเทศในแถบเอเชียสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาคการผลิตกลับมาดำเนินการได้ รวมทั้งประชากรส่วนใหญ่ทำงานอยู่ที่บ้านและสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล จึงทำให้เกิดความต้องการใช้ Hard Disk Drive และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อรองรับความต้องการในการใช้งานบน Cloud และ Data Center ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 200,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50

รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 400,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

ปิโตรเคมี คาดว่าดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 - 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้ปิโตรเคมีเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ ซึ่งเกิดขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น หน้ากากอนามัย ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ เป็นต้น

เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่าจะได้อานิสงค์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 และการออก พรก.ฉุกเฉิน ที่ให้หน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ทำงานจากบ้านเพื่อลดการระบาดของโรค ส่งผลให้มีการสั่งซื้อสินค้าในระบบออนไลน์ และสั่งอาหารผ่านระบบเดลิเวอร์รี่มากขึ้น ส่งผลให้สินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์ขยายตัวได้เพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์จะชะลอตัวต่อเนื่อง

เซรามิก คาดว่ามีแนวโน้มหดตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้บางประเทศโดยเฉพาะประเทศคู่ค้า มีนโยบายปิดเมือง ปิดประเทศ รวมทั้งการชะลอคำสั่งซื้อ จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังการผลิตและแรงงานในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งปัญหาความยุ่งยากและความล่าช้าในขนส่งสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ แนวโน้มการผลิตการจำหน่ายในประเทศ และการส่งออกอาจจะกลับมาค่อย ๆ ขยายตัวได้ดีขึ้นตามความต้องการของการบริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิต และต้นทุนในการขนส่งลดต่ำลงด้วย

ปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิต และการจำหน่าย คาดว่าอาจจะลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และถูกกระทบเพิ่มเติมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม และการดำรงชีวิตของประชาชนไม่สามารถทำได้ตามปกติจากการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พรก.ฉุกเฉิน ของรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 มีผลให้ประชาชนบางส่วนได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ และเกิดความไม่แน่ใจในสภาวะทางเศรษฐกิจในอนาคต จึงชะลอการซื้ออสังหาริมทรัพย์ออกไป

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าการผลิตและการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวม จะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และกำลังซื้อในประเทศที่ยังคงชะลอตัว

ไม้และเครื่องเรือน การผลิตคาดว่าจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับทิศทางการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ตามแนวโน้มการปรับลดลงของคำสั่งซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีสาเหตุจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ยา คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.89 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ สำหรับตลาดส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในกัมพูชา ฟิลิปปินส์ และจีน

ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 2.58 ตามอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.99 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้น สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 10.00 เนื่องจากฐานตัวเลขของปีก่อนค่อนข้างต่ำ

รองเท้าและเครื่องหนัง คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังส่งผลกระทบให้โรงงานในประเทศคู่ค้าต้องหยุดการผลิต ถึงแม้ว่าจะมีโรงงานบางส่วนเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ รวมถึงผลจากการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทางและรองเท้า มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อในประเทศ อีกทั้งปัจจัยค่าเงินบาทที่อ่อนตัวซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออก

อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 2 ปี 2563 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมมีทิศทางลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกถึง ร้อยละ 80 สำหรับแนวโน้มการส่งออก (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่า จะมีทิศทางลดลงตามการผลิต อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยค่าเงินบาทที่อ่อนตัวอาจส่งผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออก โดยก่อนหน้าที่จะมีการระบาดฯ การส่งออกมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ถึง มกราคม 2563

อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จะหดตัวมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และมันสำปะหลัง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตของโรงงาน อย่างไรก็ตาม ไทยน่าจะยังคงได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทูน่าและซาร์ดีนกระป๋อง) ขยายตัวตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ต้องการรักษาระดับความมั่นคงด้านอาหาร สำหรับมูลค่าการส่งออกไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อาจจะทรงตัวหรือขยายตัวเล็กน้อย ตามความต้องการบริโภคและสำรองอาหารในต่างประเทศ แต่อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown ประเทศ ที่ส่งผลโดยตรงต่อ Food service ในสินค้าสำคัญ เช่น (1) ไก่เนื้อ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจาก EU ที่มีแนวโน้มจะปรับลดการนำเข้าไก่เนื้อจากประเทศที่ 3 (บราซิล ไทย และยูเครน) จำนวน 850,000 ตัน เนื่องจากปัญหาอุปทานส่วนเกิน (2) น้ำตาล อาจจะได้รับผลกระทบจากผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ เช่น บราซิล จะใช้อ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลมากขึ้น และลดการผลิตเอทานอลลง ตามความต้องการใช้น้ำมันทั้งโลกในปี 2563 ที่คาดว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 20 - 30 จากปี 2562 เนื่องจากระบบการขนส่งและการเดินทางที่ลดลงจากมาตรการ Lockdown ประกอบกับปริมาณการบริโภคน้ำตาลอาจจะลดลงมากกว่า 2 ล้านตันต่อปี เนื่องจากการปิด Food service (การบริโภคของทั้งโลกอยู่ที่ประมาณ 175 ล้านตันต่อปี)

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2563

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 หดตัวร้อยละ 1.8 โดยชะลอตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 และชะลอตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีการขยายตัวร้อยละ 1.5

ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1ของปี 2563 เป็นการชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าและชะลอตัวลงต่อเนื่องกันสามไตรมาส สอดคล้องกับการลดลงของการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ชะลอตัวลงมาก และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปทั่วโลก ส่งผลทำให้การผลิตรวมทั้งการส่งออกชะลอตัว

GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 หดตัวร้อยละ 2.7 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่มีการหดตัวร้อยละ 2.2 และชะลอตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 โดยชะลอตัวลงตามการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกและเพื่อบริโภคในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 102.55 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.46) ร้อยละ 5.2 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (109.83) ร้อยละ 6.6

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า

ในไตรมาสที่ 1ปี 2563 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 100.07 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (99.48) ร้อยละ 0.6 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (105.70) ร้อยละ 5.33

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตเครื่องปรับอากาศ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำมันปาล์ม และการผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 139.85 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (135.03) ร้อยละ 3.57 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (138.67) ร้อยละ 0.85

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตของที่ทำจากลวด โซ่ สปริง สลักเกลียว ตะปูควง และการผลิตเนื้อสัตว์ปีกสดแช่เย็นและแช่แข็ง เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต

ในไตรมาสที่ 1ปี 2563 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 66.68 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 63.33) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (ร้อยละ 70.82)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่า 90.13 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (91.73) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (95.23) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 97.83 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (104.57)

ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 1 ปี 256 3 ยังเป็นผลจากการระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่รุนแรงขึ้น รวมทั้งกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศลดลงจากการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และความเข้มงวดในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภาคธุรกิจประสบปัญหาการผลิตและจำหน่ายสินค้าลดลง รวมทั้งปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตด้านเกษตรลดลง นอกจากนี้ยังมีผลมาจากความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐชะลอตัว

การค้าต่างประเทศ
"มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นการส่งออกกลุ่มสินค้าที่ได้รับอานิสงค์จากสงครามการค้าที่เริ่มผ่อนคลายความตึงเครียดลง ภายหลังสหรัฐฯ และจีนลงนามจัดทำข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 ส่งผลให้ในภาพรวมสินค้าอุตสาหกรรมไทยยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นได้"

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 121,410.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่าการส่งออก 62,672.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้า 58,738.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออก ขยายตัวร้อยละ 1.1 และมูลค่าการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 1.4 ในขณะที่ดุลการค้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2562 เกินดุล 3,933.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออก

การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2562 มีมูลค่า 62,672.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่า สินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่าการส่งออก 5,085.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.7 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีมูลค่าการส่งออก 4,534.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.3 สินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าการส่งออก 50,832.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.1 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก 2,218.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.6

สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่าการส่งออก 4,615.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.8) ผลิตภัณฑ์ยาง (มูลค่าส่งออก 2,967.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.6) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (มูลค่าส่งออก 1,743.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.8) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (มูลค่าส่งออก 1,540.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.0) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (มูลค่าส่งออก 1,066.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.2)

ตลาดส่งออก

ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) มีสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 26.0 13.6 10.6 9.7 และ 9.5 ตามลำดับ เมื่อรวมสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลัก คิดเป็นร้อยละ 69.3 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 30.7 ของการส่งออกทั้งหมด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกไปยังอาเซียน (9) มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 4.5 ในขณะที่การส่งออกไปยังญี่ปุ่น สหภาพยุโรป(27) สหรัฐอเมริกา และจีน หดตัวร้อยละ 5.2 4.1 2.8 และ 0.7 ตามลำดับ

โครงสร้างการนำเข้า

การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2562 มีมูลค่า 58,738.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่า สินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่าการนำเข้า 9,993.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.7 สินค้าทุนมีมูลค่าการนำเข้า 14,449.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.6 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่าการนำเข้า 22,367.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.2 สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 6,927.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.2 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งมีมูลค่าการนำเข้า 3,452.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.2 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 1,549.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 29.5

แหล่งนำเข้า

ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) มีสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 19.8 19.8 13.5 10.1 และ 8.4 ตามลำดับ เมื่อรวมสัดส่วนการนำเข้าไปยังตลาดสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 71.6 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 28.4 ของการนำเข้าทั้งหมด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยพบว่าการนำเข้าอาเซียน (9 ประเทศ) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 4.6 รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ขณะที่การนำเข้าจากตลาด ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวลงร้อยละ 7.5 1.2 และ 0.4 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 1 ปี 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 จากการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนหดตัว เช่น เหล็กเส้นกลม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก

การผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 92.4 หดตัวจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.5 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 6 ไตรมาส ตั้งแต่ ไตรมาส 4 ปี 2561) แต่ขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 4.9 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 7.1 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ 34.5 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน และลวดเหล็ก หดตัวร้อยละ 21.9 และ 18.9 ตามลำดับ ด้านการผลิตเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 5.2 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 17.6 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม หดตัวร้อยละ 17.7 และ 16.9 ตามลำดับ การผลิตเหล็กในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 หดตัว เนื่องจาก การชะลอตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ ตามการชะลอตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั้งเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก

การจำหน่าย ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีปริมาณ 4.4 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.3 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 3 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2562) และหดตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 1.4 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 3.9 จากการจำหน่ายเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 4.6 และเหล็กลวด หดตัวร้อยละ 2.6 แต่การจำหน่ายเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากการจำหน่ายเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (ทั้งชนิด HDG และ EG) ขยายตัวร้อยละ 12.1 และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 4.7

การนำเข้าไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.2 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 3 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2562) และหดตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 7.9 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 17.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กลวด ประเภท Alloy Steel หดตัวร้อยละ 31.6 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และญี่ปุ่น) รองลงมา คือ เหล็กเส้น ประเภท Carbon Steel และ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 31.4 และ 26.3 สำหรับการนำเข้าเหล็กทรงแบน หดตัว ร้อยละ 12.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Alloy Steel หดตัวร้อยละ 71.8 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และญี่ปุ่น) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม หดตัวร้อยละ 40.9 และ 34.3 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดการณ์ว่าจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และการนำเข้าเหล็กจากประเทศจีน ทั้งนี้ ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ได้แก่ โครงการก่อสร้างโครงสร้างของภาครัฐ

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การผลิตที่จีนและญี่ปุ่นหยุดการผลิตจึงส่งผลให้ตลาดต่างประเทศหันมานำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน และตู้เย็น ส่วนการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาเซียน และจีน

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 1 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 108.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 20.6 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 (%YoY) เนื่องจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายเคเบิ้ล หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ สายไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน และตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8, 13.3, 11.4, 9.7, 7.2 และ 2.7 ตามลำดับในขณะที่เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ พัดลมตามบ้าน มอเตอร์ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ และหม้อหุงข้าว ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.8, 10.8, 9.1, 6.7, 1.7 และ 0.9 ตามลำดับ

การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 1 ปี 2563 สินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สายเคเบิ้ล เครื่องปรับอากาศ สายไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน พัดลม และตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.4, 18.2, 5.9, 5.0, 2.8 และ 2.8 ตามลำดับ ในขณะที่เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ไฟฟ้าและหม้อหุงข้าว ลดลงร้อยละ 56.0, 18.1, 7.6, 7.4 และ 4.1 ตามลำดับ

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 3,821.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 4.6 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.0 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 6.2, 3.4 และ 0.6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก และเครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.1, 29.0 และ 14.8 ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 1 ปี 2563 มีมูลค่าการส่งออก 6,028.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 3.0 (%QoQ) ในขณะที่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.8 (%YoY) จากตลาดสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน และอาเซียน ลดลงร้อยละ 8.5, 7.3, 6.6 และ 2.7 ตามลำดับ โดยสินค้าเครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ พัดลม หม้อหุงข้าว และตู้เย็น ปรับตัวลดลงร้อยละ 37.0, 15.8, 9.9, 6.1 และ 2.2 ในขณะที่สินค้าโซล่าร์เซลล์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ หม้อแปลงไฟฟ้า และเครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.6, 49.4, 11.6, 7.9 และ 1.2 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

คาดว่า จะมีการผลิตและมูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.5 และ 4.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องโดยจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าให้เกิดการชะลอตัวและเกิดความไม่แน่นอนทางด้านอุปสงค์ในระยะยาว อย่างไรก็ตามประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาคการผลิตกลับมาดำเนินการได้ อาจจะส่งผลให้การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมไทยซึ่งเป็นซัพพลายเชนในการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าฟื้นตัวเพิ่มขึ้น"

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่ Work From Home และสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล จึงทำให้เกิดความต้องการใช้ Hard Disk Drive และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อรองรับความต้องการในการใช้งานบน Cloud และ Data Center ที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและจีน

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 94.0 ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 4.2 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Semiconductor devices transistors, PWB, HDD และ PCBA เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2, 11.3, 9.4 และ 7.6 ตามลำดับ เนื่องจากเนื่องจากมีการโยกคำสั่งซื้อจากโรงงานที่ปิดตัวในจีนมาซื้อจาก โรงงานในไทยเพิ่มขึ้น ในขณะที่การผลิต Printer และ Integrated circuits (IC) ลดลงร้อยละ 21.9 และ 0.3 ตามลำดับ เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบทำให้ไม่สามารถ นำเข้าวัตถุดิบ (Supply chain disruption) หลังจากหลายประเทศที่เป็นซัพพลายเออร์ประกาศปิดประเทศ

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1ปี 2563 มีมูลค่าการนำเข้า 8,181.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 13.9 (%QoQ) และปรับตัวลดลงร้อยละ 6.5 (%YoY) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 31.2 เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.6 วงจรรวม (IC) ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 ในขณะที่ไดโอด ทรานซิสเตอร์ กลอุปกรณ์กึ่งตัวนำ และส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่าการส่งออก 8,498.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 9.3 (%QoQ) ในขณะที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.3 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 และ 13.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 โดย HDD ยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและนอกประเทศ เพื่อรองรับความต้องการในการใช้งานบน Cloud และ Data Center ทำให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกเพิ่มขึ้น ส่วนวงจรรวม (IC) ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.7 และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ปรับตัวลดลงร้อยละ 46.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563
"สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 คาดว่า จะมีการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากหลายประเทศสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้ภาคการผลิตกลับมาดำเนินการได้ รวมทั้งประชากรส่วนใหญ่ Work From Home และสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล จึงทำให้เกิดความต้องการใช้ Hard Disk Drive และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อรองรับความต้องการในการใช้งานบน Cloud และ Data Center ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง"
อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีปริมาณการผลิตลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดในประเทศและส่งออกชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ส่วนตลาดในประเทศมีการหยุดการผลิตชั่วคราวตามมาตรการลดการแพร่ระบาดไวรัสฯ ปัญหาภัยแล้ง และเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 200,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50

การผลิตรถยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 453,682 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 2.86 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 19.20 (%YoY) โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 38 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 60 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 2

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 200,064 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 18.54 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.09 (%YoY) แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ร้อยละ 39 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 44 รถ PPV และ SUV ร้อยละ 12 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 5

การส่งออกรถยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 250,281 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 7.42 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.53 (%YoY) โดยแบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 35 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 55 และรถ PPV ร้อยละ 10

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 2,299.29 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 2.27 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.90 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 2,621.36 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 3.24 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.57 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีปริมาณการผลิตชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการชะลอตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก จากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 400,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

การผลิตรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 475,130 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 3.42 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 7.17 (%YoY)

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 430,730 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 10.02 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 6.78 (%YoY)

การส่งออกรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 249,525 คัน (เป็นการส่งออก CBU 104,753 คัน และ CKD 144,772 ชุด) ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 9.39 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.00 (%YoY)

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 231.49 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 5.49 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.72 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา บราซิลและญี่ปุ่น

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 212.72 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 8.74 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 32.35 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกและการนำเข้าหดตัว เป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องชะลอตัว ทำให้ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง

การตลาดและการจำหน่าย

ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 3.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 1.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีผลผลิตที่หดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี และสี

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 2.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัว ร้อยละ 1.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี และสี

การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 1,974 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 4.90 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ การส่งออกหดตัวใน ตลาดหลัก เช่น จีน อินโดนีเซีย และอินเดีย

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 3,813 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.55 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 3.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) อันเป็นผลมาจากภัยแล้งและการชะลอตัวในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ปุ๋ยเคมี และเคมีภัณฑ์ อนินทรีย์ลดลง

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์ยังคงหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เช่น ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

อุตสาหกรรมพลาสติก

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีปริมาณการส่งออกขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวตามความต้องการของตลาดประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบลดลง และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความต้องการพลาสติกบางประเภทเพิ่มขึ้น

การผลิต และการตลาด

ดัชนีผลผลิต - ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 5.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 3.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน(%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ แผ่นฟิล์มพลาสติก

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ขยายตัว ร้อยละ 0.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 6.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ แผ่นฟิล์มพลาสติก

มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 1,054 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 2.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกขยายตัวสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918)มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 1,182 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่ขยายตัวร้อยละ 1.65 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917)

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่าปริมาณการส่งออกและปริมาณการนำเข้าจะขยายตัว เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศคู่ค้าหลักยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ทั้งจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2563การผลิตและการส่งออกปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 5 - 8 (QoQ) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ซึ่งมีตลาดการค้าหลักอย่างจีนเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของเชื้อ ทำให้โรงงานหลายแห่งในจีนปิดชั่วคราว ส่งผลต่อภาคการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่พึ่งวัตถุดิบจากจีน ต้องหยุดชะงัก รวมถึงเชื้อยังมีการขยายวงกว้างไปทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2563

การผลิตและการจำหน่าย

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 102.91 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.69 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene (-10.83%), Propylene (-8.51%) และ Benzene (-6.10%) ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PS resin (-5.60%), EPS (-4.97%), PE resin (-4.49%), PP resin (-1.87%) และ PET resin (-1.32%)

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 100.36 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.55 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีส่งสินค้าลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene (-11.39%), Benzene (-8.66%) และ Ethylene (-8.14%) ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ ABS resin (-14.80%), PE resin (-11.08%), PP resin (-8.50%), PS resin (-7.52%) และ EPS (-3.19%)

การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 2,547.02 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.35 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน (31.87%), อินโดนีเซีย (10.76%), อินเดีย (10.09%), ญี่ปุ่น (8.02%) และ เวียดนาม (7.81%) เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน (-29.77%) เช่น Para-Xylene (-35.34%), Terephthalic Acid (-44.49%), Methyloxirane (-51.59%), Vinyl Chloride (-16.63%) และ Ethylene (-75.55%) และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย (-14.36%) เช่น PE resin (-26.04%), PP resin (-16.56%), PC resin (-18.51%), PVC resin (-21.26%) และ PET resin (-38.14%) เป็นต้น

การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 1,416.98 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.78 โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น (15.12%), เกาหลีใต้ (13.78%), จีน (13.64%), สิงคโปร์ (10.81%) และสหรัฐอเมริกา (10.23%) เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าลดลงเป็นกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย (-6.85%) เช่น PE resin (-15.08%), PP resin (-13.60%), Nylon resin (-22.86%), PMMA resin (-1.54%) และ PES resin (-6.30%) เป็นต้น ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานขยายตัว (17.23%)เช่น Styrene (16.53%), Ethylene (10.67%), Propylene (5.06%) และ Acetic Acid (5.06%) เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2563

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่า ภาพรวมจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยดัชนีผลผลิตและการส่งสินค้าอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 - 3 และการนำเข้าอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้ปิโตรเคมีเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เช่น หน้ากากอนามัย ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับการส่งออกอาจจะยังคงชะลอตัวจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ(%YoY) ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง กระดาษคราฟต์ กระดาษลูกฟูก และกระดาษพิมพ์เขียน ในขณะที่การส่งออกมีมูลค่ารวมลดลงเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) และ (%YoY) สำหรับการนำเข้ามีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) แต่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบ(%YoY)

การผลิต ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นในทุกสินค้า ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง กระดาษคราฟต์ กระดาษลูกฟูก และกระดาษพิมพ์เขียน ร้อยละ 22.88 2.12 9.18 15.69 และ 5.81 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นในสินค้าชนิดเดียวกัน ร้อยละ 9.88 10.21 5.24 2.06 และ 0.17 ตามลำดับ ส่งผลให้มีการผลิตกล่องกระดาษเพื่อการบรรจุและสนองความต้องการของตลาดตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง รวมถึงความต้องการกล่องกระดาษเพื่อการบรรจุสำหรับหีบห่อ โดยเฉพาะการค้าในระบบออนไลน์ที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอยู่กับบ้านมากขึ้นตามคำแนะนำของรัฐบาล

การส่งออกเยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษหนังสือและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 492.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 2.93 (%QoQ) จากกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ แต่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มเยื่อกระดาษ ร้อยละ 12.56 แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าส่งออกรวมลดลง ร้อยละ 0.79 ในกลุ่มเยื่อกระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ อย่างไรก็ตาม กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์ ยังส่งออกได้เพิ่มขึ้นในสินค้ากระดาษคราฟต์ กระดาษแข็ง และบรรจุภัณฑ์กระดาษ มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้

การนำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 675.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.72 (%QoQ) ในกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และเมื่อเปรียบ เทียบ (%YoY) นำเข้าลดลง ร้อยละ 6.88 ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคระบาด COVlD-19 นำเข้าลดลงทั้งกลุ่มเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ และกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ซึ่งในไตรมาสนี้แม้การผลิตในประเทศจะเพิ่มขึ้น แต่การนำเข้าวัตถุดิบหลักส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด COVlD-19 ส่งผลให้มีการนำเข้าน้อยลง

แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2563

แนวโน้มอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ คาดว่า จะได้อานิสงค์จากโรคระบาด COVlD-19 และการออก พรก.ฉุกเฉิน ที่ให้หน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ทำงานจากบ้านเพื่อลดการระบาดของโรค ส่งผลให้มีการสั่งซื้อสินค้าในระบบออนไลน์ และสั่งอาหารผ่านระบบเดลิเวอรรี่มากขึ้น ส่งผลให้ supply chain ของอุตสาหกรรมนี้ขยายตัวได้เพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์จะชะลอตัวต่อเนื่อง

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้ออกประกาศเพื่อกำกับดูแลสินค้าและบริการในบัญชีควบคุม ปี 2562 รวมถึงสินค้าและบริการ จำนวน 52 รายการ และประกาศ กกร. ฉบับที่ 1 ปี 2563 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 กำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม โดยรวมถึงเศษกระดาษและกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ผลิตกระดาษในประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตกระดาษในประเทศบางส่วนยังมีความจำเป็น ต้องนำเข้าเศษกระดาษและกระดาษใช้แล้ว เนื่องจากราคาที่ถูกกว่า ทั้งนี้ การควบคุมสินค้าดังกล่าวควรกำหนดมาตรการที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย

อุตสาหกรรมเซรามิก

ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเซรามิกในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณลดลง ส่วนการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อของตลาดหลัก โดยแนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่าย จะหดตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิค-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศและตลาดส่งออกที่กำลังได้รับผลกระทบในหลายประเทศทั่วโลก

การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก

การผลิต ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ การผลิต 34.36 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 12.49 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.23 (%YoY) ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.86 ล้านชิ้น ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 0.01 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 6.23 เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศเกิดการชะลอตัว

การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 40.22 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 7.20 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.61 (%YoY) ในขณะที่การจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีจำนวน 0.84 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 6.28 และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.80 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการระบาดของไวรัสโควิด-19

การส่งออก ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีมูลค่า 25.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 10.71 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.44 ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 51.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 9.45 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.89 เนื่องจากตลาดส่งออกหลักอย่างประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และกัมพูชา เพิ่มคำสั่งซื้อต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาส 2 ของปี 2563

การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 2 ของปี 2563 คาดว่าจะมีแนวโน้มหดตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิค-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศและตลาดส่งออกที่กำลังได้รับผลกระทบในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้บางประเทศโดยเฉพาะประเทศคู่ค้า มีนโยบายปิดเมือง ปิดประเทศ รวมทั้งการชะลอคำสั่งซื้อ จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังการผลิตและแรงงานในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งปัญหาความยุ่งยากและความล่าช้าในขนส่งสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ แนวโน้มการผลิต การจำหน่ายในประเทศ และการส่งออกอาจจะกลับมาค่อย ๆ ขยายตัวได้ดีขึ้นตามความต้องการของการบริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิต และต้นทุนในการขนส่งลดต่ำลงด้วย

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน มีการผลิตและการจำหน่าย ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากสงครามการค้าที่ผ่านมาและได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่วนการส่งออกในไตรมาสนี้สามารถขยายตัวได้อีกเล็กน้อยโดยผลกระทบที่ได้รับยังไม่ชัดเจนเท่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 9.95 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 0.50 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับ ปีก่อน ร้อยละ 5.61 (%YoY) เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจ ที่ชะลอตัวจากสงครามการค้าที่ผ่านมา ระหว่างสหรัฐอเมริกาจีน สต็อคคงค้างของอสังหาริมทรัพย์ยังมีเหลือจำนวนมาก ทำให้การลงทุนสร้างโครงการใหม่ๆ ชะลอตัวลง

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 8.79 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 4.80 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.57 (%YoY)

การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ ( ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาส ที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่าจากการส่งออก 85.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาส ที่ 4 ปี 2562 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 5.92 โดยเพิ่มขึ้นจากประเทศเมียนมา ร้อยละ 42.69 และกัมพูชา ร้อยละ 9.59 ส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 20.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 9.50 แต่ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.78 โดยลดลงจาก สปป.ลาว ร้อยละ 4.58

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิต และการจำหน่าย คาดว่าอาจจะลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และถูกกระทบเพิ่มเติมจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อของ "ไวรัสโคโรนา" หรือ โควิด-19 ที่ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม และการดำรงชีวิตของประชาชนไม่สามารถทำได้ตามปกติจากการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พรก.ฉุกเฉิน ของรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 มีผลให้ประชาชนบางส่วนได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ และเกิดความไม่แน่ใจในสภาวะทางเศรษฐกิจในอนาคต จึงชะลอการซื้ออสังหาริมทรัพย์ออกไป

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 การผลิตเส้นใยประดิษฐ์ ขยายตัว จากการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหน้ากากอนามัย และชุดคลุม PPE ของบุคลากรทางการแพทย์ ในส่วนผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการผลิตลดลงตามแนวโน้มคำสั่งซื้อล่วงหน้าจากต่างประเทศที่ชะลอตัวจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19

การผลิตและจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยประดิษฐ์ มีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.73 เนื่องจากเป็นการเตรียมวัตถุดิบสำหรับผลิตหน้ากากอนามัย และชุดคลุม PPE ของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ขยายตัวเนื่องจากการระบาดของโรค COVID-19

ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 7.23 และ 2.89 (YoY) เป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัว ประกอบกับไม่มีคำสั่งซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปใหม่ที่ต้องส่งมอบในช่วงไตรมาสที่ 2 จึงทำให้ผู้ประกอบการลดการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำที่จะเป็นสต๊อกสินค้าลง

ดัชนีการจำหน่ายในประเทศ ลดลง ร้อยละ 1.39 7.01 และ 8.35 เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการระบาดของโรค COVID-19

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,685.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 5.18 (YoY) หากพิจารณากลุ่มสินค้า พบว่า

กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,044.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 11.22 40 โดยเฉพาะตลาดหลักอันดับ 1 อย่างจีน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ทำให้โรงงานสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มหลายแห่งปิดทำการ ส่งผลให้การส่งออก สิ่งทอในภาพรวมลดลง

กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 610.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 1.65 โดยกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ยังไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 จึงทำให้ภาพรวมการส่งออกขยายตัว

การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,269.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 6.56 (YoY) เนื่องจากคำสั่งซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่กระจายไปทั่วโลก ประกอบกับกำลังซื้อในประเทศชะลอตัว ทำให้ลดการสั่งซื้อวัตถุดิบเข้ามาสต๊อก รวมถึงความต้องการเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ไทยเคยนำเข้าจากจีนลดลง

คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 2ปี 2563

คาดว่าการผลิตและการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวม จะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของการระบาดของโรค COVID-19 และกำลังซื้อในประเทศที่ยังคงชะลอตัว

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศไตรมาสที่1ปี 2563 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามปริมาณคำสั่งซื้อในประเทศที่ลดลง ในขณะที่การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้มีมูลค่าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการของตลาดส่งออกหลักที่ลดลง

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีจำนวน1.95 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 5.80 และ 8.02 จากไตรมาส ที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ จากการชะลอตัวของตลาดในประเทศและต่างประเทศ

การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีจำนวน 0.39 ล้านชิ้น อยู่ในภาวะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า ลดลงร้อยละ 4.88 จากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาส 1 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 811.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.79 และ 4.40 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ มีมูลค่า 245.19 29.82 และ 536.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ขยายตัวร้อยละ 4.77 ขณะที่ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 19.45 และ 7.15 ตามลำดับ จากการลดลงของมูลค่าการส่งออกอุปกรณ์ก่อสร้างไม้และกรอบรูปไม้ไปตลาดสหรัฐอเมริกาและการส่งออกไม้แปรรูปไปตลาดจีน

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

การผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่าจะยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับทิศทางการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ตามแนวโน้มการปรับลดลงของคำสั่งซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีสาเหตุจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 1ปี 2563เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามความต้องการใช้ยาที่สูงขึ้นของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 สำหรับการส่งออกขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม ฮ่องกง และเมียนมา ตามลำดับ

การผลิตยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 17,195.35 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.52 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตยาเม็ด ยาน้ำ ยาแคปซูล ยาฉีด และ ยาครีม ตามความต้องการใช้ยาของทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 15,909.97 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.89 โดยเป็นการขยายตัวของการจำหน่ายยาเม็ด ยาน้ำ ยาฉีด ยาครีม และยาผง ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น

การส่งออกยาไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 92.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.73 ในภาพรวมการส่งออกยาชะลอตัวลงจากการชะลอตัวของตลาดเวียดนาม ฮ่องกง และเมียนมา ซึ่งปรับลดลงร้อยละ 17.18 37.74 และ 11.92 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้ายามีมูลค่า 451.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.89 โดยเป็นการนำเข้ายาจากเปอร์โตริโก สเปน จีน ฝรั่งเศส และอินเดีย เพิ่มขึ้น ทำให้ในไตรมาสนี้มีการนำเข้ายาชื่อสามัญจากอินเดียและจีนเพิ่มขึ้นรวม 5.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.75 ของมูลค่าการนำเข้ายาจากต่างประเทศทั้งหมดของไทย

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

การผลิตยาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.89 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับตลาดส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในกัมพูชา ฟิลิปปินส์ และจีน

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในฐานะหน่วยตรวจสอบ (National OECD GLP Compliance Monitoring Authority: CMA) ของไทย ได้รับการยอมรับทั้งในส่วนของคณะผู้ตรวจประเมินและการยอมรับร่วมของข้อมูลจากคณะผู้ตรวจประเมินในประเทศสมาชิกภาคีเครือข่าย OECD GLP แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีลงนามเพื่อให้มีผลอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อมีการยอมรับร่วมของข้อมูลแล้ว ผลิตภัณฑ์ยาของไทยจะไม่ต้องทำการทดสอบซ้ำที่ประเทศปลายทางอีก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทดสอบและส่งออกผลิตภัณฑ์ยาได้สะดวกมากขึ้น

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ปริมาณการผลิตถุงมือยางในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่การผลิตยางรถยนต์ลดลงตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและตลาด Replacement สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมลดลงเนื่องจากส่งออกไปจีนและมาเลเซียได้ลดลง

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 0.54 ล้านตัน 17.21 ล้านเส้น และ 5,456.82 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมและยางรถยนต์มีปริมาณลดลงร้อยละ 4.65 และ 5.59 ตามลำดับ ตามการชะลอตัวของตลาดต่างประเทศ และการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและตลาด Replacement ในขณะที่การผลิตถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.54 ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีจำนวน 0.12 ล้านตัน 10.72 ล้านเส้น และ 1,036.76 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมและถุงมือยางในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.42 และ 28.41 ตามลำดับ ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น ในขณะที่การจำหน่ายยางรถยนต์มีปริมาณลดลงร้อยละ 2.36 ตามการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ และตลาด Replacement

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 1,043.08 1,423.37 และ 323.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ในส่วนของการส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.13 และ 12.94 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมลดลงร้อยละ 2.66 จากการปิดท่าเรือ โรงงาน และการปิดประเทศของจีนและมาเลเซีย

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

การผลิตยางรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 2.58 ตามอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.99 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้น สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 10.00 เนื่องจากฐานตัวเลขของปีก่อนค่อนข้างต่ำ

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

ไตรมาส 1 ปี 2563 การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีการผลิตลดลง ร้อยละ 7.67 เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกลดลง และการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้า ลดลง ร้อยละ 13.10 เนื่องจากคำสั่งซื้อในประเทศลดลงสำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทาง* มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.20 จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อสะสมในประเทศ

การผลิต

การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 7.67 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกลดลง และการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ กลุ่มรองเท้า ลดลง ร้อยละ 13.10 เนื่องจากคำสั่งซื้อในประเทศลดลง

ผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทาง* มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.20 จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อสะสมในประเทศ

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกมีมูลค่ารวม 427.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 2.89 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากมูลค่า การส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด และเครื่องใช้สำหรับเดินทาง ลดลง ร้อยละ 3.78 และ 7.96 ตามลำดับ จากการที่โรงงานประเทศคู่ค้าเกือบทั้งหมดต้องหยุดการผลิต และถึงแม้ว่าจะมีโรงงานบางส่วนเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ จึงส่งผลให้การส่งออกชะลอตัว

การนำเข้ามีมูลค่ารวม 443.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 8.83 โดยวัตถุดิบหนังดิบและ หนังฟอกปรับตัวลดลง ร้อยละ 22.03 เป็นไปในทิศทางเดียวกับการฟอกและตกแต่งหนังฟอกที่มีการผลิตลดลง สำหรับสินค้าสำเร็จรูปประเภทกระเป๋า ลดลง ร้อยละ 5.09 จากความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมลดลง เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 2 ปี 2563

การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 2 ปี 2563 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ยังส่งผลกระทบให้โรงงานในประเทศคู่ค้าต้องหยุดการผลิต ถึงแม้ว่าจะมีโรงงานบางส่วนเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ และการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทางและรองเท้า มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อในประเทศ อีกทั้งปัจจัยค่าเงินบาทที่อ่อนตัวซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออก

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส1ปี 2563ปรับตัวลดลง ร้อยละ 3.65 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลง จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยการผลิตเพชรเจียระไน และเครื่องประดับเทียม ลดลง ร้อยละ 43.50และ 21.81ตามลำดับ

การผลิต

อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 1 ปี 2563 ชะลอตัว ร้อยละ 3.65 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลง จากสถานการณ์การระบาดของไวรัส โคโรนา (COVID-19) โดยการผลิตเพชรเจียระไน และเครื่องประดับเทียม ลดลง ร้อยละ 43.50 และ 21.81 ตามลำดับ

การจำหน่าย

อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 1 ปี 2563 ลดลง ร้อยละ 3.34 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น

การส่งออก

อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 1 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 1,563.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 20.18 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากมูลค่าการส่งออกเพชร พลอย เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลง ร้อยละ 25.89 33.77 21.11 และ 20.92 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และเยอรมนี แต่หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม มีมูลค่ารวม 5,442.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 71.84 จากการส่งออกเพื่อเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคา เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกขยับตัวสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 2 ปี 2563

ไตรมาส 2 ปี 2563 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมมีทิศทางลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกถึง ร้อยละ 80

สำหรับแนวโน้มการส่งออก (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่า จะมีทิศทางลดลงตามการผลิต อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยค่าเงินบาทที่อ่อนตัวอาจส่งผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออก โดยก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) การส่งออกมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ถึง มกราคม 2563 ด้านการนำเข้า (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่า จะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น

อุตสาหกรรมอาหาร

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2562 หลังจากขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งปี 2560 เป็นผลจากปริมาณวัตถุดิบที่ลดลงด้วยผลกระทบจากภัยแล้ง กอปรกับฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อน อาทิ น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม และสับปะรดกระป๋อง อย่างไรก็ตาม สินค้าอาหารบางรายการได้รับอานิสงส์จากความกังวลของการระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้ความต้องการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น จากการเร่งสำรองสินค้าทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง กะทิ น้ำมันถั่วเหลือง นมพร้อมดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัว สำหรับมูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลง โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น จีน สหราชอาณาจักร CLMV และอาเซียนจากการส่งออกที่ลดลงของสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าว แป้งมันสำปะหลัง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลแปรรูป และทูน่ากระป๋อง รวมทั้งผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลง และปัจจัยลบอย่างเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับมาตรการ Lockdown ของประเทศต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการขนส่ง

ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 118.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 18.1 (%QoQ) ปัจจัยหลักจากการเข้าสู่ฤดูหีบอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล ประกอบกับวัตถุดิบทางการเกษตรสำคัญเข้าสู่โรงงานมากขึ้น แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 12.8 (%YoY) เนื่องจากวัตถุดิบลดลงจากภัยแล้ง และฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อนโดยเฉพาะน้ำตาล ทำให้โรงงานปิดหีบอ้อยเร็วกว่าปีก่อน รวมทั้ง ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และสับปะรด ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเช่นกัน ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต น้ำตาลทราย น้ำมันปาล์ม แป้งมันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋อง ลดลง อย่างไรก็ตาม สินค้าอาหารบางรายการได้รับอานิสงส์จากความกังวลของการระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้ความต้องการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น จากการเร่งสำรองสินค้าทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง กะทิ น้ำมันถั่วเหลือง นมพร้อมดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัว

การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีปริมาณ 67,703.1 พันตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 5.6 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 (%YoY) ตามความต้องการสำรองอาหาร จากความกังวลของการระบาดของโรคไวรัส Covid-19 ส่งผลให้การจำหน่ายอาหารในประเทศเพิ่มขึ้น เช่น ปลาแช่แข็ง ซาร์ดีนกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมพร้อมดื่ม น้ำมันถั่วเหลือง และการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป

การส่งออกไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 7,085.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 6.3 (%QoQ) จากการส่งออกสินค้าสำคัญที่ลดลง อาทิ ทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลแปรรูป ไก่แปรรูป และทุเรียนแช่เย็นจนแข็ง และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 5.4 (%YoY) โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น จีน สหราชอาณาจักร CLMV และอาเซียน จากการส่งออกที่ลดลงของสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าว แป้งมันสำปะหลัง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลแปรรูป และทูน่ากระป๋อง รวมทั้งผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็ง เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลง และปัจจัยลบอย่างเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับมาตรการ Lockdown ของประเทศต่างๆ เพื่อควบคุม การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการขนส่ง

การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 มีมูลค่า 3,901.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ร้อยละ 2.3 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 (%YoY) จากการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (เมล็ดพืชน้ำมัน) และสินค้าอุปโภคบริโภค (นมและผลิตภัณฑ์นม และอาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก) เพื่อรองรับการขยายตัวของการผลิตและบริโภคที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรม น้ำมันถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สำเร็จรูปสำหรับปศุสัตว์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งอุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นม

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563

คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จะหดตัวมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และมันสำปะหลัง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตของโรงงาน อย่างไรก็ตาม ไทยน่าจะยังคงได้รับอานิสงส์จากภาวะโรคระบาดดังกล่าวซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทูน่าและซาร์ดีนกระป๋อง) ขยายตัวตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ต้องการรักษาระดับความมั่นคงด้านอาหาร รวมทั้งในหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการการควบคุมโรคด้วยสถานการณ์การระบาดส่งสัญญาณดีขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อาจจะทรงตัวหรือขยายตัวเล็กน้อย ตามความต้องการบริโภคและสำรองอาหารในต่างประเทศ แต่อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown ประเทศ ที่ส่งผลโดยตรงต่อ Food service ในสินค้าสำคัญ เช่น (1) ไก่เนื้อ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจาก EU ที่มีแนวโน้มจะปรับลดการนำเข้าไก่เนื้อจากประเทศที่ 3 (บราซิล ไทย และยูเครน) จำนวน 850,000 ตัน เนื่องจากปัญหาอุปทานส่วนเกิน (Over supply ของประเทศ (2) น้ำตาล อาจจะได้รับผลกระทบจากผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ เช่น บราซิล จะใช้อ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลมากขึ้น และลดการผลิตเอทานอลลง ตามความต้องการใช้น้ำมันทั้งโลกในปี 2563 ที่คาดว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 20 - 30 จากปี 2562 เนื่องจากระบบการขนส่งและการเดินทางที่ลดลงจากมาตรการ Lockdown ประกอบกับปริมาณการบริโภคน้ำตาลอาจจะลดลงมากกว่า 2 ล้านตันต่อปี เนื่องจากการปิด Food service (การบริโภคของทั้งโลกอยู่ที่ประมาณ 175 ล้านตันต่อปี)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ