1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 109.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียว กันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 13.46 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) สาย ไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ปรับตัวลดลงร้อยละ 46.50 27.89 และ 25.99 ตามลำดับ
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลง เนื่องจากการเปลี่ยน แปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่ กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น และไทยยังคงมีข้อจำกัดทางด้าน Rule of Origin ในการใช้วัตถุดิบใน ประเทศ/ภูมิภาคอาเซียน 40% ซึ่งขณะนี้ ส่วนของ Panel ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของ LCD TV นั้นไม่มีผลิตในประเทศอาเซียน ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิ พิเศษและควบคุมต้นทุนการผลิตเป็นไปได้ยาก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่า 4,776.64 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส ก่อนเล็กน้อยร้อยละ 5.10 และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 17.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่ สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ได้แก่ ตลาดอาเซียนมีมูลค่าส่งออก 931.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 31.15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่ม ขึ้นถึงร้อยละ 36.97 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.24 และ 28.15 ตามลำดับ
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,786.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.77 เมื่อ เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.16 มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.28 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และ สหรัฐอเมริการ้อยละ 21.73 และ 6.23 ตามลำดับ แต่กำลังซื้อในตลาดอียูค่อนข้างทรงตัวในตลาดอียู
แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 4 ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2551 โดยดูจากดัชนีการส่ง สินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 1.37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศปรับตัวลดลงร้อยละ 3.78 ซึ่งโดยปกติแล้ว เครื่องปรับอากาศในช่วงไตรมาส 4 เป็นการชะลอลงตามฤดู กาลอยู่แล้วด้วย และการปรับตัวลดลงของดัชนีการส่งสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ (ไม่รวม LCD/Plasma) โดยประมาณการว่าจะชะลอตัวโดยปรับตัวลด ลง 19.63%YoY
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.54 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเนื่องจากตัวแปรดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐส่งสัญญาณชะลอลงซึ่งตัวแปรดังกล่าวนำมาพิจารณาในการประมาณ การไตรมาส 4/2551
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 109.76 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส ก่อนร้อยละ 12.15 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน- แฟนคอยล์ซิ่ง ยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน- คอนเดนซิ่งยูนิต ปรับตัวลดลงร้อยละ 39.91 30.94 และ 29.67 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 13.46 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ เครื่องรับ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) สายไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ปรับตัวลดลงร้อยละ 46.50 27.89 และ 25.99 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลง เนื่องจากการเปลี่ยน แปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่ กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น และไทยยังคงมีข้อจำกัดทางด้าน Rule of Origin ในการใช้วัตถุดิบใน ประเทศ/ภูมิภาคอาเซียน 40% ซึ่งขณะนี้ ส่วนของ Panel ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของ LCD TV นั้นไม่มีผลิตในประเทศอาเซียน ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิ พิเศษและควบคุมต้นทุนการผลิตเป็นไปได้ยาก
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ กระติกน้ำร้อน และตู้เย็นปรับตัวสูงขึ้นร้อย ละ14.71 13.09 และ12.28 เป็นต้น
กระติกน้ำร้อนปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดโดยการปรับระบบจากแบบเดิมเป็นแบบดิจิตอลมากขึ้น หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอดการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมด้วยราคาเหมาะสมสามารถแข่งขันได้ในตลาด
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร มาสที่ 3 ปี 2551 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 1.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่จะปรับตัวลดลง ได้แก่ ตู้เย็น พัดลม หม้อหุงข้าว เป็น ต้น ยกเว้นกลุ่มสินค้าภาพและเสียง เช่น พลาสมาทีวี แอลซีดีทีวี เครื่องเล่นดีวีดี และกล้องถ่ายรูปดิจิตอล จะปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการผลิตสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อการส่งออกในปัจจุบันมีฐานการผลิตในจีน และภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะไทยเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ญี่ปุ่นเองยังคงทำการวิจัย และพัฒนาเป็นต้นแบบสินค้าที่ผลิตในประเทศต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นในกลุ่มภาพและ เสียงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความนิยมของตัวสินค้าเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 3 ปี 2551
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ) Household Electrical Machinary 113.2 -1.57 4.24 เครื่องปรับอากาศ 122.3 38.35 18.28 หม้อหุงข้าว 94.5 -1.66 -6.06 ตู้เย็น 71.7 8.31 -11.26 พัดลม 76.1 -3.18 -9.51 เครื่องซักผ้า 91.8 4.44 2 พลาสมา ทีวี 172.9 33.51 0.7 แอลซีดี ทีวี 194.5 7.88 17.66 เครื่องเล่นดีวีดี 139.8 42.65 154.18 กล้องถ่ายวีดีโอ 82.4 -1.9 -14.43 กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 176 -12.78 16.25 ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry, Japan, พฤศจิกายน 25512.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2551ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.20 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลง เช่นกันร้อยละ 5.15
สินค้าปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต พัดลม ปรับตัวลดลงร้อยละ 32.24 29.91 และ 29.28 ตามลำดับ
ขณะที่ สินค้าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) สายไฟฟ้า และ โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ปรับตัวลดลงร้อยละ 47.14 25.22 และ 23.90 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ) เครื่องใช้ไฟฟ้า 132.39 -14.2 -5.15 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต 240.1 -29.91 3.53 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 239.19 -32.24 -6.75 คอมเพรสเซอร์ 165.92 -13 4.44 พัดลม 26.43 -29.28 -6.87 ตู้เย็น 273.99 7.65 11.16 กระติกน้ำร้อน 183.34 47.32 13.84 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 114.88 1.12 11.4 สายไฟฟ้า 96.8 -17.54 -25.22 โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 15.73 7.25 -47.14 โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 235.29 -8.59 -23.9 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, พฤศจิกายน 2551ภาวะการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดในประเทศที่ชะลอลงจาก ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ มีเพียงการจัดซื้อเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม และการทำตลาดจากงานโครงการ และมหกรรมสินค้าราคาประหยัดที่สามารถ กระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเครื่องใช้ไฟฟ้ากลับขยายตัวสูงโดยตลาดที่มีมูลค่าส่งออกสูงและอัตราการขยายตัวสูงด้วยได้แก่ ตลาดอา เซียน สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากในตลาดนี้ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น
การส่งออก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่า 4,776.64ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน เล็กน้อยร้อยละ 15.39 และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 17.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา กรมศุลกากร, พฤศจิกายน 2551
สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจร ไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม และเครื่องรับโทรทัศน์สี โดยมีมูลค่าส่งออก 624.25 478.37 และ 360.34 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยเครื่องปรับอากาศมีการอัตราการขยายตัวชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.93% ทั้งนี้เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของเครื่องปรับ อากาศที่ส่งไปยังตลาดอียูนั้นปรับตัวลดลงทั้งปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน และชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน ร้อยละ 51.38 เนื่องจาก กำลังซื้อที่คาดว่าจะปรับลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ส่งสัญญาณว่าจะถดถอยและจากการที่ตัวเลขส่งออกในปีที่ผ่านมามีฐานที่ค่อนข้างสูงสำหรับตลาด นี้หลังการบังคับใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีในปี 2549
เครื่องปรับอากาศ
ตลาดส่งออก มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 (ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) สหรัฐอเมริกา 10.86 -12 อียู 112.23 -51.38 ญี่ปุ่น 35.2 22.18 อาเซียน 112.09 14.91 จีน 4.38 8.23 ตะวันออกกลาง 134.44 44.12 ตลาดอื่นๆ 215.07 -1.63 รวมมูลค่าส่งออก 624.25 -8.93 ที่มา กรมศุลกากร, พฤศจิกายน 2551ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว กันของปีก่อน ถึงร้อยละ 93.13 โดยมีมูลค่าส่งออก 360.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการเร่งตัวขึ้นของตลาดส่งออกอื่นๆ เช่น อินเดีย และ ตลาดอาเซียน เป็นต้น ขณะที่ในตลาดสหรัฐที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดนี้ของสินค้าประเภทนี้มากที่สุดประมาณ 51% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับ โทรทัศน์รวมในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ยังคงถูกตัดจีเอสพี แต่มีการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่มีมูลค่าสูงกว่าเครื่องรับโทรทัศน์แบบเดิม
เครื่องรับโทรทัศน์สี
ตลาดส่งออก มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50 (ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) สหรัฐอเมริกา 183.73 64.99 อียู 11.66 -38.98 ญี่ปุ่น 7.28 -4.4 อาเซียน 55.46 258.23 จีน 0 -99.99 ตะวันออกกลาง 12.5 8.86 ตลาดอื่นๆ 89.71 317.49 รวมมูลค่าส่งออก 360.34 93.13 ที่มา กรมศุลกากร, พฤศจิกายน 2551สำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ได้แก่ ตลาดอาเซียนมีมูลค่าส่งออก 931.14 ล้านเหรียญ สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 31.15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น มีมูลค่าส่งออก 704.56 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง เล็กน้อย 9.99% และตลาดอียู มีมูลค่าส่งออก 679.62 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย 5.18% สามารถสรุปสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักดังกล่าวได้ดังนี้
ไตรมาสที่ 2 ปี 51 ไตรมาสที่ 3 ปี 50
(ร้อยละ) (ร้อยละ) 1 อาเซียน เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน 112.09 -47.98 14.91 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม 96.14 -29.11 26.07 เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ 92.26 10.37 132.71 ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 80.2 30.77 21.77 มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) 67.54 -20.68 117.61 รวม 5 อันดับแรก 448.23 สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกของตลาดนี้ 48% 2 ญี่ปุ่น เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม 101.5 4.53 -1.45 ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 75.73 -10.41 11.16 เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 44.32 18.86 28.72 กล้องถ่าย TV,VDO 41.66 8.72 36.74 สายไฟ ชุดสายไฟ 38.86 29.05 -29.15 รวม 5 อันดับแรก 302.07 สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกของตลาดนี้ 43% 3 อียู เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน 112.23 -64.37 -51.38 ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ 86.41 -38.16 45.02 กล้องถ่าย TV,VDO 82.88 19.08 39.4 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม 64.99 9.78 12.84 เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่ (Power Supply) 34.08 -16.25 20.06 รวม 5 อันดับแรก 380.59 สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกของตลาดนี้ 56%ที่มา กรมศุลกากร, พฤศจิกายน 2551
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่ม ขึ้นถึงร้อยละ 36.97 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.24 และ 28.15 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะ HDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับ การขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีนที่ไทยส่งออกอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 อัตราการขยายตัวการส่งออกไปยังตลาดจีน ร้อยละ 21.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าส่งออกไปยังตลาดจีนนี้ 1,316.75 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีมูลค่าส่งออกสูงสุดของตลาดส่งออกอื่นๆทั้งหมด ซึ่งป็นอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงสอดคล้องกับปรับตัวเพิ่มขึ้นใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขาย ปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท
3.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะท้อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตร มาสที่ 3 ปี2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.97 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.24 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ Other IC และ HDD ร้อยละ 29.27 และ 26.95 ตามลำดับ
จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association) ให้ข้อคิดเห็นว่า อุตสาหกรรม กำลังเริ่มได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญอยู่ ส่งผลต่อเนื่องถึงอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ ในเดือนกันยายน อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงและการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นของทั้งธุรกิจและผู้บริโภค
ขณะที่ ตลาด Emerging Market ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะสินค้าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเนื่องจากระดับรายได้ที่ ปรับตัวสูงขึ้นและความหนาแน่นของประชากรในประเทศเกิดใหม่ต่างๆค่อนข้างมาก
กลุ่มสินค้า Consumer Electronics ยังเป็นกลุ่มที่ปรับตัวสูงเช่นกัน ซึ่งสินค้าในกลุ่มได้แก่ เครื่องเล่น MP3/MP4 และ LCD TV คาด ว่าจะเติบโตประมาณ 11% และ 33% ตามลำดับ(1)
หมายเหตุ (1)สรุปจาก “September Semiconductor Sales Up 1.6%YoY”, October 31, 2008, Nikkei Electronics Asia
การส่งออก
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,786.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.14 เมื่อ เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.16
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.28 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และสหรัฐอเมริการ้อยละ 21.73 และ 6.23 ตามลำดับ แต่กำลังซื้อในตลาด อียูค่อนข้างทรงตัวในตลาดอียู
ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงและการขยายตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก 1,706.06 ล้านเหรียญ สหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 18.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง 21.91% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์มากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดอียู มีมูลค่าส่งออก 1,248.93 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง เล็กน้อย 5.06% และตลาดสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าส่งออก 1,233.10 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นล็กน้อย 1.19% สามารถสรุปสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักดังกล่าวได้ดังนี้
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551
จากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนพฤศจิกายน 2551 ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 4 ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2551 โดยดูจาก ดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 1.37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศปรับตัวลดลงร้อยละ 3.78 ซึ่งโดยปกติแล้ว เครื่องปรับอากาศในช่วงไตรมาส 4 เป็นการ ชะลอลงตามฤดูกาลอยู่แล้วด้วย และการปรับตัวลดลงของดัชนีการส่งสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ (ไม่รวม LCD/Plasma) โดยประมาณการว่าจะชะลอตัว โดยปรับตัวลดลง 19.63%YoY
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมตู้เย็นในช่วงไตรมาส 4/2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.52 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากตัวแปรที่ชี้ นำภาวะการผลิตของตู้เย็นตัวหนึ่งได้แก่ มูลค่าการนำเข้าคอมเพรสเซอร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นการนำเข้าเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่อไป ซึ่งสอด คล้องกับการประมาณการภาวะอุตสาหกรรมเครื่องคอมเพรสเซอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.18 เช่นกัน เพื่อรองรับช่วงไตรมาส1/2552
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.54 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเนื่องจากตัวแปรดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐส่งสัญญาณชะลอลงซึ่งตัวแปรดังกล่าวนำมาพิจารณาในการประมาณ การไตรมาส 4/2551
หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD และ ICโดยเฉพาะ Other IC ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง ทั้งสิ้น เนื่องจากมีตัวแปรบางตัวเริ่มส่งสัญญาณชะลอลง ส่วนตัวแปรตัวหนึ่งที่เป็นตัวแปรชี้นำอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้ดี ได้แก่ Book to Bill Ratio ที่เริ่มน้อยกว่าหนึ่ง แสดงว่า ความต้องการหรือคำสั่งซื้อล่วงหน้าเริ่มชะลอลงบ้างแล้ว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--