สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่1 (มกราคม—มีนาคม) พ.ศ.2552(อุตสาหกรรมอาหาร)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 16, 2009 13:56 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 5.7 จากไตรมาส ที่ 4 ของปี 2551 เนื่องจากปริมาณการผลิตในกลุ่มผักผลไม้ ประมง อาหารสัตว์ และปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 23.6 8.1 7.1 และ 5.7 ตาม ลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลจากการปรับราคาสินค้าอาหารขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงไตรมาสที่ 3 ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศปรับตัวลด ลง ประกอบกับความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ และผลสืบเนื่องจากวิกฤตการเงินที่ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวและถดถอยทาง เศรษฐกิจในประเทศผู้นำเข้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จึงทำให้ผู้ผลิตปรับตัวชะลอการผลิตลง แต่หากพิจารณารวมการผลิต ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.4 จากการเปิดฤดูหีบ อ้อยประจำปี 2552 สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2551 พบว่า ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 6.3 จากการที่ผลผลิตอ้อยเข้าโรงงานล่าช้ากว่าปกติ

ในส่วนภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 5.3 เป็นผลจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจประเทศ ผู้นำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา และกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้ระดับ ราคาสินค้าเกษตรและอาหารปรับตัวลดลง ทำให้การผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารที่อิงตลาดส่งออกส่วนใหญ่มีการผลิตลด ลงเป็นอย่างมาก เช่น ผักผลไม้ ธัญพืชและแป้ง น้ำตาล และประมง ลดลงร้อยละ 25.6 15.4 6.3 และ 4.5 ตามลำดับ สำหรับสินค้าที่ผลิตเพื่อใช้ ในประเทศหรือเป็นวัตถุดิบมีการผลิตลดลง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำมันพืช อาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 24.4 13.3 3.6 และ 1.1 ตามลำดับ เป็นผลจากความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการตัดสินใจปรับลดการผลิตลง

อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ กลุ่มสินค้าปศุสัตว์ ที่มีไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปร รูปเป็นสินค้าสำคัญ มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 เป็นผลจากความต้องการสินค้าทั้งทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากราคาเปรียบเทียบที่ต่ำกว่า เนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ และสามารถบริโภคได้ทุกเพศ ภาษา และศาสนา โดยเฉพาะในตลาดผู้นำเข้าหลัก เช่น ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ประกอบกับการที่ ประเทศแถบตะวันออกกลางมีการนำเข้าไก่จากไทยเพิ่มขึ้นจากการที่ได้รับรองฮาลาลให้กับโรงงานแปรรูปไก่ของไทย นอกจากนี้ราคาสินค้าเนื้อสุกรใน ประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคไก่ที่มีราคาต่ำกว่าทดแทนเพิ่มขึ้น

2. การตลาด

2.1 ตลาดในประเทศ

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 2.0 จาก ไตรมาสก่อน และร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความวิตกกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจและ ความไม่มั่นคงทางการเมือง ทำให้ผู้บริโภคในประเทศชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง ประกอบกับมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นในสินค้าหลายชนิด ส่งผลให้ความ ต้องการสินค้าในหลายกลุ่มลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 26.6 ผักผลไม้ ร้อยละ 22.1 ธัญพืชและแป้ง ร้อยละ 15.2 น้ำมันพืช ร้อยละ 5.6 และอาหารสัตว์ ร้อยละ 4.2 ขณะที่สินค้ากลุ่มปศุสัตว์ และน้ำตาล มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนร้อยละ 37.9 และ 17.5 ตามลำดับ และหากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่วนใหญ่มีการจำหน่ายลดลงเช่นกัน โดยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 36.4 ผักผลไม้ ร้อยละ 35.3 ธัญพืชและแป้ง ร้อยละ 9.2 อาหารสัตว์ ร้อยละ 7.4 และปศุสัตว์ ร้อยละ 5.2

2.2 ตลาดต่างประเทศ

1) การส่งออก

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 4,381 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 164,756.1 ล้านบาท โดย ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.1 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 1.4 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 10.1 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 3.4 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ จะพบว่า ภาวะการส่งออกใน รูปของมูลค่าลดลงโดยเฉพาะในกลุ่มผักผลไม้ และกลุ่มข้าวและธัญพืชทั้ง

ในรูปเหรียญสหรัฐฯ และเงินบาท เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะลูกค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ประสบปัญหาวิกฤตการณ์การเงิน ทำให้ยอดคำสั่งซื้อชะลอตัวเรื่อยมาตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มี ดังนี้

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มีมูลค่าการส่งออก 1,262.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 43,784.5 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.9
ในรูปเหรียญสหรัฐฯ และร้อยละ 26.2 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการลดลงของทั้งกลุ่ม และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบ
ว่า การส่งออกลดลงร้อยละ 8.2 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ และร้อยละ 3.2 ในรูปเงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่เย็น
แช่แข็ง และปลาทูน่ากระป๋อง พบว่า ส่งออกได้ลดลงทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปเหรียญสหรัฐฯ และเงินบาท โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลง
มากที่สุด
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ มีมูลค่าการส่งออก 474.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 16,469.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.8 ในรูปเหรียญ
สหรัฐฯ หรือร้อยละ 5.7 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 12.4 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 7.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามในส่วนของผลไม้กระป๋องและแปรรูป ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มมีการส่งออกลดลง จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ที่เป็นตลาดหลักถดถอยอย่างรุนแรง
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ มีมูลค่าการส่งออก 385.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 13,361.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.3 ในรูปเหรียญ
สหรัฐฯ หรือร้อยละ 21.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 18.5 ในรูปเงินบาท เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปมีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปร
รูปเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับสหภาพยุโรปเร่งทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้นอย่างเต็ม
โควตา รวมทั้งสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 1,589.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 67,915.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
5.2 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 32.5 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และข้าว และ
หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.5 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 9.9 ใน
รูปเงินบาท
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 367.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 12,752.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 ในรูปเหรียญ
สหรัฐฯ หรือร้อยละ 32.8 ในรูปเงินบาท จาก
  • ไตรมาสก่อน เป็นผลจากระดับราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นของตลาดโลก เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวลดลง จากการที่ประเทศ
อินเดียที่เป็นผู้ส่งออกสำคัญประเทศหนึ่งประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 14.9 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 21.4 ในรูปเงินบาท
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 301.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 10,473.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.1 และ 15.3 ใน
รูปเหรียญสหรัฐฯ และในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 4.8 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทซุปและอาหารปรุงแต่ง สิ่งปรุงรสอาหาร และหมากฝรั่งและ
ขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม

2) การนำเข้า

การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่ารวม 1,406.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 49,327.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 35.5 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 57.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันลดลงร้อยละ 70.9 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 66.5 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำเข้า สินค้าอาหารโดยรวมลดลงร้อยละ 44.5 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 21.4 ในรูปเงินบาท จากการนำเข้ากากพืชน้ำมัน เมล็ดพืชน้ำมัน และปลาทู น่าแช่เย็นแช่แข็งลดลงทั้งในรูปเหรียญสหรัฐฯ และเงินบาท

3. นโยบายของภาครัฐ

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วย เหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ และการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ ได้แก่

3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 รับทราบและอนุมัติการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเป็นการเร่งด่วน ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการนำเข้าได้ทันต่อสภาวะการณ์ของตลาด

3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำของกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากผล ผลิตไข่ไก่ส่วนเกินมีจำนวนมาก จำเป็นต้องระบายขายในประเทศในราคาต่ำกว่าต้นทุน และได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งในด้านการผลิต โดย กำหนดมาตรการลดกำลังการผลิตจากการขอความร่วมมือผู้ผลิตปลดไก่พันธุ์ และลดปริมาณการนำไก่เข้าเลี้ยงร้อยละ 10 และด้านการตลาด โดยการ รณรงค์เพิ่มการบริโภคในประเทศ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเก็บสต็อกไข่เข้าห้องเย็นในกรณีจำเป็น นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรการเร่งด่วน คือ สนับสนุนให้เด็กนักเรียนบริโภคไข่ไก่ โดยมอบให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาจัดทำโครงการไข่โรงเรียนด้วย

3.3 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 เห็นชอบ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหานมดิบล้นตลาด ตามที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เสนอ โดยชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกรกรณีลดราคารับซื้อจาก 18 บาท เป็น 16.50 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มจำนวนนักเรียนจากเดิมชั้นอนุบาลจน ถึงประถมศึกษาปีที่ 4 เป็น ประถมศึกษาปีที่ 6 และให้ขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการประชาสัมพันธ์รณรงค์เพื่อเพิ่มการบริโภคนม นอกจากนี้ยังมอบ หมายให้ อ.ส.ค. เป็นกลไกในการแก้ไขปัญหานมดิบล้นตลาด โดยการใช้งบกลางจัดซื้อนมพลาสเจอร์ไรส์แจกจ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสนับสนุน เงินจากการกู้ธนาคารกรุงไทยเพิ่มเติม เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำนมดิบให้เกษตรกร

4. สรุปและแนวโน้ม

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหาร ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวม ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีการหดตัวลดลง จากปีก่อน เนื่องจาก

4.1 การผลิตในหลายสินค้า ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย โดยเฉพาะ

ในตลาดส่งออกหลักของไทย เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว แม้ระดับราคาสินค้าในตลาดโลกจะมีแนวโน้มลดลง แต่ ก็ไม่สามารถกระตุ้นความต้องการในตลาดต่างๆ ได้

4.2 สินค้ากลุ่มปศุสัตว์ คือ ไก่สดแช่แข็งและไก่แปรรูป มีอัตราการขยายตัวของการผลิต การส่งออก และการจำหน่ายในประเทศเพิ่ม ขึ้น เนื่องจากการส่งออกได้รับผลดีจากตลาดญี่ปุ่น ที่มีการทำ JTEPA และสหภาพยุโรปยังคงนำเข้าตามโควตา เนื่องจากเป็นสินค้าอาหารที่มีราคา เปรียบเทียบต่ำกว่าสินค้าอื่น

4.3 สินค้าประมงที่สำคัญ คือ ปลาทูน่ากระป๋องและแปรรูป ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐ อเมริกา และสหภาพยุโรป ทำให้มูลค่าส่งออกปรับตัวลดลง ส่วนสินค้ากุ้งแช่แข็งและกุ้งแปรรูป แม้ว่าจะได้รับข่าวดีจากการประกาศยกเลิกการเรียก เก็บ AD จากสหรัฐอเมริกา แต่ผลด้านการถดถอยทางเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ลดการนำเข้าลง ส่วนตลาดญี่ปุ่นที่เป็นตลาดอันดับ 2 ยัง คงขยายตัวโดยเฉพาะสินค้าที่พร้อมปรุง จากการที่ คนญี่ปุ่นหันมาทำอาหารกินเองที่บ้านมากขึ้น

สำหรับภาวะการจำหน่ายอุตสาหกรรมอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีการหดตัวลง เป็นผลสืบเนื่องจากความไม่มั่นใจใน สถานการณ์เศรษฐกิจ และความไม่มั่นคงทางการเมือง

ทำให้ผู้บริโภคในประเทศชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง สำหรับสินค้าที่ยังมีการจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น คือ สินค้าไก่ เนื่องจากได้รับผลดีจากราคา สุกรที่เป็นสินค้าทดแทนเพิ่มขึ้น และชิ้นส่วนไก่ที่มีสต็อกอยู่เป็นจำนวนมากได้ถูกนำมาระบายจำหน่ายในราคาที่ลดลง

แนวโน้มการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวม ไตรมาสที่ 2 ปี 2552 คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2551 และ จากไตรมาสก่อน แม้ว่าระดับราคาสินค้าอาหารในตลาดโลกจะปรับลดลง และค่าเงินบาทได้อ่อนค่าลง ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อการส่งออก แต่เนื่องจากไตร มาสที่ 2 เป็นช่วงที่อุตสาหกรรมอาหารมีการผลิตและการส่งออกน้อยเป็นปกติ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในตลาดหลักยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน และเกิด ปัญหาการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ อาจส่งผลทางจิตวิทยาในเรื่องการบริโภคที่จะเพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดทั้งผลดีและผล กระทบสำหรับสินค้าอาหารโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ของไทยที่จะส่งออกด้วย

สำหรับการจำหน่ายหรือการบริโภคในประเทศในไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากเกิดความไม่สงบทางการเมืองจนถึงขั้น จราจลในประเทศ ส่งผลให้ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคลดลง นอกจากนี้ความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ บริโภคมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามคาดว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4

ตารางที่ 1          การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

----------- ปริมาณการผลิต (ตัน)--------------- การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ (ร้อยละ)

                     ไตรมาส1/51      ไตรมาส4/51       ไตรมาส1/52       ไตรมาสก่อน   ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ปศุสัตว์                297,695.90      424,684.40       400,415.30            -5.7         34.5
ประมง                233,566.10      242,802.80       223,164.10            -8.1         -4.5
ผักผลไม้               282,618.60      275,349.90       210,231.40           -23.6        -25.6
น้ำมันพืช               412,696.80      352,034.80       357,643.10             1.6        -13.3
ผลิตภัณฑ์นม             245,409.00      244,992.00       242,819.50            -0.9         -1.1
ธัญพืชและแป้ง           617,902.70      500,365.00       522,690.70             4.5        -15.4
อาหารสัตว์           1,743,349.30    1,807,869.00     1,680,160.70            -7.1         -3.6
น้ำตาล              8,306,250.90    1,500,406.90     7,781,366.20           418.6         -6.3
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป         40,672.60       41,942.70        30,743.20           -26.7        -24.4
รวม               12,180,161.90    5,390,447.40    11,449,234.20           112.4         -6
รวม(ไม่รวมน้ำตาล)    3,873,911.00    3,890,040.60     3,667,868.00            -5.7         -5.3

ตารางที่ 2          การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

------------ปริมาณการจำหน่าย (ตัน)---------- การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ (ร้อยละ)

                     ไตรมาส1/51      ไตรมาส4/51      ไตรมาส1/52  ไตรมาสก่อน     ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ปศุสัตว์                220,477.00      320,680.40      304,080.40     37.9               -5.2
ประมง                 33,353.00       31,857.90       33,361.20        0                4.7
ผักผลไม้                46,646.80       56,107.20       36,323.50    -22.1              -35.3
น้ำมันพืช               315,877.10      277,917.30      298,104.70     -5.6                7.3
ผลิตภัณฑ์นม             216,714.30      211,439.20      227,400.30      4.9                7.5
ธัญพืชและแป้ง           314,491.60      293,676.50      266,640.70    -15.2               -9.2
อาหารสัตว์           1,579,003.90    1,633,411.50    1,513,036.40     -4.2               -7.4
น้ำตาล              1,746,514.80    1,318,847.30    2,052,876.20     17.5               55.7
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป         30,761.90       35,461.50       22,568.40    -26.6              -36.4
รวม                4,503,840.50    4,179,398.70    4,754,391.90      5.6               13.8
รวม (ไม่รวมน้ำตาล)   2,757,325.70    2,860,551.40    2,701,515.70       -2               -5.6
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม  สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม

ตารางที่ 3          การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
                                     ------ มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)-------          การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                                              2551                2552           เทียบ            เทียบ
                                     ไตรมาสที่ 1    ไตรมาสที่ 4    ไตรมาสที่ 1       ไตรมาสก่อน   ไตรมาสเดียวกันปีก่อน
1. กลุ่มอาหารทะเล                      45,211.00    59,350.50    43,784.50         -26.2          -3.2
  - อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง              17,767.50    22,710.50    16,865.10         -25.7          -5.1
  - อาหารทะเลกระป๋อง                  15,915.30    18,054.20    14,071.10         -22.1         -11.6
  - อาหารทะเลแปรรูป                   11,528.20    18,585.90    12,848.20         -30.9          11.5
2. ปศุสัตว์                             11,270.70    17,052.20    13,361.30         -21.6          18.5
  - ไก่                               10,495.70    15,474.60    11,927.30         -22.9          13.6
  (1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง                     293.5        403.7        343.4         -14.9          17
  (2) ไก่แปรรูป                        10,202.30    15,070.90    11,584.00         -23.1          13.5
3. กลุ่มผักผลไม้                         17,814.90    17,466.40    16,469.50          -5.7          -7.6
 - ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง            2,474.80     2,445.40     2,872.80          17.5          16.1
 - ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง              2,111.40     1,434.10     1,799.00          25.4         -14.8
 - ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                10,990.90    11,549.20     9,773.10         -15.4         -11.1
 - ผักกระป๋องและแปรรูป                   2,237.70     2,037.70     2,024.60          -0.6          -9.5
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช                     75,389.40    51,240.40    67,915.00          32.5          -9.9
 - ข้าว                               43,414.40    35,422.30    39,587.20          11.8          -8.8
 - ผลิตภัณฑ์ข้าว                           1,280.7      1,872.2      1,665.9         -11.0          30.1
 - ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ      4,901.7      5,424.6      5,111.1          -5.8           4.3
 - ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                    15,291.6      8,521.4      8,798.4           3.3         -42.5
5. น้ำตาลทราย                          10,500.9      9,606.3     12,752.4          32.8          21.4
6. อาหารอื่นๆ                           10,409.4     12,358.8     10,473.5         -15.3           0.6
 - สิ่งปรุงรสอาหาร                        2,086.5      2,733.9      2,514.2          -8.0          20.5
 - นมและผลิตภัณฑ์นม                       1,082.4        992.2      1,034.3           4.2          -4.4
 - หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม              825.4      1,053.3        953.7          -9.5          15.5
 - ซุปและอาหารปรุงแต่ง                      393.3        571.7        620.1           8.5          57.7
 - ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์              3,722.7      3,167.1      1,567.3         -50.5         -57.9
 - เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์      1,639.7      2,948.7      2,891.4          -1.9          76.3
 - โกโก้และของปรุงแต่ง                      433.9        680.6        666.5          -2.1          53.6
 - ไอศกรีม                                225.5        211.3        226.0           6.9           0.2
รวม                                  170,596.2    167,074.6    164,756.1          -1.4          -3.4
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 4          การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

--มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ)-- การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)

                                                2551              2552      เทียบ            เทียบ

ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันปีก่อน

1. กลุ่มอาหารทะเล                         1,375.10    1,703.00    1,262.40    -25.9           -8.2
  - อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง                    540.5       669.5       486.2    -27.4            -10
  - อาหารทะเลกระป๋อง                        483.9       532.3       405.5    -23.8          -16.2
  - อาหารทะเลแปรรูป                         350.7       547.9       370.6    -32.4            5.7
2. ปศุสัตว์                                   342.6       502.7       385.5    -23.3           12.5
  - ไก่                                       319       456.2       344.1    -24.6            7.9
  (1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง                         8.9        11.9         9.9    -16.9           10.8
  (2) ไก่แปรรูป                              310.1       444.3       334.2    -24.8            7.8
3. กลุ่มผักผลไม้                               541.8       514.9       474.7     -7.8          -12.4
 - ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง                  75.3        72.1        82.8     14.9             10
 - ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง                    64.2        42.3        51.8     22.5          -19.4
 - ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                      334.2       340.5       281.8    -17.2          -15.7
 - ผักกระป๋องและแปรรูป                         68.1        60.1        58.3     -2.9          -14.3
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช                        1,974.90    1,510.60    1,589.40      5.2          -19.5
 - ข้าว                                  1,321.40    1,044.30    1,140.70      9.2          -13.7
 - ผลิตภัณฑ์ข้าว                                39.0        55.2        48.0    -13.0           23.3
 - ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ          149.1       159.9       147.3     -7.9           -1.2
 - ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                         465.4       251.2       253.3      0.8          -45.6
5. น้ำตาลทราย                               319.4       283.2       367.0     29.6           14.9
6. อาหารอื่นๆ                                317.3       364.4       301.9    -17.1           -4.8
 - สิ่งปรุงรสอาหาร                             63.5        80.6        72.5    -10.1           14.1
 - นมและผลิตภัณฑ์นม                            32.9        29.3        29.8      1.9           -9.5
 - หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม                 25.1        31.1        27.5    -11.4            9.5
 - ซุปและอาหารปรุงแต่ง                         12.0        16.9        17.9      6.1           49.4
 - ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์                  113.8        93.4        45.2    -51.6          -60.3
 - เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์           49.9        86.9        83.3     -4.2           66.9
 - โกโก้และของปรุงแต่ง                         13.2        20.1        19.2     -4.2           45.7
 - ไอศกรีม                                    6.8         6.2         6.5      4.6           -4.8
รวม                                      4,871.0     4,925.5     4,381.0    -11.1          -10.1
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 5          การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย
                              --------- มูลค่านำเข้า (ล้านบาท)--------         การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                                       2551                2552
                              ไตรมาสที่ 1     ไตรมาสที่ 4    ไตรมาสที่ 1  เทียบไตรมาสก่อน  เทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง          11,066.90     10,496.10     7,904.70     -24.7              -28.6
เมล็ดพืชน้ำมัน                     5,986.90      8,058.90     2,702.10     -66.5              -54.9
กากพืชน้ำมัน                      8,155.80     12,707.70     5,266.20     -58.5              -35.4
นมและผลิตภัณฑ์นม                  5,223.50      4,933.30     1,633.20     -66.9              -68.7
อาหารรวม                      62,759.50    116,257.70    49,327.20     -57.6              -21.4

                              ---- มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐ) ----           การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                                       2551                2552

ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 1 เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง                  333       462.6       225.5      -51.2              -32.3
เมล็ดพืชน้ำมัน                          179.5       264.8        76.8      -70.9              -57.2
กากพืชน้ำมัน                           245.5       247.6       150.1      -39.4              -38.9
 นมและผลิตภัณฑ์นม                      156.9       101.4        46.6        -54              -70.3
อาหารรวม                         1,888.50    2,181.10    1,406.90      -35.5              -44.5
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ