สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2552 (อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 27, 2009 15:06 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 103.83 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 20.53 หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.36

การปรับตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากส่วนหนึ่งจากการเติมเต็มในส่วนสินค้าคงคลังที่ปรับลดลง ประกอบกับอุณหภูมิในประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนยกเว้นกระติกน้ำร้อน และ โทรทัศน์สีขนาดจอเท่ากับ 21 นิ้ว หรือมากกว่า 21 นิ้วขึ้นไปที่ยังคงปรับตัวลดลงอยู่

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 มีมูลค่า 3,723.89 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 15.77 และปรับตัวลดลง ร้อยละ18.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 739.36 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง 15.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนสินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดอาเซียน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ มอเตอร์เล็ก เป็นต้น

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอยู่ในภาวะทรงตัว โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Monolithic IC ลดลงร้อยละ 23.68 และ 17.87 เป็นต้น

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 มีมูลค่ารวม 6,346.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.29 เมื่อเทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.79 ตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน อาเซียนและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2552 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ -14.60 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.72 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.16%

สถานการณ์การจ้างงานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เริ่มดีขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อทะยอยเข้ามา แต่ยังคงประสบปัญหาแรงงานที่เลิกจ้างงานแล้วก่อนหน้านี้ได้รับเงินชดเชยค่อนข้างมากและมาตรการส่งเสริมที่ดีทำให้การเรียกตัวแรงงานกลับมาทำงานในช่วงนี้เป็นไปได้ยาก

2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.1 การผลิต

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 103.83 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 20.53 หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.36

การปรับตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากส่วนหนึ่งจากการเติมเต็มในส่วนสินค้าคงคลังที่ปรับลดลง ประกอบกับอุณหภูมิในประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนยกเว้นกระติกน้ำร้อน และ โทรทัศน์สีขนาดจอเท่ากับ 21 นิ้ว หรือมากกว่า 21 นิ้วขึ้นไปที่ยังคงปรับตัวลดลงอยู่

สำหรับการปรับตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงทุกผลิตภัณฑ์ยกเว้นพัดลม มีสาเหตุที่ทำให้สินค้านั้นปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มสินค้าต่างๆปรับลดลงได้ดังนี้

1. กลุ่มสินค้าที่ปรับตัวลดลงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลงที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี โดยมีสินค้าทดแทนกลุ่มเดียวกันได้แก่ LCD TV เป็นต้น ทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดียและตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น ขณะที่ LCD TV มีการผลิตและทำการแข่งขันเพิ่มขึ้นทำให้ราคาปรับลดลงบ้างเพื่อกระตุ้นยอดขาย

2. กลุ่มสินค้าปรับตัวลดลงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอลงเนื่องจากประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อ ได้แก่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งตลาดส่งออกหลัก เช่น อียู และญี่ปุ่น ชะลอคำสั่งซื้อค่อนข้างมาก

เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 6.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีบางผลิตภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ตู้เย็น แอลซีดีทีวี และเครื่องเล่นดีวีดี ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากปัจจุบันมีเครื่องเล่นดีวีดีที่สามารถบันทึกภาพได้ในเครื่องเดียวกัน ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้นมากจากผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออกสู่ตลาดส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆยังคงปรับตัวลดลงโดยเฉพาะกล้องถ่ายวิดีโอ กล้องถ่ายรูปดิจิตอล ที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 51.98 และ 31.92 ตามลำดับ

2.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.58

สินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ สายไฟฟ้า พัดลม เครื่องปรับอากาศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 45.35% 30.61% และ 30.58% ตามลำดับ

ขณะที่ สินค้าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต ปรับตัวลดลง 47.51% 35.72% และ 30.56% ตามลำดับ

ภาวะการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดในประเทศที่ชะลอลงจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศ มีเพียงการจัดซื้อเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม และการทำตลาดจากงานโครงการ และมหกรรมสินค้าราคาประหยัดที่สามารถกระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง ขณะที่ ตลาดส่งออกหลักที่มีสัดส่วนเกือบ 50% เกิดภาวะหดตัวมีคำสั่งซื้อลดลงทำให้มูลค่าการส่งออกปรับลดลงสูงมาก ตลาดดังกล่าว เช่น อียู อาเซียน และญี่ปุ่น เป็นต้น

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 มีมูลค่า 3,723.89ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 15.77 และปรับตัวลดลง ร้อยละ18.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า และกล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่งโดยมีมูลค่าส่งออก 599.81 ล้านเหรียญสหรัฐ 319.90 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 250.78 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์มีสัดส่วน 1 ใน 3 ของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ล้วนแล้วแต่ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งสิ้น แต่กระเตื้องขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากฐานมูลค่าส่งออกค่อนข้างสูงในปี 2551 จึงเป็นไปได้ยากที่จะมีมูลค่าส่งออกเท่ากันหรือมากกว่าช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ซึ่งมีภาวะการส่งออกค่อนข้างดี

เครื่องปรับอากาศมีการปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 30.86% ทั้งนี้เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของเครื่องปรับอากาศที่ส่งไปยังตลาดอียูนั้นปรับตัวลดลง ถึงร้อยละ 56.23 เนื่องจากกำลังซื้อที่ปรับลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่หดตัวเป็นส่วนใหญ่

ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงร้อยละ 4.57 โดยมีมูลค่าส่งออก 233.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการตลาดส่งออกสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลง 10.28%

สำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 739.36 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง 15.08% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดอาเซียน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ มอเตอร์เล็ก เป็นต้น

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น มีมูลค่าส่งออก 541.78 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง 18.83% สามารถสรุปสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักได้ดังนี้

3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

3.1 การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอยู่ในภาวะทรงตัว โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Monolithic IC ลดลงร้อยละ 23.68 และ 17.87 เป็นต้น

การผลิตเพื่อส่งออกที่ปรับตัวลดลงโดยเฉพาะส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ HDD และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น IC เนื่องจากภาวะชะลอตัวของการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดส่งออกหลักของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ ถึงแม้จะมีการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะ HDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2549 และต้นปี 2550 เพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีน แต่ในช่วงเดือนธันวาคม 2552 ต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 1/2552 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยเพียง 61.65% เท่านั้น จากเดิมที่เคยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเกือบเต็มที่ ประมาณ 85-100% แต่มีสัญญาณที่ดีเนื่องจากในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 71.34% ทำให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมของส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ค่อยๆขยับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนๆ

ขณะที่ การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ ขณะที่การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลงความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้นใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท

3.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะท้อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.19 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 3.57

จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association) ของสหรัฐอเมริกาให้ข้อคิดเห็นว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่สหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อเนื่องถึงอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงและการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นของทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภค

มูลค่าการจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกปรับตัวลดลง ร้อยละ 22.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับตัวลดลงของทุกภูมิภาคทั่วโลก รวมถึงในเอเชียแปซิฟิกทั้งที่ในไตรมาสที่ 1-3 ของปี 2551 จากการจำหน่าย Consumer Electronics ที่มีเจริญเติบโตสูงมาก ทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างดี แต่ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ปี 2552 กลับปรับตัวลดลง 29.39% และ 22.42% ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าตลาดญี่ปุ่นและอียูที่มีมูลค่าการจำหน่ายค่อนข้างทรงตัวจากไตรมาสก่อน และมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ ตลาดเอเซียแฟซิฟิกและตลาดอเมริกาปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน

การส่งออก

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 มีมูลค่ารวม 6,346.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.29 เมื่อเทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.79 ตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน อาเซียนและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 51.68

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ตลาดจีน อาเซียน และสหรัฐอเมริกา มีอัตราการขยายตัวลดลง 4.42% 1.34% และ 25.53% ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่ส่งออกสามารถสรุปสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักดังกล่าวได้ดังนี้

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552

จากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนสิงหาคม 2552 ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2552 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ -14.60 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศปรับตัวลดลงร้อยละ -12.29 และการปรับตัวลดลงของดัชนีการส่งสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ (ไม่รวม LCD/Plasma) โดยประมาณการว่าจะชะลอตัวโดยปรับตัวลดลง -40.00 %YoY

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมตู้เย็นในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.73 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากดัชนีชี้นำที่ส่งสัญญาณค่อยๆฟื้นตัว เช่น มูลค่าการนำเข้าคอมเพรสเซอร์ ซึ่งคอมเพรสเซอร์เครื่องทำความเย็นถือเป็นส่วนประกอบหลักและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของประเทศญี่ปุ่น

ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.72 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.16% แต่ IC ปรับตัวลดลง 14.21% ทั้งนี้เนื่องจากส่วนประกอบและชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับความต้องการในตลาดโลก ซึ่งตัวแปรที่ชี้นำส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมของประเทศที่มีความรุดหน้าทางเทคโนโลยี ได้แก่ ตัวแปรดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศ OECD และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

สถานการณ์การจ้างงานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เริ่มดีขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อทะยอยเข้ามา แต่ยังคงประสบปัญหาแรงงานที่เลิกจ้างงานแล้วก่อนหน้านี้ได้รับเงินชดเชยค่อนข้างมากและมาตรการส่งเสริมที่ดีทำให้การเรียกตัวแรงงานกลับมาทำงานในช่วงนี้เป็นไปได้ยาก

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ