รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประจำเดือนพฤศจิกายน 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 2, 2010 14:10 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนตุลาคม 2552
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2552 ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2552 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.5 โดยภาพรวมแล้วการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และเครื่องนุ่งห่ม ปรับตัวดีขึ้นมากมีอุตสาหกรรมสำคัญเพียงบางอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง คือ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นการผลิตที่ลดลงตามแผนการผลิตของอุตสาหกรรมนั้นๆ มิใช่เนื่องจากคำสั่งซื้อลดลงหรือเศรษฐกิจซบเซา
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนตุลาคม 2552 อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.8 หากพิจารณาเป็นรายสาขาอุตสาหกรรมจะพบว่า อัตราการใช้กำลังการผลิตในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนพฤศจิกายน 2552

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะขยายตัวตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี
  • สำหรับการลดค่าเงินด่องของประเทศเวียดนามอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในระยะยาว โดยเฉพาะสิ่งทอที่ต้องแข่งขันกับเวียดนามโดยตรง เนื่องจากจะทำให้ราคาสินค้าเวียดนามถูกกว่าไทย สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ไทยผลิตได้นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่า อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

  • สถานการณ์เหล็กในเดือนพฤศจิกายน 2552 ในส่วนเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะลดลงเล็กน้อยเนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมไม่ใช่เกิดจากความต้องการใช้ที่แท้จริงของผู้ใช้ แต่เป็นเพราะว่าผู้ใช้คาดการณ์ว่าราคาจะขึ้นไปอีก จึงสั่งซื้อไว้เพื่อเก็บเป็นสต๊อก แต่เมื่อราคาในตลาดโลกกลับลดลงในขณะที่ความต้องการยังคงชะลอตัวอยู่ จึงมีผลทำให้คาดการณ์ว่าเหล็กทรงยาวในเดือนพฤศจิกายนจะมีการผลิตที่ลดลง
  • ในขณะที่เหล็กทรงแบนคาดว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เริ่มขยายตัวขึ้น
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ก.ย. 52 = 186.3

ต.ค. 52 = 180.2

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • สายไฟฟ้า

อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.ย. 52 = 60.0

ต.ค. 52 = 60.8

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • เหล็ก
  • อิเล็กทรอนิกส์
  • เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนตุลาคม 2552 มีค่า 180.2 ลดลงจากเดือนกันยายน 2552 (186.3)ร้อยละ 3.3 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (181.1) ร้อยละ 0.5

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน2552 ได้แก่ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ยาสูบ สายไฟฟ้า สบู่และผงซักฟอก ยา เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ ยานยนต์ เครื่องแต่งกาย ผ้าถัก รองเท้า โทรทัศน์สี เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนตุลาคม 2552 อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 (ร้อยละ 60.0) แต่ทรงตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (ร้อยละ 60.8)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ได้แก่ เหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน น้ำโซดาและน้ำดื่มบริสุทธิ์ ผลไม้และผัก กระป๋อง เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตทรงตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เหล็ก เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อิเล็กทรอนิกส์ Hard Disk Drive เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2552

  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2552 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 363 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 343 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 5.83 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 14,440 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีการลงทุน 13,701
ล้านบาท ร้อยละ 5.39 แต่การจ้างงานรวมมีจำนวน 8,468 คน ลดลงจากเดือนกันยายน 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,568 คน ร้อยละ 19.87
  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 336 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 8.04 แต่การจ้างงานรวมลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,468 คน ร้อยละ 10.56 มียอดเงินลงทุน
รวมลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีการลงทุน 19,518 ล้านบาท ร้อยละ 26.02
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2552 คืออุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนจากไม้ จำนวน 30 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม เชื่อมกลึง เจียน โลหะ จำนวน 23 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2552 คืออุตสาหกรรมทำน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ เงินลงทุน 3,193 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง เงินลงทุน
2,703 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2552 คืออุตสาหกรรมทำน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ จำนวนคนงาน 738 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้าจากหนัง ผลิตรองเท้าแตะ รองเท้า
แฟชั่น รองเท้าอื่นๆ และชิ้นส่วนรองเท้าจากหนังสัตว์และวัสดุอื่นๆ จำนวนคนงาน 556 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2552 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 87 ราย เท่ากันกับเดือนกันยายน 2552 มีเงินทุนของการเลิกกิจการจำนวน 1,178 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกันยายน 2552 ที่ การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,579 ล้านบาท แต่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,779 คน มากกว่าเดือนกันยายน 2552 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 1,669 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 153 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.14 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนตุลาคม 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,597 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนตุลาคม 2551 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,782 คน
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2552 คือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ พ่นสีรถยนต์ จำนวน 8 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุด ตักดิน ทราย สำหรับใช้ในการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ ทั้งสองอุตสาหกรรม จำนวน 7 รายเท่ากัน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2552 คือ อุตสาหกรรมทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่าง ๆ เงินทุน 270 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตแผ่นซีดี เงินทุน 199 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำ นวนคนงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2552 คือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้าจากหนัง ผลิตรองเท้าแตะ รองเท้าแฟชั่น รองเท้าอื่นๆ และชิ้นส่วนรองเท้าจากหนังสัตว์และวัสดุอื่นๆ คนงาน 2,766 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต
เครื่องเรือนจากไม้ คนงาน 271 คน
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 779 โครงการ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 975 โครงการ ร้อยละ 20.1 และมีเงินลงทุน 187,700 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 331,800 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.43
  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-ตุลาคม 2552
          การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)        มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%               257                     61,900
          2.โครงการต่างชาติ 100%              283                     62,100
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ        239                     63,700
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม- ตุลาคม 2552 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 72,800 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 45,600 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่เพิ่มขึ้นจากความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

1. การผลิต

ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 8.7 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น ไก่แปรรูป สับปะรดกระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 53.3 และ 2.4 ตามลำดับ จากคำสั่งซื้อของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลืองและอาหารสัตว์ (ไก่) มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 7.1 และ 10.2 เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนตุลาคม สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 10.6 เนื่องจากผู้บริโภคเพิ่มการจับจ่ายใช้สอย ตามความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

2) ตลาดต่างประเทศ เดือนตุลาคม มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาท (ไม่รวมน้ำตาล) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.4 เนื่องจากราคาสินค้าอาหารส่วนใหญ่ในตลาดโลกปรับลดลงกระตุ้นความต้องการที่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่ว โลกที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และสับปะรดกระป๋อง ร้อยละ 13.1 5.9 และ 17.7 ตามลำดับ แต่หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกโดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.4 เป็นผลจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากเข้าสู่ช่วงการสั่งซื้อจากต่างประเทศ เพื่อรองรับในเทศกาลต่างๆ ในช่วงปลายปี สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยที่จะเพิ่มขึ้นตามความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“การลดค่าเงินด่องของประเทศเวียดนามอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในระยะยาว”

1. การผลิต

ภาวะการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ในเดือนตุลาคม 2552 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและลดลงร้อยละ 3.5 เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 และ 0.5 ตามลำดับ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตยังติดลบแต่ติดลบในสัดส่วนที่ลดลงร้อยละ 33.4 และ 12.2 ตามลำดับ

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนตุลาคม 2552 มีทิศทางการขยายตัวที่ดีเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนทั้งเส้นใยสิ่งทอฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผลิตจากผ้าทอขยายตัวร้อยละ 1.2, 14.1 และ 18.1 ตามลำดับ ซึ่งความต้องการบริโภค ยังมีค่อนข้างสูง ส่งผลให้การจำหน่ายโดยรวมมีทิศทางที่ดีการส่งออก เดือนตุลาคม 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.8 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม (+5.3%) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (+5.1%) ผ้าผืน (+13.8%) ด้ายฝ้าย (+20.8%) เคหะสิ่งทอ(+2.8%) และเส้นใยประดิษฐ์ (+2.8%) เป็นต้น การส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา (+0.3%) สหภาพยุโรป (+9.8%) ญี่ปุ่น (+7.2%)และอาเซียน(+11.7%) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกยังคงติดลบในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 26.0 และ 7.2 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปคาดว่าจะขยายตัวตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี สำหรับ การลดค่าเงินด่องของประเทศเวียดนามอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในระยะยาว โดยเฉพาะสิ่งทอที่ต้องแข่งขันกับเวียดนามโดยตรง เนื่องจากจะทำให้ราคาสินค้าเวียดนามถูกกว่าไทย สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ไทยผลิตได้นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่า อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
  • สมาคมเหล็กโลกคาดว่า การบริโภคเหล็กโลก(Apparent Steel Use) ในปีนี้จะลดลง ร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมเหล็กโลกคาดว่า การบริโภคเหล็กจะฟื้นตัวในปีหน้า โดยการบริโภคเหล็กในปี 2010 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,205.6 ล้านตัน

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนตุลาคม 2552 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ขยายตัวขึ้น ร้อยละ 15.20 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.36 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.62 รองลงมาคือเหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.86 และลวดเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.44 เนื่องจากในช่วงเดือนกรกฎาคม- กันยายน ราคาเหล็กเส้นในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้ใช้เกรงว่าราคาจะเพิ่มขึ้นไปอีกจึงสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจึงผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับ เหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิต เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.62 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.17 เนื่องจากเมื่อเดือนก่อนผู้ผลิตโรงงานหนึ่งประสบปัญหาเครื่องจักรขัดข้อง จึงทำให้ผลิตได้ไม่เต็มที่ ทำให้เดือนนี้มีทั้งคำสั่งซื้อสะสมจากเดือนก่อนและเดือนปัจจุบัน จึงทำให้การผลิตโดยรวมสูงขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 66.81 โดยเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 97.33 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 395.72 และเหล็กลวด ร้อยละ 186.28 เนื่องจากเมื่อปีที่แล้วสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างซบเซาประกอบกับปริมาณสินค้าคงคลังที่ยังคงมีอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.36 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 230.89 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.33

2.ราคาเหล็ก

การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กสำคัญมีการปรับตัวลดลงโดย เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 474 เป็น 410 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 13.57 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 529 เป็น 493 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 6.65 เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต ลดลง จาก 412 เป็น 385 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 6.44 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 625 เป็น 600 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 4.00 และเหล็กเส้น ลดลงจาก 456 เป็น 446 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 2.23

3. แนวโน้ม

สถานการณ์เหล็กในเดือนพฤศจิกายน 2552 ในส่วนเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะลดลงเล็กน้อย เนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมไม่ใช่เกิดจากความต้องการใช้ที่แท้จริงของผู้ใช้ แต่เป็นเพราะว่าผู้ใช้คาดการณ์ว่าราคาจะขึ้นไปอีก จึงสั่งซื้อไว้เพื่อเก็บเป็นสต๊อก แต่เมื่อราคาในตลาดโลกกลับลดลงในขณะที่ความต้องการยังคงชะลอตัวอยู่ จึงมีผลทำให้คาดการณ์ว่าเหล็กทรงยาวในเดือนพฤศจิกายนจะมีการผลิตที่ลดลง ในขณะที่เหล็กทรงแบนคาดว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เริ่ม ขยายตัวขึ้น

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

“ บริษัท ซูซูกิ ออโตโมบิล แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย) จำกัด จัดพิธีวางศิลาฤกษ์โรงงานผลิตรถยนต์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 ณ นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง ด้วยเงินลงทุน7,500 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นโรงงานผลิตรถยนต์ที่มีขีดความสามารถขึ้นรูป เชื่อม พ่นสี ประกอบ และผลิตเครื่องยนต์ โดยวางแผนจะเริ่มการผลิต Eco Car ที่โรงงานแห่งนี้ ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2555 เป็นต้นไป ”

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมรถยนต์ขยายตัวทั้งการผลิต การจำหน่ายในประเทศ และการส่งออก สำหรับข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม มีดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 115,043 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีการผลิต 124,656 คัน ร้อยละ 7.71 แต่มีปริมาณการ
ผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ร้อยละ 11.27
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 53,271 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 48,942 คัน ร้อยละ 8.85 โดย
เป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 23.44 และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ร้อยละ 9.50
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 59,502 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม2551 ซึ่งมีการส่งออก 67,531 คัน ร้อยละ 11.89 ซึ่งเป็นการลดลงในตลาดยุโรป, อเมริกากลางและอเมริกาใต้ และตะวันออกกลางแต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ร้อยละ 20.57
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2552 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2552 เนื่องจากผู้ประกอบการรถยนต์มีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นตลาดอีกทางหนึ่ง สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 53 และส่งออกร้อยละ 47

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 163,863 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีการผลิต 176,726 คัน ร้อยละ 7.28 แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2552 ร้อยละ 12.11 โดยเป็นผลจากการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 119,918 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 138,368 คัน ร้อยละ 13.33 และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2552 ร้อยละ 7.12
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 6,237 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งมีการส่งออก 8,961 คัน
ร้อยละ 30.40 และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2552 ร้อยละ 16.47
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2552 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2552 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 94 และส่งออกร้อยละ 6
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับการส่งออกถึงแม้ว่าจะเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศตลาดส่งออกหลักของไทยก็ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังคงมีการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนตุลาคม 2552 ปริมาณการผลิตในประเทศเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.22 สำหรับการจำหน่ายในประเทศ ลดลงเพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 0.48 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.05 และ 1.46 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในภาพรวม ภาวะของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เริ่มฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเพิ่มการผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลก่อสร้างในช่วงไตรมาสที่ 4

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนกันยายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลง ร้อยละ 10.38 ซึ่งลดลงในตลาดส่งออกที่สำคัญของ ไทย โดยเฉพาะประเทศบังคลาเทศ เวียดนาม และ เมียนมาร์ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.48

3.แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม 2552 มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น เนื่องจาก เป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาลก่อสร้าง และธุรกิจการก่อสร้างยังมีปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ รวมทั้งโครงการขนาดใหญ่ ต่างๆ ที่รัฐบาลมีแผนการดำเนินการ ส่วนใหญ่อาจเริ่มก่อสร้างได้จริงประมาณต้นปี 2553 หากรัฐบาลมีการเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น สำหรับการส่งออก ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวแต่ความต้องการใช้ ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน ตลาดใหม่ในประเทศแถบแอฟริกาและตะวันออกกลาง ยังคงมีโอกาสที่จะขยายตัวได้ เนื่องจากประเทศ เหล่านี้เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังคงมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์เนื่องจากมีกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเดือนพฤศจิกายน 2552 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.47 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.67 และ 5.86 ตามลำดับ จากกำลังซื้อเริ่มกลับมาของตลาด EU
  • ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.70 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของส่วนประกอบ HDD ชิ้นส่วน IC และเซมิคอนดักเตอร์เริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการผลิต HDD ปรับตัวสูงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีความต้องการจากสินค้าสำเร็จรูปค่อนข้างมาก

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนตุลาคม 2552 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 354.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 และเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 9.86 โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.39 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.44 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 11.08 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของ HDD ทั้งนี้ เป็นผลจากการเร่งการผลิตของช่วงก่อนหน้าค่อนข้างมากทำให้มีสินค้าคงคลังเหลือมากพอที่ยังไม่ต้องผลิตใหม่เพิ่มขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ HDD มีการปรับตัวลดลง 15.86

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนตุลาคม 2552 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 2.57 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.39 มีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,195.85 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนตุลาคม 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 6.11 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 มีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,603.82 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 2,592.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 7.26 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 2.00

3. แนวโน้ม

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเดือนพฤศจิกายน 2552 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.47 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลักโดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.67 และ 5.86 ตามลำดับ จาก กำลังซื้อเริ่มกลับมาของตลาด EU

ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.70 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของส่วนประกอบ HDD ชิ้นส่วน IC และเซมิคอนดักเตอร์เริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการผลิต HDD ปรับตัวสูงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีความต้องการจากสินค้าสำเร็จรูปค่อนข้างมาก

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการ

ส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ต.ค. 2552

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์          มูลค่า           %MoM            %YoY
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์              1,489.19         -10.78           -3.52
          IC                            673.76          -4.77           24.13
          เครื่องปรับอากาศ                 182.04           5.66           11.97
          เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า                152.10           6.77          -11.33
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4,195.85          -2.57            0.39

ที่มา กรมศุลกากร

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ