เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนมิถุนายน 2547 ยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยกิจกรรมการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงบ้าง แต่การใช้จ่ายของภาครัฐบาลขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าเดือนก่อน และการส่งออกเร่งตัวจากอุปสงค์ในต่างประเทศที่อยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้มูลค่าส่งออกที่ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเร่งตัวขึ้นมากจากเดือนก่อนทั้งการส่งออกเพื่อการค้าระหว่างประเทศและค้าชายแดน อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลหลักลดลงเล็กน้อย เนื่องจากราคาลิ้นจี่ตกต่ำเป็นสำคัญ ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าเดือนก่อนโดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออกและภาคบริการขยายตัวจากการประชุมสัมมนา ระดับราคาเร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสัตว์และผัก
ครึ่งแรกปี 2547 เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวได้ดี จากการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ นอกจากนี้การใช้จ่ายภาครัฐยังมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการก่อสร้างชะลอในไตรมาสแรกของปี เนื่องจากได้เร่งซื้อขายบ้านอยู่อาศัยช่วงปลายปีก่อน ประกอบกับราคาเหล็กเส้นอยู่ในเกณฑ์สูงและกิจกรรมการใช้จ่ายของภาคเอกชนเริ่มชะลอลงในไตรมาสที่สอง ทางด้านอุปทานปรากฏว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากตามการส่งออก ภาคบริการขยายตัวจากกิจกรรมสนับสนุนการท่องเที่ยวได้แก่ หมีแพนดาและสายการบินต้นทุนต่ำ ประกอบกับการพัฒนาตลาดการประชุมสัมมนา (MICE) รวมทั้งไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรค SARS เช่นปีก่อน ขณะที่รายได้เกษตรกรลดลงจากปัจจัยด้านราคาเนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากและต้องแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศ สำหรับผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดนกทำให้ราคาไข่และไก่สูงขึ้นจากอุปทานที่ลดลง ความเชื่อมั่นในการบริโภคไก่ของประชาชนกลับมาใกล้เคียงกับภาวะปกติในช่วงปลายไตรมาสที่สอง ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบกับร้อยละ 2.1 ระยะเดียวกันปีก่อน
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2547 และครึ่งแรกปี 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ในเดือนมิถุนายนผลผลิตพืชผลสำคัญของภาคเหนือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 ตามผลผลิตของลิ้นจี่ หอมแดง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 ร้อยละ 37.8 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นปลายปีก่อนทำให้ลิ้นจี่ติดผลมาก ประกอบกับราคาหอมแดงและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก แต่ราคาพืชผลหลักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 4.6 ตามราคาลิ้นจี่ กระเทียมและหอมหัวแดง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักลดลงร้อยละ 0.8
ครึ่งแรกปี 2547 ผลผลิตพืชสำคัญของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยผลผลิตอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกตามการส่งเสริมของโรงงานน้ำตาล ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และหอมแดง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 และร้อยละ 37.8 ตามลำดับ เนื่องจากราคาในฤดูการผลิตก่อนจูงใจ ผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ผลผลิตข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 9.9 เนื่องจากเกษตรกรเลื่อนการเพาะปลูกออกไปและผลผลิตบางส่วนเสียหายจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ด้านราคาพืชผลหลักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 7.6 ตามราคาอ้อยเบื้องต้นที่ลดลง ส่วนราคากระเทียมและหอมแดงลดลงร้อยละ 34.8 และ 38.9 ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากและต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และราคามันสำปะหลังลดลงร้อยละ 22.9 ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6
สำหรับสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อการบริโภคไก่มากขึ้น ส่งผลให้การบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 90-95 ของภาวะปกติ ราคาไก่เนื้อและไข่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 41.4 และร้อยละ 63.9 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวมากตามการผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ โดยมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 เร่งตัวจากร้อยละ 24.5 เดือนก่อน เป็น 142.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตสังกะสีเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เป็น 10,305 เมตริกตัน ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมที่จัดเก็บได้ในเดือนพฤษภาคม 2547 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.5 เป็น 74.7 ล้านบาท
ครึ่งแรกปี 2547 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 35.6 เป็น 790.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งความต้องการมีมากในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยุโรป กีฬาโอลิมปิก และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผลผลิตน้ำตาลในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เป็น 1,575.2 พันเมตริกตัน ตามปริมาณผลผลิตและคุณภาพอ้อยที่เพิ่มและดีขึ้น การผลิตสังกะสีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เป็น 56,550 เมตริกตัน
3. ภาคบริการ ชะลอตัวตามฤดูกาล แต่ขยายตัวในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานสำคัญในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.8 โดยเพิ่มขึ้นมากที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และเชียงราย ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42.4 เทียบกับ ร้อยละ 36.3 ปีก่อน สำหรับราคาห้องพักเฉลี่ย 820.72 บาท สูงกว่า 722.42 บาทต่อห้อง เดือนเดียวกันปีก่อนส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากตลาดการประชุมสัมมนาของทั้งภาครัฐและเอกชน และยังมีแรงสนับสนุนจากกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวได้แก่ การเข้าเยี่ยมชมหมีแพนดา โดยเฉพาะการเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัด (Low Fare Airline)
ครึ่งแรกปี 2547 ขยายตัวในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.8 โดยเพิ่มมากที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และเชียงรายเนื่องจากไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) เช่นปีก่อน และเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปี 2545 ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากกิจกรรมการเข้าเยี่ยมชมหมีแพนดา การจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในเทศกาลสงกรานต์ การพัฒนาการท่องเที่ยวในตลาดการประชุมสัมมนา (MICE) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและธุรกิจสปา รวมทั้งการเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัด (Low Fare Airline) สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 49.4 ปีก่อน เป็นร้อยละ 54.7 และราคาห้องพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 816.17 บาทต่อห้องปีก่อน เป็น 906.76 บาทต่อห้อง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ชะลอลงจากเดือนก่อน กิจกรรมการใช้จ่ายบางประเภทชะลอลงมาก เช่น ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 7.6 และชะลอลงมากในภาคเหนือตอนบน สำหรับจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักของภาคเหนือตอนล่างยังคงเพิ่มขึ้น สำหรับยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ชะลอลงทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์
ครึ่งแรกปี 2547 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคชะลอลงจากครึ่งหลังปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ราคาน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นและรายได้เกษตรกรโดยเฉพาะในภาคเหนือตอนบนลดลง แต่ยังอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน กิจกรรมการใช้จ่ายที่สำคัญยังขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทขายส่ง/ขายปลีกช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.1 การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.6 ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.2 เร่งตัวตามการขยายตัวของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ทั้งในภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ชะลอลง โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.9 เทียบกับร้อยละ 48.9 ระยะเดียวกันปีก่อน และชะลอลงมากในภาคเหนือตอนบนเป็นสำคัญ
5. การลงทุนภาคเอกชน กิจกรรมลงทุนด้านก่อสร้างที่สำคัญชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าโดยเฉพาะในอำเภอรอบนอกของภาคเหนือตอนบน ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมขายที่ดินเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 ชะลอลงจากร้อยละ 35.9 ในเดือนก่อน ขณะที่พื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 25.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 เดือนก่อน สำหรับเงินลงทุนของโรงงานจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.4 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร การลงทุนผลิตมีสัญญาณที่ดี เงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติ
ส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสนใจลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสำคัญ
ครึ่งแรกปี 2547 การลงทุนก่อสร้างชะลอลงจากครึ่งหลังปีก่อน เนื่องจากได้เร่งก่อสร้างและซื้อขายบ้านอยู่อาศัยไปแล้วก่อนที่มาตรการลดหย่อนของภาครัฐสิ้นสุดปลายปีก่อน ประกอบกับราคาเหล็กเส้นอยู่ในเกณฑ์สูง ทั้งนี้พื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 60.8 ในครึ่งหลังปีก่อน สำหรับค่าธรรมเนียมขายที่ดินชะลอลงเช่นกันแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.5 และขยายตัวทั้งในภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง สำหรับการลงทุนผลิตขยายตัวในเกณฑ์สูง มูลค่านำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบในเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 73.1 เร่งตัวมากตามการขยายตัวของเครื่องจักรกลนำเข้าจากญี่ปุ่นและมาเลเซีย ขณะที่เงินลงทุนของโรงงานจดทะเบียนตั้งใหม่อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนผลิตในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ขนส่งและซ่อมยานพาหนะ การก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเครื่องเรือน สำหรับความสนใจลงทุนเพื่อการผลิตอยู่ใน เกณฑ์ดี เงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 88.3 โดยสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ เกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร บริการสาธารณูปโภค และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นสำคัญ
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 เป็น 12,159.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในหมวดงบกลางและเงินเดือนร้อยละ 31.9 และร้อยละ 11.5 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่และพิษณุโลก ทางด้านการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.6 เป็น 3,107.6 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นมากจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะกว่าเท่าตัว ภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจัดเก็บเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.4 และร้อยละ 31.5 ตามลำดับ ส่งผลให้ขาดดุลเงินในงบประมาณ 9,051.8 ล้านบาท เทียบกับ 7,110.0 ล้านบาท เดือนก่อน
ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2547 ( ตุลาคม 2546 - มิถุนายน 2547) การใช้จ่ายของภาครัฐบาลผ่านคลังจังหวัด/คลังอำเภอในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.8 ระยะเดียวกันปีก่อน เป็น 86,158.3 ล้านบาท รายจ่ายหมวดลงทุนและประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 และร้อยละ 5.6 ตามลำดับ ทางด้านการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 เป็น 12,331.8 ล้านบาท เทียบกับร้อยละ 7.0 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะกว่าเท่าตัว ภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 33.4 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 19.0 ตามลำดับ ขาดดุลเงินในงบประมาณ 73,826.5 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 70,073.0 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือขยายตัวในเกณฑ์สูงโดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 41.7 เป็น 190.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากร้อยละ 29.8 เดือนก่อน ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 เป็น 142.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทส่วนประกอบในโทรทัศน์ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา อัญมณี ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ไปยังตลาดสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น และอิสราเอล มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็น 12.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ส่วนมูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 34.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามมูลค่าส่งออกไปพม่าที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 30.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทน้ำมันพืช ผงชูรส ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่มูลค่าส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เป็น 3.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำมันพืช มูลค่าการนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือชะลอตัว โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 15.0 เป็น 108.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมูลค่านำเข้าผ่านด่านนิคมฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เป็น 99.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องจักรลดลง เนื่องจากมีการนำเข้ามากแล้วในช่วงก่อนหน้า
ส่วนมูลค่านำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัว เป็น 7.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัว เป็น 3.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากอาหารทะเลเป็นสำคัญ และการนำเข้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว เป็น 2.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าไม้แปรรูปและกระเทียม
ดุลการค้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนมิถุนายน 2547 เกินดุล 82.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 40.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน
ครึ่งแรกปี 2547 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3 เป็น 1,058.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเพิ่มขึ้นทั้การส่งออกสินค้าจากด่านฯนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือร้อยละ 35.6 เป็น 790.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามอุปสงค์สินค้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ผลิตสินค้าในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยุโรป และโอลิมปิกเกมส์ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และเกมของเล่นและอุปกรณ์กีฬา ไปยังญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา มูลค่าส่งออกผ่านด่านฯท่าอากาศยานเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เป็น 71.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนมูลค่าส่งออกชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.3 เป็น 197.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่าเป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้า ช่วงครึ่งแรกปี 2547 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.4 เป็น 679.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 โดยมูลค่านำเข้าสินค้าผ่านด่านฯนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.1 เป็น 635.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าประเภทวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบและสินค้าทุน มูลค่านำเข้าผ่านด่านฯท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เป็น 8.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่มูลค่านำเข้าผ่านด่านชายแดน เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 35.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าจาก พม่า จีนตอนใต้ และลาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 138.0 ร้อยละ 124.0 และร้อยละ 6.0 ตามลำดับ ดุลการค้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือช่วงครึ่งแรกปี 2547 เกินดุล 379.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 252.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 เร่งตัวจากเดือนก่อน ทั้งหมวดอาหารและพลังงาน ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เนื่องจากราคาผักสดสูงขึ้นจากผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลงและราคาเนื้อสุกรสูงขึ้นตามความต้องการบริโภค สำหรับราคาอาหารหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 ตามราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำและลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1
ครึ่งแรกปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวจากครึ่งหลังปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบกับร้อยละ 2.1 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นทั้งหมวดอาหารและพลังงาน ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ตามราคาเนื้อสุกรที่เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกทำให้ผู้บริโภคบางส่วนหันมาบริโภคเนื้อสุกรทดแทน และราคาข้าวสารเจ้าหอมมะลิที่อยู่ในเกณฑ์สูงโดยเฉพาะในไตรมาสแรก เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศ ประกอบกับราคาผักสดเพิ่มขึ้นมากในไตรมาสที่ 2 เพราะผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง อย่างไรก็ตาม การที่ภาครัฐขอให้ผู้ประกอบการตรึงราคาสุกรมีชีวิตและผู้บริโภคบางส่วนหันกลับไปบริโภคเนื้อไก่มากขึ้น ทำให้ราคาเนื้อสุกรชะลอลงในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน สำหรับราคาอาหารหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ
ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำและลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนพฤษภาคม 2547 พบว่าภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.6 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 95.6 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำกว่าร้อยละ 96.0 เดือนเดียวกันปีก่อน การจ้างงานในภาคเกษตรยังหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 เนื่องจากสภาพแห้งแล้งกว่าปกติ ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 12.8 โดยสาขาที่ขยายตัวได้ดีคือ สาขาก่อสร้าง การผลิต และการค้าส่งปลีก สำหรับผู้ว่างงานมีจำนวน 0.2 ล้านคน อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม สูงขึ้นจากร้อยละ 2.9 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีแรงงานที่สำเร็จการศึกษาเข้าสู่ตลาด
10. การเงิน เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 3.4 ส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากของเกษตรกรที่มีรายได้จากการขายผลผลิต เช่น ลิ้นจี่ หอมแดง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากชั่วคราวของนักลงทุนที่ชะลอการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 10.0 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากการให้สินเชื่อแก่ภาคอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจโรงสีข้าวเพื่อใช้ปรับปรุงและขยายกำลังการผลิตและสินเชื่อแก่ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ สนามกอล์ฟและสถาบันการศึกษา รวมทั้งสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
ครึ่งแรกปี 2547 เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวได้ดี จากการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ นอกจากนี้การใช้จ่ายภาครัฐยังมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการก่อสร้างชะลอในไตรมาสแรกของปี เนื่องจากได้เร่งซื้อขายบ้านอยู่อาศัยช่วงปลายปีก่อน ประกอบกับราคาเหล็กเส้นอยู่ในเกณฑ์สูงและกิจกรรมการใช้จ่ายของภาคเอกชนเริ่มชะลอลงในไตรมาสที่สอง ทางด้านอุปทานปรากฏว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากตามการส่งออก ภาคบริการขยายตัวจากกิจกรรมสนับสนุนการท่องเที่ยวได้แก่ หมีแพนดาและสายการบินต้นทุนต่ำ ประกอบกับการพัฒนาตลาดการประชุมสัมมนา (MICE) รวมทั้งไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรค SARS เช่นปีก่อน ขณะที่รายได้เกษตรกรลดลงจากปัจจัยด้านราคาเนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากและต้องแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศ สำหรับผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดนกทำให้ราคาไข่และไก่สูงขึ้นจากอุปทานที่ลดลง ความเชื่อมั่นในการบริโภคไก่ของประชาชนกลับมาใกล้เคียงกับภาวะปกติในช่วงปลายไตรมาสที่สอง ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบกับร้อยละ 2.1 ระยะเดียวกันปีก่อน
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2547 และครึ่งแรกปี 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ในเดือนมิถุนายนผลผลิตพืชผลสำคัญของภาคเหนือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 ตามผลผลิตของลิ้นจี่ หอมแดง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 ร้อยละ 37.8 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นปลายปีก่อนทำให้ลิ้นจี่ติดผลมาก ประกอบกับราคาหอมแดงและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก แต่ราคาพืชผลหลักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 4.6 ตามราคาลิ้นจี่ กระเทียมและหอมหัวแดง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักลดลงร้อยละ 0.8
ครึ่งแรกปี 2547 ผลผลิตพืชสำคัญของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยผลผลิตอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกตามการส่งเสริมของโรงงานน้ำตาล ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และหอมแดง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 และร้อยละ 37.8 ตามลำดับ เนื่องจากราคาในฤดูการผลิตก่อนจูงใจ ผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ผลผลิตข้าวนาปรังลดลงร้อยละ 9.9 เนื่องจากเกษตรกรเลื่อนการเพาะปลูกออกไปและผลผลิตบางส่วนเสียหายจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ด้านราคาพืชผลหลักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 7.6 ตามราคาอ้อยเบื้องต้นที่ลดลง ส่วนราคากระเทียมและหอมแดงลดลงร้อยละ 34.8 และ 38.9 ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากและต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และราคามันสำปะหลังลดลงร้อยละ 22.9 ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6
สำหรับสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อการบริโภคไก่มากขึ้น ส่งผลให้การบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 90-95 ของภาวะปกติ ราคาไก่เนื้อและไข่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 41.4 และร้อยละ 63.9 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวมากตามการผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ โดยมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 เร่งตัวจากร้อยละ 24.5 เดือนก่อน เป็น 142.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตสังกะสีเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เป็น 10,305 เมตริกตัน ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมที่จัดเก็บได้ในเดือนพฤษภาคม 2547 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.5 เป็น 74.7 ล้านบาท
ครึ่งแรกปี 2547 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ดีโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 35.6 เป็น 790.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งความต้องการมีมากในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยุโรป กีฬาโอลิมปิก และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผลผลิตน้ำตาลในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เป็น 1,575.2 พันเมตริกตัน ตามปริมาณผลผลิตและคุณภาพอ้อยที่เพิ่มและดีขึ้น การผลิตสังกะสีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เป็น 56,550 เมตริกตัน
3. ภาคบริการ ชะลอตัวตามฤดูกาล แต่ขยายตัวในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานสำคัญในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.8 โดยเพิ่มขึ้นมากที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และเชียงราย ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42.4 เทียบกับ ร้อยละ 36.3 ปีก่อน สำหรับราคาห้องพักเฉลี่ย 820.72 บาท สูงกว่า 722.42 บาทต่อห้อง เดือนเดียวกันปีก่อนส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากตลาดการประชุมสัมมนาของทั้งภาครัฐและเอกชน และยังมีแรงสนับสนุนจากกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวได้แก่ การเข้าเยี่ยมชมหมีแพนดา โดยเฉพาะการเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัด (Low Fare Airline)
ครึ่งแรกปี 2547 ขยายตัวในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.8 โดยเพิ่มมากที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และเชียงรายเนื่องจากไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) เช่นปีก่อน และเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปี 2545 ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากกิจกรรมการเข้าเยี่ยมชมหมีแพนดา การจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในเทศกาลสงกรานต์ การพัฒนาการท่องเที่ยวในตลาดการประชุมสัมมนา (MICE) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและธุรกิจสปา รวมทั้งการเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัด (Low Fare Airline) สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 49.4 ปีก่อน เป็นร้อยละ 54.7 และราคาห้องพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 816.17 บาทต่อห้องปีก่อน เป็น 906.76 บาทต่อห้อง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ชะลอลงจากเดือนก่อน กิจกรรมการใช้จ่ายบางประเภทชะลอลงมาก เช่น ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 7.6 และชะลอลงมากในภาคเหนือตอนบน สำหรับจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักของภาคเหนือตอนล่างยังคงเพิ่มขึ้น สำหรับยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ชะลอลงทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์
ครึ่งแรกปี 2547 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคชะลอลงจากครึ่งหลังปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ราคาน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นและรายได้เกษตรกรโดยเฉพาะในภาคเหนือตอนบนลดลง แต่ยังอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน กิจกรรมการใช้จ่ายที่สำคัญยังขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทขายส่ง/ขายปลีกช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.1 การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.6 ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.2 เร่งตัวตามการขยายตัวของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ทั้งในภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ชะลอลง โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.9 เทียบกับร้อยละ 48.9 ระยะเดียวกันปีก่อน และชะลอลงมากในภาคเหนือตอนบนเป็นสำคัญ
5. การลงทุนภาคเอกชน กิจกรรมลงทุนด้านก่อสร้างที่สำคัญชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าโดยเฉพาะในอำเภอรอบนอกของภาคเหนือตอนบน ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมขายที่ดินเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 ชะลอลงจากร้อยละ 35.9 ในเดือนก่อน ขณะที่พื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 25.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 เดือนก่อน สำหรับเงินลงทุนของโรงงานจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.4 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร การลงทุนผลิตมีสัญญาณที่ดี เงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติ
ส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสนใจลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสำคัญ
ครึ่งแรกปี 2547 การลงทุนก่อสร้างชะลอลงจากครึ่งหลังปีก่อน เนื่องจากได้เร่งก่อสร้างและซื้อขายบ้านอยู่อาศัยไปแล้วก่อนที่มาตรการลดหย่อนของภาครัฐสิ้นสุดปลายปีก่อน ประกอบกับราคาเหล็กเส้นอยู่ในเกณฑ์สูง ทั้งนี้พื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 60.8 ในครึ่งหลังปีก่อน สำหรับค่าธรรมเนียมขายที่ดินชะลอลงเช่นกันแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.5 และขยายตัวทั้งในภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง สำหรับการลงทุนผลิตขยายตัวในเกณฑ์สูง มูลค่านำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบในเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 73.1 เร่งตัวมากตามการขยายตัวของเครื่องจักรกลนำเข้าจากญี่ปุ่นและมาเลเซีย ขณะที่เงินลงทุนของโรงงานจดทะเบียนตั้งใหม่อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนผลิตในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ขนส่งและซ่อมยานพาหนะ การก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเครื่องเรือน สำหรับความสนใจลงทุนเพื่อการผลิตอยู่ใน เกณฑ์ดี เงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 88.3 โดยสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ เกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร บริการสาธารณูปโภค และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นสำคัญ
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 เป็น 12,159.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในหมวดงบกลางและเงินเดือนร้อยละ 31.9 และร้อยละ 11.5 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่และพิษณุโลก ทางด้านการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.6 เป็น 3,107.6 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นมากจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะกว่าเท่าตัว ภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจัดเก็บเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.4 และร้อยละ 31.5 ตามลำดับ ส่งผลให้ขาดดุลเงินในงบประมาณ 9,051.8 ล้านบาท เทียบกับ 7,110.0 ล้านบาท เดือนก่อน
ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2547 ( ตุลาคม 2546 - มิถุนายน 2547) การใช้จ่ายของภาครัฐบาลผ่านคลังจังหวัด/คลังอำเภอในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.8 ระยะเดียวกันปีก่อน เป็น 86,158.3 ล้านบาท รายจ่ายหมวดลงทุนและประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 และร้อยละ 5.6 ตามลำดับ ทางด้านการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 เป็น 12,331.8 ล้านบาท เทียบกับร้อยละ 7.0 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะกว่าเท่าตัว ภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 33.4 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 19.0 ตามลำดับ ขาดดุลเงินในงบประมาณ 73,826.5 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 70,073.0 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือขยายตัวในเกณฑ์สูงโดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 41.7 เป็น 190.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากร้อยละ 29.8 เดือนก่อน ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 เป็น 142.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทส่วนประกอบในโทรทัศน์ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา อัญมณี ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ไปยังตลาดสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น และอิสราเอล มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็น 12.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ส่วนมูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 34.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามมูลค่าส่งออกไปพม่าที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 30.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทน้ำมันพืช ผงชูรส ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่มูลค่าส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เป็น 3.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำมันพืช มูลค่าการนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือชะลอตัว โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 15.0 เป็น 108.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมูลค่านำเข้าผ่านด่านนิคมฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เป็น 99.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องจักรลดลง เนื่องจากมีการนำเข้ามากแล้วในช่วงก่อนหน้า
ส่วนมูลค่านำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัว เป็น 7.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัว เป็น 3.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากอาหารทะเลเป็นสำคัญ และการนำเข้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว เป็น 2.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าไม้แปรรูปและกระเทียม
ดุลการค้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนมิถุนายน 2547 เกินดุล 82.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 40.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน
ครึ่งแรกปี 2547 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3 เป็น 1,058.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเพิ่มขึ้นทั้การส่งออกสินค้าจากด่านฯนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือร้อยละ 35.6 เป็น 790.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามอุปสงค์สินค้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ผลิตสินค้าในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยุโรป และโอลิมปิกเกมส์ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา และเกมของเล่นและอุปกรณ์กีฬา ไปยังญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา มูลค่าส่งออกผ่านด่านฯท่าอากาศยานเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เป็น 71.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนมูลค่าส่งออกชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.3 เป็น 197.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกไปพม่าเป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้า ช่วงครึ่งแรกปี 2547 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.4 เป็น 679.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 โดยมูลค่านำเข้าสินค้าผ่านด่านฯนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.1 เป็น 635.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าประเภทวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบและสินค้าทุน มูลค่านำเข้าผ่านด่านฯท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เป็น 8.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่มูลค่านำเข้าผ่านด่านชายแดน เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 35.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าจาก พม่า จีนตอนใต้ และลาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 138.0 ร้อยละ 124.0 และร้อยละ 6.0 ตามลำดับ ดุลการค้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือช่วงครึ่งแรกปี 2547 เกินดุล 379.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 252.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 เร่งตัวจากเดือนก่อน ทั้งหมวดอาหารและพลังงาน ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เนื่องจากราคาผักสดสูงขึ้นจากผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลงและราคาเนื้อสุกรสูงขึ้นตามความต้องการบริโภค สำหรับราคาอาหารหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 ตามราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำและลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1
ครึ่งแรกปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวจากครึ่งหลังปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบกับร้อยละ 2.1 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นทั้งหมวดอาหารและพลังงาน ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ตามราคาเนื้อสุกรที่เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกทำให้ผู้บริโภคบางส่วนหันมาบริโภคเนื้อสุกรทดแทน และราคาข้าวสารเจ้าหอมมะลิที่อยู่ในเกณฑ์สูงโดยเฉพาะในไตรมาสแรก เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศ ประกอบกับราคาผักสดเพิ่มขึ้นมากในไตรมาสที่ 2 เพราะผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง อย่างไรก็ตาม การที่ภาครัฐขอให้ผู้ประกอบการตรึงราคาสุกรมีชีวิตและผู้บริโภคบางส่วนหันกลับไปบริโภคเนื้อไก่มากขึ้น ทำให้ราคาเนื้อสุกรชะลอลงในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน สำหรับราคาอาหารหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ
ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำและลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนพฤษภาคม 2547 พบว่าภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.6 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 95.6 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำกว่าร้อยละ 96.0 เดือนเดียวกันปีก่อน การจ้างงานในภาคเกษตรยังหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 เนื่องจากสภาพแห้งแล้งกว่าปกติ ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 12.8 โดยสาขาที่ขยายตัวได้ดีคือ สาขาก่อสร้าง การผลิต และการค้าส่งปลีก สำหรับผู้ว่างงานมีจำนวน 0.2 ล้านคน อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม สูงขึ้นจากร้อยละ 2.9 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีแรงงานที่สำเร็จการศึกษาเข้าสู่ตลาด
10. การเงิน เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 3.4 ส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากของเกษตรกรที่มีรายได้จากการขายผลผลิต เช่น ลิ้นจี่ หอมแดง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากชั่วคราวของนักลงทุนที่ชะลอการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 10.0 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากการให้สินเชื่อแก่ภาคอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจโรงสีข้าวเพื่อใช้ปรับปรุงและขยายกำลังการผลิตและสินเชื่อแก่ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ สนามกอล์ฟและสถาบันการศึกษา รวมทั้งสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-