เศรษฐกิจภาคใต้เดือนมิถุนายนยังคงขยายตัวแต่ในอัตราชะลอลงเล็กน้อย โดยการใช้จ่ายเพื่อการ
อุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวดี แม้ว่าสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนจะกระทบความเชื่อ
มั่นของผู้บริโภคบ้าง ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐและการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะมีทิศทางอ่อนตัวลงบ้าง
ด้านภาคการผลิต รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้น จากปัจจัยทั้งด้านผลผลิตและราคา ขณะ
ที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเล็กน้อย ตามการลดลงของผลผลิตน้ำมันปาล์ม และสินค้าหมวดอาหาร
ทะเล ส่วนภาคบริการ การท่องเที่ยว ทางภาคใต้ตอนล่างชะลอตัวลง จากสถานการณ์ความไม่
สงบใน 3 จังหวัดชายแดน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและการจ้างงานขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ
ขณะที่ภาคการเงินสินเชื่อและเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมขยายตัวดี โดยการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาค
เอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ส่วนภาคการผลิต รายได้จากการขายพืชผลหลักยังขยายตัวในเกณฑ์ดีจากทั้ง
ผลผลิตและราคาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน ตามการลดลงของ
การผลิตในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารกระป๋องเป็นสำคัญ ส่วนภาคบริการ
เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนไม่มากนัก ดัชนีราคาผู้บริโภค ทั่วไปเร่งตัวแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และสัด
ส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงขึ้นตามสินเชื่อที่ขยายตัวดีขึ้น
ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชผลหลักของภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ตามการเพิ่มขึ้นของผล
ผลิตยางพาราที่มีแรงจูงใจ จากราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดี ด้านราคาพืชผลหลักยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
ก่อน โดยเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 ตามราคายางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวเปลือกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4
20.2 และ 11.7 ตามลำดับ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.5
ภาวะประมง ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้นำขึ้น ณ ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาใน ภาคใต้ใน
เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.4 แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 21.3 เนื่องจากได้
รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันแพง ประกอบกับฝั่งอันดามันมีมรสุม ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการจับสัตว์น้ำ
ด้านมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 ตามราคาสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น สำหรับกุ้งกุลาดำออกสู่ตลาดมากขึ้นตามฤดูกาล
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับความไม่ชัดเจนในอัตราภาษี เรื่องการทุ่มตลาดกุ้งในสหรัฐ
อเมริกา ส่งผลให้ราคากุ้งกุลาดำปรับตัวลดลงร้อยละ 14.8
สำหรับราคาปศุสัตว์เพิ่มขึ้นตามราคาสุกรและไก่เนื้อที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเริ่มมีสัญญาณลดลงจาก
เดือนก่อน เนื่องจาก ปริมาณผลผลิตเริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรขยายตัวสูงร้อยละ 30.8
ตามราคาและปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 และ 2.3 ตามลำดับ สำหรับภาวะประมงมีทิศทางที่ดี
โดยในไตรมาสนี้ สัตว์น้ำที่จับได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ขณะเดียวกันราคาปรับสูงขึ้นตามความต้อง
การบริโภค และต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอลง ตามการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบ
มีน้อย อาหารทะเลกระป๋องที่ชะลอลง เนื่องจากราคาวัตถุดิบปลาทูน่าปรับตัวสูงขึ้นมาก และอาหารทะเลแช่
แข็งยังรอผลการประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฎาคม ทำให้ผลผลิต
ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่การผลิตเพื่อการส่งออกของ อุตสาหกรรมยางพารามีปริมาณเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.3 เป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณส่งออกน้ำยางข้น ยางแท่ง และยางแผ่นรมควัน เป็นสำคัญ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลง โดยอุตสาหกรรมหลักที่มีการผลิตลดลง
ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบ อาหารทะเลกระป๋อง และอาหารทะเลแช่แข็ง ขณะที่อุตสาหกรรม
ยางพาราเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากวัตถุดิบเริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
ภาคบริการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมในภาคใต้ขยายตัวไม่มากนัก เนื่องจากการท่องเที่ยวทางภาคใต้
ตอนล่างยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัด 3 ชายแดน ส่วนการท่องเที่ยวทางฝั่งตะวัน
ตกแม้ว่าจะขยายตัวในเกณฑ์ดี จำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเข้าพักโรงแรมกลับไม่สูงมาก
นัก เนื่องจากเป็นช่วง Low season ประกอบกับจำนวนห้องพักมีมาก ทำให้มีการแข่งขันด้านราคาสูง
ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.8 ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.1 สูงกว่าปีก่อนเล็กน้อย
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างในช่วงไตรมาสที่ 2 อยู่ในภาวะซบเซา
ยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ทำให้นักท่องเที่ยวทั้ง
ชาวไทยและต่างประเทศงดการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ขณะที่การท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันตกได้รับผลกระทบ
ไม่มากนัก เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน และญี่ปุ่นเข้ามาเพิ่มขึ้น โดยในช่วงไตรมาส 2 มีนักท่อง
เที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.2 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานที่ต่ำในปีก่อน
เนื่องจากปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน และภาวะสงคราม ประกอบกับในช่วงนี้มีความ
เข้มงวดบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองไทย-มาเลเซียทุกด่าน จึงทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีอัตราการขยายตัว
อยู่ในระดับสูง
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่อยู่ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่ง
เป็นผลจากปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูง โดยใน
เดือนนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เทียบกับร้อยละ19.8 เดือนก่อน ขณะที่ยอด
จดทะเบียนรถยนต์ และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 และ 28.6 ตามลำดับ เป็นผลจากรายได้
เกษตรกรที่อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และการกระตุ้นอุปสงค์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการ
เปิดตัวสินค้าใหม่ ตลอดจนการส่งเสริมการขาย
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การใช้จ่ายภาคเอกชนยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากรายได้จากภาคการผลิตที่
เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่ำ และสภาพแวดล้อมทางการเงินเอื้ออำนวย ทำให้ทุกกิจกรรมของการบริโภคปรับ
ตัวสูงขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว จะเห็นได้จากการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.2
จากเดือนเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ และ รับเหมาก่อสร้างเป็นสำคัญ
และเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในเดือนนี้ เพิ่มขึ้น กว่า 5 เท่าตัว ส่วนการลงทุน
การก่อสร้างลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาวัสดุก่อสร้างและราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อการตัดสิน
ใจลงทุนของภาคธุรกิจและประชาชน โดยพื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาล ลดลงจากระยะเดียวกันปี
ก่อนร้อยละ 13.1 ตามการลดลงของพื้นที่ก่อสร้างฯ ประเภทที่อยู่อาศัย และการพาณิชย์เป็นสำคัญ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การลงทุนภาคเอกชนคงขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ชะลอตัวลงจาก ไตรมาสก่อน ทั้งนี้
ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่
ในระดับต่ำ
การจ้างงาน
จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เดือนพฤษภาคม
2547 พบว่า ภาคใต้มีผู้ว่างงาน 0.08 ล้านคน ลดลงจาก 0.17 ล้านคนของเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับ
ทั้งประเทศ อัตราการว่างงานของภาคใต้เป็นร้อยละ 1.8 ทั้งนี้ การว่างงานเป็นผลจากภาวะความไม่
สอดคล้องระหว่างความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งต้องการแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ขณะที่
ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนภาวะการทำงานของประชากรมีอัตราการจ้างงานร้อยละ 98.2
ของกำลังแรงงานรวม มากกว่าร้อยละ 96.4 เดือนเดียวกัน ปีก่อน
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อน โดย
ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาข้าว และราคาเนื้อสัตว์ ไก่
ไข่ และผักสด เป็นสำคัญ ขณะที่ ราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.9
ตามราคาน้ำมัน ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ในไตรมาส 2 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวด
อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 4.2 สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
การค้าต่างประเทศ
เดือนมิถุนายน มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ซึ่งเป็นการขยาย
ตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้ายางพารา ไม้ยางแปรรูป ปูนซิ
เมนต์ -ปูนขาว และถุงมือยาง ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ขณะที่การส่งออกผักสด-ผลไม้
สัตว์น้ำ และน้ำมันปาล์ม มีมูลค่าลดลง ทางด้านมูลค่านำเข้าเร่งตัวมากขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.1
ตามการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่วนหนึ่งเป็นอุปกรณ์ขุดเจาะปิโตรเลียมผ่านด่านศุลกากรสงขลาเป็น
สำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้เกินดุล 285.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลง
ร้อยละ 20.4 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 7 เดือน
ทางด้านมูลค่าการส่งออกผ่านด่านชายแดนในภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 ตามการส่งออก สินค้า
ยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ถุงมือยาง ไม้ยางแปรรูปเป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้าผ่านด่าน
ศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การส่งออกขยายตัว โดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 12.5 ตามปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ายางพารา ส่วนมูลค่าการนำเข้า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2
การคลัง
การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.2 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจใน
ท้องถิ่นที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน โดยในเดือนมิถุนายนนี้มีการจัดเก็บภาษีจากฐาน
การบริโภคและภาษีจากฐานรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35.4 และ 18.9 ตามลำดับ ส่วนการเบิก
จ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 โดยใน 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 มีการเบิก
จ่ายงบประมาณแล้วร้อยละ 79.9 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ซึ่งสูงกว่าผลการเบิกจ่ายในช่วงเดียว
กันของปีงบประมาณก่อน ร้อยละ 11.2
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจมี
การปรับตัวดีขึ้น ทั้งในภาคการบริโภค การส่งออก และการลงทุน ขณะเดียวกันการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.9
ภาคการเงิน
ในเดือนมิถุนายนนี้ ยอดสินเชื่อคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 14.2 ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อแก่อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการส่งออกและธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย
รวมทั้งสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ส่วนยอดเงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ทั้งนี้ สัดส่วนสินเชื่อ
ต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 67.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 61.6 เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อน สำหรับธนาคาร
ออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 และ 3.9 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 สภาพคล่องในระบบยังค่อนข้างสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
และภาวะเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวดี ส่งผลให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัว
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้
เดือนมิถุนายน 2547
เครื่องชี้ มิ.ย.46 พ.ค.47 มิ.ย.47 มิ.ย. 47/46
(%)
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 39.05 50.54 52.1 33.4
ปาล์มทั้งทะลาย 2.33 2.94 2.8 20.2
ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 39,324 54,135 42,625 8.4
มูลค่า (ล้านบาท) 889.6 1,475.60 1,262.60 41.9
กุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัว/กก.(บาท/กก.) 264 241 225 -14.8
2. การอุตสาหกรรม (เมตริกตัน)
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 102,753.70 83,940.70 80,174.50 -22
ยางแท่ง 77,720.60 47,961.10 71,166.20 -8.4
3. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 143,815 185,897 192,414 33.8
4. การค้า
การจดทะเบียนรถใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 1,510 2,042 2,128 40.9
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 2,409 3,559 4,177 73.4
รถจักรยานยนต์ 27,188 33,617 34,964 28.6
5. การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 20,881.20 21,727.30 21,520.30 3.1
ยาง 6,010.40 8,049.80 8,748.20 45.6
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ 476.9 601.7 805.2 68.8
ถุงมือยาง 1,019.00 1,221.70 1,336.00 31.1
สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,509.90 1,193.30 1,443.60 -4.4
อาหารกระป๋อง 825.1 822 876.8 6.3
ดีบุก 151.4 266.6 437.7 189.1
แร่อื่น ๆ 278.4 171 270.5 -2.9
ก๊าซธรรมชาติ 63 134 43.4 -31.2
น้ำมันดิบ 2,140.40 1,944.30 0
มูลค่าการนำเข้า 5,967.40 8,374.70 9,888.00 65.7
เครื่องจักรอุปกรณ์ 2,641.30 2,432.40 4,437.30 68
น้ำมันเชื้อเพลิง 34.1 190.5 159.3 367.2
อุปกรณ์ก่อสร้าง 127.1 155.2 159.9 25.8
สัตว์น้ำแช่แข็ง 532.3 556.6 580.9 9.1
6. ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคใต้ (ปีฐาน 2541) 106.2 109.3 109.8 3.4
7. การลงทุน
กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 4 3 5 25
เงินลงทุน (ล้านบาท) 228 268 1,279.60 461.2
การจ้างงาน (คน) 591 113 462 -21.8
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 420 377 442 5.2
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 669.1 663.8 806.8 20.6
พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร)
พื้นที่รวม 194,411 177,762 169,031 -13.1
8. ค่าจ้างและการจัดหางาน
การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 6,832 12,658 8,333 22
ผู้สมัครงาน (คน) 4,192 7,108 5,283 26
การบรรจุงาน (คน) 1,197 4,915 3,484 191.1
9. การคลัง (ล้านบาท)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 7,446.30 7,599.90 8,450.50 13.5
การจัดเก็บภาษีอากร 1,216.30 2,428.70 1,510.70 24.2
สรรพากร 984 2,148.50 1,273.80 29.4
สรรพสามิต 116.2 175.4 135.4 16.5
ศุลกากร 116.1 104.8 101.5 -12.6
10. การเงิน
การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท. (ล้านบาท)
เงินสดรับ 16,562.60 18,363.00 18,547.60 12
เงินสดจ่าย 18,663.60 18,239.50 21,114.00 13.1
การโอนเงินระหว่าง ธพ.ในภาคใต้กับ สนญ. 34,200.00 43,173.90 45,448.20 32.9
(ล้านบาท)
โอนเงินออก 12,425.30 18,162.50 15,013.60 20.8
โอนเงินเข้า 21,774.70 25,011.40 30,434.60 39.8
การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 456,166 370,384 376,406 -17.5
มูลค่า (ล้านบาท) 41,165.30 40,539.00 44,687.20 8.6
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1.1 0.9 0.9
ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 417 432 432 3.6
เงินฝาก (ล้านบาท) 273,533.10 296,670.00 298,500.0 E 9.1
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 168,619.10 190,954.00 192,500.0 E 14.2
ธนาคารออมสิน
เงินฝาก (ล้านบาท) 48,957.70 52,262.80 52,826.10 7.9
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 19,066.70 25,731.90 26,870.70 40.9
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,864.80 1,638.10 2,167.20 16.2
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 42,938.30 44,398.00 44,624.90 3.9
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 361.7 740.9 202.6 -44
ยอดเงินกู้คงค้าง (ล้านบาท) 13,891.10 13,823.80 13,179.10 -5.1
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง ประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 1,418.40 2,036.60 2,263.70 59.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--
-ยก-
อุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวดี แม้ว่าสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนจะกระทบความเชื่อ
มั่นของผู้บริโภคบ้าง ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐและการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะมีทิศทางอ่อนตัวลงบ้าง
ด้านภาคการผลิต รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้น จากปัจจัยทั้งด้านผลผลิตและราคา ขณะ
ที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเล็กน้อย ตามการลดลงของผลผลิตน้ำมันปาล์ม และสินค้าหมวดอาหาร
ทะเล ส่วนภาคบริการ การท่องเที่ยว ทางภาคใต้ตอนล่างชะลอตัวลง จากสถานการณ์ความไม่
สงบใน 3 จังหวัดชายแดน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและการจ้างงานขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ
ขณะที่ภาคการเงินสินเชื่อและเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมขยายตัวดี โดยการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาค
เอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ส่วนภาคการผลิต รายได้จากการขายพืชผลหลักยังขยายตัวในเกณฑ์ดีจากทั้ง
ผลผลิตและราคาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน ตามการลดลงของ
การผลิตในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารกระป๋องเป็นสำคัญ ส่วนภาคบริการ
เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนไม่มากนัก ดัชนีราคาผู้บริโภค ทั่วไปเร่งตัวแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และสัด
ส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงขึ้นตามสินเชื่อที่ขยายตัวดีขึ้น
ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชผลหลักของภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ตามการเพิ่มขึ้นของผล
ผลิตยางพาราที่มีแรงจูงใจ จากราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดี ด้านราคาพืชผลหลักยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
ก่อน โดยเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 ตามราคายางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวเปลือกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4
20.2 และ 11.7 ตามลำดับ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.5
ภาวะประมง ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้นำขึ้น ณ ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาใน ภาคใต้ใน
เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.4 แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 21.3 เนื่องจากได้
รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันแพง ประกอบกับฝั่งอันดามันมีมรสุม ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการจับสัตว์น้ำ
ด้านมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 ตามราคาสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น สำหรับกุ้งกุลาดำออกสู่ตลาดมากขึ้นตามฤดูกาล
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับความไม่ชัดเจนในอัตราภาษี เรื่องการทุ่มตลาดกุ้งในสหรัฐ
อเมริกา ส่งผลให้ราคากุ้งกุลาดำปรับตัวลดลงร้อยละ 14.8
สำหรับราคาปศุสัตว์เพิ่มขึ้นตามราคาสุกรและไก่เนื้อที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเริ่มมีสัญญาณลดลงจาก
เดือนก่อน เนื่องจาก ปริมาณผลผลิตเริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรขยายตัวสูงร้อยละ 30.8
ตามราคาและปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 และ 2.3 ตามลำดับ สำหรับภาวะประมงมีทิศทางที่ดี
โดยในไตรมาสนี้ สัตว์น้ำที่จับได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ขณะเดียวกันราคาปรับสูงขึ้นตามความต้อง
การบริโภค และต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ภาคอุตสาหกรรม
ผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอลง ตามการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบ
มีน้อย อาหารทะเลกระป๋องที่ชะลอลง เนื่องจากราคาวัตถุดิบปลาทูน่าปรับตัวสูงขึ้นมาก และอาหารทะเลแช่
แข็งยังรอผลการประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฎาคม ทำให้ผลผลิต
ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่การผลิตเพื่อการส่งออกของ อุตสาหกรรมยางพารามีปริมาณเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.3 เป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณส่งออกน้ำยางข้น ยางแท่ง และยางแผ่นรมควัน เป็นสำคัญ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลง โดยอุตสาหกรรมหลักที่มีการผลิตลดลง
ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบ อาหารทะเลกระป๋อง และอาหารทะเลแช่แข็ง ขณะที่อุตสาหกรรม
ยางพาราเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากวัตถุดิบเริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
ภาคบริการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมในภาคใต้ขยายตัวไม่มากนัก เนื่องจากการท่องเที่ยวทางภาคใต้
ตอนล่างยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัด 3 ชายแดน ส่วนการท่องเที่ยวทางฝั่งตะวัน
ตกแม้ว่าจะขยายตัวในเกณฑ์ดี จำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเข้าพักโรงแรมกลับไม่สูงมาก
นัก เนื่องจากเป็นช่วง Low season ประกอบกับจำนวนห้องพักมีมาก ทำให้มีการแข่งขันด้านราคาสูง
ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจาก
เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 33.8 ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.1 สูงกว่าปีก่อนเล็กน้อย
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างในช่วงไตรมาสที่ 2 อยู่ในภาวะซบเซา
ยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ทำให้นักท่องเที่ยวทั้ง
ชาวไทยและต่างประเทศงดการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ขณะที่การท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันตกได้รับผลกระทบ
ไม่มากนัก เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน และญี่ปุ่นเข้ามาเพิ่มขึ้น โดยในช่วงไตรมาส 2 มีนักท่อง
เที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.2 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานที่ต่ำในปีก่อน
เนื่องจากปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน และภาวะสงคราม ประกอบกับในช่วงนี้มีความ
เข้มงวดบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองไทย-มาเลเซียทุกด่าน จึงทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีอัตราการขยายตัว
อยู่ในระดับสูง
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่อยู่ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่ง
เป็นผลจากปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูง โดยใน
เดือนนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เทียบกับร้อยละ19.8 เดือนก่อน ขณะที่ยอด
จดทะเบียนรถยนต์ และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 และ 28.6 ตามลำดับ เป็นผลจากรายได้
เกษตรกรที่อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และการกระตุ้นอุปสงค์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการ
เปิดตัวสินค้าใหม่ ตลอดจนการส่งเสริมการขาย
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การใช้จ่ายภาคเอกชนยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากรายได้จากภาคการผลิตที่
เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่ำ และสภาพแวดล้อมทางการเงินเอื้ออำนวย ทำให้ทุกกิจกรรมของการบริโภคปรับ
ตัวสูงขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว จะเห็นได้จากการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.2
จากเดือนเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ และ รับเหมาก่อสร้างเป็นสำคัญ
และเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในเดือนนี้ เพิ่มขึ้น กว่า 5 เท่าตัว ส่วนการลงทุน
การก่อสร้างลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาวัสดุก่อสร้างและราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อการตัดสิน
ใจลงทุนของภาคธุรกิจและประชาชน โดยพื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาล ลดลงจากระยะเดียวกันปี
ก่อนร้อยละ 13.1 ตามการลดลงของพื้นที่ก่อสร้างฯ ประเภทที่อยู่อาศัย และการพาณิชย์เป็นสำคัญ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การลงทุนภาคเอกชนคงขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ชะลอตัวลงจาก ไตรมาสก่อน ทั้งนี้
ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่
ในระดับต่ำ
การจ้างงาน
จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เดือนพฤษภาคม
2547 พบว่า ภาคใต้มีผู้ว่างงาน 0.08 ล้านคน ลดลงจาก 0.17 ล้านคนของเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับ
ทั้งประเทศ อัตราการว่างงานของภาคใต้เป็นร้อยละ 1.8 ทั้งนี้ การว่างงานเป็นผลจากภาวะความไม่
สอดคล้องระหว่างความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งต้องการแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ขณะที่
ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนภาวะการทำงานของประชากรมีอัตราการจ้างงานร้อยละ 98.2
ของกำลังแรงงานรวม มากกว่าร้อยละ 96.4 เดือนเดียวกัน ปีก่อน
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อน โดย
ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาข้าว และราคาเนื้อสัตว์ ไก่
ไข่ และผักสด เป็นสำคัญ ขณะที่ ราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.9
ตามราคาน้ำมัน ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ในไตรมาส 2 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวด
อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 4.2 สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
การค้าต่างประเทศ
เดือนมิถุนายน มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ซึ่งเป็นการขยาย
ตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้ายางพารา ไม้ยางแปรรูป ปูนซิ
เมนต์ -ปูนขาว และถุงมือยาง ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ขณะที่การส่งออกผักสด-ผลไม้
สัตว์น้ำ และน้ำมันปาล์ม มีมูลค่าลดลง ทางด้านมูลค่านำเข้าเร่งตัวมากขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.1
ตามการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่วนหนึ่งเป็นอุปกรณ์ขุดเจาะปิโตรเลียมผ่านด่านศุลกากรสงขลาเป็น
สำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้เกินดุล 285.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลง
ร้อยละ 20.4 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 7 เดือน
ทางด้านมูลค่าการส่งออกผ่านด่านชายแดนในภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 ตามการส่งออก สินค้า
ยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ถุงมือยาง ไม้ยางแปรรูปเป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้าผ่านด่าน
ศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 การส่งออกขยายตัว โดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 12.5 ตามปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ายางพารา ส่วนมูลค่าการนำเข้า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2
การคลัง
การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.2 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจใน
ท้องถิ่นที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน โดยในเดือนมิถุนายนนี้มีการจัดเก็บภาษีจากฐาน
การบริโภคและภาษีจากฐานรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 35.4 และ 18.9 ตามลำดับ ส่วนการเบิก
จ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 โดยใน 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 มีการเบิก
จ่ายงบประมาณแล้วร้อยละ 79.9 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ซึ่งสูงกว่าผลการเบิกจ่ายในช่วงเดียว
กันของปีงบประมาณก่อน ร้อยละ 11.2
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจมี
การปรับตัวดีขึ้น ทั้งในภาคการบริโภค การส่งออก และการลงทุน ขณะเดียวกันการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.9
ภาคการเงิน
ในเดือนมิถุนายนนี้ ยอดสินเชื่อคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 14.2 ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อแก่อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการส่งออกและธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย
รวมทั้งสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ส่วนยอดเงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ทั้งนี้ สัดส่วนสินเชื่อ
ต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 67.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 61.6 เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อน สำหรับธนาคาร
ออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 และ 3.9 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 สภาพคล่องในระบบยังค่อนข้างสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
และภาวะเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวดี ส่งผลให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัว
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้
เดือนมิถุนายน 2547
เครื่องชี้ มิ.ย.46 พ.ค.47 มิ.ย.47 มิ.ย. 47/46
(%)
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 39.05 50.54 52.1 33.4
ปาล์มทั้งทะลาย 2.33 2.94 2.8 20.2
ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 39,324 54,135 42,625 8.4
มูลค่า (ล้านบาท) 889.6 1,475.60 1,262.60 41.9
กุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัว/กก.(บาท/กก.) 264 241 225 -14.8
2. การอุตสาหกรรม (เมตริกตัน)
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 102,753.70 83,940.70 80,174.50 -22
ยางแท่ง 77,720.60 47,961.10 71,166.20 -8.4
3. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 143,815 185,897 192,414 33.8
4. การค้า
การจดทะเบียนรถใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 1,510 2,042 2,128 40.9
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 2,409 3,559 4,177 73.4
รถจักรยานยนต์ 27,188 33,617 34,964 28.6
5. การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 20,881.20 21,727.30 21,520.30 3.1
ยาง 6,010.40 8,049.80 8,748.20 45.6
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ 476.9 601.7 805.2 68.8
ถุงมือยาง 1,019.00 1,221.70 1,336.00 31.1
สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,509.90 1,193.30 1,443.60 -4.4
อาหารกระป๋อง 825.1 822 876.8 6.3
ดีบุก 151.4 266.6 437.7 189.1
แร่อื่น ๆ 278.4 171 270.5 -2.9
ก๊าซธรรมชาติ 63 134 43.4 -31.2
น้ำมันดิบ 2,140.40 1,944.30 0
มูลค่าการนำเข้า 5,967.40 8,374.70 9,888.00 65.7
เครื่องจักรอุปกรณ์ 2,641.30 2,432.40 4,437.30 68
น้ำมันเชื้อเพลิง 34.1 190.5 159.3 367.2
อุปกรณ์ก่อสร้าง 127.1 155.2 159.9 25.8
สัตว์น้ำแช่แข็ง 532.3 556.6 580.9 9.1
6. ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคใต้ (ปีฐาน 2541) 106.2 109.3 109.8 3.4
7. การลงทุน
กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 4 3 5 25
เงินลงทุน (ล้านบาท) 228 268 1,279.60 461.2
การจ้างงาน (คน) 591 113 462 -21.8
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 420 377 442 5.2
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 669.1 663.8 806.8 20.6
พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร)
พื้นที่รวม 194,411 177,762 169,031 -13.1
8. ค่าจ้างและการจัดหางาน
การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 6,832 12,658 8,333 22
ผู้สมัครงาน (คน) 4,192 7,108 5,283 26
การบรรจุงาน (คน) 1,197 4,915 3,484 191.1
9. การคลัง (ล้านบาท)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 7,446.30 7,599.90 8,450.50 13.5
การจัดเก็บภาษีอากร 1,216.30 2,428.70 1,510.70 24.2
สรรพากร 984 2,148.50 1,273.80 29.4
สรรพสามิต 116.2 175.4 135.4 16.5
ศุลกากร 116.1 104.8 101.5 -12.6
10. การเงิน
การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท. (ล้านบาท)
เงินสดรับ 16,562.60 18,363.00 18,547.60 12
เงินสดจ่าย 18,663.60 18,239.50 21,114.00 13.1
การโอนเงินระหว่าง ธพ.ในภาคใต้กับ สนญ. 34,200.00 43,173.90 45,448.20 32.9
(ล้านบาท)
โอนเงินออก 12,425.30 18,162.50 15,013.60 20.8
โอนเงินเข้า 21,774.70 25,011.40 30,434.60 39.8
การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 456,166 370,384 376,406 -17.5
มูลค่า (ล้านบาท) 41,165.30 40,539.00 44,687.20 8.6
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1.1 0.9 0.9
ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 417 432 432 3.6
เงินฝาก (ล้านบาท) 273,533.10 296,670.00 298,500.0 E 9.1
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 168,619.10 190,954.00 192,500.0 E 14.2
ธนาคารออมสิน
เงินฝาก (ล้านบาท) 48,957.70 52,262.80 52,826.10 7.9
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 19,066.70 25,731.90 26,870.70 40.9
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,864.80 1,638.10 2,167.20 16.2
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 42,938.30 44,398.00 44,624.90 3.9
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 361.7 740.9 202.6 -44
ยอดเงินกู้คงค้าง (ล้านบาท) 13,891.10 13,823.80 13,179.10 -5.1
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง ประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 1,418.40 2,036.60 2,263.70 59.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--
-ยก-